บ้านเล็กจัดให้ใหญ่ 3

สรุปหนังสือ บ้านเล็กจัดให้ใหญ่ 3 หนังสือที่คนเพิ่งซื้อบ้านควรอ่าน และคนที่ชอบแต่งบ้านควรมีติดบ้านไว้ เพราะหนังสือเล่มนี้จะให้ความรู้กับเทคนิคดีๆ ในการจัดบ้านที่มีพื้นที่จำกัด ให้มีพื้นที่ใหม่เพิ่มเติม ไปจนถึงรู้ว่าควรวางอะไรไว้ตรงไหนอย่างไร เพื่อให้เราได้ใช้ชีวิตในบ้านได้สะดวกสบายขึ้น ในฐานะที่ผมได้อ่านหนังสือบ้านเล็กจัดให้ใหญ่มาแล้ว 2 เล่มก่อนหน้า ดังนั้นเล่มที่ 3 จึงไม่พลาด ลองมาดูเทคนิคการจัดบ้านให้น่าอยู่ขึ้นบางข้อนะครับ ทำซ้ำ 3 ครั้ง การเลือกเฟอร์นิเจอร์ตกแต่งบ้านให้เป็นตีมเดียวกัน สีเดียวกัน มู้ดเดียวกัน อย่างน้อย 3 ชิ้น จะทำให้ห้องนั้นของเรา หรือบ้านนั้นของเราดูดีขึ้น เพราะห้องจะไม่หลุดตีมด้วยเฟอร์นิเจอร์ที่หลากสไตล์เกินไป ดังนั้นถ้าใครจะซื้อของแต่งบ้าน…

อ่านแบบก่อสร้างให้เป็น

อ่านแบบก่อสร้างให้เป็น เป็นหนังสืออีกเล่มที่แนะนำให้เจ้าของบ้านควรหามาอ่านติดบ้านไว้ เพราะเรื่องบ้านไม่ใช่เรื่องบ้านๆอย่างที่เคยคิดกัน บ้านหนึ่งหลัง เต็มไปด้วยรายละเอียดมากมาย ส่วนที่มองเห็นได้ของบ้านเป็นแค่ส่วนเล็กๆของบ้านทั้งหลัง เพราะส่วนที่มองไม่เห็นของบ้านนั้นกลับเป็นส่วนประกอบมากมาย ไม่ว่าจะระบบไฟฟ้า ระบบสุขาภิบาล หรือแม้แต่กระทั่งระบบเสาเข็ม บรรดา หรือหลังคาก็ตาม หนังสือเล่มนี้ผู้เขียนเปรียบเทียบได้น่าสนใจว่า เป็นเสมือนคู่มือเรียนรู้ภาษาบ้าน ภาษาของช่างของวิศวกร เพื่อที่ว่าวันหนึ่งที่คุณจะต้องยุ่งกับบ้าน คุณก็จะสามารถพูดภาษาเดียวกับเค้าได้ เปรียบให้ง่ายอีกนิด ก็เหมือนถ้าคุณไม่รู้ภาษาอังกฤษ แต่คุณต้องคุยกับคนอังกฤษด้วยความจำเป็น ก็คงจะลำบากไม่น้อย เพราะกว่าจะเข้าใจกันได้ก็คงมีการเข้าใจผิด หรือเข้าใจไม่ตรงกันมากมาย มีสองเรื่องน่าสนใจในเล่มที่ผมไม่เคยรู้ เรื่องแรกคือเรื่องสีฟ้า สีฟ้า แต่เดิมนั้นไม่เคยมีชื่อเรียกสีนี้ในบ้านเรา แต่เดิมทีสีฟ้าเราคนไทยจะเรียกว่าสีเขียว เหมือนกับคำว่า สุดหล้าฟ้าเขียว…

