Ten Drugs สิบยาเปลี่ยนโลก

สรุปรีวิวหนังสือ Ten Drugs สิบยาเปลี่ยนโลก หนังสือที่จะทำให้คุณพบว่าแท้จริงแล้วที่โลกเราพัฒนามาได้ถึงยุค Digital Disruption หรือ Decentralized Disruption ก็เพราะเรามียาที่ดี ที่ทำให้มนุษยชาติส่วนใหญ่มีชีวิตที่ยืนยาวขึ้นกว่าคนไม่กี่ร้อยปีก่อนมาก เดิมทีมนุษยชาติเราอายุสั้นมาก อายุขับเฉลี่ยแค่ 30-40 ปีเท่านั้น ส่วนใหญ่เรามักเสียชีวิตด้วยการติดเชื้อจากบาดแผลเล็กๆ เป็นประจำ สมัยก่อนนั้นไม่มีใครกังวลโรคมะเร็งหรือโรคหัวใจ หรือโรคอัลไซเมอร์อย่างทุกวันนี้ เพราะส่วนใหญ่เกิดมาได้ไม่เท่าไหร่ก็ชิงตายไปเสียแล้ว คนที่เป็นผู้เฒ่าผู้แก่ในหมู่บ้านจึงได้รับการนับถืออย่างมาก เพราะการจะอยู่ได้จนแก่นั้นหาได้ยากมากในยุคสมัยเมื่อร้อยกว่าปีก่อน แต่มาวันนี้กลายเป็นว่าการอยู่จนแก่หัวหงอกกลายเป็นเรื่องปกติ กลายเป็นว่าความแก่ชราที่เคยเป็นเรื่องดี กลายเป็นเรื่องที่อาจจะไม่ค่อยดีสักเท่าไหร่ เพราะถ้าแก่แล้วไม่มีเงินทองมากพอ ไม่มีคนดูแลที่ดีพอ ก็จะกลายเป็นทุกข์เปล่าๆ เปิดหนังสือเล่มนี้มานหน้าแรกที่คำนำสำนักพิมพ์ก็น่าสนใจ…

CONSENT เพศศึกษากติกาใหม่

สรุปหนังสือ Consent เพศศึกษากติกาใหม่ หนังสือเล่มนี้เพิ่งได้มาใหม่จากสัปดาห์งานหนังสือแห่งชาติออนไลน์เมื่อช่วงกักตัวอยู่บ้านหยุดเชื้อเพื่อชาติเมื่อปลายมีนาคมและต้นเมษายนที่ผ่านมา หนังสือเล่มนี้นึกว่าจะใหญ่และหนาในตอนแรก(เพราะไม่ได้อ่านรายละเอียดเรื่องขนาดและจำนวนหน้า) แต่พอได้มากลับพบว่าเล่มขนาดเล็กพอดีมือ หยิบติดไปอ่านด้วยที่ไหนก็ง่ายครับ ถ้าให้สรุปแบบสั้นๆ ผมว่าหนังสือเล่มนี้น่าจะเป็นหนังสือสอนวิชาเพศศึกษาให้กับคนรุ่นใหม่ วัยรุ่น และก็สอนให้ผู้ใหญ่แล้วเข้าใจด้วยว่าเรื่องเพศศึกษาในวันนี้มันต่างจากรุ่นเราอย่างไรในแง่ของบริบทบ้าง เรื่องหนึ่งที่เห็นได้ชัดคือความหลากหลายทางเพศ หรือ LGBT หรือคำเรียกอื่นๆ ก็แล้วแต่ ต้องบอกว่าตอนที่ผมยังวัยรุ่นเราไม่เคยได้ยินคำนี้มาก่อน ไม่เคยได้ยินเรื่องความหลากหลายทางเพศ จะมีก็แต่ความเท่าเทียมทางเพศระหว่างชายกับหญิง ในตอนนั้นผู้ชายโดนสอนว่าแค่ให้เกียรติผู้หญิงมากๆ ด้วยซ้ำ แต่มาวันนี้บริบทของเรื่องเพศก็เปลี่ยนไปเพราะเราไม่ได้มีแค่ชายกับหญิง แต่ยังมีเพศทางเลือก และอื่นๆ ตามรสนิยมความชอบที่เป็นเรื่องสิทธิส่วนบุคคลที่เราต้องเคารพซึ่งกันและกัน แต่เนื้อหาเรื่องนี้ก็เป็นแค่ส่วนหนึ่งแต่ไม่ใช่หัวใจหลัก เพราะหัวใจหลักของหนังสือเล่มนี้คือพูดถึงเรื่องความยินยอมพร้อมใจที่ถูกต้องก่อนจะมีเพศสัมพันธ์ในวัยรุ่นหนุ่มสาว ต้องบอกว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องค่อนข้างใหม่ในบริบทของเพศศึกษาหรือเซ็กส์ เพราะแต่เดิมทีตอนเราเป็นเด็กหรือวัยรุ่นเรามักจะถูกสอนให้หลีเลี่ยงเรื่องการมีเพศสัมพันธ์ แต่นั่นก็ทำให้เกิดปัญหามากมายตามมาเมื่อเราขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องการมีเพศสัมพันธ์ที่ถูกต้องทำให้คนจำนวนไม่น้อยมีแบบผิดๆ…

