สยามมหกรรม การเมือง วัฒนธรรม กับการช่วงชิงความเป็นสาธารณะ

สรุปหนังสือสยามมหกรรม เขียนโดยปรีดี หงษ์สต้น หนังสือที่อธิบายให้เข้าใจว่าสมัยก่อนชนชั้นผู้นำในไทยจัดงานมกกรรม หรือ อีเวนท์ต่างๆ ขึ้นมาอย่างยิ่งใหญ่โดยมีวัตถุประสงค์อะไรอยู่เบื้องหลังบ้าง งานมหกรรมไม่ใช่เพื่อประชาชน อย่างการจัดงานที่เลียนแบบ Expo จากยุโรปและตะวันตกในสมัยก่อน ก็เพื่อต้องการทำให้คนยุโรปในไทยเองเห็นว่าประเทศไทยก็ศิวิไลซ์เหมือนกัน เพียงแต่งาน Expo ในไทยที่จัดตอนนั้นมีความต่างจากชาติตะวันตก ตรงที่ไม่เปิดให้ประชาชนคนทั่วไปได้เข้าชม ถูสงวนไว้เฉพาะคนที่ถูกเชิญ ซึ่งก็มีแต่ชนชั้นสูงและฝรั่งชาวต่างชาติทั้งนั้น อีกวัตถุประสงค์หนึ่งกลายๆ ของงาน Expo คือเพื่อป้องกันไม่ให้ชาติตะวันตกรุกรานยึดครอง เพราะเป็นการทำให้ฝรั่งเห็นว่าประเทศเราก็เจริญคล้ายๆ เขา เขาจะมาใช้ข้ออ้างว่าจะยึดเพื่อยกระดับพัฒนาประเทศไทยไม่ได้ ทั้งที่ความจริงที่เจริญแค่ในงาน และกระจุกแค่ในจุดเล็กๆ ในเมือง เลิกทาสเพื่อลดอำนาจขุนนาง หนังสือเล่มนี้บอกให้รู้ว่าการเลิกทาสในไทยแท้จริงแล้ววัตถุประสงค์เบื้องหลังคือเพื่อลดอำนาจขุนนางทั้งหลายลง…

การเมืองเรื่องพระพุทธรูป

เมื่อพูดถึงพระพุทธรูป รูปจำลองเคารพถึงพระพุทธเจ้าในศาสนาพุทธที่เป็นศาสนาหลักที่คนส่วนใหญ่ในชาตินับถือ แต่จะมีซักกี่คนที่รู้เหมือนผู้เขียนว่าเบื้องหลังของพระพุทธรูปนั้นมีการเมืองแฝงอยู่แบบที่นึกไม่ถึง หนึ่ง เพื่อความเคารพ แน่นอนว่าพระพุทธรูปอยู่ที่ไหน คนไทยส่วนใหญ่ก็จะให้ความเคารพกันทั้งนั้น ไม่ว่าจะพุทธหรือไม่ใช่พุทธ แต่ถ้าเป็นคนไทยหรือไม่ใช่ไทยแต่อยู่ในไทยมานาน ก็พอจะรู้ว่าคนไทยนั้นให้ความเคารพพระพุทธรูปอย่างถึงที่สุด แต่อีกนัยหนึ่งคือเพื่อให้ “คนเคารพ” ผู้ที่อัญเชิญพระพุทธรูปนั้นมาอยู่ในครอบครอง ในสมัยก่อนย้อนกลับไปถึงสมัยพระเจ้าตากสิน และเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก(รัชกาลที่ ๑) ก็มีการไปตีเอาเมืองขึ้น แล้วก็ยึดเอาพระพุทธรูปของเมืองเหล่านั้นมาอยู่ในครอบครองที่เมืองหลวงของตัวเอง (ในสมัยนั้นคือกรุงธนบุรี แล้วค่อยมาเป็นกรุงเทพมหานคร) เป็นการแสดงอำนาจที่เหนือกว่าโดยนัยว่าสิ่งสำคัญที่เป็นที่เคารพบูชาสูงสุดของเมืองนั้นตกเป็นของเมืองนี้ ทั้งพระแก้วมรกตที่ได้มาจากเมืองลาว และยังมีพระบาง ที่ได้มาจากเมืองหลวงพระบาง แต่ในตอนหลังมีการนำพระบางกลับคืนไปยังเมืองเดิม เพราะเชื่อว่าถ้าพระแก้วมรกตและพระบางอยู่ด้วยกันจะทำให้แห้งแล้ง ข้าวของแพง ผู้คนอดอยาก ดังนั้นในช่วงยุคระหว่างพระเจ้าตากสินมหาราช และรัชกาลที่…

