The Happiness Manual พฤติกรรมความสุข

หนังสือ The Happiness Manual หรือ พฤติกรรมความสุขเล่มนี้บอกให้รู้ว่า แท้จริงแล้วความสุขของคนเรานั้นไม่ได้ยุ่งยาก ลำบาก หรือมีราคาแพงแต่อย่างไร และที่คุณณัฐวุฒิ เผ่าทวี พูดไปก็ไม่ได้คิดเองเออเองแบบโค้ชไลฟ์มากมาย แต่มีข้อมูลหลักฐานเชิงประจักษ์ที่เป็นการทดลองแบบวิทยาศาสตร์มายืนยันว่าความสุขแบบวิทยาศาสตร์นั้นเป็นอย่างไร แต่จะบอกว่าเป็นวิทยาศาสตร์ก็ไม่ถูกนัก เพราะหนังสือเล่มนี้ออกไปทางเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม จิตวิทยา และการทดลองทางด้านสังคมวิทยาควบคู่กันไป เพราะฉะนั้นถ้าใครอยากรู้จักความสุขในแบบวิทยาศาสตร์ ผมแนะนำหนังสือเล่มนี้เลยครับ เพราะคุณจะได้รู้ว่าความสุขหรือความทุกข์ของเรานั้นเกิดจากความคิดเปรียบเทียบของตัวเราเองเป็นหลัก เพราะมีการทดลองหนึ่งที่พบว่า คนยอมได้เงินเดือนที่มีตัวเลขน้อยลงแต่สูงกว่าคนรอบตัวทั้งหมด ดีกว่าได้เงินเดือนเยอะขึ้นแต่น้อยกว่าคนรอบตัวทั้งหมด ดังนั้น การที่บริษัทไม่ยอมบอกเงินเดือนของพนักงานแต่ละคนให้ทุกคนได้รู้ถ้วนหน้า ก็น่าจะเป็นเหตุผลที่ดีสำหรับเราทุกคนแล้ว หรือปัญหาบางอย่างถ้าใช้เหตุผลก็แก้ง่ายมาก แต่พอใช้อารมณ์เป็นตัวนำในการตัดสินใจก็ทำให้ยากอย่างไม่น่าเชื่อ อย่างปัญหาที่มีชื่อว่า The…

ทุกพฤติกรรมมีความเสี่ยง โปรดอย่าลำเอียงก่อนตัดสินใจ

สรุปหนังสือ A Guide to Behaving Better หรือ ทุกพฤติกรรมมีความเสี่ยง โปรดอย่าลำเอียงก่อนตัดสินใจ เล่มนี้ เป็นหนังสือที่เล่าเรื่อง Behavioral Economics หรือเศรษฐศาสตร์พฤติกรรมได้เข้าใจง่าย ที่มีส่วนผสมของจิตวิทยา หรือ Psychology เข้ามาผสม ในรูปแบบทความสั้นๆไม่กี่หน้าก็อ่านจบ ดังนั้นถ้าใครกำลังมองหาซักเล่มเพื่อจะเริ่มเรียนรู้เรื่องนี้ หนังสือเล่มนี้เป็นหนึ่งเล่มที่ผมกล้าแนะนำครับ และขนาดผมเองอ่านหนังสือแนวนี้มาไม่น้อย แต่ยังได้พบกับเนื้อหาใหม่ๆที่ยังไม่เคยอ่านเจอที่ไหนมาก่อนในเล่มนี้ไม่น้อยเหมือนกัน อย่างเรื่อง ทำไมข่าวเทียมถึงฆ่าไม่ตาย ปัญหา Fake News ที่กำลังเป็นปัญหาใหญ่ที่คนรุ่นใหม่ทั่วโลกให้ความสนใจ แต่ปัญหาเรื่อง…

