ดีที่สุดในสิ่งที่เป็น ฟาสต์ฟู้ดธุรกิจ 18

“อะไรที่เกิดขึ้นแล้วย่อมดีเสมอ” เป็นการยอมรับในสิ่งที่เกิดขึ้น และหาข้อดีในสิ่งที่เป็นอยู่ให้เจอ แม้จะไม่มีข้อดีมีแต่ปัญหา แต่ถ้ารู้จักใช้ปัญญา แก้ปัญหา ก็ย่อมมีโอกาสใหม่ๆตามมาทุกครั้ง เพราะปัญหาคือบิดาของนักประดิษฐ์ และไม่ใช่แค่นักประดิษฐ์ แต่ยังหมายถึงโอกาสของชีวิต และทางธุรกิจมากมายด้วย มีตอนหนึ่งในเล่มที่เปรียบปัญหาในการทำงาน เหมือนกับการทำอาหารด้วยเตาถ่า ตอนจะจุดให้ไฟติดนั้นแสนลำบาก ต้องคอยหาถ่านก้อนเล็กมาเติม มือก็ต้องคอยพัดให้ไฟติด ก็เหมือนกับตอนเริ่มต้นธุรกิจ อะไรก็ยากไปหมด การทำงาน การใช้ชีวิต นั้นมี “สูตร” แต่ไม่มี “สูตรทำเร็จ” ที่ทำตามได้เป๊ะๆแล้วเพอร์เฟ็คเหมือนเค้า แต่ต้อง กะ กะ เอาว่าสูตรที่เรากำลังทำ ใช้กับชีวิตนี้ต้องประมาณไหน…

ให้โอกาสกับสิ่งที่เราไม่รู้ ฟาสต์ฟู้ดธุรกิจ 16

ไม่แปลกที่เรามักชอบด่วนสรุป และตัดสินเป็นประจำ ผมยอมรับว่าผมเองก็เป็นหนึ่งคนในแบบที่ว่ามา จนลูกน้องบอกว่า “พี่อย่ารีบด่วนสรุปดิ ฟังให้จบก่อน” ครับ โดนลูกน้องดุ หัวหน้าที่ดีต้องปรับปรุง จากนั้นมาเวลาน้องคนนี้จะพูดอะไร แม้ในใจผมจะรีบด่วนสรุปด้วยความเคยชิน แต่ก็ตั้งใจฟังจนจบมากขึ้น และก็พบว่าในสรุปแล้วมันก็ไม่ได้เป็นอย่างที่ผมสรุปในใจทุกครั้งไปนี่นา เจียง เจ๋อ หมิน อดีตประธานาธิบดีจีนบอกว่า ความรู้ในโลกนี้มีอยู่เพียงสองอย่าง รู้ว่ารู้ กับ รู้ว่าไม่รู้ แต่ยังมีอีกหนึ่ง รู้ ที่น่ากลัวที่สุดครับ คือ “คิดว่ารู้” ทั้งที่จริงไม่รู้ เพราะรีบด่วนสรุปตัดสินไป จนพลาดที่จะได้รู้อะไรใหม่ๆ เหมือนเรื่องแก้วหนึ่งใบ…

