BRANDiNG 4.0 จากการตลาด 3.0 สู่การสร้างแบรนด์ 4.0

เมื่อการตลาดเปลี่ยนไป แต่ใจความสำคัญ…ยังเหมือนเดิม ถ้าจะบอกว่าใจความสำคัญของการตลาดก็ยังเป็นการสร้างผลกำไรหรือเงินเข้าบริษัทก็คงไม่ผิดนัก เพราะถ้าบริษัทไม่มีกำไรแล้วจะอยู่ได้อย่างไร เพียงแต่หนทางในการได้เงินมาขององค์กรทุกวันนี้เปลี่ยนไปมากกว่าเดิมจากการเริ่มค้าขายในประวัติศาสตร์ของมนุษย์มากนัก ในสมัยโบราณถ้าจะบอกว่าการตลาดก็คือการที่คนเอาของที่ตัวเองต้องการน้อยกว่าไปแลกกับของที่ตัวเองมากกว่ากับคนอื่นมา เช่น คนที่ปลูกพืชได้เยอะเกินความจะกินหมดหรือเก็บไว้ได้ ก็เอาพืชผลที่ปลูกได้เงินมานั้นไปแลกกับอีกคนที่อาจจะมีเนื้อสัตว์ที่เกินกินเกินเก็บไว้ และก็กำลังต้องการธันญพืชอยู่พอดี การแลกเปลี่ยนกันก็เลยเกิดขึ้นโดยความพร้อมใจทั้งสองฝ่าย แล้วก็วิวัฒนาการกลายเป็น “เงิน” หรือตัวกลางในการแลกเปลี่ยนขึ้นมาเพื่อให้ง่ายต่อทุกฝ่ายมากขึ้น ถ้าการตลาดทุกวันนี้ต่างจากเมื่อหลายพันหมื่นปีก่อนยังไง ถ้าจะบอกว่าแก่นใจความสำคัญก็คือการสร้างความพึงพอใจให้ทั้งสองฝ่ายที่ได้แลกเปลี่ยนกันก็คงไม่ผิดนัก เพราะถ้าเราไม่พอใจมากพอก็คงไม่ยอมเสียเงินมีอยู่ไปแลกมันมากันใช่มั้ยล่ะครับ การตลาดทุกวันนี้ไปไกลมากจนผู้เขียนนิยามว่าเป็นการตลาดยุค 4.0 (ไม่รู้ทำไมต้อง 4.0 ตามๆกันไปหมดทุกอย่างด้วย มีแต่ถุงยางหรือไงที่พยายามลดตัวเลขลงเรื่อยๆ ไม่เห็นเน้นจุดขายในตัวเลขที่เพิ่มขึ้นเหมือนสินค้าอื่นๆเลย) กว่าจะมาเป็นการตลาด 4.0 แน่นอนก็ต้องผ่านการนับหนึ่งมา คือเริ่มต้นจากการซื้อมาขายไป แลกเปลี่ยนกันซื่อๆไม่ซับซ้อน ต้องการอะไรก็เดินไปหามา…

Marketing 4.0 สู่ยุคการตลาดดิจิทัล

การตลาด 4.0 สู่ยุคการตลาดดิจิทัล โดย Philip Kotler ปรมาจารย์ด้านการตลาดชื่อดังระดับโลก จนสามารถพูดได้ว่าถ้าไม่เคยอ่าน Philip Kotler ก็ไม่น่าเรียกตัวเองว่านักการตลาด ถึงขนาดได้ยินว่าหลายมหาลัยในวิชาการตลาดเอาหนังสือของแกไปเป็นหนังสือเรียนเสียด้วยซ้ำ ก่อนจะมาถึง 4.0 ในวันนี้ การตลาดได้ผ่านยุคอะไรมาแล้วบ้าง 1.0 การตลาดที่เน้นสินค้าเป็นหลัก, Product Centric 2.0 การตลาดที่เน้นผู้บริโภคเป็นหลัก, Consumer Centric 3.0 การตลาดที่เน้นความเป็นมนุษย์เป็นหลัก Human Centric อ่านถึงตรงนี้อาจสงสัยว่า 2.0…