ไทยๆในโลกล้วนอนิจจัง

เป็นหนังสือที่รวบรวมความเชื่อไทยๆที่เข้าใจผิดกันมานาน แถมหลงคิดกันไปเองว่าเป็นของ “ไทย” แท้จริงแล้วกลับไม่ใช่ บ้างก็หยิบของเค้ามาใช้ บ้างก็ยืมของเค้ามาลอก บ้างก็เพิ่งสร้างขึ้นมาใหม่ แล้วก็ใส่ป้ายความเป็นไทยลงไปหลอกไทยด้วยกันว่า นี่แหละคือความเป็นไทยแท้ หรือไทยเดิมๆแต่โบร่ำโบราณ ไทยๆในโลกล้วนอนิจจัง เขียนโดย ศิริพจน์ เหล่ามานะเจริญ หนึ่งในนักเขียนของ the matter ที่เล่าประวัติศาสตร์ที่นอกจากจะแค่ไม่หลับเหมือนตอนเรียน สปช. (ใครทันเรียน สปช. บ้างนะ) แต่ยังสนุกเหมือนดูช่อง 9 การ์ตูนตอนเช้าวันเสาร์ยังไงยังงั้น ขอสรุปสั้นๆย่อๆในบางหัวข้อเพื่อกระตุ้นความจำตัวเองให้เก็บลงในสมองได้ลึกขึ้นแล้วกัน เริ่มด้วยเรื่องแรกของเล่มกับ..“ยิ้มสยาม” คือยิ้มให้ใคร แล้ว “สวัสดี”…

POWERISM

สรุปหนังสือ Powerism ของคุณโตมร ศุขปรีชา บทความว่าด้วยอำนาจที่ออกฤทธิ์ต่อวิถีชีวิตมนุษย์ ในความคิดผมคือนี่น่าจะเป็นหนังสือที่ทรงอำนาจมากที่สุดเท่าที่เคยอ่านมาก็ว่าได้ ไม่ใช่ด้วยอำนาจในตัวหนังสือ บทความ หรือคนเขียนหรอกนะครับ แต่เต็มไปด้วยเรื่องราวของอำนาจมากมายตั้งแต่ยุคโบราณ ยันปัจจุบัน จนปูทางความคิดถึงอำนาจที่น่าจะเป็นในอนาคตไปอีก แต่พออ่านจบกลับไม่ได้ทำให้ผมรู้สึกว่าอยากมีอำนาจมากขึ้น (ปัจจุบันผมมีแค่อำนาจกับทีวีและเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆผ่านรีโมตเท่านั้นเอง) หรือรู้สึกว่าตัวเองมีอำนาจใดๆเพิ่มขึ้นทางความคิด แต่กลับทำให้ผมรู้สึกรู้จัก และตีความของคำว่า “อำนาจ” ใหม่ไปหลายตลบ โดยเฉพาะอำนาจที่น่ากลัวที่สุดคือ การที่เราอยู่ใต้อำนาจโดยที่เราไม่รู้ตัวและหลงคิดว่าเรานั้นมีอิสระภาพอย่างเต็มที่ นี่แหละครับที่โคตรจะน่ากลัวสำหรับผม มันทำให้ผมได้มองย้อนกลับมาดูตัวเอง แล้วก็เสมือนถอดวิญญาณออกมามองดูตัวเองเสมือนมองจากสายตาของคนอื่นว่า ในตอนนี้เราตกอยู่ภายใต้อำนาจอะไรบ้างนะ เนื้อหาในเล่มเป็นบทความที่อยู่บนเวปไซต์ the Matter ที่ใครๆก็สามารถเข้าเวปไซต์ไปอ่านได้ฟรีๆ แต่ผมก็ดันแพ้ต่ออำนาจของรูปเล่มหนังสือ…

Drama Sutra สารพัดความขัดแย้งที่แฝงอยู่ในวัตถุรอบตัวคุณ

สรุปหนังสือ Drama Sutra สารพัดความขัดแย้งที่แฝงอยู่ในวัตถุรอบตัวคุณ ตอนซื้อหยิบขึ้นมาเพราะนึกว่าอ่านง่ายตามสไตล์แซลมอน แต่ที่ไหนได้เนื้อหาข้างในกลับอัดแน่นเต็มไปด้วยสาระ เรื่องราว ประวัติศาสตร์ การเมือง ข้อคิด และอื่นๆอีกมากมาย ถ้าจะเป็นแซลมอน ก็คงเป็นปลาแซลมอนตัวใหญ่ที่กินจนสมองกางแทนพุง ดรามา สุตรา เป็นหนังสือที่เล่าประวัติศาสตร์การเมือง การปกครอง ผ่านสิ่งของรอบตัวที่เราคิดว่ารู้จักดี แต่แท้จริงแล้วกลับไม่รู้จักเลย ไม่ว่าจะเป็น เกลือ เกลือ ที่มีตั้งอยู่บนโต๊ะอาหารทั่วไป หรือมีเก็บไว้ในครัวของทุกบ้าน รู้หรือไม่ว่าในอดีตนั้นเกลือไม่ได้หาง่าย จนเททิ้งขว้างได้อย่างทุกวันนี้ ครั้งหนึ่งเกลือมีค่าดั่งเงิน จนคำว่า Salary ที่แปลว่าเงินเดือน…

