The Worlds is Round ล่องคลื่นโลกาภิวัฒน์ 1

หนังสือเล่มนี้เขียนโดยคุณสฤณี อาชวานันทกุล นักเขียนและนักแปลใจดวงใจ เพราะห้องหนังสือบ้านผมมีหนังสือของเค้าคนนี้เยอะมากครับ คุณสฤณีชอบเขียนหรือแปลหนังสือแนวระบบเศรษฐกิจแบบรักษ์โลก หรือจะเรียกว่าทุนนิยมสีเขียวก็ว่าได้ ซึ่งเป็นหนังสืออีกสไตล์ที่ผมชอบมากโดยไม่รู้ตัว จนผมบังเอิญได้หนังสือเล่มนี้จากร้านหนังสือสำนักพิมพ์สมมติ ที่เป็น pop-up store เล็กๆตั้งอยู่เส้นกัลปพฤกษ์ บอกได้เลยว่าเป็นร้านที่ถ้าไม่ตั้งใจมาก็ยากที่จะเจอได้ หนังสือเล่มนี้เขียนขึ้นเมื่อสิบกว่าปีมาแล้ว แต่ก็ยังคงมีเนื้อหาแง่มุมที่น่าสนใจ เพราะเป็นเรื่องใกล้ตัวแต่กลับไม่เคยได้รู้จักมาซักเท่าไหร่เลย เช่น การประกันพืชผลบนดัชนีอากาศ ต้องบอกว่าได้ยินเรื่องนี้ก็จากหนังสือทุนนิยมที่มีหัวใจ ของคุณสฤณี ที่ได้ไปบรรยายให้มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนเมื่อสิบกว่าปีก่อนเหมือนกัน เป็นแนวคิดการทำประกัยภัยของชาวสวนไร่นาที่ฟังดูโลกาภิวัฒน์มาก จากเดิมการทำประกันพืชผลนั้นทำกันบนเรื่องของราคาขาย ว่าถ้าราคาในปีไหนตกต่ำกว่าที่ทำประกันไว้ ก็จะได้รับเงินชดเชย หลายครั้งเราเห็นบรรดาชาวสวนไร่นาเดินทางเข้าเมืองกรุงเพื่อมาเรียกร้องกระทรวงหรือนายกให้ช่วยรับประกันราคาพืชผลที่เพาะปลูกไว้ให้หน่อย พอได้ตามข้อเรียกร้องก็ยกกันกลับไป นี่คือเรื่องที่ผมได้ยินมาตั้งแต่สมัยเด็กก็ว่าได้ครับ คุณสฤณีให้มุมมองที่น่าสนใจว่า การรับประกันเรื่องราคาพืชผลนั้นอาจทำให้เกษตรกรไม่ยอมเปลี่ยนไปปลูกอย่างอื่นที่น่าจะดีกว่ากับสภาพผืนดินและอากาศในถิ่นของตัวเอง…

เรื่องชาวบ้าน

โดย พิช วิชญ์วิสิฐ พูดชื่อนี้หลายคนอาจงงว่าใคร แต่ถ้าบอกว่าเป็นนักแสดงนำชายในเรื่อง “รักแห่งสยาม” และนักร้องนำวงออกัสหลายคนคงร้อง..อ๋ออออออออออ นั่นแหละครับ เค้าคนนี้ทุกวันนี้ทำงานมากมายหลายด้านนักคิดนักเขียน และเค้านิยามตัวเองว่าเป็น “นักฝัน” เพราะฝันโน่นฝันนี่และทำไปเรื่อย และหนึ่งในนั้นก็กลายเป็นหนังสือเล่มนี้ที่ผมเพิ่งอ่านจบไป เรื่องชาวบ้าน ประโยคคุ้นหูที่คล้ายๆกับคำว่า “เสือก” ในความคิดผม เพราะเรื่องชาวบ้านนั้นไม่มีอะไรเกี่ยวกับเราเลยเพราะมันหมายถึงการพูดถึงบุคคลที่สามที่อยู่ในระแวกบ้านก็ว่าได้ แม้แต่การที่ผมเขียนอยู่นี่ก็เป็นการเขียนถึง “เรื่องชาวบ้าน” ที่เป็นหนังสือของผมเหมือนกัน เรื่องในหนังสือไม่ขอเอ่ยถึงเพราะอยากให้คุณได้ไปลองหาอ่าน จะยืนอ่านฟรีตามร้านหนังสือ หรือยืมเพื่อนอ่านแล้วไม่คืนก็ “เรื่องของคุณ” รู้แต่ว่าผมอยากจะเม้าส์และเล่าเรื่องชาวบ้านบ้างเมื่ออ่านจบเหมือนกัน ว่าแล้วก็ขอเล่าเรื่องชาวบ้านซักเรื่องก็แล้วกัน เรื่องชาวบ้านของผมคือพี่ยามคนนึงในหมู่บ้านผม พี่เค้าอายุเท่าไหร่ไม่สามารถคาดเดาได้ รู้แต่เค้าเรียกผู้ชายทุกคนที่ดูเป็นเจ้าของบ้านในหมู่บ้านนี้ว่า…

