เป็นส่วนหนึ่งของสิทธิมนุษยชน #HumanRights ที่ว่าด้วยมนุษย์เราล้วนเท่าเทียมกันและมีเสรีภาพที่จะทำอะไรก็ได้ตราบที่ไม่ไปรบกวนเสรีภาพของผู้อื่น และการพูดก็เป็นอีกหนึ่งประเด็นสำคัญที่เป็นนามธรรมว่าเส้นแบ่ง หรือขอบเขตของเสรีภาพในการพูดที่เหมาะสมนั้นควรอยู่ที่ไหน
.
ทำไมเสรีภาพในการพูดถึงสำคัญ?
.
เพราะในโลกประชาธิปไตย การเปิดโอกาสให้ผู้คนต่างแสดงความคิดเห็นได้อย่างไม่ปิดกั้นนั้นทำให้เกิดโอกาสในการพัฒนาความคิดนั้นให้ดียิ่งขึ้น หรือไม่ก็เป็นการลบล้างความคิดที่ไม่ดีหรือแข็งแรงพอให้ล้มหายตายจากไป
.
เสรีภาพในการพูดทำให้เกิดการโต้แย้ง ถกเถียง ลับคม พัฒนา ทำให้ความคิดของผู้พูดนั้นต้องวิวัฒนาการเพื่อให้สามารถพิสูจน์ได้ว่าความคิดนั้นดีพอที่จะอยู่รอดได้
.
ผู้ที่ยึดถือเสรีภาพในการพูดที่ยิ่งใหญ่และเป็นตำนานของโลกมากที่สุดคงหนีไม่พ้น #โสกราตีส
.
โสกราตีสผู้หญิงทั้งครูและวีรบุรุษของปราชญ์อย่างเพลโตที่เราคุ้นเคยกันดีนั้นยอมปกป้องเสรีภาพในการพูดด้วยชีวิตของตัวเอง
.
ด้วยความที่เป็นคนช่างพูด และช่างถาม จนทำให้บรรดาเหล่าผู้ปกครองในนครกรีกเวลานั้นต่างหวาดกลัวความคิดของโสกราตีสและเป็นห่วงคนรุ่นใหม่ในนครรัฐตอนนั้นยิ่งนัก
.
จนบรรดาเหล่าผู้ปกครองมีมติร่วมกันว่าให้ปิดปากโสกราตีสซะ
.
อ่านถึงตรงนี้อาจคิดว่า อ๋อ ที่โสกราตีสต้องตายเพราะพวกผู้มีอำนาจปกครองสั่งฆ่าโสกราตีสปิดปากนี่เอง แต่ความจริงแล้วเปล่าเลยครับ เพราะนครรัฐกรีกที่ได้ชื่อว่าต้นกำเนิดของประชาธิปไตยนั้นมีคุณธรรมมากกว่านั้นหน่อย เหล่าผู้ปกครองให้ทางเลือกแก่โสกราตีสว่าถ้าอยากจะมีชีวิตอยู่ต่อ ก็ต้องหยุดพูดในเรื่องที่ไม่ใช่เรื่องของตัวเองได้แล้ว หรือถ้าไม่ก็จงดื่มยาพิษตายด้วยตัวเองซะ
.
ทั้งที่โสกราตีสเลือกที่จะมีชีวิตอยู่ได้ แต่เค้ากลับเลือกที่จะเชิดชูเสรีภาพในการพูดด้วยชีวิต ด้วยเหตุผลที่ว่าถ้าหากมีชีวิตอยู่แล้วไม่สามารถพูดความคิดตัวเองออกมาให้คนรอบข้างได้ ชีวิตที่อยู่ไปก็หามีค่าไม่ งั้นขอข้าดื่มยาพิษแทนแล้วกัน
.
นี่แหละครับบิดาแห่งเสรีภาพแห่งการพูดตัวจริงในความคิดผม
.
เสรีภาพในการพูดจากวันนั้นถึงวันนี้เปลี่ยนแปลงไปมาก เพราะไม่ได้หมายความถึงแค่ “การพูด” ตามความหมายของคำเท่านั้น แต่ทั้งหมดของหนังสือเล่มนี้พูดถึงเสรีภาพในการ “แสดงออกซึ่งความคิด” ไม่ว่าจะผ่านการเขียน การถ่ายภาพ ภาพยนต์ บทเพลง ละคร หรือแม้แต่อินเทอร์เน็ตก็ตาม
.
ปัญหาเสรีภาพในการพูดวันนี้เลยกลายเป็นปัญหาที่มีความซับซ้อนหลายมิติ ตั้งแต่เสรีภาพในการพูดในบางประเทศนั้นถูกจำกัดโดยศาสนา ว่าห้ามพูดจาลบหลู่ดูหมิ่นความเชื่อทางศาสนาโดยเด็ดขาด หรือในบางประเทศก็ห้ามพูดจาลบหลู่ดูหมิ่นท่านผู้นำไม่อย่างนั้นจะโดนจับเข้าตาราง
.
