สัตว์โลกสัปดน Weird Mate

จากเพจเฟซบุ๊คสุดกี๊ค สู่หนังสือ Pop Science สุดซี้ด ใครจะคิดว่าเรื่องเซ็กส์กับสัตว์นั้นจะแปลกประหลาดเกินจินตนาการได้ถ้าไม่ได้ลองอ่านหนังสือเล่มนี้ หรือไม่ได้รู้จักเพจ “สัตว์โลกสัปดน” ที่คนเขียนสร้างเพจไว้ ใครบ้างจะรู้ว่าการกำหนดเพศนั้นไม่ได้มาจากแค่โครโมโซมเหมือนมนุษย์เท่านั้น แต่ในสัตว์หลายจำพวกเช่น จรเข้ สามารถกำหนดเพศของลูกที่กำลังจะฟักออกมาจากไข่ด้วยอุณหภูมิ! ใช่ครับ แค่อุณหภูมิก็สามารถเลือกเพศได้แล้ว ถ้าอยากได้จรเข้เพศผู้ก็ต้องให้อยู่ในอุณหภูมิช่วง 30 องศาเซลเซียล แต่ถ้าอยากได้เพศเมียก็ต้องให้ร้อนขึ้นอีกหน่อยเป็นช่วง 32-34 องศาเซลเซียล (ถ้าจำสลับเพศก็ต้องขออภัยเพราะพยายามเปิดหาข้อมูในเล่มอีกรอบแล้วไม่เจอ) ส่วนสัตว์บางจำพวกอย่างหอยทางนั้นเป็นสัตว์ที่สามารถสลับเพศได้ในตัวเอง ขึ้นอยู่กับว่าใครจะโดนจิ้มก่อน ถ้าใครแพ้โดนจิ้มก่อนก็จะต้องกลายเป็นตัวเมียที่คอยอุ้มท้องต่อไป จนคราวหน้าค่อยหวังจะได้กลายเป็นเพศผู้ ส่วนมนุษย์เรานั้นคุ้นเคยกันดีว่าเราถูกกำหนดเพศด้วยโครโมโซมที่แลกเปลี่ยนกันของพ่อและแม่ในระหว่างช่วงอายุครรภ์ 6 สัปดาห์ ช่วงนั้นจะเป็นช่วงที่ฮอร์โมนกำหนดให้เกิดการเลือกเพศขึ้นมา…

Global Change 3

อาจารย์วรากรณ์ สามโกเศศ หนึ่งในนักเขียนน้อยคนที่เขียนให้คนธรรมดาแบบผมเข้าใจและหลงไหลในเรื่องเศรษฐศาสตร์ได้ เพราะแนวคิดของอาจารย์คือ “ไม่ต้องแบกบันไดอ่าน” จนผมเองเป็นหนึ่งคนที่ตามเก็บตามอ่านหนังสือของอาจารย์แทบทุกเล่มเท่าที่จะหาได้ ตั้งแต่ซีรียส์ “โลกนี้ไม่มีอะไรฟรี” ทั้งสิบเล่ม ขาดก็แต่เล่ม 6 ที่สำนักพิมพ์ไม่พิมพ์แล้วและก็หามือสองจากไหนไม่ได้ทั้งนั้น และชุดเศรษฐศาสตร์ชาวบ้านทั้ง 10 เล่มของสำนักพิมพ์ Openworlds และก็ตามมาถึงชุดใหม่นี้ Global Change ที่มาถึงเล่ม 3 แล้ว ถ้าถามว่าเศรษฐศาสตร์เกี่ยวกับคนเราชาวบ้านยังไง ผมว่าที่เกี่ยวที่สุดและเข้าใจง่ายที่สุดก็คือเรื่องของ “ปากท้อง” เพราะทุกอย่างที่เรากิน ทุกอย่างที่เราใช้ นั้นล้วนถูกผลิตสร้างเพื่อให้เศรษฐกิจเกิดการแลกเปลี่ยนทั้งในระดับชาวบ้านที่เรียกว่า เศรษฐศาสตร์จุลภาค และระดับชาติที่เรียกว่า…

