คลื่นลูกที่สามแห่งยุคอินเทอร์เน็ต The Third Wave

เป็นหนังสือที่ Steve Case ผู้เขียนได้แรงบันดาลใจมาจาก The Third Wave เมื่อกว่าสามสิบปีก่อน ที่เขียนโดย Alvin Toffler จนกลายมาเป็น The Third Wave ภาคใหม่ในยุคอินเทอร์เน็ต ถ้าจะบอกว่า Steve Case เป็นผู้บุกเบิกอินเทอร์เน็ตให้กลายเป็นสิ่งที่คนส่วนใหญ่ในอเมริกาเข้าถึงได้ก็ไม่ผิด เพราะเค้าเป็นผู้ก่อตั้ง AOL (American Online) ที่เป็นบริษัทอินเทอร์เน็ตยักษ์ใหญ่รายแลกของโลกก็ว่าได้ ว่ากันว่าในช่วงที่บริษัท AOL มีมูลค่าสูงสุดนั้น มากถึง 1.6…

Global Change 4

ว่าด้วยเรื่องของการเปลี่ยนแปลง กระแสใหม่ๆในโลกที่เกิดขึ้น แล้วกำลังจะเปลี่ยนชีวิตเราไปนั้น ดร. วรากรณ์ สามโกเศศ คนนี้แหละ ที่หยิบมาเล่าให้เข้าใจง่าย แม้ไม่รู้ความรู้ปูพื้นก็อ่านได้ ผมตามนักเขียนคนนี้มาตั้งแต่หนังสือชุด โลกนี้ไม่มีอะไรฟรี (เสียอย่างเดียวขาดเล่ม 6 หาซื้อเท่าไหร่ก็ไม่มี) มาถึงหนังสือชุด 10 เล่มของค่าย Openbooks ที่ผมจำชื่อไม่ได้ และเล่มอื่นๆเท่าที่ผมจะตามเจอ จนมาถึงหนังสือชุดใหม่ชุดนี้ที่ชื่อว่า Global Change ที่รวมเรื่องราวความเปลี่ยนบนโลกที่เรามองข้าม หรือยังมองไม่เห็น เพื่อให้เราได้อัพเดทความรู้ เสมือนการอัพเกรดปัญญา เพราะขนาดมือถือยังต้องอัพเกรดระบบปฏิบัติการ หรือ OS…

ทางรอดในโลกใบใหม่ แห่งการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่สี่, Shaping the Fourth Industrial Revolution

จากหนังสือการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ก่อนหน้าที่เคยอ่านไป ที่บอกให้รู้ว่าการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่สี่คืออะไร ก็คือการปฏิวัติด้วย Big Data, Machine Learning และ AI ที่มีพื้นฐานมาจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 3 หรือการปฏิวัติดิจิทัล มาคราวนี้ Klaus Schwab ออกมาเขียนหนังสือเล่มต่อเพื่อบอกให้รู้ว่า ถ้าอยากจะรอดให้ได้ต้องทำตัวอย่างไร ในวันนี้มนุษย์ส่วนใหญ่อาจถูกเทคโนโลยีที่สร้างมากดขี่หรือทำลายล้างเราไปโดยไม่รู้ตัว และไม่ใช่แค่เราเท่านั้นที่ต้องปรับตัว แต่ผู้เขียนยังบอกว่าสิ่งสำคัญคือทั้งสังคมและโดยเฉพาะภาครัฐยิ่งต้องปรับตัว เพราะไม่อย่างนั้นแล้วคุณค่าของมนุษย์จะถูกเทคโนโลยีที่สามารถทดแทนได้เข้ามาล้มล้างเราไปหมด หรือเทคโนโลยีที่ทรงพลังไม่น่าเชื่อจะกลายเป็นเครื่องมือของผู้ทรงอำนาจกลุ่มเล็กๆ ที่จะยิ่งใช้กดขี่คนส่วนมากให้ไม่ได้ลืมตาอ้าปากยิ่งกว่าเดิม แง่คิดหนึ่งในเล่มที่น่าสนใจที่ผู้เขียนบอกว่า เรามักอ้างว่าเทคโนโลยีก็เหมือนดาบสองคม เหมือนเหรียญสองด้าน หรือก็เป็นแค่เครื่องมือที่ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของผู้ใช้ เช่น…