ฟายน์แมน อัจฉริยะโลกฟิสิกส์ Surely you’re joking Mr.Feynman

ฟายน์แมนคนนี้ คงไม่ต้องบอกว่าอัจฉริยะขนาดไหน เพราะมีรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์เป็นเครื่องยืนยัน แต่ที่สำคัญยังเป็นอัจฉริยะในด้านการอำ และการกวนคนรอบตัวอีกด้วย หนังสือเล่มนี้เลยไม่ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับทฤษฎีพลศาสตร์ไฟฟ้าควอนตัม ซึ่งนำไปสู่รางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ในปี 1965 ที่ทำให้เค้าโด่งดังซักเท่าไหร่ แต่กลับเต็มไปด้วยเรื่องราวในชีวิตของเค้า กับวีรกรรมสุดกวนที่อ่านไปยิ้มไป หัวเราะไป ได้ไม่น่าเชื่อ สารภาพตรงๆผมอ่านแล้วขำในร้านกาแฟ และรถไฟฟ้าก็หลายครั้ง ส่วนครั้งไหนที่พอรู้ตัวหน่อยผมจะอมยิ้มเพราะกลั้นขำไว้ในใจ กลัวคนหาว่าผมบ้าที่อ่านหนังสือชีวประวัติของนักฟิสิกส์แล้วขำเหมือนอ่านขายหัวเราะ ทั้งที่ฟายน์แมน ชายผู้นี่เป็นส่วนหนึ่งของทีมนักวิทยาศาสตร์สำคัญที่ทำให้อเมริกาสร้างระเบิดปรมาณูได้สำเร็จ จนพลิกเอาชนะสงครามโลกครั้งที่สองได้ ชายผู้เคยหลงไหลบราซิล จนต้องขอลางานประจำเป็นปี เพื่อไปสอนวิทยาศาสตร์ฟิสิกส์ให้กับเด็กๆชาวบราซิลหลายต่อหลายครั้ง และก็กล้าพูดวิจารณ์ออกสื่อต่อหน้าผู้คนมากมายในวันส่งท้ายการสอนของเค้าว่า การศึกษาที่บราซิลนั้นล้มเหลวขนาดไหน เพราะที่นั่นสอนให้เด็กท่องจำตำรา โดยไม่สอนให้เกิดความเข้าใจที่แท้จริงของการเรียน และยังไม่กระตุ้นให้เด็กเกิดคำถามกับตำราเรียน หรือผู้สอนอีกด้วย อ่านดูแล้วคุ้นๆเหมือนการศึกษาบ้านเรายังไงยังงั้น…

สนุกคิดแล้วบิดขี้เกียจ, ฟาสต์ฟู้ดธุรกิจ 14

ยังคงเป็นหนังสือที่ให้ข้อคิดในเรื่องธุรกิจ การตลาด และชีวิต ที่ดีเหมือนเดิม ขนาดว่าเขียนมาเป็นสิบปีเพิ่งหยิบมาอ่านวันนี้ก็ยังได้อะไรใหม่ๆเสมอ ในแง่ข้อคิดของชีวิต เช่น ฝนตกเหมือนเดิม แต่ความรู้สึกไม่เหมือนเคย หนุ่มเมืองจันท์เล่าว่าครั้งนึงไปเดินป่าเขาใหญ่แล้วเจอฝนเทจากฟ้า ทำให้ต้องรีบเดินหาที่หลบกำบังฝน แต่เดินเท่าไหร่ก็ยังไม่เจอไม้ใหญ่ที่พอจะบังฝนได้ ในเมื่อหนีปัญหาไม่ได้ก็คิดให้สนุกกับปัญหาเลย คิดถึงตอนเป็นเด็กที่เคยสนุกกับการเล่นน้ำฝน แล้วทำไมวันนี้จะสนุกกับน้ำฝนเหมือนเดิมไม่ได้ จากที่วิ่งหนีฝน กลายเป็นวิ่งเข้าหาความสนุกกับฝนจากปัญหาที่เคยเป็นทุกข์ กลายเป็นโอกาสที่กลายเป็นสุขบางทีการแก้ปัญหาบางเรื่อง ก็แค่เปลี่ยนมุมมองเท่านั้นเองครับ บริษัทรถทัวร์ที่เอาใจใส่ลูกค้าผู้หญิง บางคนที่เคยนั่งรถทัวร์อาจสงสัยเวลาจองตั๋วว่า คนขายจะถามชื่อคนนั่งไปทำไม ที่ต้องถามเพราะคนจัดที่นั่งจะได้รู้ว่าที่ไหนผู้ชาย ที่ไหนผู้หญิง แล้วทีนี้เค้าก็จะจัดที่นั่งให้ผู้ชายได้นั่งกับผู้ชาย และผู้หญิงได้นั่งกับผู้หญิง เพื่อความอุ่นใจปลอดภัยของผู้หญิงที่จะได้ขึ้นรถทัวร์ ดูเป็นเรื่องเล็กๆสำหรับผู้ชาย แต่เป็นเรื่องใหญ่สำหรับผู้หญิงนะครับ รู้แบบนี้คราวหน้าผู้ชายคนไหนจองตั๋วรถทัวร์…