อยู่กับความซับซ้อน Living with Complexity

ความซับซ้อนฟังแล้วอาจชวนปวดหัวสำหรับหลายคน แต่ในลึกๆแล้วเราทุกคนล้วนเสพย์ติดความซับซ้อน (Complexity) โดยไม่รู้ตัว เพราะแท้จริงแล้วสิ่งที่เราไม่ชอบไม่ใช่ความซับซ้อน แต่กลับเป็นความสับสน (Complicated) และก็ความยุ่งเหยิง (Confusing) ยกตัวอย่างความซับซ้อนที่สุดที่ไกล้ตัวเราก็คือโทรศัพท์มือถือ.. ..โทรศัพท์มือถือทุกวันนี้ซับซ้อนกว่าโทรศัพท์ต้นแบบมันไม่รู้กี่ล้านเท่า และก็ซับซ้อนกว่าโทรศัพท์มือถือต้นแบบแรกของมันไม่รู้กี่เท่า โทรศัพท์เราทุกวันนี้ทำหน้าที่ไม่ได้รู้จบ แต่ถ้าดูจากความเป็นโทรศัพท์แต่แรกเริ่มเดิมทีคือการโทรออก รับสาย ต่อหมายเลขได้ ได้ยินเสียง จากนั้นก็เพิ่มวิวัฒนาการต่อไปเรื่อยๆเป็น เม็มเบอร์ได้ กดโทรด่วนได้ ทำให้เสียงออกมาจากลำโพงภายนอกได้ แต่งเสียงเรียกเข้าได้ พักสายได้ แล้วก็ได้อีกเป็นพันๆอย่างจนทุกวันนี้ลิสรายการออกมาเท่าไหร่ก็ไม่มีทางหมด.. ..นี่คือหนึ่งตัวอย่างความซับซ้อน แต่ทำไมความซับซ้อนนี้ถึงไม่สับสนล่ะ เพราะการซับซ้อนก็ยังมีรูปแบบ แบบแผน แผนผังจำลองความคิดที่ผู้ใช้งานสามารถเข้าใจ และเรียนรู้ที่จะใช้งานมันได้โดยไม่ยาก…

จากหลากหลายกลายเป็นหนึ่ง One From Many

เป็นหนังสือที่เขียนโดยผู้ก่อตั้งบริษัท VISA ที่ผมเชื่อได้ว่าแทบทุกคนบนโลกคุ้นเคย เพราะอย่างน้อยตอนเราทำบัตร ATM ครั้งแรกเราก็ต้องเลือกแล้วว่าจะใช้ VISA หรือ MasterCard ไหนจะตอนที่เราเริ่มทำงานมีรายได้แล้วอยากทำบัตรเครดิตครั้งแรกก็ต้องเลือกอีกเช่นกัน.. ..บริษัท VISA เกิดขึ้นมาจากความวุ่นวายของแบงค์ออฟอเมริกา อยากทำผลิตภัณฑ์ใหม่เป็นบัตรเครดิตครั้งแรกในชื่อของ อเมริการ์ด ที่ให้บริการสินเชื่อเงินสดทันใจแทนที่ดราฟเช็คเงินสดในสมัยก่อน ถ้าเราจำกันได้เวลาดูหนังฮอลลีวูดที่เก่าหรือย้อนยุคไปหน่อยซัก 40-60 ปีก่อน จะเห็นว่าตัวละครจะเขียนเช็คแทนการจ่ายด้วยเงินกัน นั่นแหละคือความยุ่งยากที่ก่อกำเนิดบัตรเครดิตเป็นครั้งแรกขึ้น.. ..แต่หลังจากเกิดขึ้นก็กลับก่อให้เกิดปัญหาวุ่นวายตามมามากมาย เพราะระบบที่ไม่ดีพอที่จะรองรับการเติบโตมหาศาลได้ และสมัยก่อนการจ่ายเงินยังไม่ทันใจในเสี้ยววินาทีที่แค่เซ็นลงบนสลิปแล้วจบ เพราะทางร้านค้าจะต้องรับบัตรแล้วก็โทรตรวจสอบไปยังธนาคารผู้ออกบัตร ส่วนธนาคารผู้ออกบัตรก็จะบอกให้ร้านค้ารอซักครู่แล้วทางธนาคารผู้ออกบัตรก็จะโทรไปยังสำนักงานใหญ่แบงค์ออฟอเมริกาเพื่อถามว่าจะอนุมัติหรือไม่ ถ้าวงเงินสูงก็ต้องใช้เวลารอการอนุมัติอีกราวๆสองอาทิตย์ และจากการโทรกันหลายทอดก็กลายเป็นค่าใช้จ่ายสะสมมหาศาลจากค่าโทรศัพท์ทางไกลมากมายหลายร้อยล้านดอลลาห์ในสมัยนั้น.. ..Dee Hock…

ปฏิวัติ 2.0 Revolution 2.0; The Power of the People Is Greater Than the People in Power