หรือบางหัวข้อที่เป็นประเด็นน่าสนใจคือเสรีภาพกับสื่อลามก ว่าควรถูกจำกัดไม่ให้ได้รับเสรีภาพในการแสดงออกมั้ย ก็ทำให้เกิดการตีความว่าแล้วสื่อลามกคือการตั้งใจสื่อสารอะไรออกมาหรือเปล่า หรือแค่กิจกรรมการร่วมเพศอย่างหนึ่งที่ไม่ได้มีความหมายอะไร
.
แต่อีกมุมหนึ่งก็มีคนบอกว่า แล้วคนที่ต้องการรับสื่อนี้ไปทำให้ใครเดือดร้อนด้วยหรือเปล่า ถ้าไม่ ก็ไม่ควรถูกริดรอนเสรีภาพในการพูดหรือการแสดงออกออกไป แต่กลับถูกจำกัดแทนด้วยอายุของผู้ที่จะเข้าถึงการรับสื่อลามกแทน ว่าต้องบรรลุนิติภาวะทางกฏหมายด้วยอายุ 18 ปีขึ้นไปถึงจะรับชมได้ และผู้แสดงเองก็ต้องมีอายุ 18 ปีขึ้นไปด้วยเช่นกัน ที่ต้องมีวิจารณญาณมากพอที่จะตัดสินใจเลือกอาชีพนี้ด้วยตัวเองได้
.
แต่ก็เกิดข้อโต้แย้งอีกเช่นกันว่า แล้วการทำภาพจำลองว่าผู้แสดงเป็นเด็กล่ะ ถือว่าผิดมั้ย?
.
นี่กลายเป็นประเด็นที่ยังหาข้อสรุปไม่ได้ว่ายังไง เพราะในมุมมองหนึ่งก็มีคนบอกว่าผิดเพราะเป็นการยั่วยุให้ผู้ดูเกิดอารมณ์ทางเพศกับเด็ก จนอาจไปก่อเรื่องกับเด็กได้ แต่อีกกลุ่มหนึ่งก็บอกว่าไม่ผิด เพราะไม่มีความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันอย่างชัดเจนว่าคนที่ดูหนังโป๊ที่ตัวแสดงเป็นภาพจำลอง ไม่ว่าจะการ์ตูนหรือ 3D เสมือนจริงมากๆที่เป็นเด็กต่ำกว่า 18 ว่า จะไปทำอะไรแบบนั้นกับเด็กจริงๆกันทุกคน
.
บางคนอาจมีคำถามว่า แล้วกับไอ้แค่เรื่องเสรีภาพในการนำเสนอสื่อลามกหรือหนังโป๊นั้นมันสำคัญยังไงกับเสรีภาพในการพูดในเรื่องสำคัญอย่างการเมืองการปกครอง
.
ต้องบอกว่ามันเป็นคนละเรื่องเดียวกันครับ เพราะคนส่วนใหญ่ที่แม้จะไม่เห็นด้วยกับสื่อลามกแต่เลือกที่จะปกป้องไว้ เพราะเค้าไม่ต้องการให้เสรีภาพในการพูดถูกจำกัดด้วยเหตุผลใดเหตุผลหนึ่งก็ตาม เพราะถ้าเสรีภาพในการพูดสามารถถูกจำกัดด้วยเรื่องใดเรื่องหนึ่งได้แล้ว เรื่องอื่นๆก็จะเกิดตามมาได้ไม่ยาก
.
เรียกง่ายๆได้ว่าเลือกตัดไฟแต่ต้นลม แม้ว่าลมที่ใช้ตัดไฟนั้นจะเหม็นกลับมาหาตัวเองก็ตาม
.
เหมือนที่ Voltaire (วอลแตร์) เคยพูดว่า “ถึงข้าจะเดียดฉันท์สิ่งที่ท่านพูด แต่จักกขอปกป้องสิทธิที่จะพูดของท่านไว้ด้วยชีวิต”
.
นี่แหละครับเสรีนิยมตัวจริงไม่ผิดเพี้ยน
.
เพราะคนเรามักไม่ชอบให้ใครเห็นต่างหรือเห็นแย้ง โดยเฉพาะยิ่งทำลายความคิดของเรา เมื่อเรามีอำนาจมันก็ง่ายที่จะปิดปากเค้าได้ด้วยอำนาจของเรา เมื่อรัฐบาลหรือผู้ปกครองไม่ให้อำนาจในการพูดวิจารณ์ใดๆ ก็จะเป็นการนำไปสู่การเสื่อมของผู้ปกครองจนกลายเป็น Tyranny หรือทรราชย์ได้ไม่ยาก
.
คนส่วนใหญ่มีเสรีภาพในการพูด ยกเว้นว่าการพูดนั้นมีความตั้งใจให้เกิดการทรมานทางกาย เช่น การตะโกนโกหกว่า “ไฟไหม้” ในโรงหนังที่แน่นไปด้วยผู้คนนั่นไม่เป็นที่ยอมรับ หรือต้องถูกจำกัดเสรีภาพ เพราะคาดได้ชัดเจนว่าคนตะโกนไม่ได้มีประสงค์ดีในการพูด และการพูดนั้นก็มีแนวโน้มจะทำให้คนลุกกรูออกจากโรงหนังด้วยความตกใจ จนอาจเบียดล้มเหยียบกันจนบาดเจ็บหรือล้มตายได้
.