Pray Station ชั่วโมงท่องมนต์

ศิรศักดิ์ อิทธิพลพาณิชย์ ชื่อนี้สำหรับคนวัยสามสามนิดๆขึ้นไปคงจะคุ้น กับฉายา “เจ้าพ่อเพลงประกอบละคร” ของค่าย Exact หรือละครช่อง 5 ดังๆในสมัยก่อน ที่แจ้งเกิดจากเพลง “แทนใจ” ที่ติดชาร์ตเพลงฮิตแทบทุกคลื่นวิทยุเมื่อหลายสิบปีก่อน ที่ได้ลอง “บวช” เป็นพระครั้งหนึ่งในชีวิต แต่ก็คงไม่ใช่เรื่องแปลกถ้าศิรศักดิ์ หรือ ปิงปอง (ชื่อเล่นของเค้า) คนนี้เป็นชาวพุทธ เพราะเค้าเป็นชาวคริสต์มาตั้งแต่กำเนิด! เจอจั่วหัวหน้าปกแบบนี้ ผมก็ไม่ขอพลาดแล้วล่ะครับ เพราะอยากรู้เหมือนกันว่าจากมุมมองของชาวคริสต์ตลอดชีวิต เมื่อไปบวชแล้วจะได้ประสบการณ์และมุมมองแบบไหนมาเล่าให้ฟัง สิ่งสำคัญจากการบวชช่วงสั้นๆเป็นเวลาสองอาทิตย์ของปิงปองชาวคริสต์ ที่กลายเป็น “พระปอง” ในเวลานั้น…

How Happiness Works ความสุขทำงานอย่างไร

จากนักเศรษฐศาสตร์ด้วยความสุขและพฤติกรรม ที่มีดีกรีระดับปริญญาเอกที่ประเทศอังกฤษ ที่ปัจจุบันเป็นถึงศาสตราจารย์ทางด้านวิทยาศาสตร์พฤติกรรมไปแล้ว ณัฐวุฒิ เผ่าทวี คนนี้เขียนบอกเล่าเรื่องราวของ ความสุข พฤติกรรม และ เศรษฐศาสตร์ เอาไว้ให้อ่านเข้าใจง่าย แถมยังสนุกอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง เงินไม่ใช่ความสุข เค้าเล่าว่าจากงานวิจัยร่วมของ Daniel Kahneman (เจ้าของรางวัลโนเบลด้านเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม ที่เขียนหนังสือชื่อดังแต่ยังไม่มีแปลไทยอย่าง think fast and slow) พบว่า คนที่มีเงินเยอะแทนที่จะใช้เวลาพักผ่อนหาความสุข กลับเป็นว่าพวกเขาใช้เวลาทำงานมากกว่าคนที่มีเงินน้อยกว่า และผลก็คือความเครียดที่มากกว่าที่เรามักชอบคิดว่า คนรวยมักจะมีความสุขนั่นเองครับ แต่ถ้าไม่มีเงินเลยนั่นก็ทุกข์อีกเรื่องเลยนะครับฉะนั้นทำงานหาเงินให้พอดี แล้วก็ใช้เวลาหาความสุขให้ตัวเองบ้างนะครับ…