รู้ทันอนาคตที่(อาจจะ)ไม่มีคุณ The Industries of the Future

เป็นหนังสือที่ให้ภาพอนาคตแบบคร่าวๆตั้งแต่วันนี้ เพื่อให้เราเตรียมพร้อมรับมือกับความเปลี่ยนแปลงที่น่าจะเกิดขึ้นได้ทันท่วงที เพราะถ้าเราไม่เตรียมพร้อมรับมือไว้ ก็ตามชื่อหนังสือนั่นแหละครับ เราอาจจะไม่มีที่ยืนในอนาคตได้ ด้วยเทคโนโลยีต่างๆมากมายที่พร้อมเข้ามาแทนที่มนุษย์เรา Formless และ Borderless คือสองคำที่น่าจะเป็นหัวใจหลักในการบรรยายถึงโลกอนาคต, Formless คือการไม่ยึดติดกับสิ่งเดิม ไม่ว่าจะวิธีการ ความเชื่อ หรือความสำเร็จ เพราะทุกสิ่งจะเปลี่ยนแปลงตลอดและเร็วขึ้นเรื่อยๆ ส่วน Borderless คือโลกจะเปิดกว้างยิ่งขึ้น เส้นแบ่งต่างๆจะค่อยๆจางหายไป มีโอกาสให้แทบกับทุกคน แต่โลกที่เปิดกว้างขึ้นก็ไม่ได้มีแค่โอกาส แต่มันหมายถึงการแข่งขันและคู่แข่งที่จะพรั่งพรูตามมาด้วย ดังนั้นถ้าไม่แกร่ง ไม่เร็ว ไม่ชัดเจนในความเชี่ยวชาญพอ ก็ยากที่จะมีที่ให้เราอยู่ในอนาคตครับ เพราะนวัตกรรมกับโลกาภิวัฒน์นั้นสร้างทั้งผู้แพ้และผู้ชนะ โลกาภิวัฒน์จะทำให้ค่าแรงในประเทศสูงขึ้น แต่ด้วยค่าแรงที่สูงขึ้นนี่แหละที่จะทำให้คนในประเทศไม่มีงานทำ…

THE 100 YEAR LIFE ชีวิตศตวรรษ

เมื่ออ่านจบก็พบว่า โอ้ ทำไมเราไม่ได้อ่านหนังสือเล่มนี้ตั้งแต่สิบปีที่แล้วนะ และจะมีซักกี่คนนะที่ได้อ่านหรือตระหนักถึงในสิ่งที่หนังสือเล่มนี้พูดถึงแล้ว เรื่องที่เราส่วนใหญ่กำลังจะมีอายุยืนยาวกันถึง 100 ปี ฟังเผินๆฟังดูเป็นเรื่องดี แต่ถ้าใช้ชีวิตแบบผิวเผินแบบนี้ต่อไปนี่นรกบนดินแน่ ค่าเฉลี่ยของอายุคนไทยตอนนี้น่าจะอยู่ราวๆ 71-77 ปีครับ ฟังดูแบบนี้เราอาจเผลอคิดว่า “อ้อ นี่ชั้นจะมีอายุถึงประมาณนี่ก่อนจะตายซินะ” แต่ความจริงแล้วคุณคิดผิดครับ เพราะนี่คือค่าเฉลี่ยของปีนี้ครับ ไม่ใช่ปีที่คุณกำลังใกล้จะตาย เพราะกว่าถึงคุณจะอายุถึงเลข 7 นำหน้า ถ้าคุณอายุประมาณเดียวกับผม คือขึ้นต้นด้วยเลข 3 นั่นหมายความว่าคุณมีโอกาสที่จะอายุยืนยาวถึง 90 ปีขึ้นไปเลยล่ะครับ เพราะอะไรน่ะหรอครับ ก็เพราะว่าทุกๆสิบปีอายุคนเราจะยืนยาวขึ้นอีกสองปีเป็นอย่างน้อยครับ นั่นทำให้ถ้าเรายิ่งอายุน้อยในวันนี้เราก็จะยิ่งมีอายุที่ยืนยาวขึ้นในวันข้างหน้า…

