TRUST เชื่อใจ โอบกอดชีวิตและปล่อยให้ชีวิตเป็นไป OSHO

สรุปหนังสือของ OSHO เล่มล่าสุดนี้มีชื่อว่า TRUST หรือ เชื่อใจ ที่พอผมรู้ว่าเป็นหนังสือเล่มใหม่ก็รีบตรงดิ่งไปร้านหนังสือทันทีเพื่อหามาอ่าน ในฐานะหนึ่งคนที่เป็นแฟนผลงานติดตามหนังสือทุกเล่มของ OSHO เท่าที่จะหาได้เป็นภาษาไทย ก็เลยทำให้หนังสือเล่มนี้ถูกลัดคิวขึ้นมาอ่านจากกว่า 500 เล่มที่ยังรอให้อ่านอยู่บนชั้นหนังสือที่บ้านครับ ใจความหลักของหนังสือเล่มนี้ก็เหมือนกับชื่อเล่มที่บอกให้รู้ถึงแก่นของความเชื่อใจ ความเชื่อใจในที่นี้ไม่เหมือนกับความเชื่อใจที่ผมเคยรู้จักมาก่อน เดิมทีเรามักอาจไม่ค่อยกล้าที่จะเชื่อใจใคร ไม่ว่าจะด้วยกลัวความผิดหวังหรือแม้กระทั่งกลัวถูกเขาหลอก แต่ในความจริงแล้วความเชื่อในแบบของ OSHO นั้นต่างออกไปลิบลับ เพราะการเชื่อใจของเรานั้นไม่ได้ผูกกับใครหรือสิ่งใด แต่คือการปล่อยใจทั้งหมดให้หลุดลอยออกไปเป็นอิสระก็ด้วยความเชื่อใจว่าทุกอย่างที่เป็นนั้นดีอยู่แล้วครับ เดิมทีเราอาจจะเคยบอกว่าเราเชื่อใจเค้าเพราะเค้าทำอย่างนั้น หรือเพราะเค้าเคยทำอย่างนี้ แต่ในความเชื่อใจของ OSHO คือการเชื่อใจในตัวเราเองเป็นหลัก เราทุกคนต้องเชื่อใจในตัวเราเองก่อน เมื่อเราเชื่อใจในตัวเราเองมากพอมันก็จะเหมือนกับกลิ่นหอมของดอกไม้ที่ไม่อาจจะสะกดกลั้นเอาไว้แค่กับตัวเอกไม้เล็กๆ เองได้…

Awareness ตื่นรู้ กุญแจสู่ชีวิตที่สมดุล

สรุปหนังสือ Osho Awareness ตื่นรู้เล่มนี้ ขอเอาข้อสรุปจากปกหลังมาเล่าต่อแล้วกันครับ สิ่งสำคัญที่สุดประการหนึ่งที่จะต้องเข้าใจเกี่ยวกับมนุษย์ก็คือ มนุษย์นั้นหลับไหล ถึงแม้ในขณะที่คิดว่าตนกำลังตื่นอยู่ ก็มิได้เป็นเช่นนั้น ท่านหลับตอนกลางคืน ท่านหลับตอนกลางวัน เป็นเช่นนี้ตั้งแต่เกิดจนตาย ท่านเปลี่ยนรูปแบบของการหลับไปเรื่อยๆ แต่ท่านกลับไม่เคยตื่นอย่างแท้จริง ท่านกำลังฝัน วันแล้ววันเล่า ทั้งขณะที่ลืมตาและหลับตา แน่นอนว่าในความฝัน วันแล้ววันเล่า ทั้งขณะที่ลืมตาและหลับตา แน่นอนว่าในความฝัน ไม่ว่าท่านจะทำอะไรก็ล้วนแต่ไร้จุดหมาย ไม่ว่าท่านจะวางแผนอะไรก็ล้วนแต่ยังคงเป็นส่วนหนึ่งของความฝัน และไม่อาจทำให้ท่านได้เห็นได้ว่าคืออะไร ดังนั้น พระพุทธเจ้าทุกพระองค์จึงทรงยืนกรานถึงสิ่งเดียวกันเท่านั้น นั่นคือการ “ตื่นรู้!” เป็นเวลานานหลายศตวรรษมาแล้วที่คำสอนทั้งหมด อาจสรุปได้เพียงวลีเดียว…