เศรษฐกิจจีน Demystifying The Chinese Economy ปริศนา ความท้าทาย อนาคต

จีน ประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจเป็นเบอร์สองของโลกรองจากแค่สหรัฐ หนึ่งในประเทศที่ช่วงวิกฤตต้มยำกุ้งบ้านเราฟื้นตัวเร็วได้เพราะความแข็งแกร่งของค่าเงินหยวน หนึ่งในประเทศที่ปกครองแบบสังคมนิยมแต่กลับมีเศรษฐกิจแบบตลาดเสรีที่เปิดกว้างกว่าคอมมิวนิสต์ไหนๆในโลก หนึ่งในประเทศที่เศรษฐกิจโตแบบปาฏิหาริย์แบบเลขสองหลักโดยเฉลี่ยกว่า 30 ปีมาแล้ว หนึ่งในประเทศที่รายได้คนเมืองกับชาวชนบทยังต่างกันลิบลับ ค่าสัมประสิทธิ์จีนีพุ่งทะยานสูงเป็นลำดับต้นๆของโลก หนึ่งในประเทศที่ส่งออกสินค้าสุดล้ำไปให้คนทั้งโลก และยังเป็นหนึ่งในประเทศที่มีการบริโภคสูงติดลำดับต้นๆของโลกแล้วในวันนี้ หนังสือเล่มนี้เขียนโดย Justin Yifu Lin นักเศรษฐศาสตร์ชื่อดังที่มีชื่อเสียงที่สุดในประเทศจีน เคยเป็นรองกรรมการอาวุโสและนักเศรษฐศาสตร์ประจำธนาคารโลก มาบอกเล่าให้ฟังถึงประวัติศาสตร์ของเศรษฐกิจจีนตั้งแต่ยุคยิ่งใหญ่เมื่อหลายร้อยปีก่อน จนถึงยุคตกต่ำสุดขีดของจีนตั้งแต่ยุโรปปฏิวัติอุตสาหกรรมสำเร็จ จนถึงวันที่จีนกลับมายิ่งใหญ่อีกครั้ง แต่อย่าเพิ่งตกใจกลัวไปนะครับ เห็นหน้าปกดูจริงจัง ชื่อดูขึงขัง แต่เนื้อหาในเล่มกลับอ่านง่ายกว่าที่คิด สารภาพตอนแรกผมยังแอบกลับว่าจะอ่านไม่ค่อยเข้าใจเหมือนกัน แต่พออ่านไปกลับอ่านสนุก เข้าใจได้ ทำให้หนังสือที่มีตั้งสี่ร้อยกว่าหน้าสามารถอ่านจบได้ในไม่กี่วัน (ผมมีเวลาอ่านแค่ช่วงเช้าตอนอยู่บนรถไฟฟ้ามาทำงาน กับช่วงเย็นตอนอยู่บนรถไฟฟ้ากลับบ้านครับ)…