ผัวเดียวเมียเดียว

“ผัวเดียวเมียเดียว” คงไม่มีใครว่าแปลกในทุกวันนี้ แต่ถ้าย้อนหลังกลับไปไม่ถึงร้อยปีเชื่อหรือไม่ว่าเป็นเรื่องแปลกที่ไม่มีใครยอมรับ และก็ไม่มีกฏหมายรองรับด้วย แต่เดิมทีสังคมไทยเป็นสังคมแบบ “ผัวเดียวหลายเมีย” มาแต่ครั้งโบราณกาล จนเพิ่งมาเปลี่ยนแนวคิด แนวปฏิบัติ จนออกมาเป็นกฏหมายรองรับ “ผัวเดียวเมียเดียว” ก็ในช่วงทศวรรษ 2480 เมื่อ 70กว่าปีก่อนเท่านั้นเอง แล้วทำไมต้องกลายมาเป็นผัวเดียวเมียเดียวด้วยล่ะ? ก็เพราะว่า “สยาม” หรือชาติไทยในยุคล่าอาณานิคมนั้น ที่เพื่อนบ้านล้วนตกเป็นของชาติตะวันตกทั้งนั้น ไม่ว่าจะพม่า มลายู กลายเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ หรือลาว กัมพูชา เวียดนาม กลายเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศส พี่ไทยก็เลยเหลือตัวลีบๆแบบๆที่แม้จะบอกว่าเราไม่เคยตกเป็นเมืองขึ้นของใคร แต่ในความเป็นจริงแล้วเราตกอยู่ในภาวะที่เรียกว่า “กึ่งอาณานิคม”…

บันทึกการเดินทางของ อ็องรี มูโอต์

เป็นหนังสือเรื่องเล่าจากบันทึกนักเดินทางชาวฝรั่งเศษผู้มาสำรวจเมืองสยาม กัมพูชา ลาว และอินโดจีนตอนกลางส่วนอื่นๆ เมื่อกว่า 160 ปีก่อน เป็นหนังสือที่อ่านสนุกกว่าที่คิดแม้หน้าปกจะดูคร่ำครึชวนเบื่อ แต่เรื่องราวการเดินทางของเค้ากลับสนุกแปลกใหม่เปิดมุมมองที่ไม่เคยคิด และเรื่องราวของเมืองไทยและเพื่อนบ้านไกล้ตัวที่ไม่เคยรู้มากมาย.. ..อ็องรี มูโอต์ กล่าวถึงคนสยามตามมุมมองคนนอกอย่างตรงไปตรงมาว่าประมาณว่า “ชาวสยามดูเป็นคนซื่อๆ โหนกแก้มสูง แลดูเกรียจคร้านไม่ใส่ใจการงาน แค่หุงข้าวกินหนึ่งถ้วยกับเครื่องชูรสเล็กน้อยก็สามารถนอนหรือเล่นสนุกมีความสุขได้ทั้งวัน” นี่คือคนไทยในสายตาฝรั่งเมื่อกว่า 160 ปีก่อน แต่เค้าก็พูดถึงข้อดีของคนสยามสมัยนั้นว่า “แลดูเป็นคนใจดีมีน้ำใจ รักญาติมิตรพี่น้อง เวลามีปัญหาอะไรกันก็จะร่วมกันรวมหัวแก้ไขให้ลุล่วงไปด้วยดี หรืออย่างน้อยก็ผ่อนหนักเป็นเบาร่วมกันให้ผ่านพ้นไปได้” พอนึกถึงปัจจุบันนี้ไม่แน่ใจว่าลักษณะนี้ในสังคมไทยยังเหลือมากน้อยแค่ไหนกัน.. ..อ็องรี มูโอต์ นักเดินทางผู้นี้โด่งดังจากการเป็นผู้เปิดเผยความงามของนครวัด นครธม…