Don’t Swallow Your Gum! คุณหมอฮะ! ไม่ใช่อย่างนั้นซะหน่อย

หนังสือ Don’t Swallow Your Gum! หรือชื่อไทยว่า คุณหมอฮะ! ไม่ใช่อย่างนั้นซะหน่อย เป็นหนังสือที่รวบรวมความเชื่อด้านสุขภาพแบบผิดๆ ที่คนส่วนใหญ่มักหลวมตัวเชื่อตามๆ กันมานาน สารภาพตรงๆ ว่าหลายความเชื่อที่อยู่ในหนังสือเล่มนี้ผมก็เป็นหนึ่งคนที่ปักใจเชื่อแบบไม่เคยตั้งคำถามจนต้องลุกขึ้นไปหาคำตอบมาก่อนเหมือนกัน ตั้งแต่ วิตามินซีช่วยป้องกันไม่ให้เป็นหวัด ซึ่งจากการทดลองและวิจัยจริงๆ พบว่ากินหรือไม่กินก็ไม่ได้ส่งผลสำคัญต่อเปอร์เซ็นต์การเป็นหวัดที่ชัดขนาดนั้น หรือที่บอกว่าคนส่วนใหญ่ใช้สมองน้อยมากไม่ถึง 10% แต่ในความเป็นจริงแล้วมันไม่ใช่อย่างนั้นเสียทีเดียว อ่านหนังสือในที่มืดสลัวทำให้สายตาเสีย แต่ในความเป็นจริงแล้วเรื่องนี้ไม่ได้เกี่ยวเลย เพราะสายตาเราเสียเป็นเพราะกระบอกตา การอ่านในที่มืดหรือแสงน้อยทำให้เราเพียงแค่ล้าตาเท่านั้น พักสายตาก็หาย หรืออีกหนึ่งความเชื่อที่ผมเชื่อมานานมาคือเราควรดื่มน้ำวันละ 8 แก้ว หรือประมาณ 2…