อะไรไม่จำเป็นก็ทิ้งไป

นั่นซิครับ อะไรไม่จำเป็นก็ทิ้งไปจริงๆนะครับ หนังสือเล่มนี้ไม่ได้สอนให้เรา “ทิ้ง” แต่สอนให้เรา “เลือก” เฉพาะอะไรที่จำเป็นหรือสำคัญในชีวิตเราเท่านั้น เพราะทุกวันนี้เราเต็มไปด้วยสิ่งไม่สำคัญกับชีวิตเรามากมาย ที่ทั้งดึงพลังงาน ดูดเวลา ทำให้เราเสียสมองหมดแรงกับเรื่องที่ไม่สำคัญอยู่แทบทั้งวัน ไม่ว่าจะเป็นข่าวคราวอัพเดทประจำวันที่ไม่ค่อยสำคัญกับชีวิตเราเท่าไหร่ เอาง่ายๆเราไม่รู้ก็ไม่ได้ทำให้เราโง่ขึ้นหรอกครับ แต่ในทางกลับกันยิ่งรู้มากขึ้นเรื่องพวกนี้กลับยิ่งแย่งชิงพื้นที่ในสมองและความสนใจจากเราไปจากสิ่งที่เราควรจะสนใจมากกว่า ใจความสำคัญของเล่มนี้พูดถึง “ข้าวของ” ต่างๆที่เราพยายามซื้อมาด้วยเงินที่เราพยายามหาให้ได้มากขึ้น ทั้งๆที่ข้าวของทั้งหลายกว่า 90% ในชีวิตเราที่เรามีนั้น เราไม่มีมันก็มีชีวิตอยู่ได้โดยไม่ลำบากขึ้นเท่าไหร่เลย แถมบางทีอาจทำให้เราสบายขึ้นด้วยซ้ำ เพราะเราไม่ต้องคอยเก็บกวาดดูแลรักษา จนไม่รู้ว่าในที่สุดเรา เราเป็นเจ้าของมัน หรือมันเป็นเจ้าของเรากันแน่ เพราะเรามักคิดเหมือนกันว่า การเป็นเจ้าของนั้นคือการได้มา แต่เปล่าเลยครับ ความจริงแล้วการเป็นเจ้าของที่แท้จริงคือการพร้อมจะทิ้งมันไปต่างหาก…

99เรื่องต้องรู้ก่อนมีบ้าน

และต่อให้มีบ้านแล้วก็ควรต้องอ่าน เพราะเชื่อได้เลยว่าหลายเรื่องเจ้าของบ้านไม่เคยรู้มาก่อนเลย อย่างผมมีบ้านของตัวเองมา 3 ปีแล้ว ใน 99 เรื่องผมกลับรู้ไม่ถึงสิบเรื่องด้วยซ้ำ วันนี้เลยขอหยิบยกบางเรื่องเอามาเล่าให้คนที่อยากมีบ้าน กำลังจะมีบ้าน และมีบ้านแล้ว ได้อัพเดทความรู้เอาไว้ ซี่กุญแจต้องหงายขึ้น…นึกภาพเวลาเรากำลังจะเข้าบ้านแล้วหยิบกุญแจจะเสียบเข้าลูกบิดประตูบ้านนะครับ ทีนี้ดูที่ลูกกุญแจของเราว่าตอนที่เรากำลังจะเสียบเข้ารูกุญแจเพื่อปลดล็อคบ้านนั้น มันจะมีสองด้าน ด้านที่เรียบๆกับด้านที่เป็นซี่ๆแบบฟันปลา การติดกุญแจประตูที่ถูกต้องนั้นต้องให้เราหันด้านซี่แหลมๆของลูกกุญแจขึ้นด้านบนเวลาจะไขเข้าประตูบ้านทุกครั้ง เพราะจะช่วยยืดอายุของสปริงในรูกุญแจให้ใช้ได้ยาวนานที่สุด กุญแจเขาควายดีกว่า…ถ้าไม่เห็นภาพประกอบก็คงจะงงได้ไม่ยาก แต่คิดภาพง่ายๆตามผมนะครับ กุญแจประตูส่วนใหญ่มีสองแบบที่เราคุ้นๆกัน คือแบบลูกบิดที่ใช้กันเป็นประจำ กับแบบเป็นก้านออกมาให้เราบิด กุญแจเขาควายคือแบบก้านครับ และที่ผู้เขียนแนะนำแบบนี้เพราะมันง่ายต่อการใช้งานกว่า เพราะแม้มือของคุณจะไม่ว่างบิดเพื่อเปิดเพราะหอบหิ้วของมาเต็ม ก็สามารถใช้ข้อศอกหรือแขนกดกุญแจแบบเขาควายเพื่อเปิดประตูได้ ดีใจที่กุญแจที่บ้านทางโครงการติดตั้งแบบนี้ให้หมดทุกห้องเลย บานเลื่อนอากาศรั่ว…ถ้าเราสังเกตุดูเวลาไปดูบ้านตามโครงการใหม่ๆ จะเห็นว่ามักติดตั้งประตูหรือกระจกบานเลื่อนไว้รอบบ้าน…