The Last Lecture

เลกเชอร์ครั้งสุดท้ายที่สร้าวแรงบันดาลใจแก่คนนับล้านทั่วโลก สมมติว่าถ้าคุณตรวจพบว่าคุณเป็นโรคมะเร็งในระยะลุกลามและกำลังจะตายในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า คุณจะทำอย่างไร?และถ้าคุณเองมีลูกเล็กๆที่แสนจะน่ารัก 3 คนในขณะนั้นล่ะ คุณจะทิ้งอะไรไว้ให้เค้า? หลายคนอาจจะคิดหาทางทิ้งมรกดที่เป็นทรัพย์สินเงินทองไว้ให้ครอบครัวมากที่สุด เพราะเมื่อตัวเองจากไปแล้วพวกเค้าจะได้ลำบากน้อยที่สุดเมื่อไม่มีคุณ แต่ชายผู้นี้ แรนดี เพาซ์ ชายในวัยสี่สิบปลายๆที่มีชีวิตการทำงานที่ดีเป็นศาสตราจารย์ประจำในมหาวิทยาลัยชื่อดังในอเมริกา เลือกที่จะใช้เวลาช่างท้ายสุดของชีวิตไม่กี่เดือนกับการมุ่งมั่นตั้งใจขึ้นพูดปาฐกถาที่มหาวิทยาลัยคาเนกี เมลอน เป็นครั้งสุดท้ายในชีวิตทิ้งไว้เป็นมรดกให้ลูกๆทั้ง 3 แล้วมันจะถึงลูกๆทั้งสามได้อย่างไรตรงนี้แหละที่น่าคิด แรนดี เพาซ์ มองว่าเค้าจะทำยังไงที่จะได้เหมือนอยู่สอนลูกๆเค้าไปจนโต จนพร้อมที่จะออกไปผจญชีวิตภายนอกเต็มตัวในวันข้างหน้าได้ นั่นก็คือการฝากความคิดและประสบการณ์ทั้งหมดในชีวิตทิ้งไว้ให้กับโลก เพื่อให้โลกนี้ส่งต่อให้ลูกๆเค้าทั้ง 3 คน เพราะการพูดครั้งนี้ได้พูดต่อหน้าคนหลายร้อยจนถึงพันคน และยังมีการถ่ายเก็บบันทึกทั้งหมดไว้เป็นหลักฐานให้ลูกค้าได้ทบทวนดูทุกครั้งเมื่อคิดถึงพ่อผู้ล่วงลับไปแล้ว เค้าตั้งใจให้ลูกๆเค้ารู้สึกว่าพ่อของเค้านั้นพิเศษแค่ไหนและยิ่งใหญ่เพียงใด เรื่องที่เป็นหัวข้อในการพูดครั้งสุดท้ายของเค้าคือการใช้ชีวิตตามความฝัน แรนดี…

Zen: The path of paradox, หนทางอันย้อนแย้ง..

เมื่อพูดถึง Zen ในความคิดแว้ปแรกของคนส่วนใหญ่อาจจะนึกถึงประเทศญี่ปุ่น คิดถึงความน้อยๆ คิดถึงอะไรที่มูจิๆ คิดถึงต้นบอนไซ หรือบางคนอาจจะคิดถึงว่า Zen คือนิกายหนึ่งของศาสนาพุทธ หรือวัดเรียวอังจิที่มีลานหินปริศนาธรรมในกรุงเกียวโต.. คนส่วนใหญ่คิดอย่างนี้มั้ยไม่รู้แต่อย่างน้อยก็ผมคนนึงที่คิดถึงภาพอะไรประมาณนี้ แต่พออ่านเล่มนี้จบทำให้เข้าใจภาพของเซนที่ชัดเจนขึ้น ความจริงแล้วเซนไม่ได้เป็นนิกายหนึ่งของศาสนาพุทธ เซนแทบจะไม่นับว่าเป็นศาสนาด้วยซ้ำไป ไม่ใช่แม้แต่ปรัชญา แต่เซนคือวิถี เป็นวิถีที่มีความย้อนแย้งภายในตัว.. แล้ววิถีของเซนเป็นยังไงล่ะ.. ท่าน Osho บอกว่า วิถีของเซนเป็นเรื่องของความฉับพลันทันใด เปรียบเสมือนกระจกเงาที่สะท้อนให้เราเห็นสิ่งนั้นๆอย่างที่มันเป็น ไม่เจือแต่ด้วยความคิด หรืออารมณ์ใดๆ มองให้ทะลุเปลือกเข้าไปจนถึงแก่นแท้นของสิ่งที่เห็น ขอหยิบเนื้อหาสั้นๆตอนท้ายของเล่มที่ผมคิดว่าน่าสนใจมาเล่าสู่กันฟังก็แล้วกัน ว่าอะไรกันที่เป็นพื้นฐานที่สำคัญที่สุดของเซนอย่างสั้นๆ ..การปล่อยวางชีวิตสะท้อนตัวมันเองอย่างเรียบง่ายและชัดเจนเมื่อท่านไม่ไปไขว่คว้ามัน เมื่อท่านไม่ยึดติดกับมัน…