ปัญญาญาณ Intuition

สรุปหนังสือ ปัญญาญาณ Intuition ของ Osho เล่มนี้ เป็นหนังสือเล่มแรกในชุด Insight for a New Way of Living จะเรียกว่าปรมาจารย์ด้านปรัญชานักคิดก็ไม่ผิดนัก เป็นคนแรกที่ทำให้ผมเข้าถึงและหลงไหลในปรัชญาจนหามาอ่านต่อเรื่อยๆ จนช่วงนึงที่ผมอ่านติดๆหลายเล่มก็จะมีคนใกล้ตัวบอกว่าผมดูหลุดๆจากคนปกติไปหน่อย ที่ดูว่าหลุดๆไปหน่อยก็อาจจะเพราะยิ่งอ่านก็ยิ่งเข้าใจ ยิ่งเข้าใจในชีวิต ยิ่งเข้าใจในโลก ยิ่งเข้าใจในเกมกระดานผืนใหญ่ที่เรียกกันว่าเกมชีวิตนี้มากขึ้น ก็เลยยิ่งทำให้เรารู้ว่าความจริงแล้วเราไม่ต้องเล่นตามเกมของโลก เดินตามเกมของคนอื่น หรือแม้แต่ไม่จำเป็นต้องสร้างเกมใหม่ขึ้นมาให้วุ่นวายเพราะอยากเป็นผู้คุมเกม เพียงแค่รู้ว่าหยุดตัวเองจากเกมแล้วก็เดินออกมาอย่างเงียบๆ เรียบง่ายแบบนั้นเลยชีวิต แต่เกมชีวิต คือเกมที่ใครหลายคนอยากเป็นผู้ชนะ ชนะในการแข่งขันที่เต็มไปด้วยผู้คนมากมาย และก็เต็มไปด้วยด่านต่างๆของชีวิตที่มีให้พิชิตไม่รู้จบ…

TAO the pathless path เต๋า วิถีที่ไร้เส้นทาง

สรุปหนังสือ Osho Tao the pathless path เต๋า วิถีที่ไร้เส้นทางเล่มนี้ ขอเริ่มต้นจากปกหลังที่เขียนว่า เต๋า หมายถึงวิถีทาง เป็นทางที่คล้ายกับนกที่บินไปบนท้องฟ้า มันไม่ได้ทิ้งร่องรอยหรือเครื่องหมายใดๆไว้เลย นกบินไปโดยไม่มีร่องรอยใดๆ ไม่มีใครสามารถจะตามมันไปได้ ดังนั้นทางนี้จึงเป็นวิถีทางที่ไม่มีเส้นทาง มันไม่ใช่เส้นทางที่มีไว้พร้อมให้ท่านก้าวตามไป ท่านจะต้องหามันให้เจอ และจะต้องหามันในวิถีทางของท่านเอง ท่านจะไม่สามารถใช้เส้นทางของคนอื่นได้ จะว่าไปในเล่มนี้ Osho บอกประมาณว่าอย่ายึดติดกับแบบแผนหรือวิธีการใดๆ ศาสนานั้นยึดถือคัมภีร์มากเกินไป แต่ละคนไม่สามารถเดินตามเส้นทางของคนอื่นได้อย่างเต็ม 100% เราสามารถเดินไปตามเส้นทางของเราที่แตกต่างกันแต่ยังสามารถไปบรรจบสู่จุดหมายปลายทางเดียวกันได้ เต๋า คือการยอมรับความเป็นธรรมชาติทั้งหมด ไม่ต่อต้านและไม่พยายามใดๆที่เป็นการฝืนธรรมชาติ…

OSHO พลิกมุมใหม่เข้าใจชีวิต The Book of Understanding

สรุปหนังสือ Osho พลิกมุมใหม่เข้าใจชีวิต The Book of Understanding ไม่ได้อ่าน Osho มาพักใหญ่ เล่มล่าสุดที่อ่านก็คือ ZEN ในมุมมองของ Osho ที่ทำให้เราได้เข้าใจความเป็น ZEN ขึ้นมาอีกเล็กน้อย จากที่เคยคิดว่าเซนคืออะไรที่น้อยๆแต่ความเข้าใจใหม่ที่เพิ่มขึ้นคือ ปัจจุบันขณะ ถ้าถามว่าหลักของเซนหมายถึงอะไรก็คงเปรียบได้กับ “เดี๊ยวนี้” “ที่นี่” และ “ตอนนี้” เท่านั้น ความจริงแล้วเซนไม่เกี่ยวกับพุทธศาสนาแต่อย่างใด แต่หลักการสำคัญนั้นกลับคล้ายกันอย่างไม่น่าเชื่อ เพราะพระพุทธเจ้าก็พยายามเน้นย้ำเรื่องการอยู่ในปัจจุบันขณะเช่นเดียวกับเซน แล้ว Osho…

