The Innovator’s Dilemma วิกฤตนวัตกร

หนังสือวิกฤตนวัตกร หรือ The Innovator’s Dilemma เล่มนี้แม้เรื่องราวในเล่มที่เล่านั้นจะเก่ามาก เพราะพิมพ์ครั้งแรกตั้งแต่ปี 2540 หรือผ่านมากว่า 22 ปีแล้ว แต่เชื่อมั้ยครับว่าเนื้อหาและแก่นสาระนั้นไม่ได้เก่าตามกาลเวลาเลย เพราะผมว่าสิ่งที่ Clayton M. Christensen ผู้เขียนค้นพบนั้นเปรียบเสมือนสัจธรรมของธุรกิจ ถ้าเปรียบเป็นอริยสัจ 4 ที่แม้จะผ่านมากว่า 2,500 ปีก็ยังคงจริงเหมือนวันแรกที่พระพุทธเจ้าค้นพบอย่างไรอย่างนั้น ถ้าให้สรุปหนังสือวิกฤตนวัตกรเล่มนี้อย่างสั้นๆก็บอกได้เลยว่า การทำงานหนักขึ้น ทำทุกอย่างให้เร็วขึ้น ลดต้นทุนให้มากขึ้น ไม่ใช่ทางที่จะทำให้องค์กรคุณรอดและประสบความสำเร็จเสมอไป เพราะคู่แข่งใหม่ที่เข้ามาเค้าอยู่คนละเกมเล่นกันคนละกติกากับคุณ ดังนั้นการขยันของคุณจะไม่ช่วยอะไร นอกจากจะทำให้คุณรู้สึกดีขึ้นที่ได้พยายามมากขึ้น…

พูดคล่องไม่ต้องคิด Fluent Forever

“อยากเก่งขึ้น” ความคิดแรกที่ทำให้หยิบเล่มนี้จากชั้นหนังสือที่บ้านมาอ่าน เพราะรู้สึกว่าตัวเองอยากเก่งภาษาอังกฤษมากขึ้น ถ้าถามว่าทุกวันนี้ผมอยู่ในเลเวลไหน ก็ต้องบอกว่าระดับเดียวกับสาวบาร์เบียร์ตามถิ่นที่เที่ยวของฝรั่งนี่แหละครับ ไม่ซิ ดีไม่ดีผมว่าผมเลเวลในความรู้ทั้งพูด ฟัง อ่าน เขียน น้อยกว่าอีกด้วยซ้ำ พอเห็นหน้าปกและเคยอ่านจากไหนผ่านๆจำไม่ได้แล้วเหมือนกันว่า หนังสือเล่มนี้จะทำให้คุณคล่องทุกภาษาที่คุณต้องการมากขึ้น ไม่ใช่ด้วยการท่องจำ หรือทำแบบทดสอบใดๆ แต่เป็นการแนะวิธีหลักแนวคิดในการเข้าใจที่จะเรียนรู้ภาษาที่สอง สาม สี่ และต่อไปเรื่อยๆเท่าที่คุณต้องการ เพราะผู้เขียนบอกว่าตัวเองสามารถพูดได้หลายภาษาและพูดได้แทบจะเหมือน “ภาษาแม่” หรือภาษาที่พูดได้แต่กำเนิดเลยด้วยซ้ำ ทั้งหมดแล้วด้วยหลักแนวคิดที่ผู้เขียนเอามาถ่ายทอดในหนังสือเล่มนี้ พออ่านดูก็พบว่าจริงครับ เพราะแทบไม่ได้สอนอะไรเรื่องภาษา คำศัพท์ หรือประโยคใดๆเลย แต่สิ่งที่ผู้เขียนค้นพบและเอาเคล็ดลับมาบอกก็สรุปประเด็นสำคัญในการเรียนรู้ภาษาได้ว่า ให้แปลคำเป็น “ภาพ”…

The Filter Bubble ยิ่งหา ยิ่งหาย

สรุปหนังสือ The Filter Bubble ยิ่งหา ยิ่งหาย เป็นเรื่องระหว่างความเป็นส่วนตัวและการสร้างความเฉพาะตัว ซึ่งจะกลายเป็นปัญหาที่สำคัญมากและจะเห็นภาพชัดขึ้นในไม่กี่ปีข้างหน้านี้ นึกง่ายๆถึงโพสนึงที่เป็นกระแสกันเมื่อไม่กี่วันก่อน..ที่เราจะเห็นหน้าเฟซบุ๊คว่ามีเพื่อนเราหลายคนก๊อปปี้ข้อความต่อๆกันมาโพสยืดยาวแล้วเราก็ทนอ่านจนจบที่มีใจความว่า “เราไม่อนุญาตให้เฟซบุ๊คเอารูปภาพและข้อมูลส่วนตัวของเราไปใช้นะเราขอประกาศ บลา บลา บลา” แต่โพสเหล่านั้นไม่ได้มีผลเลย เพราะทุกคนที่เล่นเฟซบุ๊คคือคนที่ยอมสูญเสียความเป็นส่วนตัวทั้งหมดไปแล้วตั้งแต่ตอนสมัครสมาชิก ไม่ใช่แค่เฟซบุ๊คเท่านั้น แต่แทบทุกบริการที่ออนไลน์ทั้งหมดก็ทำแบบเดียวกัน นั่นคือเข้าถึอข้อมูลส่วนตัวของคุณแม้ว่าคุณจะไม่ตั้งใจ เหตุผลส่วนนึงเพราะมันเป็นการสร้างความสะดวกสบายให้คุณ สร้างความเป็นเฉพาะตัวที่เป็นคุณให้คุณ ทำให้คุณเห็นโฆษณาที่ไกล้กับความเป็นคุณหรือสิ่งที่คุณจะหามากขึ้น ง่ายขึ้น หรืออาจนิยามด้วย 2 ศัพท์ง่ายๆนั่นคือ customize และ personalize แค่คลิ๊กแค่เล่นก็รู้แล้วว่าเป็นคุณ และคุณต้องการอะไร…