เปิดเทอมใหญ่วัยทำงาน

โดย โอมศิริ วีระกุล คนเดียวกับที่เขียน สิ่งที่เจ้านายไม่เคยบอก นั่นแหละครับ เหมือนกันครับหนึ่งในนักเขียนคนไทยที่พอบังเอิญได้อ่านเล่มแรกแบบไม่ตั้งใจก็ฝากตัวเป็น FC ชั้นดีรอวันแล้ววันเล่าว่าเมื่อไหร่จะออกเล่มใหม่ แล้วก็นี่ครับ..มาอยู่ในมือผมเรียบร้อยแล้ว เหมือนเช่นเคยครับ ผู้เขียนบอกเล่าประสบการณ์ตรงจากตัวเองและคนรอบข้างมาให้เราฟัง บางเรื่องก็รู้อยู่แล้ว บางเรื่องก็ไม่เคยรู้ และบางมุมก็ไม่เคยคิดครับ ในเล่มนี้แบ่งออกเป็น 23 บทอ่านง่ายๆ ผมว่าถ้าคนที่ไม่เคยอ่านหนังสือแล้วอยากหาหนังสือซักเล่มอ่าน ผมว่าเล่มนี้เป็นตัวเลือกที่ดีโดยเฉพาะคนทำงานอย่างเราๆ งั้นผมขอสรุปเป็นเรื่องๆที่น่าสนใจจากในเล่มไว้ให้ตัวผมเองเมื่อเปิด timehop เห็นปีหน้าจะได้อ่านทวนความคิดตัวเองอีกครั้งนึง 1. อย่าอ้อยอิ่งใช้เวลากับงานมากเกินไป พยายามสร้าง deadline ขึ้นมากับทุกงาน ถ้างานเดียวกันถ้าคนนึงสามารถจัดการได้จบใน 8…

Power Bride เจ้าสาวที่กลัวสวย

นิดนก หนึ่งในนักเขียนไทยอีกหนึ่งคนที่ผมชื่นชอบในสำบัดสำนวนการเล่าของเธอเหลือเกินหลังจากได้อ่านหนังสือของนิดนกครั้งแรกชื่อ two be contunued โปรดติดตามตอนแต่งไป ความอร่อยของคำที่ใช้เหมือนสั่งไก่ทอดหาดใหญ่แต่อุดมไปด้วยหอมและกระเทียมเจียวเพื่อเพิ่มรสชาติอย่างไงอย่างงั้น ทำให้ไม่กล้าหยิบหนังสือของนิดนกออกไปอ่านร้านกาแฟนอกบ้านเพราะคนจะคิดว่าผมบ้า อ่านไปหัวเราะเสียงดังไป เลยขออ่านอยู่บ้านแบบระเบิดขำเต็มตัวดีกว่า เจ้าสาวที่กลัวสวย ของนิดนกเล่มนี้ว่าด้วยเรื่องก่อนจะแต่งงาน และการจีบผู้ชายเชิงรุกของนิดนกเอง ที่ไม่รอให้ผู้ชายเข้าหาแต่เลือกที่จะพุ่งเป้าเอาตัวเป็นกระสุนพุ่งเข้าไปหาชายเป้าหมายที่ปัจจุบันกลายเป็นสามีที่ถูกต้องตามกฏหมายของเธอก็คือ เอกชัย เรื่องราวก่อนงานแต่งของนิดนกนั้นเต็มไปด้วยเรื่องเล่าที่ออกมาจากประสบการณ์จริงของคนชนชั้นกลางที่ต้องพยายามเตรียมหลายสิ่งด้วยตัวเอง ทำให้เราพอได้ภาพความวุ่นวายที่ชวนจะปวดหัวเหลือเกินกับการจัดงานแต่งงานของเธอ ถ้าไม่อ่านจนจบผมก็คงไม่รู้ว่าไหงงานแต่งดีเทลมันเยอะกว่าการจัดอีเวนท์โฆษณาหรือถ่ายหนังออกกองอีกวะ ต้องหาที่ คิดตีม ออกแบบการ์ด เลือกของชำร่วย หาชุดแต่งงาน เลือกร้านอาหาร สวดมนต์ นิมนต์พระ หาฤกษ์งามยามดี ยังมีอีกร้อยสิ่งที่ผมจำได้ไม่หมดแต่สรุปได้เลยว่า “เยอะจนท่วมกบาล” ในเรื่องนึงที่ผมอ่านแล้วก็ชอบในตัวนิดนกก็คือตอนที่เธอเลือกหาชุดแต่งงาน…