หรือหนังสือบางเล่มที่ถูกระงับการเผยแพร่เพราะความตั้งใจให้ผู้อื่นถูกทำร้าย อย่างหนังสือที่ชื่อว่า “มือปืน:คู่มือทางเทคนิคสำหรับนักฆ่ารับจ้างอิสระ” Hit Man: A Technical Manual for Independent Contract Killers
.
เพราะเสรีภาพในการพูดไม่อาจยอมรับได้ก็มองว่าหนังสือเล่มนี้ไร้ความรับผิดชอบและเป็นอันตราย
.
แต่ก็มีผู้คัดค้านว่าถ้าหากอยากจะฆ่าใครซักคนแล้ว การหาวิธีฆ่าคนไม่ใช่เรื่องยาก เพราะในภาพยนต์หรือละครต่างก็เต็มไปด้วยการฆ่าคนด้วยวิธีต่างๆมากมาย
.
นี่แหละครับเสน่ห์ของเสรีภาพในการพูดที่ใครต่อใครต่างปรารถนารักษาไว้ยิ่งชีพ อย่างที่ จอห์น สจ๊วด มิลล์ กล่าวไว้ว่า “หากปราศจากเสรีภาพในการพูดแล้วก็เท่ากับเป็นการปล้นเอาความคิดทั้งหลายที่ทำให้สังคมพัฒนาก้าวหน้าไปจากมนุษยชาติ”
.
และยุคอินเทอร์เน็ตยิ่งทำให้เสรีภาพในการพูดเปลี่ยนแปลงและเติบโตในแบบที่ไม่เคยมีนักคิด นักปรัชญาคนไหนคาดเดาได้มาก่อน
.
อินเทอร์เน็ตให้พลังกับทุกคนที่เชื่อมต่อสามารถสื่อความคิดของตัวเองออกมาให้คนทั้งโลกรับรู้ได้ โดยไม่ต้องผ่านแท่นพิมพ์หรือสื่อกลางแบบเดิมที่เต็มไปด้วยต้นทุนกับผู้คุมกฏในการเผยแพร่มากมาย
.
อินเทอร์เน็ตให้อิสระในการสื่อสารมากยิ่งกว่ายุคไหนๆ จนกลายเป็นว่ารัฐบาลสมัยนี้พยายามควบคุมอินเทอร์เน็ตมากยิ่งกว่าสื่อไหนๆที่เคยมีมา
.
สุดท้ายปัญหาของอินเทอร์เน็ตทุกวันนี้คือ มันทำให้เกิดภาวะที่เรียกว่า #DailyMe หรือเปิดมือถือมาก็เจอแต่เรื่องที่ฉันสนใจทุกวัน เสรีภาพในการพูดเพื่อพัฒนาความคิดและปัญญาของเรานั้นมาจากการปะทะกันทางความคิด การได้แลกเปลี่ยนความเห็นที่แตกต่าง เพื่อให้เราได้ลับคมปัญญาอยู่เสมอ
.
แต่อินเทอร์เน็ตหรือ Social Media นั้น กลับทำให้โลกของเรานั้นแคบขึ้นและเล็กลง ด้วยการที่โปรแกรมต่างๆพยายามป้อนแต่สิ่งที่เราสนใจอยู่เรื่อยๆ พยายามลดความขัดแย้งกับความชอบเราออกไป จนโลกกว้างที่เราต้องการในอินเทอร์เน็ตกลับเป็นแค่โลกเล็กๆของเราคนเดียวเท่านั้น
.
สรุปได้ว่าเสรีภาพในการพูดแม้จะไม่ได้มีแต่สิ่งที่น่ารื่นรมย์ให้เราได้ชมได้ฟังเท่าไหร่นัก แต่ก็ทำให้เราได้พบกับความเห็นที่แตกต่างของบางคนจนอาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลกกับคนอีกพันล้านคนก็ได้
.
และนี่ก็เป็นราคาของเสรีภาพในการพูดที่เราต้องชั่งใจเอากับราคาของมัน และเสรีภาพในการพูดก็จะอยู่เป็นคู่ตรงข้ามกับการเซนเซอร์อยู่เสมอ เพราะเมื่อเราพูดได้อย่างอิสระ ก็ยิ่มมีบางอย่างที่ไม่มีใครบางคนอยากได้ยินหรือปล่อยผ่านไป
.
ความคิดสองความคิดเมื่อปะทะกัน อาจมีความคิดหนึ่งต้องแตกดับไป หรืออาจทั้งให้ทั้งสองความคิดนั้นเติบโตร่วมกันได้อย่างที่เราไม่คาดคิด
.
.
#เสรีภาพในการพูด ความรู้ฉบับพกพา
#FreeSpeech A Very Short Introduction
.
Nigel Warburton เขียน
จอมพล พิทักษ์สันตโยธิน แปล
สำนักพิมพ์ Openworlds
.
เล่มที่ 117 ของปี 2018
อ่านเมื่อ 2018 10 19