The Internet of Things อินเตอร์เน็ตแห่งสรรพสิ่ง

เขียนโดย Samuel Greengard แปลโดย ทีปกร วุฒิพิทยามงคล สำนักพิมพ์ openworlds สำหรับคนทำงานเกี่ยวกับดิจิทัล อินเทอร์เน็ต และเทคโนโลยี คำว่า internet of things หรือที่เราเรียกกันย่อๆว่า IoT นั้นคงเป็นอะไรที่คุ้นเคยและคิดว่ารู้จักกันดี แต่พอได้อ่านหนังสือเล่มนี้ ผมก็เหมือนได้เปิดโลกรู้จักความหมายของ Internet of things อีกหลายเรื่องหลากแง่มุมที่ผมไม่เคยรู้มาก่อนเลย หนังสือ The Internet of Things เล่มนี้เล่าย้อนกลับไปตั้งแต่ในยุคแรกเริ่มที่อินเทอร์เน็ตถือกำเนิด…

What Will Matter หุ่นยนต์ | สมอง | คน

เป็นหนังสือเล่มเล็กๆแต่เนื้อหาสาระกลับไม่เล็กนะครับ(ประโยคคุ้นๆคล้ายๆหนังคลาสสิกยังไงก็ไม่รู้) ที่รวบรวมมาจากบทความใน The MATTER สำนักข่าวออนไลน์สาย Intellectual ชื่อดังและเขียนโดย ทีปกร วุฒิพิทยามงคล ว่าด้วยเรื่องของเทคโนโลยีในปัจจุบันที่เปลี่ยนกำลังเปลี่ยนชีวิตเราไป ทั้งในแง่ดีและร้ายโดยที่เราอาจจะนึกภาพไม่ออก ต้องขอบคุณหนังสือเล่มนี้ที่ช่วยชี้แนวทางให้เราเตรียมรับมือไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ หรือเรื่องไหนที่รับมือไม่ได้ก็ยังช่วยให้เราได้เตรียมใจไว้รับสภาพตั้งแต่วันนี้ ผมขอสรุปทั้ง 39บทความของทั้งเล่มให้ได้ลองอ่านดูเผื่อว่าคุณจะสนใจไปซื้อมาอ่านเต็มๆ (เพราะผมว่ามันน่าสนใจจริงๆนะสำหรับผม) 1. ไม่ว่าจะเรื่อง ai จากไมโครซอร์ฟที่กลายเป็นนางร้ายเหยียดเชื้อชาติจนต้องถูกลบทิ้งไปภายในวันเดียว 2. ระบบที่ช่วยให้ศาลตัดสินจำเลย แต่กลับช่วยให้คนต้องติดคุกมากขึ้นเพราะถูกตั้งค่าจากสถิติให้มีการเหยียดสีผิวซ่อนอยู่ 3. แม้แต่หุ่นยนต์หรือ ai ก็เห็นแก่ตัว เอาเปรียบกันเองได้ 4. แต่ก็ยังมี…