บทบันทึกเรื่องราวของคลื่นปฏิวัติเพื่อประชาธิปไตยในโลกอาหรับ (Arab Spring) ผ่านประสบการณ์ตรงของผู้จุดประกายการปฏิวัติผ่านโลกไซเบอร์ด้วยพลังของเฟซบุ๊ค เขียนโดย Wael Ghonim Wael Ghonim ชายชาวอียิปต์วัยกลางคนทำงานที่บริษัท Google ในตำแหน่งผู้อำนวยการด้านการตลาดของประเทศแถบภูมิภาคนั้น เป็นชายผู้ริเริ่มกระแสการเรียกร้องความยุติธรรมให้กับชายอียิปต์ผู้หนึ่งที่ตัวเองไม่เคยรู้จักมาก่อนที่ชื่อ คาเลด ซาอิดชายหนุ่มที่ถูกตำรวจความมั่นคงซ้อมจนตายและยัดข้อหาค้ายาให้ทั้งที่เป็นผู้บริสุทธิ์.. ..จากจุดเริ่มต้นนี้ทำให้ Wael Ghonim หลังจากได้เห็นภาพและเรื่องราวที่น่าสยองสมเพชกับสิ่งที่เกิดขึ้นกับเพื่อนร่วมชาตินี้กระตุ้นให้เค้าเริ่มสร้างเพจที่มีชื่อว่า “เราล้วนคือ คาเลด ซาอิด” ขึ้นมาเพื่อหาแนวร่วมเรียกร้องความยุติธรรมและความจริงที่ถูกตำรวจภายใต้รัฐบาลประชาธิปไตยเผด็จการของ มูบารัค ที่คอยใช้สื่อปกปิดหลอกลวงความจริงกับประชาชนตลอดกว่า 30 ปีที่เค้าปกครองประเทศมา.. ..การเรียกร้องความยุติธรรมเริ่มจากสร้างเพจเฟซบุ๊คเพื่อหาแนวร่วม ไปจนถึงการออกมาแสดงพลังเงียบในโลกจริงด้วยการร่วมกันใส่ชุดดำยืนนิ่งเงียบร่วมกันจนกลายเป็นกระแสที่ทั่วโลกต่างให้ความสนใจในช่วงปี 2010..…

Privacy: A Very Short Introduction ความเป็นส่วนตัว ความรู้ฉบับพกพา

ความเป็นส่วนตัวที่เป็นคดีความครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อร้อยกว่าปีก่อนในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 เป็นคดีความฟ้องร้องระหว่างเจ้าชายอัลเบิร์ทและควีนวิคตอเรีย กับชายชาวธรรมดาสามัญชน ที่นำภาพพิมพ์ส่วนตัวของทั้งสองพระองค์ไปเผยแพร่สู่สาธารณะ ทั้งสองจึงฟ้องศาลเป็นคดีความแรกของโลกที่พูดถึงเรื่อง “ความเป็นส่วนตัว” นับเป็นจุดเริ่มต้นจากนั้นเป็นต้นมา ในสหรัฐอเมริกานั้นมาตรฐานความเป็นส่วนตัวถือว่าต่ำกว่ายุโรบมากจนเทียบกันไม่ได้ การเก็บข้อมูลส่วนตัวและส่วนบุคคลของบริษัทเอกชนหรือรัฐนั้นแทบจะเป็นอิสระสะดวกสบายโดยไม่ต้องรับผิดชอบความเสียหายของบุคคลที่จะตามมาเลย ความเป็นส่วตัวเริ่มเสียหายอย่างเป็นจริงจังก็ตอนที่โกดักเองทำกล้องกระดาษที่ใครๆก็สามารถหาซื้อมาถ่ายกันได้ง่ายๆ นั่นเองที่ทำให้กำแพงความเป็นส่วนตัวหายไป ความเป็นส่วนตัวและความเป็นเสรีในการแสดงความคิดเห็นนั้นมีแง่มุมที่ขัดแย้งกันมานาน การพูดการแสดงออกคือเสรีภาพ แต่ถ้าเสรีภาพของการแสดงออกเป็นการไปกระทบความเป็นส่วนตัวของผู้อื่นจะยังนับเป็นการแสดงออกอย่างเสรีที่ไม่ควรถูกขัดขวางงั้นหรอ ครั้งนึงคนดังอย่าง เซลีนา วิลเลียม เคยถูกช่างภาพนักข่าวแอบถ่ายภาพเธอขนะกลับจากกลุ่มบำบัดยาเสพย์ติด เธอฟ้องช่างภาพและหนังสือพิมพ์นั้นในการละเมิดความเป็นส่วนตัวของเธอ และเธอปฏิเสธว่าเธอไม่ได้เข้าร่วมกลุ่มบำบัดยาเสพย์ติด ผลปรากฏว่าศาลตัดสินให้ยกฟ้องไม่เอาผิดสื่อ เพราะเธอโกหกความจริงที่ปรากฏสื่อในฐานะผู้ตีแผ่ความจริงให้สังคมรับรู้ นี่เป็นแค่เสี้ยวเดียวของความเป็นส่วนตัวที่พิกลพิการในทางกฏหมายในสังคมที่พัฒนาแล้วอย่างอังกฤษ ไม่ต้องพูดถึงบ้านเรา ข้อมูลของเราก็คือความเป็นส่วนตัวที่สำคัญมากอย่างนึง ทุกอย่างที่ถูกบันทึกไว้เป็นการสูญเสียความเป็นส่วนตัวเราไปเรื่อยๆทั้งนั้น เฟซบุ๊คที่โพส ภาพที่อัพ ที่ๆเช็คอิน…