ทุนนิยมที่มีหัวใจ ทางเลือกใหม่แห่งการพัฒนา

หนังสือเล่มนี้ค่อนข้างแปลกในความคิดผม เพราะเป็นหนังสือที่เอาคำพูดที่คุณ สฤณี อาชวานันทกุล ที่ไปบรรยายให้กับมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนในเรื่องของ “ทางรอดทุนนิยม: สังคมแห่งความร่วมมือ” ในวันนั้น พร้อมกับสิ่งที่ผู้บรรยายและผู้ฟังในวันนั้นได้ถกเถียงกันให้กลายเป็นหนังสือเล่มนี้ ดังนั้นหนังสือเล่มนี้เลยให้อารมณ์เหมือนได้ฟังเลคเชอร์ร่วมกับผู้ฟังคนอื่นๆ ขาดก็แต่ไม่ได้ร่วมถกเถียงความคิดที่แวบขึ้นมาในหัวด้วยเท่านั้น “ทุนนิยม” กลายเป็นระบบทางเศรษฐกิจยอดนิยมอันดับหนึ่งของโลกในวันนี้ แม้แต่คอมมิวนิสต์ก็ยังยอมที่จะเป็นทุนนิยม จีนก็เป็นหนึ่งในทุนนิยมที่เติบโตเร็วที่สุดในโลกต่อเนื่องมากว่า 30 ปี นับแต่เปิดประเทศรับทุนเข้ามาและปล่อยให้ทุนไปตามความนิยมของเจ้าของทุนมากขึ้น แต่เมื่อเศรษฐกิจโตมากขึ้นเรื่อยๆ เราก็ไม่ค่อยแน่ใจว่า “ทุนนิยมในปัจจุบัน” หรือ “ทุนนิยมแบบตลาดเสรี” นั้นจะดีต่อเราและโลกจริงหรือ เพราะในขณะที่เศรษฐกิจในหลายประเทศโตวันโตคืน แต่กับทรัพยากรและธรรมชาตินั้นกลับร่อยหรอลงทุกทีๆ จนวันนี้ธรรมชาติเริ่มกลับมาเอาคืนมนุษย์เรามากขึ้นผ่านภัยธรรมชาติทั้งหลายที่เราก็ยังรับมือไม่ค่อยไหว เพราะแนวทางของทุนนิยมทุกวันนี้นั้นคือการแข่งกันลงเหว หรือที่เรียกว่า Race…

GameChangers เปลี่ยนเกมธุรกิจ พลิกเป็นผู้ชนะ

เป็นหนังสืออีกเล่มที่อยากแนะนำให้เพื่อนๆนักสายนักการตลาด นักธุรกิจ หรือเจ้าของกิจการ และใครก็ตามที่สนใจอยากรู้ว่าโลกธุรกิจในวันนี้เปลี่ยนไปยังไง รวมถึงเรื่องราวของ 100 บริษัทที่น่าสนใจแต่น้อยคนนักจะรู้จักทั้งหมดให้เรียนรู้กัน Game Changers ความหมายก็ตรงตัวคือตัวเปลี่ยนเกม ถ้าเป็นฟุตบอลก็คือนักเตะที่เข้ามาพลิกเกมจากไล่ตามเป็นนำได้เลย ในแง่ของธุจกิจก็เหมือนกันครับ Game Changers คือคนที่เข้ามาเปลี่ยนตลาด เปลี่ยนกฏกติกา หรือคือการเปลี่ยนกระดานแผ่นเดิมไปเล่นเกมใหม่ที่ตัวเองเป็นผู้สร้างกฏขึ้นมา การคิดแบบ Game Changers คือการไม่เล่นตามเกมของใคร ไม่เล่นตามกติกาเดิมที่อาจไม่มีวันชนะ แต่ออกไปสร้างเกมใหม่ขึ้นมาให้ตัวเองเป็นผู้ชนะและได้เปรียบไปอีกนาน ตัวอย่างง่ายๆในเล่มก็เช่น IBM IBM ที่เปลี่ยนตัวเองจากที่เคยขายอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ หรือโปรแกรมให้กลายเป็นผู้ให้คำปรึกษาธุรกิจ กลายเป็น IBM…

