Call of The Mall ยกพลขึ้นห้าง

โดย Paco Underhill ผู้ที่สนใจเรื่องการตลาดบางคนอาจคุ้นกับชื่อนี้นิดๆ ก็เพราะ Paco Underhill เป็นผู้เขียนหนังสือชื่อ Why We Buy และเป็นเจ้าของบริษัท Environsell ที่ทำการสำรวจวิจัยพฤติกรรมบรรดานักช็อปให้กับบริษัทชั้นนำมาแล้วทั่วโลก และบริษัทของเค้าก็มีสาขาแทบจะทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยด้วย หนังสือเล่มนี้สนุกตรงที่เหมือนการที่นักเขียนพาเราไปเดินห้าง แต่การเดินห้างครั้งนี้จะไม่เหมือนกับทุกครั้งที่เราไปเดินห้างเลยซักครั้งในชีวิต เพราะการเดินห้างครั้งนี้จะเต็มไปด้วยคำถามและการสังเกตุมากมายที่เราไม่เคยสังเกตุมาก่อน ห้างกลายเป็นแหล่งชุมชนแห่งใหม่ในสังคมที่เพิ่งถือกำเนิดมาได้ประมาณ 60-70 ปีก่อนที่อเมริกา ห้างในที่นี้คือสถานที่ปิดเหมือนกล่องที่จุทุกอย่างไว้ข้างใน ยกตัวอย่างก็สยามพารากอน หรือเซ็นทรัลเวิร์ลละกัน ครั้งนึงห้างในอเมริกากลายเป็นแหล่งที่กีดกันชนชั้นล่างในการเข้าถึง เลือกสรรเฉพาะชนชั้นกลางขึ้นไปเท่านั้น เพราะตัวห้างในอเมริกาในสมัยก่อนนั้นไม่มีระบบขนส่งมวลชนเข้าถึงได้โดยง่าย นั่นหมายความว่าคุณต้องมีรถ ซึ่งชนชั้นกลางขึ้นไปเท่านั้นถึงจะสามารถเข้าถึงได้ ครั้งนึงห้างเคยถูกตีความว่าเป็นพื้นที่กึ่งสาธารณะในหลายรัฐ…

อยู่กับความซับซ้อน Living with Complexity

ความซับซ้อนฟังแล้วอาจชวนปวดหัวสำหรับหลายคน แต่ในลึกๆแล้วเราทุกคนล้วนเสพย์ติดความซับซ้อน (Complexity) โดยไม่รู้ตัว เพราะแท้จริงแล้วสิ่งที่เราไม่ชอบไม่ใช่ความซับซ้อน แต่กลับเป็นความสับสน (Complicated) และก็ความยุ่งเหยิง (Confusing) ยกตัวอย่างความซับซ้อนที่สุดที่ไกล้ตัวเราก็คือโทรศัพท์มือถือ.. ..โทรศัพท์มือถือทุกวันนี้ซับซ้อนกว่าโทรศัพท์ต้นแบบมันไม่รู้กี่ล้านเท่า และก็ซับซ้อนกว่าโทรศัพท์มือถือต้นแบบแรกของมันไม่รู้กี่เท่า โทรศัพท์เราทุกวันนี้ทำหน้าที่ไม่ได้รู้จบ แต่ถ้าดูจากความเป็นโทรศัพท์แต่แรกเริ่มเดิมทีคือการโทรออก รับสาย ต่อหมายเลขได้ ได้ยินเสียง จากนั้นก็เพิ่มวิวัฒนาการต่อไปเรื่อยๆเป็น เม็มเบอร์ได้ กดโทรด่วนได้ ทำให้เสียงออกมาจากลำโพงภายนอกได้ แต่งเสียงเรียกเข้าได้ พักสายได้ แล้วก็ได้อีกเป็นพันๆอย่างจนทุกวันนี้ลิสรายการออกมาเท่าไหร่ก็ไม่มีทางหมด.. ..นี่คือหนึ่งตัวอย่างความซับซ้อน แต่ทำไมความซับซ้อนนี้ถึงไม่สับสนล่ะ เพราะการซับซ้อนก็ยังมีรูปแบบ แบบแผน แผนผังจำลองความคิดที่ผู้ใช้งานสามารถเข้าใจ และเรียนรู้ที่จะใช้งานมันได้โดยไม่ยาก…