ไขปริศนาประเด็นอำพราง ในประวัติศาสตร์ไทย

เป็นหนังสือประวัติศาสตร์จากหลักฐานขั้นต้นใหม่ๆโดยคุณไกรฤกษ์ นานา ไม่ต้องสงสัยว่าเกี่ยวอะไรกับถนนนานาเพราะว่าเกี่ยวเต็มๆ เพราะเป็นลูกหลานตะกูลชื่อถนนเส้นนั้น ดูหน้าปกชวนซีเรียสแต่ใครจะเชื่อว่าอ่านง่ายและสนุกมากที่ได้รู้เบื้องหลังชาติตัวเองแบบหนังสือเรียนไม่เคยสอน อย่างเรื่องที่เราสงสัยว่าทำไมสมัยก่อนชาติตะวันตกอย่างอังกฤษ และฝรั่งเศสถึงพยายามยึดครองแย่งชิงสยามเมืองไทยจังเลย ความจริงแล้วเปล่าครับ เค้าแทบไม่ได้สนใจอะไรเมืองไทยเราซักเท่าไหร่ แต่ที่เค้าต้องเข้ามาไกล้เพราะเค้าสนใจประเทศจีนต่างหาก เพราะทางด้านบนของจีนถูกรัสเซียปิดทางเข้าเลยต้องพยายามหาทางเจาะเข้าจากทางอื่น อังกฤษเข้าทางพม่าเพราะติดกับอินเดียที่เป็นอาณานิคมของตัวเองอยู่แล้ว ส่วนฝรั่งเศสเลือกเข้าทางญวน(เวียดนามปัจจุบัน)เพราะทำสัญญาไม่สู้รบกันเองกับอังกฤษ ส่วนไทยก็แค่โดนเบียดเสียดเอาเมืองในบรรณาการของตัวเองไป จะมีก็แต่ปัญญาทางด้านเหนืออย่างล้านนา ล้านช้าง และเชียงตุง ที่ทั้งอังกฤษและฝรั่งเศสต่างก็ต้องการเพื่อเป็นทางเข้าไปสู่การค้าขายกับจีนทางใต้ที่ยูนาน เพราะสมัยนั้นจีนบีบบังคับให้ต่างชาติต้องเข้ามาค้าขายผ่านทางกวางตุ้ง และเซี่ยงไฮ้เมืองท่าเท่านั้น และการเดินทางมาทีก็ใช้เวลาเดินเรือนานมากค่าใช้จ่ายเยอะ นี่เป็นเหตุผลที่อังกฤษและฝรั่งเศษสนใจเอเซียตะวันออกเฉียงใต้นั่นเอง เรื่องที่สองที่น่าสนใจคือเมกะโปรเจคสมัยรัชการที่ 5 นั่นคือการทำเส้นทางรถไฟสู่เมืองจีน และการขุดคอคอดกระ ในสมัยนั้นอังกฤษพยายามหาทางปูเส้นทางรถไฟจากพม่าใต้ขึ้นสู่เหนือเข้าถึงทางจีนตอนใต้แต่ด้วยอุปสรรคจากสภาพภูมิประเทศทางด้านเหนือของพม่านั้นไม่ยากลำบากมากต่อการสร้างทางรถไฟ อังกฤษเลยขออนุญาตเข้ามาสำรวจทางแดนล้านช้างของเราและก็พบความเป็นไปได้ที่จะสร้างทางรถไฟตัดผ่านจากพม่า เข้ามาทางตากขึ้นสู่ล้านช้าง(เชียงราย)แล้วก็เข้าสู่ยูนานจีนใต้นั่นเอง แต่รัชกาลที่…