Sex and The English Language 2

หนังสือที่ช่วยให้คุณเข้าใจภาษาอังกฤษและรักภาษาอังกฤษ โดยสำนักพิมพ์ openworlds ภาษาสามารถบ่งบอกถึงชนชาติ แต่คำศัพท์นั้นสามารถบอกถึงชนชั้นผู้ใช้ได้ ครั้งหนึ่งผู้หญิงที่ชื่อ เคท มิเดิลตัน จำเป็นต้องเลิกราแก่เจ้าชายวิลเลียม เพราะมารดาของเคท มิเดลตัน ใช้คำว่า “ห้องส้วมที่คั่นกลาง” (toilet that comes between thing) ธรรมดาอยู่เองที่มารดาของเธอเป็นคนชั้นกลางจึงใช้ toilet แทนห้องอาบน้ำ หรือ bathroom เจ้าชายวิลเลียมไม่เคยใช้คำว่า toilet และเห็นว่าคำนี้เป็นคำที่ไม่ให้เกรียติพระองค์เลย ถ้าคนอังกฤษถามว่า ใช้พรม (carpet) แบบไหน…

สงครามน้ำ Water Wars: Drought, Flood, Folly and the Politics of Thirst

“น้ำ” สิ่งสามัญธรรมดาไกล้ตัวที่สุด เห็นทุกวันแค่เปิดก๊อกก็เห็น จนเราเองก็ไม่เคยตั้งคำถามเหมือนกันว่า “น้ำ” ที่เราเห็นว่าไหลออกมาจากก๊อกนั้นมาจากไหน.. ในต่างจังหวัดเขตนอกตัวเมืองจริงๆเราจะเห็นน้ำที่เราใช้ได้ไม่ยากเย็นเลย เช่น ขับรถผ่านไปเห็นฝายน้ำ หรือเข้าไปในบ้านก็จะพบบ่อน้ำของบ้านแต่ละหลัง ที่มีปั๊มน้ำคอยสูบน้ำให้คนในบ้านใช้ ไหนจะตุ่มเก็บน้ำขนาดใหญ่ท่วมหัวที่คอยเก็บกักน้ำฝนเอาไว้ใช้ นั่นคือภาพน้ำของต่างจังหวัดนอกตัวเมืองที่เราเห็นที่มาของน้ำที่ใช้ได้อย่างง่าย แต่ในตัวเมืองที่วุ่นวายที่เราต้องเดินไปเปิดน้ำล้างมือ กดชักโครกชำระล้างล่ะ น้ำที่แสนธรรมดานั้นมาจากแหล่งกำเนิดที่แสนไกลและวุ่นวายมากกว่าที่เราคิด ในหนังสือแบ่งเป็น 8 บท สกัดกั้นทะเล, บาปของขนาด, ลุ่มน้ำนับพัน, แห้ง แห้งกว่า แห้งที่สุด, กลืนไม่เข้าคายไม่ออก, แม่น้ำเดือดดาล, สงคราม และ ภาวนาขอฝน…

ความลับของดอกไม้ Flower Confidential

เรื่องราวของดอกไม้สิ่งสวยงามส่งกลิ่นหอมไกล้ตัวที่เราไม่เคยรู้ว่าจะมีความลับซ่อนอยู่มากมาย.. ..เช่น คุณรู้มั้ยว่ากุหลาบทุกวันนี้แทบไม่มีกลิ่นหอมโดยธรรมชาติเหลืออยู่แล้วเมื่อมาอยู่ในมือคุณ แต่กลิ่นที่คุณได้กลิ่นนั้นทาจากสเปรย์หอม หรือกลิ่นของยาฆ่าเชื้อราที่ถูกจุมทั้งดอกลงในถังเคมีเพื่อให้ดอกกุหลาบสวยสดอยู่นานพอจะถึงมือคุณ.. ..ดอกกุหลาบสีฟ้าที่ไม่เคยมีอยู่จริง ที่มนุษย์พยายามประดิษฐ์โกงธรรมชาติมานานหลายร้อยปีเพื่อให้ได้กุหลาบสีฟ้าที่อาจจะไม่มีใครอยากได้.. ..วันวาเลนไทน์ทำไมกุหลาบถึงแพง เพราะเครื่องบินที่ส่งดอกกุหลาบจากเอกวาดอร์หรือโคลอมเบีย ต้องบินเครื่องเปล่าตีกลับประเทศจึงทำให้ต้องเพิ่มค่าขนส่งส่วนนั้นไปในค่าดอกไม้โดยปริยาย.. ..ดอกไม้เดินทางข้ามโลกมาด้วยวิธีการมากมายเกินกว่าคุณจะนึกถึง ทั้งขั้นตอนการปลูกและโตที่ถูกควบคุมทุกขั้นตอนแทบจะเหมือนการผลิตปลากระป๋องเลย ดอกไม้กลายเป็นอุตสาหกรรมใหญ่อุตสาหกรรมหนึ่งของโลกเกินกว่าที่คุณจะจินตนาการออกไปแล้ว ..และสำหรับหนุ่มๆทั้งหลาย ผมขอบอกเลยว่า 14 กุมภา เป็นวันของดอกกุหลาบเท่านั้น เพราะถ้าข้ามมาเป็น 15 กุมภาคุณต้องเสียเงินซื้อ tiffany แทนแล้วล่ะ