คำทองคำ ถ้อยแถลงแห่งปัญญา, Gold Nuggets

เป็นหนังสือ OSHO เล่มสุดท้ายที่มีในบ้าน จำไม่ได้ว่าซื้อมานานแค่ไหน แต่รู้ว่าช่วงนี้ต้องการอ่านอะไรแบบนี้ซะเหลือเกิน เป็นหนังสือที่รวบรวมถ้อยคำเมื่อครั้งยังมีชีวิตอยู่ของท่าน OSHO ที่บันทึกจากการสนทนาในครั้งนั้น ถ้าถามว่าใจความหลักคืออะไรผมคิดว่าน่าจะเป็นเรื่องของการ “รู้จักตนเอง” “ยอมรับตัวเอง” และ “อยู่กับปัจุบันขณะ” ให้มากที่สุด ทำไมการ “รู้จักตนเอง” ถึงสำคัญ… ทุกวันนี้คนเรามีเรื่องภายนอกให้สนใจมากมาย เราอยากรู้จักโลกกว้าง อยากรู้จักความรู้ใหม่ๆ อยากรู้จักผู้คนมากมาย อยากที่จะออกไปผจญภัย ความสุขของเรามักจะขึ้นอยู่กับปัจจัยภายนอก ไม่ว่าจะบ้าน รถ เงินทอง ชื่อเสียง สิ่งของ เสื้อผ้า สิทธิพิเศษต่างๆ…

สปาอารมณ์ Emotional Wellness โดย OSHO

คุณคิดว่าคุณรู้จัก “อารมณ์” ดีแค่ไหน? น่าแปลกทั้งๆที่ในแต่ละวันเราทุกคนมีอารมณ์เกิดขึ้นในความคิดจิตใจเป็นร้อยๆครั้ง โกรธ ดีใจ เศร้า มีความสุข หัวเราะ ร้องให้ ทุกข์ เครียด หรือมีความสุข แต่เราส่วนใหญ่กลับรู้จัก “อารมณ์” นี้น้อยถึงน้อยมาก หรือจะเรียกว่าแทบไม่รู้จักเจ้า “อารมณ์” นี้เลยก็ว่าได้ ผมยอมรับว่าผมเป็นคนนึงที่แทบไม่รู้จักหรือเข้าใจเจ้า “อารมณ์” ที่เกิดขึ้นในตัวผมทุกวันเลยแม้กระทั่งตอนนี้ จนได้มาเจอหนังสือเล่มนี้ “สปาอารมณ์” หรือ Emotional Wellness ของท่าน Osho เล่มนี้…

Zen: The path of paradox, หนทางอันย้อนแย้ง..

เมื่อพูดถึง Zen ในความคิดแว้ปแรกของคนส่วนใหญ่อาจจะนึกถึงประเทศญี่ปุ่น คิดถึงความน้อยๆ คิดถึงอะไรที่มูจิๆ คิดถึงต้นบอนไซ หรือบางคนอาจจะคิดถึงว่า Zen คือนิกายหนึ่งของศาสนาพุทธ หรือวัดเรียวอังจิที่มีลานหินปริศนาธรรมในกรุงเกียวโต.. คนส่วนใหญ่คิดอย่างนี้มั้ยไม่รู้แต่อย่างน้อยก็ผมคนนึงที่คิดถึงภาพอะไรประมาณนี้ แต่พออ่านเล่มนี้จบทำให้เข้าใจภาพของเซนที่ชัดเจนขึ้น ความจริงแล้วเซนไม่ได้เป็นนิกายหนึ่งของศาสนาพุทธ เซนแทบจะไม่นับว่าเป็นศาสนาด้วยซ้ำไป ไม่ใช่แม้แต่ปรัชญา แต่เซนคือวิถี เป็นวิถีที่มีความย้อนแย้งภายในตัว.. แล้ววิถีของเซนเป็นยังไงล่ะ.. ท่าน Osho บอกว่า วิถีของเซนเป็นเรื่องของความฉับพลันทันใด เปรียบเสมือนกระจกเงาที่สะท้อนให้เราเห็นสิ่งนั้นๆอย่างที่มันเป็น ไม่เจือแต่ด้วยความคิด หรืออารมณ์ใดๆ มองให้ทะลุเปลือกเข้าไปจนถึงแก่นแท้นของสิ่งที่เห็น ขอหยิบเนื้อหาสั้นๆตอนท้ายของเล่มที่ผมคิดว่าน่าสนใจมาเล่าสู่กันฟังก็แล้วกัน ว่าอะไรกันที่เป็นพื้นฐานที่สำคัญที่สุดของเซนอย่างสั้นๆ ..การปล่อยวางชีวิตสะท้อนตัวมันเองอย่างเรียบง่ายและชัดเจนเมื่อท่านไม่ไปไขว่คว้ามัน เมื่อท่านไม่ยึดติดกับมัน…