Ten Drugs สิบยาเปลี่ยนโลก

สรุปรีวิวหนังสือ Ten Drugs สิบยาเปลี่ยนโลก หนังสือที่จะทำให้คุณพบว่าแท้จริงแล้วที่โลกเราพัฒนามาได้ถึงยุค Digital Disruption หรือ Decentralized Disruption ก็เพราะเรามียาที่ดี ที่ทำให้มนุษยชาติส่วนใหญ่มีชีวิตที่ยืนยาวขึ้นกว่าคนไม่กี่ร้อยปีก่อนมาก เดิมทีมนุษยชาติเราอายุสั้นมาก อายุขับเฉลี่ยแค่ 30-40 ปีเท่านั้น ส่วนใหญ่เรามักเสียชีวิตด้วยการติดเชื้อจากบาดแผลเล็กๆ เป็นประจำ สมัยก่อนนั้นไม่มีใครกังวลโรคมะเร็งหรือโรคหัวใจ หรือโรคอัลไซเมอร์อย่างทุกวันนี้ เพราะส่วนใหญ่เกิดมาได้ไม่เท่าไหร่ก็ชิงตายไปเสียแล้ว คนที่เป็นผู้เฒ่าผู้แก่ในหมู่บ้านจึงได้รับการนับถืออย่างมาก เพราะการจะอยู่ได้จนแก่นั้นหาได้ยากมากในยุคสมัยเมื่อร้อยกว่าปีก่อน แต่มาวันนี้กลายเป็นว่าการอยู่จนแก่หัวหงอกกลายเป็นเรื่องปกติ กลายเป็นว่าความแก่ชราที่เคยเป็นเรื่องดี กลายเป็นเรื่องที่อาจจะไม่ค่อยดีสักเท่าไหร่ เพราะถ้าแก่แล้วไม่มีเงินทองมากพอ ไม่มีคนดูแลที่ดีพอ ก็จะกลายเป็นทุกข์เปล่าๆ เปิดหนังสือเล่มนี้มานหน้าแรกที่คำนำสำนักพิมพ์ก็น่าสนใจ…

สงครามที่ไม่มีวันชนะ ประวัติศาสตร์การต่อสู้ระหว่างมนุษย์และเชื้อโรค

สรุปหนังสือ สงครามที่ไม่มีวันชนะ ของ นพ.ชัชพล เกียรติขจรธาดา เล่มนี้ น่าจะนิยามให้หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือประวัติศาสตร์อ่านสนุกอีกเล่ม เพราะนี่คือหนังสือประวัติศาสตร์ของการแพทย์ และเชื้อโรค ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับเราทุกคนบนโลกครับ หนังสือเล่มนี้ค่อยๆไล่เรื่องราวของการแพทย์ที่พยายามต่อสู้กับเชื้อโรค หรือความเจ็บไข้ได้ป่วยของมนุษยชาติมายาวนานมาก ตั้งแต่สมัยโบราณที่เจ็บป่วยที่ก็ต้องเข้าวัดวิหารไปนอนฝัน แล้วเอาฝันนั้นมาเล่าให้นักบวชฟัง จากนั้นนักบวชก็จะตีความให้ว่าเราป่วยเพราะไปขัดใจเทพเจ้าองค์ไหน จากนั้นก็ไปแก้บนให้เรียบร้อยซะแล้วจะหายป่วย แต่ถ้าไปแก้บนตามคำแนะนำแล้วไม่หาย ก็ถือซะว่าเทพเจ้าท่านโกรธแค้นอาฆาตมาก ก็จบกันไปง่ายๆเท่านี้แหละครับ การแพทย์ในยุคโบราณนั้นไม่ได้มองว่าการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นกับเรานั้นเกิดจากความผิดปกติภายใน แต่เชื่อกันว่าเกิดจากปัจจัยภายนอก เพราะธรรมชาติของมนุษย์ต้องสมบูรณ์แข็งแรงอยู่แล้ว แต่ถ้าไม่สมบูรณ์แข็งแรงต้องเป็นปัจจัยภายนอกแน่ๆที่มาทำร้ายเราโดยไม่รู้ตัว จนมาถึง Hippocrates (ฮิปโปคราตีส) ผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นบิดาการแพทย์แผนตะวันตก เพราะ Hippocrates ผู้นี้เป็นผู้…

เทคโนโยนี The Technology of Orgasm: “Hysteria,” the Vibrator and Women’s Sexual Satisfaction

เป็นหนังสือที่อ่านจบแล้วคิดอยู่นานเหมือนกันว่าเราจะเขียนสรุปเนื้อหายังไงดีนะ ให้มันดูเป็นเรื่อง “เซ็กส์” จนเกินไป เพราะก็ต้องบอกตามตรงว่าในความรู้สึกผม “คนไทย” กับเรื่อง “เซ็กส์” หรือเรื่องเพศนั้น อาจจะยังไม่ได้เสรี เปิดกว้าง หรือเท่าเทียมกันนักเมื่อเทียบกับฝรั่งตาน้ำข้าว แต่ก็ต้องบอกตามตรงว่าเมื่ออ่านจบแล้วผมกลับรู้สึก “เห็นใจ” บรรดาผู้หญิงเมื่อไม่ถึงร้อยปีที่ผ่านมาว่า ทำไมผู้หญิงถึงได้โดนเหล่าผู้ชายกดขี่แม้กระทั่งเรื่องเพศได้ขนาดนี้ ส่วนหนึ่งก็ต้องย้อนกลับไปตั้งแต่ในเครื่องของ “ศาสนา” ที่สร้างความเชื่อที่ยึดถือเพศชายเป็น “ศูนย์กลาง” มาช้านาน ถ้าไม่เชื่อก็ลองนึกดูซิว่าบรรดา ศาสดา หรือ พระเจ้า ของศาสนาแทบทุกศาสนานั้นล้วนเป็นเพศชายทั้งนั้น ไม่นับบรรดาเทพเสริมที่เป็นเพศหญิงนะครับ เมื่อศาสนาบ่มเพาะความเชื่อมาตั้งแต่ครั้งโบราณกาลหลายพันปีก่อนมาขนาดนี้ ดังนั้นก็ไม่ต้องแปลกใจที่ “เพศหญิง”…