The Filter Bubble ยิ่งหา ยิ่งหาย

สรุปหนังสือ The Filter Bubble ยิ่งหา ยิ่งหาย เป็นเรื่องระหว่างความเป็นส่วนตัวและการสร้างความเฉพาะตัว ซึ่งจะกลายเป็นปัญหาที่สำคัญมากและจะเห็นภาพชัดขึ้นในไม่กี่ปีข้างหน้านี้ นึกง่ายๆถึงโพสนึงที่เป็นกระแสกันเมื่อไม่กี่วันก่อน..ที่เราจะเห็นหน้าเฟซบุ๊คว่ามีเพื่อนเราหลายคนก๊อปปี้ข้อความต่อๆกันมาโพสยืดยาวแล้วเราก็ทนอ่านจนจบที่มีใจความว่า “เราไม่อนุญาตให้เฟซบุ๊คเอารูปภาพและข้อมูลส่วนตัวของเราไปใช้นะเราขอประกาศ บลา บลา บลา” แต่โพสเหล่านั้นไม่ได้มีผลเลย เพราะทุกคนที่เล่นเฟซบุ๊คคือคนที่ยอมสูญเสียความเป็นส่วนตัวทั้งหมดไปแล้วตั้งแต่ตอนสมัครสมาชิก ไม่ใช่แค่เฟซบุ๊คเท่านั้น แต่แทบทุกบริการที่ออนไลน์ทั้งหมดก็ทำแบบเดียวกัน นั่นคือเข้าถึอข้อมูลส่วนตัวของคุณแม้ว่าคุณจะไม่ตั้งใจ เหตุผลส่วนนึงเพราะมันเป็นการสร้างความสะดวกสบายให้คุณ สร้างความเป็นเฉพาะตัวที่เป็นคุณให้คุณ ทำให้คุณเห็นโฆษณาที่ไกล้กับความเป็นคุณหรือสิ่งที่คุณจะหามากขึ้น ง่ายขึ้น หรืออาจนิยามด้วย 2 ศัพท์ง่ายๆนั่นคือ customize และ personalize แค่คลิ๊กแค่เล่นก็รู้แล้วว่าเป็นคุณ และคุณต้องการอะไร…

ภูมิรัฐศาสตร์ Geopolitics: A Very Short Introduction

เป็นหนึ่งในหนังสืออีกเล่มที่ได้มาจากงานหนังสือเมื่อนานพอสมควร (จำไม่ได้ว่าหนึ่งหรือสองปีแล้ว) หลังจากช่วงนี้ได้หยิบหนังสือแนวการเมืองการปกครอง และหนังสือในชุด “ความรู้ฉบับพกพา” ของสำนักพิมพ์ Openworlds มาอ่านหลายเล่ม ก็เลยเกิดการอยากอ่านต่อเนื่องไปเรื่อยๆเพื่อเพิ่มความรู้เรื่องการเมืองการปกครองไว้ประดับสมองกับเค้าบ้าง ภูมิรัฐศาสตร์ หมายถึงอะไร สารภาพตรงๆอ่านจนจบแล้วผมก็ยังไม่มีคำสรุปนิยามที่สั้นตรงใจจนสามารถเขียนออกมาได้ แต่ในความรู้สึกผมหลังอ่านจบผมรู้สึกว่าคำนี้เหมือนกับการนิยามให้กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ตั้งแต่แผนที่ กลุ่มชาติพันธุ์ ภาพยนต์ หรือแม้แต่ของเล่น กลายเป็นตัวแทนทางการเมืองได้ หรือแม้แต่สามารถปลูกฝังแนวคิดผ่านสิ่งเหล่านี้ได้อย่างน่าทึ่งปนน่ากลัว ถ้าถูกนำไปชักจูงใช้ในทางที่ผิด อารมณ์คล้ายๆ Propaganda อย่างไงอย่างงั้น เช่น หลังจากเหตุการณ์การก่อการร้ายที่ตึกแฝดในนิวยอร์ก ชาวตะวันออกกลาง หรืออิสลาม ก็กลายเป็นภาพแทนของกลุ่มผู้ที่น่ากลัวของสังคม หรือเป็นเป้าหมายให้คนผิวขาวทั่วไปต้องเฝ้าจับตามอง หรือการฉายภาพว่าประเทศแถบตะวันออกกลางเหล่านั้นคือแหล่งซ่องซุมของกองกำลังก่อการร้ายก็ว่าได้…