เจาะใจสาวนักช็อป What Women Want; The Global Market Turns Female Friendly

เขียนโดย Paco Underhill Paco Underhill เป็นผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหารของบริษัทเอนไวโรเซลล์ อิงค์ (Envirosell) บริษัทที่คอยสำรวจวิจัยนักช็อปปิ้งที่มีสาขาอยู่ทั่วโลก การช็อปปิ้งเป็นหนึ่งในศาสตร์ใหม่ที่เริ่มต้นขึ้นไม่นานมานี้ อาจจะกล่าวว่าเริ่มต้นพร้อมกับร้านค้าห้างร้านก็ว่าได้ การศึกษาพฤติกรรมการช็อปของนาย Paco คือการติดตาม เฝ้าดู จดสังเกตุว่า เมื่อมนุษย์เราไปใช้บริการร้านค้า หรือ ใช้บริการบริษัทต่างๆแม้แต่ธนาคาร คนเรามีพฤติกรรมตอบสนองต่อสิ่งรอบตัวในห้างร้านค้านั้นอย่างไร เล่มนี้เจาะลึกถึงผู้หญิง ซึ่งเป็นกลุ่มที่เปลี่ยนแปลงโลกของการช็อปอยู่ตลอดเวลาที่ผ่านมาให้พัฒนายิ่งขึ้นจากเมื่อเริ่มต้นห้างเมื่อประมาณ 70 ปีก่อน ในอดีตห้างค้าร้านขายนั้นไม่เข้าใจถึงกลุ่มลูกค้าหลักซึ่งก็คือผู้หญิงเอาเสียเลย เพราะอะไร..เพราะบรรดาเจ้าของกิจการและผู้ดำเนินการธุรกิจทั้งหลายล้วนแล้วแต่เป็นผู้ชายทั้งสิ้น เพราะความต่างสิทธิทางเพศในสมัยก่อนที่เอื้อประโยชน์แก่เพศชายเท่านั้น แต่ทุกวันนี้เปลี่ยนไป และเปลี่ยนไปเยอะมากตั้งแต่บรรดาห้างร้านค้ารับรู้ว่ากลุ่มเป้าหมายของเค้าไม่ใช่เพศชายอย่างที่เคยจินตนาการไว้อีกต่อไปแต่กลับเป็นผู้หญิงต่างหากที่ทำให้บริษัทมีกำไรไปจ่ายปันผลและซื้อรถสปอร์ตให้ผู้บริหารไว้ขับ ยกตัวอย่างแม้แต่ห้างอย่าง…

บ้านเล็กจัดให้ใหญ่

บ้านไม่จำเป็นต้องใหญ่ แต่ก็สามารถทำให้เราอยู่แล้วรู้สึกสบาย นี่แหละคือความหมายที่แท้จริงของคำว่า “บ้าน” บ้าน คือเป้าหมายในชีวิตคนใครหลายคนที่มักจะภาพของบ้านในฝันไว้ ไม่ว่าจะบ้านน้อยแต่พองาม หรือบ้านหลังงามอลังการ แต่ใช่ว่าการที่เราไม่ได้มีบ้านเป็นของตัวเองจะหมายความว่าเราจะเป็นคนไม่มีบ้าน เพราะเราทุกคนล้วนมีบ้านของเราในนิยามของเรา ไม่ว่าบ้านนั้นจะซื้อหรือเช่า บ้านนั้นจะเป็นคอนโดหรือทาวน์เฮ้าสท์ บ้านนั้นจะต้องแชร์พื้นที่อยู่ร่วมกับคนอื่น ไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ พื้นที่มากน้อยขนาดไหน หรูหราอลังการหรือแสนจะเรียบง่าย แต่นั่นก็คือ “บ้านของเรา” หนังสือเล่มนี้เขียนโดยนักออกแบบภายใน ที่ออกแบบพื้นที่การใช้ชีวิตในบ้านให้กับคนมากมาย ที่เอาประสบการณ์เป็นสิบปีมาถ่ายทอดให้ฟังว่าแท้จริงแล้วแม้บ้านจะเล็กก็สามารถรู้สึกว่าอยู่สบายกว่าบ้านหลังใหญ่ได้ หัวใจสำคัญที่ทำให้บ้านน่าอยู่ไม่ได้อยู่ที่การออกแบบ แต่อยู่ที่คนในบ้าน เพราะถ้าตีเป็น 100 คะแนนแล้ว การออกแบบทำให้บ้านน่าอยู่ได้แค่ 60 คะแนนเท่านั้น แต่พอเราเข้าไปอยู่คะแนนความน่าอยู่ของบ้านหลังนั้นจะเป็น…