ก้าวแรกที่เท่าเทียม, GIVING KIDS A FAIR CHANGE

การศึกษาเพื่อสร้างโอกาสที่เสมอภาคแก่เด็กทุกคน เขียนโดย James Heckman นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบล เมื่อพูดถึงโลกแห่งความเท่าเทียม ผมว่าที่ไกล้เคียงที่สุดคงเป็นวรณกรรมเรื่อง Utopia จะว่าเป็นวรรณกรรมได้มั้ยในเมื่อผู้เขียนนั้นเขียนบันทึกจากการบอกเล่าของชายคนหนึ่งที่อ้างว่าได้ไปพบกับดินแดนดังกล่าวเมื่อกว่า 500 ปีก่อน โดย Sir Thomas More ดินแดนที่ว่าด้วยความเท่าเทียมอย่างที่สุด ทุกคนมีกินมีใช้เท่ากัน ไม่มีใครพิเศษไปกว่าใคร สิ่งเดียวที่ดินแดนแห่งนี้แตกต่างกันคือความสนใจใคร่หาความรู้ แต่ก็นั่นแหละครับ Utopia ถ้าว่าไปแล้วก็สังคมนิยมดีๆนี่เอง ทุกคนทำงานเหมือนกัน ได้รับผลตอบแทนเท่ากัน ไม่มีการสะสมทุน ไม่มีความทะเยอะทะยาน ไม่มีชนชั้นวรรณะ แต่ก็ไม่นะ ใน Utopia…

สัตว์โลกสัปดน Weird Mate

จากเพจเฟซบุ๊คสุดกี๊ค สู่หนังสือ Pop Science สุดซี้ด ใครจะคิดว่าเรื่องเซ็กส์กับสัตว์นั้นจะแปลกประหลาดเกินจินตนาการได้ถ้าไม่ได้ลองอ่านหนังสือเล่มนี้ หรือไม่ได้รู้จักเพจ “สัตว์โลกสัปดน” ที่คนเขียนสร้างเพจไว้ ใครบ้างจะรู้ว่าการกำหนดเพศนั้นไม่ได้มาจากแค่โครโมโซมเหมือนมนุษย์เท่านั้น แต่ในสัตว์หลายจำพวกเช่น จรเข้ สามารถกำหนดเพศของลูกที่กำลังจะฟักออกมาจากไข่ด้วยอุณหภูมิ! ใช่ครับ แค่อุณหภูมิก็สามารถเลือกเพศได้แล้ว ถ้าอยากได้จรเข้เพศผู้ก็ต้องให้อยู่ในอุณหภูมิช่วง 30 องศาเซลเซียล แต่ถ้าอยากได้เพศเมียก็ต้องให้ร้อนขึ้นอีกหน่อยเป็นช่วง 32-34 องศาเซลเซียล (ถ้าจำสลับเพศก็ต้องขออภัยเพราะพยายามเปิดหาข้อมูในเล่มอีกรอบแล้วไม่เจอ) ส่วนสัตว์บางจำพวกอย่างหอยทางนั้นเป็นสัตว์ที่สามารถสลับเพศได้ในตัวเอง ขึ้นอยู่กับว่าใครจะโดนจิ้มก่อน ถ้าใครแพ้โดนจิ้มก่อนก็จะต้องกลายเป็นตัวเมียที่คอยอุ้มท้องต่อไป จนคราวหน้าค่อยหวังจะได้กลายเป็นเพศผู้ ส่วนมนุษย์เรานั้นคุ้นเคยกันดีว่าเราถูกกำหนดเพศด้วยโครโมโซมที่แลกเปลี่ยนกันของพ่อและแม่ในระหว่างช่วงอายุครรภ์ 6 สัปดาห์ ช่วงนั้นจะเป็นช่วงที่ฮอร์โมนกำหนดให้เกิดการเลือกเพศขึ้นมา…