China 5.0 สีจิ้นผิง เศรษฐกิจยุคใหม่ และแผนการใหญ่ AI

ตอนแรกที่หยิบมาอ่านผมสงสัยว่าทำไมต้อง China 5.0 ทั้งที่ Thailand เพิ่งจะประกาศ 4.0 เอง แล้วไอ้เจ้า 5.0 ที่ว่านี้คืออะไร . พออ่านจบก็เลยเข้าใจได้ว่า 5.0 ก็คงเปรียบได้ว่าเป็นยุค AI เพราะ 4.0 ที่นิยามกันส่วนใหญ่เป็นแค่ยุค Digital . บางคนอาจมีคำถามต่อไปว่า แล้ว Digital ไม่ใช่ AI หรือ . ต้องตอบว่าไม่ใช่ครับ เพราะ…

เสรีภาพในการพูด Free Speech

เป็นส่วนหนึ่งของสิทธิมนุษยชน #HumanRights ที่ว่าด้วยมนุษย์เราล้วนเท่าเทียมกันและมีเสรีภาพที่จะทำอะไรก็ได้ตราบที่ไม่ไปรบกวนเสรีภาพของผู้อื่น และการพูดก็เป็นอีกหนึ่งประเด็นสำคัญที่เป็นนามธรรมว่าเส้นแบ่ง หรือขอบเขตของเสรีภาพในการพูดที่เหมาะสมนั้นควรอยู่ที่ไหน . ทำไมเสรีภาพในการพูดถึงสำคัญ? . เพราะในโลกประชาธิปไตย การเปิดโอกาสให้ผู้คนต่างแสดงความคิดเห็นได้อย่างไม่ปิดกั้นนั้นทำให้เกิดโอกาสในการพัฒนาความคิดนั้นให้ดียิ่งขึ้น หรือไม่ก็เป็นการลบล้างความคิดที่ไม่ดีหรือแข็งแรงพอให้ล้มหายตายจากไป . เสรีภาพในการพูดทำให้เกิดการโต้แย้ง ถกเถียง ลับคม พัฒนา ทำให้ความคิดของผู้พูดนั้นต้องวิวัฒนาการเพื่อให้สามารถพิสูจน์ได้ว่าความคิดนั้นดีพอที่จะอยู่รอดได้ . ผู้ที่ยึดถือเสรีภาพในการพูดที่ยิ่งใหญ่และเป็นตำนานของโลกมากที่สุดคงหนีไม่พ้น #โสกราตีส . โสกราตีสผู้หญิงทั้งครูและวีรบุรุษของปราชญ์อย่างเพลโตที่เราคุ้นเคยกันดีนั้นยอมปกป้องเสรีภาพในการพูดด้วยชีวิตของตัวเอง . ด้วยความที่เป็นคนช่างพูด และช่างถาม จนทำให้บรรดาเหล่าผู้ปกครองในนครกรีกเวลานั้นต่างหวาดกลัวความคิดของโสกราตีสและเป็นห่วงคนรุ่นใหม่ในนครรัฐตอนนั้นยิ่งนัก . จนบรรดาเหล่าผู้ปกครองมีมติร่วมกันว่าให้ปิดปากโสกราตีสซะ . อ่านถึงตรงนี้อาจคิดว่า…