Unthink หลอกสมองให้ไม่ต้องคิด

เป็นหนังสือเกี่ยวกับจิตวิทยาและพฤติกรรมของคน ที่เอาไปประยุกต์ใช้กับการตลาดและชีวิตประจำวันได้หลายเรื่อง ถ้าใครที่ชอบอ่านแนวเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม จิตวิทยา หรือจิตวิทยาสังคม แล้วอยากรู้ให้ลึกขึ้นอีกระดับ ผมแนะนำเล่มนี้ เนื้อหาโดยสรุปคือ…เรามักคิดว่าเราใช้ความคิดอยู่ตลอดเวลา และมีสติในการเลือกหรือตัดสินใจแทบทุกเรื่องในชีวิต แต่ในความเป็นจริงแล้วไม่ใช่เลย เราแทบไม่ได้คิดก่อนจะเลือกเสมอไปอย่างที่เราชอบคิด แต่เราจะคิดเมื่อเลือกไปแล้ว คิดให้เหตุผลหลังเลือก ไม่ใช่เลือกอย่างมีเหตุผล จากการทดลองในเล่มที่น่าสนใจหลายเรื่อง แต่ขอหยิบบางเรื่องที่เห็นว่าน่าสนใจจริงๆมาสรุปให้ฟังก็แล้วกันครับ เราไม่ได้หัวใจเต้นแรงเพราะตกหลุมรักใครบางคนเสมอไป แต่บางครั้งเราตกหลุมรักใครบางคนตรงหน้าเพราะหัวใจเรากำลังเต้นแรงอยู่ จากการทดลองที่ให้ผู้ชายหญิงเดินข้ามสะพานสูงที่เชื่อมระหว่างสองผา พบว่าชายหรือหญิงที่เดินข้ามสะพานที่น่าหวาดเสียวนี้มา รู้สึกว่าตัวเองประทับใจฝ่ายตรงข้ามที่รออยู่ปลายสะพานมากกว่าผู้ทดลองอีกกลุ่ม ที่ให้เดินข้ามทางธรรมดาปกติที่ไม่ได้หวาดเสียวไปกระตุ้นการเต้นของหัวใจแต่อย่างไร ผลคือชายหญิงที่เดินข้ามสะพานสูงที่น่าหวาดเสียวมีอาการทางร่างกายคล้ายกับการตกหลุมรักใครบางคนจนหัวใจเต้นแรง เลยทำให้ปิ๊งกับคนปลายทางจนมีการขอเบอร์ติดต่อกันหลังจากนั้นมากกว่ากลุ่มที่เดินข้ามทางปกติไม่หวาดเสียวกระตุ้นให้หัวใจเต้นแรง ถ้ารู้แบบนี้แล้วอยากให้ใครซักคนตกหลุมรัก ให้พาไปเล่นรถไฟเหาะ หรือดูหนังสยองขวัญแทนหนังรักนะครับเดทหน้า แถมการใส่เสื้อสีแดงที่สื่อถึงความร้อนแรง ก็ยังทำให้คุณดูน่าสนใจเพิ่มขึ้นอีกด้วย อันนี้เค้าทดสอบมาแล้ว…

คิดใหญ่เริ่มให้เล็ก, ธุรกิจพอดีคำ ฉบับที่ 2

ธุรกิจยักษ์ใหญ่ทั้งหลายในโลกที่เราคุ้นตากันวันนี้ ไม่ว่าจะ Facebook แพลตฟอร์มที่มีคนใช้งานมากที่สุดในโลก Uber บริษัทแท็กซี่ที่ใหญ่ที่สุดในโลก Airbnb ผู้ให้บริการห้องพักที่ใหญ่ที่สุดในโลก หรือ Samsung บริษัทที่มีสัดส่วนยอดขายโทรศัพท์มือถือสูงที่สุดในโลก ครั้งนึงเมื่อเริ่มก่อตั้ง บริษัทเหล่านี้ล้วนเริ่มจากอะไรที่เล็กๆไม่เกินแรงคนๆนึงจะทำได้ทั้งนั้น Samsung เริ่มจากขายปลาตากแห้ง Facebook เริ่มจากเว็บเล็กๆสำหรับเด็กมหาลัยนึงเท่านั้น Airbnb เกิดจากการอยากแบ่งเตียงให้คนที่มาเทศกาลงานออกแบบนอน เพื่อหาเงินเล็กน้อยเข้ากระเป๋า ทั้งหมดนี้เป็นสิ่งๆไม่ว่าใครก็เริ่มทำได้เหมือนกัน หนังสือเล่มนี้ก็เต็มไปด้วยเรื่องราวประมาณที่ว่าแหละครับ ผมขอหยิบบางช่วงบางตอนในเล่มที่เห็นว่าน่าสนใจมาเล่าสรุปให้ฟังก็แล้วกัน เราเลิกเล่นเฟซบุ๊กไม่ได้ เพราะเราอดที่จะพูดไม่ได้ สาเหตุที่คนส่วนใหญ่ยังคงเสพย์ติดเฟซบุ๊กถึงทุกวันนี้ เพราะทุกครั้งที่เราโพสแสดงความเห็นอะไรออกไป มันทำให้เรามีความสุขทุกครั้ง ไม่ใช่แค่การคิดไปเอง ไม่ใช่แค่จิตวิทยา…