เศรษฐกิจดิจิทัล The Digital Economy: Rethinking Promise and Peril in the Age of Networked Intelligence

คนเราจะเดาถึงอนาคตได้อย่างมากเท่าไหร่กัน…1ปี 5 ปี หรือ 10 ปี คำถามยอดฮิตเวลาสัมภาษณ์งาน, ปีหน้า คิดว่าจะพากันไปฉลองครบรอบวันแต่งงานหรือเป็นแฟนกันที่ไหนดี หรืออาจจะจองตั๋วเที่ยวบินราคาถูกข้ามปีเอาไว้ หรือ ไตรมาสหน้า..ว่าผลประกอบการบริษัทจะเป็นอย่างไร โบนัสจะมาหรือไม่ หรือ วีคหน้า..ว่าจะมีโปรเจคอะไรใหม่เข้ามาบ้าง และต้องรีบทำอะไรบ้าง หรือแค่วันพรุ่งนี้…ต้องใส่ชุดอะไรไปทำงานนะ… แต่มีชายคนนึงที่คาดเดาอนาคตของโลกไว้ตั้งแต่เมื่อ 20ปีที่แล้ว ในวันที่โลกเริ่มมีเค้าลางของปัจจุบันแค่ไม่กี่อย่าง หนึ่งในนั้นก็คือ “อินเทอร์เน็ต” เมื่อเวลา 20ปีผ่านไป แทบทุกอย่างที่เค้าคาดเดาไว้ก็ต้องบอกว่าแม่นอย่างกับจับวาง ยังกับนอสตราดามุสของโลกดิจิทัลยังไงยังงั้น และชายคนนี้ที่พูดถึงก็คือ Don Tapscott ซึ่งปัจจุบันเป็นหนึ่งใน…

Democracy: A very short introduction ประชาธิปไตย ความรู้ฉบับพกพา

ประชาธิปไตย…คำที่คุ้นเคยแต่ใครเอยจะรู้ว่า แท้จริงแล้วประชาธิปไตยที่เข้าใจกันมานั้นมีที่มาอย่างไร Democracy แรกเริ่มเดิมทีจากรากคำภาษากรีกโบราณ มาจากสองคำผสมกันระหว่างคำว่า Demos ที่หมายถึงประชาชน กับ Krator ที่หมายถึงการปกครอง เมื่อรวมกันแล้วก็หมายความว่า “การปกครองโดยประชาชน” ในยุคกรีกโบราณที่ประชาธิปไตยถือกำเนิดขึ้นนั้น อริสโตเติล ปราชญ์นักคิดชื่อดังผู้สนับสนุนประชาธิปไตยคนแรกๆกลับไม่ได้สนับสนุนประชาธิปไตยที่มี “การเลือกตั้ง” ในแบบที่เป็นอยู่ ในสมัยนั้นอริสโตเติลสนับสนุนให้ใช้การ “จับฉลาก” เลือกผู้ที่จะเข้ามาทำงานหรือตัดสินใจ เพราะอริสโตเติลรู้ว่าคนเรานั้นโลภและเขลาเกินกว่าที่คิด ทำให้ไม่มั่นใจว่าถ้าต้องโหวตกันก็จะมวลหมู่มากก็จะพ่ายแพ้ต่อปัญญา เหมือนที่มีคนกล่าวว่า “ความเขลาจะมีชัยเหนือปัญญา และปริมาณจะสำคัญกว่าความรู้” ว่าไปก็คือแนวคิดว่า “ประชานิยม” ในทุกวันนี้ ที่ผู้เขียนเชื่อว่าจะเป็นตัวการพาประชาธิปไตยไปสู่ความเสียหาย เพราะประชานิยมคือการที่พรรคต่างๆแข่งขันกันเอาใจประชาชนหมู่มาก…