คู่มือเอาตัวรอดจาก COVID-19

สรุปหนังสือ คู่มือเอาตัวรอดจาก COVID-19 หนังสือที่ต้องมีทุกบ้าน เพื่อรู้เท่าทันและป้องกันตนเองจากโรคติดต่อต่างๆ หนังสือเล่มนี้เขียนโดยนายแพทย์จางเหวินหง หัวหน้าแผนกโรคติดต่อ โรงพยาบาลหัวซาน ในสังกัดมหาวิทยาลัยฟู่ตั้น ผู้ที่เป็นหัวหน้าคณะผู้เชี่ยวชาญการรักษาโรคติดเชื้อ COVID-19 ที่นครเซี่ยงไฮ้เมื่อเดือนมกราคม 2020 ที่ผ่านมานี้เองครับ ดังนั้นหนังสือเล่มนี้ถ้าจะบอกว่าถูกเขียนโดยแพทย์ที่อยู่แถวหน้าในการรับมือกับ COVID-19 ก็ไม่ผิดนัก ดังนั้นถ้าอยากรู้ว่าเราควรจะปฏิบัติตัวและใช้ชีวิตอย่างไรท่ามกลางยุคโควิด19 ควรมีหนังสือเล่มนี้ติดบ้านไว้ครับ หนังสือคู่มือเอาตัวรอดจาก COVID-19 เล่มนี้เป็นหนังสือเฉพาะกิจแบบางๆ ไม่หนามาก อ่านแปบเดียวจบ อ่านแปบเดียวเข้าใจ และก็เต็มไปด้วยภาพประกอบมากมายให้รู้ว่าเราจะเอาตัวรอดหรือใช้ชีวิตกันอย่างไรในช่วงนี้ เริ่มตั้งแต่เราจะใช้ชีวิตในบ้านกันอย่างไรให้ห่างไกลโควิด วิธีการฆ่าเชื้อในบ้านที่ถูกนั้นต้องมากหรือน้อยแค่ไหน มากเกินไปก็จะพารานอยด์เอา แล้วที่เชื่อกันว่าการกินผงชงแก้หวัดหรือน้ำส้มสายชูรมนั้นป้องกัน…

เรื่องเล่าจากร่างกาย

สรุปหนังสือ เรื่องเล่าจากร่างกาย เล่มนี้ เป็นหนังสือที่ผมดองไว้นานมาก มากจนไม่คิดว่าจะได้หยิบขึ้นมาอ่านอีกครั้ง ด้วยเล่มที่ดูใหญ่โตกว่าปกติ แถมความหนาก็ไม่น้อย ทำให้แอบกลัวๆว่า “อย่างเราอ่านแล้วจะเข้าใจมั้ยนะ?” แต่ต้องบอกว่าที่ผมเปลี่ยนความคิดนี้ไปเพราะเล่มก่อนหน้าที่ผมอ่านคือ สงครามที่ไม่มีวันชนะ ของผู้เขียนคนเดียวกัน โดย นพ. ชัชพล เกียรติขจรธาดา ที่น่าจะเขียนหนังสือขายดีจนเปิดสำนักพิมพ์ของตัวเองได้ ขอคาราวะตรงนี้เลยครับ ไม่น่าเชื่อก็ต้องเชื่อว่าคุณหมอท่านนี้สามารถเขียนหนังสือเล่าเรื่องได้อย่างสนุกมาก มากจนคิดว่าถ้าคุณหมอมาเป็นครีเอทีฟโฆษณาคงสามารถสร้างผลงานที่เป็นที่จดจำได้มากมายแน่ๆ เพราะสามารถเปลี่ยนเรื่องยากให้กลายเป็นง่าย และก็ทำเรื่องง่ายให้กลายเป็นเรื่องน่าตื่นเต้น ทำให้เรื่องอย่างร่างกายของเราที่อยู่กับเรามาตั้งแต่เกิด อยู่กับผมมาตั้งสามสิบกว่าปี กลายเป็นเรื่องใหม่ที่มีอะไรให้น่าเรียนรู้และอ่านตามจนไม่อยากให้จบเลยทีเดียว ผมว่าหนังสือเรื่องนี้เหมือนหนังสือประวัติศาสตร์สิ่งมีชีวิตและมนุษยชาติ ที่ไม่ต้องออกไปขุดหินดำน้ำเพื่อสำรวจหาซากประวัติศาสตร์จากไหน แค่สำรวจร่างกายของเราให้ดี แล้วเราจะพบว่ามันเต็มไปด้วยเรื่องมหัศจรรย์พันลึกกว่าที่คิดและจินตนาการได้เลยครับ เพราะคุณรู้มั้ยว่ามนุษย์โลกเราทุกคนในวันนี้นั้นต่างมีบรรพบุรุษร่วมกันทั้หมด…