Global Change 3

อาจารย์วรากรณ์ สามโกเศศ หนึ่งในนักเขียนน้อยคนที่เขียนให้คนธรรมดาแบบผมเข้าใจและหลงไหลในเรื่องเศรษฐศาสตร์ได้ เพราะแนวคิดของอาจารย์คือ “ไม่ต้องแบกบันไดอ่าน” จนผมเองเป็นหนึ่งคนที่ตามเก็บตามอ่านหนังสือของอาจารย์แทบทุกเล่มเท่าที่จะหาได้ ตั้งแต่ซีรียส์ “โลกนี้ไม่มีอะไรฟรี” ทั้งสิบเล่ม ขาดก็แต่เล่ม 6 ที่สำนักพิมพ์ไม่พิมพ์แล้วและก็หามือสองจากไหนไม่ได้ทั้งนั้น และชุดเศรษฐศาสตร์ชาวบ้านทั้ง 10 เล่มของสำนักพิมพ์ Openworlds และก็ตามมาถึงชุดใหม่นี้ Global Change ที่มาถึงเล่ม 3 แล้ว ถ้าถามว่าเศรษฐศาสตร์เกี่ยวกับคนเราชาวบ้านยังไง ผมว่าที่เกี่ยวที่สุดและเข้าใจง่ายที่สุดก็คือเรื่องของ “ปากท้อง” เพราะทุกอย่างที่เรากิน ทุกอย่างที่เราใช้ นั้นล้วนถูกผลิตสร้างเพื่อให้เศรษฐกิจเกิดการแลกเปลี่ยนทั้งในระดับชาวบ้านที่เรียกว่า เศรษฐศาสตร์จุลภาค และระดับชาติที่เรียกว่า…

การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4, The Fourth Industrial Revolution

เป็นหนังสือที่ให้ภาพรวมแนวกว้างรวมกับข้อมูลเชิงลึกว่า โลกในวันพรุ่งนี้หลายปีข้างหน้าจะไปในทิศทางไหน ด้วยผลของการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 จากอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงไร้สายที่สามารถให้อุปกรณ์รอบตัวที่มีเซนเซอร์รับข้อมูลรอบด้าน เอาข้อมูลทั้งหมดไปวิเคราะห์ด้วยความเร็วไม่ว่าจะด้วย ai หรือ machine learning ที่จะเปลี่ยนแปลงชีวิตเราไปทุกด้าน แล้วการปฏิวัติอุตสาหกรรม 3 ครั้งที่ผ่านมาล่ะเป็นยังไง การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 1 คือการปฏิวัติแรงงานจากคนและสัตว์ กลายมาเป็น “เครื่องจักรไอน้ำ” ทำให้การทำงานที่ต้องใช้แรงงานในรูปแบบซ้ำๆถูกทดแทนด้วยเครื่องจักรไอน้ำ เช่น การทอผ้าที่เคยเป็นเรื่องยากทำให้ผ้ามีราคาแพงเพราะต้องใช้แรงงานคนมากมาย เมื่อใช้แรงงานจากเครื่องจักรไอน้ำก็ทำให้อาชีพคนทอผ้ามากมายในอังกฤษต้องหายไป และก็ได้ผ้าราคาถูกที่ใครๆก็เข้าถึงได้มาแทน แถมเครื่องทอผ้านี่แหละที่ทำให้อินเดียตกอยู่ในวิกฤตในตอนนั้น การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 2 คือการปฏิวัติพลังงานมาเป็น “ไฟฟ้า” และการผลิตแบบสายพานการผลิต…

Blockchain เปลี่ยนโลก, Blockchain Revolution

ทำไม Skype ถึงไม่ได้เกิดมาจาก AT&T Paypal ไม่ได้เป็นของ Visa Twitter ไม่ได้มาจาก CNN Uber ไม่ได้เริ่มต้นที่ GM หรือ Hertz Google ไม่ได้แยกออกมาจาก Microsoft iTune ไม่ได้มาจากค่ายเพลงดังอย่าง Sony Instagram ไม่ได้ถูกคิดโดย Kodak Netflix ไม่ได้กำเนิดออกมาจาก Blockbuster เพราะนวัตกรรมที่ยิ่งใหญ่ล้วนเกิดจาก “คนนอก” ทั้งสิ้น…