วัฒนธรรมร่วมอุษาคเนย์ในอาเซียน

ไทยแท้ไม่มีอยู่จริง นี่คือความรู้สึกหลังอ่านหนังสือเล่มนี้จบ ทำให้รู้ว่าไอ้ความเป็น “ไทยแท้ๆ” ที่เราหวงกันนักหนา ไม่ว่าจะ อาหารไทย มวยไทย ลายเส้นไทย การไหว้แบบไทย สงกรานต์ไทย หรือแม้แต่ภาษาไทยแท้จริงแล้วก็ไม่ใช่ของที่กำเนิดมาจาก “ไทย” เลยซักอย่าง แต่กลับเป็นของส่วนร่วม ตามชื่อหนังสือที่บอกว่า “วัฒนธรรมร่วม” นั่นเอง ไทย หรือ คนไทย นั้นก็เป็นส่วนหนึ่งของอาเซียนที่เอาเข้าจริงแล้วก็แยกแทบไม่ออก ถ้าถอดเสื้อผ้า ให้ดูแต่หน้าไม่ต้องพูดซักคำ ก็ยากที่จะแยกออกว่าหน้าแบบนี้คือไทย หน้าแบบนี้คือลาว หน้าแบบนี้คือพม่า เขมร หรือแม้แต่ทางใต้มาเลเซีย ฟิลิบปินส์…

จุดหมายที่ปลายเท้า, ฟาสต์ฟู้ดธุรกิจ 13

“ความมืด” รอบตัวเรา ไม่น่ากลัวเท่ากับ “ทัศนคติ” ต่อ “ความมืด” แค่ช่วงคำนำเปิดตัวก็คมแล้ว เหมือนเรื่องราวของนักธุรกิจคนหนึ่งในช่วงวิกฤติต้มยำกุ้ง จากคนที่เคยมีทรัพย์สิน 1,000 ล้าน เหลือแค่ 100 ล้าน ทำเอาเครียดหนักนอนไม่หลับเป็นเดือนๆ จนได้มาเจอกับเพื่อนนักธุรกิจอีกคนที่เมื่อก่อนเคยมีทรัพย์เกือบ 20,000 ล้าน มาวันนี้กลายเป็นมีหนี้กว่า 10,000 ล้าน พอรู้เรื่องเพื่อนเท่านี้ก็หัวเราะออก ไม่เครียดนอนหลับสบายเลย เห็นมั้ยครับว่า “ความจริง” ยังคงเหมือนเดิม คือมีทรัพย์สิน 100 ล้าน แต่ความรู้สึกต่างกันลิบลับ…