สูตรสุคติ The Catalogue of Death

ตาย…เรื่องใกล้ตัวที่ไม่อยากมีใครเข้าใกล้ ส่วนถ้าถามว่าใกล้แค่ไหนก็ต้องบอกว่า จากสถิติการตายส่วนใหญ่นั้นเกิดขึ้นในบ้าน มากกว่าการตายนอกบ้านอย่างบนท้องถนนทั้งหมดเสียด้วยซ้ำ สาเหตุส่วนใหญ่คือการ ลื่นล้ม บันได จมอ่างอาบน้ำ(ในประเทศญี่ปุ่น) และอาหารติดหลอดลมตาย ส่วนนอกบ้านที่ตายกันเยอะไม่แพ้อุบัติเหตุตามท้องถนน ไม่ว่าจะเป็นคนขับ เป็นคนนั่ง เป็นคนข้าม หรือเป็นคนเดิน ก็เห็นจะเป็นที่โรงพยาบาลที่คนสมัยนี้ชอบไปตายที่นั่นกัน ส่วนสาเหตุ 3 โรคหลักที่ทำให้ตายเยอะๆก็ มะเร็ง หัวใจ และหลอดเลือดในสมอง แต่ใช่ว่าทุกวัยจะตายคล้ายๆกัน เด็กส่วนใหญ่ตายก็ด้วยอุบัติเหตุ โตมาหน่อยก็ตายเพราะฆ่าตัวตายหนีความเครียด แก่ไปอีกนิดก็เริ่มเพราะโรคสะสมจากการใช้ชีวิตวัยหนุ่มสาว รวมถึงความเสื่อมสภาพของร่างกายตามวัยชรา ส่วนตายแล้วยังไงต่อ ถ้าบ้านเราก็คุ้นกันว่าต้องเผา แต่ในหลายประเทศก็มีวิวัฒนาการในเรื่องนี้ที่น่าสนใจ เช่น…

วัตถุต้องสงสัย

ช่างสงสัย ช่างตั้งคำถาม และก็ช่างพยายามหาคำตอบ สำหรับหนังสือเล่มนี้ ที่เต็มไปด้วยเรื่องราวง่ายๆไกล้ตัว ที่เราส่วนใหญ่มักจะมองข้ามมันไปทุกเมื่อเชื่อว่า ทั้งๆที่เรื่องก็สุดแสนจะธรรมดา แต่ไหงถึงพาไปสู่คำตอบที่แสนจะมหัศจรรย์ได้ เช่น 04 ขนกับความเป็นคน, ทำไมเราต้องโกนหนวด? ผม ในฐานะผู้ชายคนนึง ที่โกนหนวดมาเป็นประจำแทบจะวันเว้นวันตั้งแต่เข้าสู่ช่วงวัยรุ่นปลายๆมา ก็ไม่เคยตั้งคำถามหรือสงสัยกับเรื่องที่แสนจะธรรมดาสามัญอย่างการโกนหนวดเลย จนหนังสือเล่มนี้ได้มีคำตอบช่วงนึงที่น่าสนใจว่า 98% ของนักธุรกิจหนุ่ม 100 คนที่รวยที่สุดในโลกมีใบหน้าเกลี้ยงเกลา และจากแบบสำรวจที่พบว่าผู้หญิงประทับใจผู้ชายใบหน้าเกลี้ยงเกลามากกว่าผู้ชายหนวดเคราเฟิ้ม เพราะพวกเธอคิดว่า ชายหนุ่มที่ไว้เคราดูเป็นคนไม่ค่อยมีน้ำใจ (Less generous) ไม่ค่อยดูแลเอาใจใส่ (Less caring) และดูเป็นคนซังกะตาย…

วันพรุ่งนี้ที่เกิดขึ้นแล้ว

แม้จะผ่านมา 4 ปี แต่ก็ยังไม่เก่าเลย เนื้อหาและประเด็นในเล่มยังเต็มไปด้วยความสดใหม่ และเข้ากับยุคสมัยอย่างไม่น่าเชื่อ ไม่ว่าจะเรื่อง พินัยกรรมออนไลน์เมื่อชีวิตจริงเราออฟไลน์จากโลกนี้ไปแล้ว ในยุคที่ email และ social media ของเราแต่ละคนเต็มไปด้วยข้อมูลมากมาย ถ้าเปรียบให้เห็นภาพง่ายๆก็เหมือนกับแฟ้มเอกสาร สมุดจดข้อความ และอัลบั้มรูปทั้งหลาย ที่คนในครอบครัวเราคงอยากเก็บรักษาต่อไว้ หรือไม่ก็ปิดการใช้งานไปไม่ได้เปิดรับเพื่อนใหม่ให้ดูแปร่งๆ ทาง Facebook และ google ก็มีนโยบายให้ญาติครอบครัวสามารถส่งเอกสารยืนยันการเสียชีวิต เพื่อให้คนที่อยู่ไกล้ชิดได้ไกล้ชิดกับผู้ตายได้เป็นครั้งสุดท้าย แล้ว digital assets ทั้งหลายของเราล่ะ จะส่งต่อให้กับคนที่ยังอยู่เป็นมรดกบ้างได้หรือไม่…