Global Change 3

อาจารย์วรากรณ์ สามโกเศศ หนึ่งในนักเขียนน้อยคนที่เขียนให้คนธรรมดาแบบผมเข้าใจและหลงไหลในเรื่องเศรษฐศาสตร์ได้ เพราะแนวคิดของอาจารย์คือ “ไม่ต้องแบกบันไดอ่าน” จนผมเองเป็นหนึ่งคนที่ตามเก็บตามอ่านหนังสือของอาจารย์แทบทุกเล่มเท่าที่จะหาได้ ตั้งแต่ซีรียส์ “โลกนี้ไม่มีอะไรฟรี” ทั้งสิบเล่ม ขาดก็แต่เล่ม 6 ที่สำนักพิมพ์ไม่พิมพ์แล้วและก็หามือสองจากไหนไม่ได้ทั้งนั้น และชุดเศรษฐศาสตร์ชาวบ้านทั้ง 10 เล่มของสำนักพิมพ์ Openworlds และก็ตามมาถึงชุดใหม่นี้ Global Change ที่มาถึงเล่ม 3 แล้ว ถ้าถามว่าเศรษฐศาสตร์เกี่ยวกับคนเราชาวบ้านยังไง ผมว่าที่เกี่ยวที่สุดและเข้าใจง่ายที่สุดก็คือเรื่องของ “ปากท้อง” เพราะทุกอย่างที่เรากิน ทุกอย่างที่เราใช้ นั้นล้วนถูกผลิตสร้างเพื่อให้เศรษฐกิจเกิดการแลกเปลี่ยนทั้งในระดับชาวบ้านที่เรียกว่า เศรษฐศาสตร์จุลภาค และระดับชาติที่เรียกว่า…

เศรษฐกิจจีน Demystifying The Chinese Economy ปริศนา ความท้าทาย อนาคต

จีน ประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจเป็นเบอร์สองของโลกรองจากแค่สหรัฐ หนึ่งในประเทศที่ช่วงวิกฤตต้มยำกุ้งบ้านเราฟื้นตัวเร็วได้เพราะความแข็งแกร่งของค่าเงินหยวน หนึ่งในประเทศที่ปกครองแบบสังคมนิยมแต่กลับมีเศรษฐกิจแบบตลาดเสรีที่เปิดกว้างกว่าคอมมิวนิสต์ไหนๆในโลก หนึ่งในประเทศที่เศรษฐกิจโตแบบปาฏิหาริย์แบบเลขสองหลักโดยเฉลี่ยกว่า 30 ปีมาแล้ว หนึ่งในประเทศที่รายได้คนเมืองกับชาวชนบทยังต่างกันลิบลับ ค่าสัมประสิทธิ์จีนีพุ่งทะยานสูงเป็นลำดับต้นๆของโลก หนึ่งในประเทศที่ส่งออกสินค้าสุดล้ำไปให้คนทั้งโลก และยังเป็นหนึ่งในประเทศที่มีการบริโภคสูงติดลำดับต้นๆของโลกแล้วในวันนี้ หนังสือเล่มนี้เขียนโดย Justin Yifu Lin นักเศรษฐศาสตร์ชื่อดังที่มีชื่อเสียงที่สุดในประเทศจีน เคยเป็นรองกรรมการอาวุโสและนักเศรษฐศาสตร์ประจำธนาคารโลก มาบอกเล่าให้ฟังถึงประวัติศาสตร์ของเศรษฐกิจจีนตั้งแต่ยุคยิ่งใหญ่เมื่อหลายร้อยปีก่อน จนถึงยุคตกต่ำสุดขีดของจีนตั้งแต่ยุโรปปฏิวัติอุตสาหกรรมสำเร็จ จนถึงวันที่จีนกลับมายิ่งใหญ่อีกครั้ง แต่อย่าเพิ่งตกใจกลัวไปนะครับ เห็นหน้าปกดูจริงจัง ชื่อดูขึงขัง แต่เนื้อหาในเล่มกลับอ่านง่ายกว่าที่คิด สารภาพตอนแรกผมยังแอบกลับว่าจะอ่านไม่ค่อยเข้าใจเหมือนกัน แต่พออ่านไปกลับอ่านสนุก เข้าใจได้ ทำให้หนังสือที่มีตั้งสี่ร้อยกว่าหน้าสามารถอ่านจบได้ในไม่กี่วัน (ผมมีเวลาอ่านแค่ช่วงเช้าตอนอยู่บนรถไฟฟ้ามาทำงาน กับช่วงเย็นตอนอยู่บนรถไฟฟ้ากลับบ้านครับ)…