สงครามที่ไม่มีวันชนะ ประวัติศาสตร์การต่อสู้ระหว่างมนุษย์และเชื้อโรค

สรุปหนังสือ สงครามที่ไม่มีวันชนะ ของ นพ.ชัชพล เกียรติขจรธาดา เล่มนี้ น่าจะนิยามให้หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือประวัติศาสตร์อ่านสนุกอีกเล่ม เพราะนี่คือหนังสือประวัติศาสตร์ของการแพทย์ และเชื้อโรค ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับเราทุกคนบนโลกครับ หนังสือเล่มนี้ค่อยๆไล่เรื่องราวของการแพทย์ที่พยายามต่อสู้กับเชื้อโรค หรือความเจ็บไข้ได้ป่วยของมนุษยชาติมายาวนานมาก ตั้งแต่สมัยโบราณที่เจ็บป่วยที่ก็ต้องเข้าวัดวิหารไปนอนฝัน แล้วเอาฝันนั้นมาเล่าให้นักบวชฟัง จากนั้นนักบวชก็จะตีความให้ว่าเราป่วยเพราะไปขัดใจเทพเจ้าองค์ไหน จากนั้นก็ไปแก้บนให้เรียบร้อยซะแล้วจะหายป่วย แต่ถ้าไปแก้บนตามคำแนะนำแล้วไม่หาย ก็ถือซะว่าเทพเจ้าท่านโกรธแค้นอาฆาตมาก ก็จบกันไปง่ายๆเท่านี้แหละครับ การแพทย์ในยุคโบราณนั้นไม่ได้มองว่าการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นกับเรานั้นเกิดจากความผิดปกติภายใน แต่เชื่อกันว่าเกิดจากปัจจัยภายนอก เพราะธรรมชาติของมนุษย์ต้องสมบูรณ์แข็งแรงอยู่แล้ว แต่ถ้าไม่สมบูรณ์แข็งแรงต้องเป็นปัจจัยภายนอกแน่ๆที่มาทำร้ายเราโดยไม่รู้ตัว จนมาถึง Hippocrates (ฮิปโปคราตีส) ผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นบิดาการแพทย์แผนตะวันตก เพราะ Hippocrates ผู้นี้เป็นผู้…

กิน หลับ ขยับตัว, Eat Move Sleep

ถ้าจำให้มีคำนิยามซักประโยคให้กับหนังสือเล่มนี้ ผมว่าน่าจะเป็น “กินให้ดี หลับให้พอ ขยับตัวให้มาก” น่าจะเป็นประโยคนี้แหละครับ คือใจความของเล่มนี้ TOM RATH ผู้เขียนป่วยเป็นโรคที่หาได้ยากมาก เป็นโรคผิดปกติทางพันธุกรรมที่เรียกว่า Von Hipple-Lindau (VHL) ที่พบเพียง 1 ใน 4,400,000 คนเท่านั้น การกลายพันธุ์นี้ไปปิดสวิตช์ยีนที่ควบคุมเนื้องอก ทำให้เซลล์มะเร็งเติบโตแพร่กระจายไปทั่วร่างกาย จากคนปกติมีเนื้องอกไม่กี่จุดในตัวก็ถือเป็นเรื่องใหญ่แล้ว แต่สำหรับชายคนนี้มีเป็นสิบๆจุดพร้อมกัน แถมแต่ละจุดก็ไม่ใช่เล็กๆ เนื้องอกก้อนโตๆผสมมะเร็งอยู่เต็มตัวไปหมด หลังจากผู้เขียนรู้ว่าตัวเองเป็นชายที่โชคร้ายติดอันดับโลก เค้าเริ่มตั้งสติได้แล้วก็หาทางที่จะมีชีวิตให้ยาวนานที่สุด เริ่มจากการพยายามศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับเนื้องอกเนื้อร้ายที่อยู่ในร่างกายเค้า ศึกษาหาจุดอ่อนของมัน และพยายามเล่นงานจุดอ่อนของโรคร้ายนี้กลับคืน…