The Anatomical Chart of Clutter ญี่ปุ่นเขาจัดบ้านกันแบบนี้ไง

เขียนโดยสถาปิกชาวญี่ปุ่นที่ผ่านการออกแบบบ้านมามากกว่า 100 หลัง มาถ่ายทอดเป็นเรื่องราวง่ายๆเต็มไปด้วยภาพประกอบทั้งเล่มไม่ว่าใครก็เข้าใจและทำตามได้ไม่ยาก.. ..การออกแบบบ้านที่ดีนั้นไม่ได้มาจากความหรูหราสวยงาม หรือเหมือนโรงแรมรีสอร์ท 5 ดาว หรือแม้แต่ภาพสวยๆจากนิตยสารบ้านและสวนซักเท่าไหร่..แต่การออกแบบบ้านที่ดีนั้นต้องออกแบบมาจากการใช้ชีวิตของผู้อยู่อาศัยในบ้าน บ้านต้องเข้ากับไลฟ์สไตล์ ไม่ใช่ปรับไลฟ์สไตล์ให้เช้ากับบ้าน.. ..เป็นหนังสือเล่มเล็กแต่ต้องใช้เวลาอ่านมากกว่าปกติ เพราะอ่านไปก็ยิ่งทำให้ต้องคิดตามหรือกลับมาสำรวจมองบ้านตัวเองเกือบเป็นระยะๆ ก็พบเจอสิ่งที่ต้องปรับปรุงในบ้านเราอยู่เรื่อยๆ.. ..แม้ปัญหาเล็กอย่างเรื่องการตากผ้าขี้ริ้วหรือผ้าเช็ดตัวก็เป็นเรื่องใหญ่ได้ง่ายๆ เพราะบ้านโครงการหรือคอนโดสมัยนี้ไม่ค่อยได้คิดถึงตรงนี้ไว้ ผ้าพวกนี้ต้องการแสงแดดและต้องพร้อมเข้าถึงได้ง่ายตลอดเวลา แต่กลับกลายเป็นว่าเราต้องเอาผ้าพวกนั้ไปตากแดดไกลกว่าที่ควร หรือไม่บางคนก็ยอมให้มันอับๆอย่างนั้นแหละเพื่อความสะดวก.. ..อยากจะบอกว่าถ้าไม่อยากต้องเสียเงินซื้อของมาแต่งหรือจัดบ้านเพิ่มขึ้นแบบผม(เดือนนี้เจ็บกับของที่ซื้อมาจัดบ้านจากอีเกียอีกเยอะมาก) ก็ข้ามเล่มนี้ไปซะ.. แต่ถ้าคุณรู้สึกว่าอยากปรับปรุงบ้านให้ดีขึ้น สะดวกขึ้น มีพื้นที่เก็บของเพิ่มขึ้น งั้นก็แนะนำว่าไม่ควรพลาดเล่มนี้ด้วยประการทั้งปวงครับ.. ..คงเหมือนคำโบราณที่ว่า “ปลูกเรือนตามใจผู้อยู่ ปลูกอู่ตามใจผู้นอน” กระมังครับ The…

ญี่ปุ่นเขาจัดร้านกันแบบนี้ไง The Anatomical Chart of Shop

หนังสือที่ว่าด้วยเรื่องของการจัดร้านแบบญี่ปุ่น ความจริงแล้วต้องบอกว่าการจัดร้านประเภทต่างๆจาก Know How แบบคนญี่ปุ่นโดยนักออกแบบชื่อดังมาถ่ายทอดให้เราพอได้มีความรู้พื้นฐานว่าการจะออกแบบร้านหรือจัดร้านต่างๆนั้นเค้าคิดยังไงกันบ้าง.. ..ในเล่มจะแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ 1 เคล็ดลับของร้านน่านั่ง เริ่มต้นด้วยร้านประเภทต่างๆ เช่น ร้านกาแฟ ร้านขนมหวาน ร้านพิซซ่า ร้านเหล้า ร้านปิ้งย่าง หรือร้านสะดวกซื้อ ในแต่ละร้านก็จะมีความต้องการของกลุ่มคนที่เข้ามาใช้บริการอยู่เบื้องหลัง เช่น ร้านกาแฟคนต้องการความคล้ายบ้านแต่พิเศษกว่าบ้าน ต้องการพื้นที่ส่วนตัวแต่ก็ยังต้องมีพื้นที่ส่วนรวมอยู่ในร้านเดียวกัน.. ..ส่วนที่ 2 ขนาดของห้องที่ชวนให้อยากอยู่ตลอดเวลา หรือจะบอกว่า แต่ละห้องของแต่ละร้านนั้นควรมีสัดส่วนแต่ละส่วนอยู่ที่เท่าไหร่ โตีะสำหรับวางคอมทำงานอาจมีความลึกแค่ 50cm และแต่ละคนอยู่ห่างกันแค่…