ไม่ตั้งใจแต่ทำไมจึงสุข, ฟาสต์ฟู้ดธุรกิจเล่ม 12

ความสุขหรือความทุกข์ของเรา ล้วนมาจากความ “คาดหวัง” เราหวังว่าเรื่องงานจะเป็นแบบนี้ หรือเราหวังว่าชีวิตคู่จะเป็นแบบนั้น แต่พอผลลัพธ์ไม่เป็นไปตามที่คาด ความทุกข์ก็ตามมาอย่างเลี่ยงไม่ได้ แต่ถ้าเราตั้ง “เส้นเกณฑ์ความคาดหวัง” เอาไว้ให้ต่ำๆหน่อย หรือถ้าเป็นไปได้ไม่คาดหวังอะไรเลย กลายเป็นว่าชีวิตกลับเต็มไปด้วยความสุขอย่างไม่น่าเชื่อ ในวันนี้ ยุคที่ “ความสุข” กลายเป็นของหายาก หรือสิ่งมีค่ายิ่งกว่าเงินทอง เรามักไม่ค่อยมีความสุข ทั้งที่เมื่อมองย้อนกลับไปซัก 5 ปีก่อน ผมคิดว่าเราส่วนใหญ่มีชีวิตที่ดีกว่าวันนั้น ไม่ว่าจะด้วยเงินเดือนที่เพิ่มขึ้นโทรศัพท์เครื่องใหม่ขึ้นอินเทอร์เน็ตที่เร็วขึ้นหรือแม้แต่เงินฝากในบัญชีที่เพิ่มขึ้น…ถ้าเงินฝากไม่เพิ่มงั้นยอดวงเงินบัตรเครดิตก็คงเพิ่มแหละ เรามีอะไรๆเยอะขึ้น แต่ทำไมความสุขถึงน้อยลง แต่หนังสือฟาสต์ฟู้ดธุรกิจเล่มนี้ยังเต็มไปด้วยข้อคิดดีๆทั้งในแง่การใช้ชีวิต และในแง่ธุรกิจเหมือนเดิม เช่น ถ้าน้ำในเหยือกเค็มเราจะทำอย่างไรให้หายเค็ม คิดง่ายๆก็มีสองทาง…

ISAAC NEWTON

นี่คือหนังสือชีวประวัติของคนที่น่าจะดังที่สุดในโลกคนหนึ่งตลอดกาลก็ว่าได้ เซอร์ ไอแซก นิวตัน ชายผู้ค้นพบแรงโน้มถ่วง ชายผู้ปฏิวัติคณิตศาสตร์ ชายผู้ทำให้ปราชญ์จากกรีกโบราณหรือนักคิดก่อนหน้าหลายคนต้องเผาผลงานทิ้งเพราะการค้นพบของเค้า ไอแซก นิวตัน ชายที่คนทั่วโลกน่าจะรู้ประวัติอย่างย่อของเค้าเป็นอย่างดีว่าเค้าค้นพบแรงโน้มถ่วงเพราะแอปเปิลหล่นลงมา หรืออาจจะหล่นใส่หัวตอนที่นั่งอยู่ใต้ต้นแอปเปิล แต่ใครจะรู้ว่าแท้จริงแล้วแอปเปิลอาจไม่ได้หล่นใส่เค้า หรือแม้แต่เค้าอาจจะไม่ได้นั่งอยู่ใต้ต้นแอปเปิลก็ได้ เพราะแอปเปิลคือสัญลักษณ์ของความรู้ และอาจเป็นการหยิบเอามาเป็นตัวแทนของความรู้ใหม่ในแบบฉบับของนิวตัน นิวตันเคยเขียนจดหมายเปรียบเปรยเรื่องการค้นพบแรงโน้มถ่วงทำนองว่า ก็เหมือนกับผลแอปเปิลนั้นบนต้นไม้นั่นแหละ เหตุใดผลมันจึงไม่ลอยชี้ออกไป ทำไมผลนั้นถึงชี้ลงมาด้านล่วง ทำไมมันถึงไม่เหมือนกับการที่เราเอาเชือกรัดก้อนหินแล้วหมุนมันจนมันชี้ออกไปรอบนอก นั่นก็เพราะต้องมีแรงบางอย่างที่กระทำต่อมันเหมือนที่เชือกทำ เหมือนที่โลกทำกับดวงจันทร์ เหมือนที่ดวงอาทิตย์ทำกับโลก และเหมือนที่โลกทำกับแอปเปิล และที่นิวตันเลือกแอปเปิล หนังสือเล่มนี้ก็บอกว่าบางทีเพราะนิวตันนั้นเคร่งในศาสนาไม่น้อย และแอปเปิลก็เป็นผลไม้สำคัญในพระคัมภีร์เดิมอยู่แล้ว ช่างประจวบเหมาะลงตัวไม่น้อยเลยใช่มั้ยครับ ขณะเดียวกันเซอร์ ไอแซก…