I Cancel my Cancer

เขียนจากประสบการณ์ตรงจากผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลือง (Hodgkin’s Lymphoma) เพียง 1% ในโลกที่มะเร็งลามเข้าสู่หัวใจ จนแทบเอาชีวิตไม่รอด.. ..ต้องบอกก่อนเลยว่าผู้เขียนหรือคุณเบลล์นั้นแทบจะเรียกว่าซวยซ้ำซวยซ้อน ซวยสามชั้นที่แม้แต่ฝาอิชิตันก็ให้ขนาดนี้ไม่ได้ เริ่มจากพบว่าตัวเองเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลือง จากนั้นก็พบว่าตัวเองเป็นวัณโรค แล้วก็พบว่าตัวเองมีก้อนมะเร็งในหัวใจ โอ้โห..อะไรจะขนาดนั้นครับ ..จากสาว 26 กำลังจะจบโทจากนอก เตรียมจะใช้ชีวิตแบบคนยุคใหม่เต็มที่แต่ทุกสิ่งที่เคยคิดและแพลนเอาไว้ต้องมาสะดุดลงหมด เพราะจากอาการวูบสลบที่คิดว่าแค่ไม่สบายที่อังกฤษ ก็เลยคิดว่าจะบินกลับมาไทยเพื่อมาตรวจร่างกายเล็กน้อยและฉีดยานิดหน่อยแล้วก็บินกลับไปสอบ ป.โท กับทำวิทยานิพนธ์อีกนิดหน่อยให้จบ กลับกลายเป็นจุดเปลี่ยนชีวิตที่ไม่มีวันย้อนกลับอีกต่อไป.. ..เพราะเธอได้พบเจอมะเร็งที่อยู่ในปอด และลามไปส่วนอื่นๆของร่างกาย จนครอบครัวถึงกับช็อคเพราะไม่เข้าใจว่าเป็นไปได้ยังไง แล้วทุกอย่างก็เปลี่ยนไปต้องกลายเป็นผู้ป่วยมะเร็งเต็มตัวที่หมอว่าเหลือเวลาไม่ถึง 6 เดือน ..เริ่มจากการตรวจร่างกายอย่างละเอียดทุกส่วน เพื่อค้นหาให้เจอว่าต้นเหตุของปัญหาอยู่ตรงไหน…

Being Moral ตาย-เป็น

Medicine and What Matters in the End การแพทย์สมัยใหม่ ความตาย และความหวานของปลายทางชีวิต เรื่องความตายฟังดูคุ้นหู เป็นประสบการณ์เดียวที่เท่าเทียมของมนุษย์ทุกคนก็ว่าได้ เราอาจจะเกิดไม่เหมือนกัน กินไม่เหมือนกัน นอนไม่เหมือนกัน แต่กับเรื่องตายทุกคนกลับต้องตายเหมือนกัน แต่ไหงเรื่องความตายกลับเป็นสิ่งที่เราไม่เคยคิดถึงมันในแง่ของตัวเองกันเท่าไหร่นัก เรามักจะคิดถึงความตายของคนอื่นรอบตัว เรามักจะเห็นข่าวการตายของคนอื่นในสื่อรอบตัว แต่เรามักไม่ค่อยคิดถึงความตายในตัวเราเองเลยทำไม ผู้เขียนซึ่งเป็นนายแพทย์ชื่อดังเชื้อสายอินเดีย-อเมริกัน พูดถึงเรื่องความตายที่น่าสนใจ เช่น คนเราทุกวันนี้ไม่เคยคิดถึงเรื่องความตายเลยแม้แต่น้อยเรามักจะคิดว่าเรามีชีวิตที่ยังมีวันพรุ่งนี้เสมอไม่ว่าจะอายุเท่าไหร่ เรามักจะมองว่าการแพทย์สมัยใหม่นั้นสามารถช่วยยืดเวลาของความตายให้ออกห่างเราได้เรื่อยๆ(ถ้าเราสามารถจ่ายมันได้) เรามักไม่ได้มีเวลาเตรียมตัวถึงความตายเท่ากับคนในยุคสมัยรุ่นปู่ย่าเราเสียด้วยซ้ำ ทุกวันนี้เราเสมือนเครื่องจักรที่ตื่นแล้วออกไปทำงานใช้ชีวิตแล้วก็กลับมานอนเพื่อเตรียมใช้ชีวิตในวันพรุ่งนี้ต่อไป จนมักไม่ค่อยคิดว่าวันพรุ่งนี้ที่เป็นวันสุดท้ายของเรานั้นมีอยู่จริง จากผลสำรวจทั่วโลกพบว่าคนเรามักจะไปตายที่โรงพยาบาลมากถึงแปดสิบกว่าเปอร์เซนต์ และตายที่บ้านแค่สิบกว่าเปอร์เซนต์…