KEYNES เคนส์

ถ้าใครที่ชอบอ่านแนวเศรษฐศาสตร์ ประวัติศาสตร์ การเมือง น่าจะคุ้นกับชื่อนี้ดี ผมเองก็คุ้นชื่อ เคนส์ มานานพอสมควรเวลาอ่านหนังสือเกี่ยวกับเศรษฐาสตร์ การเมือง เศรษฐกิจทีไร ก็ต้องเจอชื่อ เคนส์ คนนี้เป็นประจำ รู้แต่เพียงคร่าวๆว่า เคนส์ เป็นผู้สร้างแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ที่สำคัญเอาไว้ให้รัฐบาลหลายประเทศในโลกใช้เป็นแนวทางอยู่เรื่อยๆ โดยเฉพาะรัฐบาลอังกฤษ กับ อเมริกา เป็นหนังสือที่น่าจะเหมาะกับคนที่กำลังเรียนทางด้านเศรษฐศาสตร์ หรืออยู่ในแวดวงนี้มากกว่าคนทั่วไป เพราะอาจจะทำให้ไม่ค่อยสนุกหรือไม่เข้าใจจากความรู้พื้นฐานที่มีไม่เท่ากับคนที่ร่ำเรียนมา ที่พูดแบบนี้เพราะสารภาพตรงๆว่าอ่านจบแล้วผมก็ไม่ค่อยเข้าใจหรืออินซักเท่าไหร่นัก แต่พอจับประเด็นที่น่าสนใจบางอย่างมาเล่าสู่กันฟังได้บ้าง เช่น คำว่า “การว่างงาน” หรือ unemployment เพิ่งปรากฏใน Oxford…

Rise of The Robots หุ่นยนต์ผงาด เทคโนโลยี และภัยแห่งอนาคตที่ไร้งาน

สรุปอย่างสั้น เมื่อเทคโนโลยีอย่างหุ่นยนต์ ไม่ว่าจะในรูปแบบที่มีตัวตนจริงๆที่จับต้องได้ หรืออาจจะเป็นแค่ระบบที่จับต้องไม่ได้อย่าง AI ก็ตาม กำลังจะเข้ามาปฏิวัติชีวิตเราทุกคนบนโลกที่เกี่ยวข้องกับระบบ “ตลาด” อย่างไม่อาจจะต้านทานได้ การเปลี่ยนแปลงจากเทคโนโลยีหุ่นยนต์ครั้งนี้จะรุ่นแรงยิ่งกว่าเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างคอมพิวเตอร์ หรือเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตไปอย่างเทียบกันไม่ได้ ลองคิดดูซิว่าตอนที่คอมพิวเตอร์เริ่มกลายเป็นหนึ่งในอุปกรณ์สำนักงาน ก็ทำเอาผู้ใหญ่หลายคนในตอนนั้นต้องปรับตัวเรียนรู้ใหม่มากขนาดไหนกว่าจะลงตัว หรืออย่างตอนที่อินเทอร์เน็ตเข้าถึงทุกหย่อมหญ้าด้วยพลังของสมาร์ทโฟนราคาถูก ที่ทำให้การเข้าถึงข้อมูลบนออนไลน์นั้นเป็นเรื่องง่ายที่คนรุ่นปู่ย่าก็ทำได้ จนขาดไม่ได้แล้วด้วยซ้ำ การปฏิวัติหุ่นยนต์นี้ถ้าจะเรียกว่าการปฏิวัติทางเทคโนโลยีที่เป็นเรื่องของ Big Data, Machine Learning และ AI หรือที่เรียกรวมๆได้ว่า “ระบบอัตโนมัติ” ก็ได้ครับ แล้วเจ้าระบบอัตโนมัตินี่แหละที่จากที่เคยเอามาทดแทนแรงงานแบบทำซ้ำได้ เช่น การผลิตรถยนต์ทุกวันนี้แทบจะไม่ต้องใช้คนงานเท่าสมัยก่อนอย่างเทียบไม่ได้ เพราะสามารถใช้หุ่นยนต์ในการทำงานซ้ำๆที่แน่นอนเหล่านั้นได้รวดเร็วและแทบไม่มีความผิดพลาดเลย…

ทางรอดในโลกใบใหม่ แห่งการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่สี่, Shaping the Fourth Industrial Revolution

จากหนังสือการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ก่อนหน้าที่เคยอ่านไป ที่บอกให้รู้ว่าการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่สี่คืออะไร ก็คือการปฏิวัติด้วย Big Data, Machine Learning และ AI ที่มีพื้นฐานมาจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 3 หรือการปฏิวัติดิจิทัล มาคราวนี้ Klaus Schwab ออกมาเขียนหนังสือเล่มต่อเพื่อบอกให้รู้ว่า ถ้าอยากจะรอดให้ได้ต้องทำตัวอย่างไร ในวันนี้มนุษย์ส่วนใหญ่อาจถูกเทคโนโลยีที่สร้างมากดขี่หรือทำลายล้างเราไปโดยไม่รู้ตัว และไม่ใช่แค่เราเท่านั้นที่ต้องปรับตัว แต่ผู้เขียนยังบอกว่าสิ่งสำคัญคือทั้งสังคมและโดยเฉพาะภาครัฐยิ่งต้องปรับตัว เพราะไม่อย่างนั้นแล้วคุณค่าของมนุษย์จะถูกเทคโนโลยีที่สามารถทดแทนได้เข้ามาล้มล้างเราไปหมด หรือเทคโนโลยีที่ทรงพลังไม่น่าเชื่อจะกลายเป็นเครื่องมือของผู้ทรงอำนาจกลุ่มเล็กๆ ที่จะยิ่งใช้กดขี่คนส่วนมากให้ไม่ได้ลืมตาอ้าปากยิ่งกว่าเดิม แง่คิดหนึ่งในเล่มที่น่าสนใจที่ผู้เขียนบอกว่า เรามักอ้างว่าเทคโนโลยีก็เหมือนดาบสองคม เหมือนเหรียญสองด้าน หรือก็เป็นแค่เครื่องมือที่ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของผู้ใช้ เช่น…

รู้ทันอนาคตที่(อาจจะ)ไม่มีคุณ The Industries of the Future

เป็นหนังสือที่ให้ภาพอนาคตแบบคร่าวๆตั้งแต่วันนี้ เพื่อให้เราเตรียมพร้อมรับมือกับความเปลี่ยนแปลงที่น่าจะเกิดขึ้นได้ทันท่วงที เพราะถ้าเราไม่เตรียมพร้อมรับมือไว้ ก็ตามชื่อหนังสือนั่นแหละครับ เราอาจจะไม่มีที่ยืนในอนาคตได้ ด้วยเทคโนโลยีต่างๆมากมายที่พร้อมเข้ามาแทนที่มนุษย์เรา Formless และ Borderless คือสองคำที่น่าจะเป็นหัวใจหลักในการบรรยายถึงโลกอนาคต, Formless คือการไม่ยึดติดกับสิ่งเดิม ไม่ว่าจะวิธีการ ความเชื่อ หรือความสำเร็จ เพราะทุกสิ่งจะเปลี่ยนแปลงตลอดและเร็วขึ้นเรื่อยๆ ส่วน Borderless คือโลกจะเปิดกว้างยิ่งขึ้น เส้นแบ่งต่างๆจะค่อยๆจางหายไป มีโอกาสให้แทบกับทุกคน แต่โลกที่เปิดกว้างขึ้นก็ไม่ได้มีแค่โอกาส แต่มันหมายถึงการแข่งขันและคู่แข่งที่จะพรั่งพรูตามมาด้วย ดังนั้นถ้าไม่แกร่ง ไม่เร็ว ไม่ชัดเจนในความเชี่ยวชาญพอ ก็ยากที่จะมีที่ให้เราอยู่ในอนาคตครับ เพราะนวัตกรรมกับโลกาภิวัฒน์นั้นสร้างทั้งผู้แพ้และผู้ชนะ โลกาภิวัฒน์จะทำให้ค่าแรงในประเทศสูงขึ้น แต่ด้วยค่าแรงที่สูงขึ้นนี่แหละที่จะทำให้คนในประเทศไม่มีงานทำ…

เศรษฐศาสตร์มีจริต

ดร. วิรไท สันติประภพ, นักเศรษฐศาสตร์พเนจร เป็นหนังสือที่เล่าเรื่องเศรษฐศาสตร์อีกเล่มที่อ่านเข้าใจได้ไม่ยาก และก็ทำให้เข้าใจภาพความจริงของเศรษฐกิจบ้านเมืองเราในช่วงก่อนยุค คสช ได้มากพอควร และพออ่านจบก็เลยเพิ่งรู้ว่าผมมีหนังสือของนักเขียนคนนี้อยู่อีกเล่มแต่ยังไม่ได้อ่าน คือ “ประชานิยม: ทางสู่ความหายนะ” เป็นเล่มที่ได้จากงานหนังสือเมื่อต้นปี 2560 แต่เล่มนี้เพิ่งได้มาจากงานหนังสือเมื่อปลายปีเดียวกันแต่ดันอ่านจบก่อนซะงั้น เนื้อหาหลักๆของเล่มผมว่าแบ่งเป็นสองส่วน คือ “ประชานิยม” กับ “ทุนนิยม” (ความจริงในเล่มมีเนื้อหาหลายหัวข้อ อันนี้ผมขอสรุปจากความรู้สึกส่วนตัวของผมนะครับ) “ประชานิยม” กลายเป็นสิ่งที่คนไทยถูกพรรคการเมืองและรัฐบาลตั้งแต่ยุคทักษิณมอบให้ เสมือนขนมเค้กที่ปราศจากคำเตือนถึงอันตรายของโรคต่างๆที่จะตามมา เพราะทุกครั้งที่ไม่ว่าจะรัฐบาลหรือพรรคการเมืองใดๆก็ตามต้องการคะแนนนิยมจากประชาชน ก็จะหยิบเอานโยบายประชานิยมต่างๆขึ้นมาหาเสียง ไม่ว่าจะรถไฟฟ้า 20บาททุกสายทุกเส้น(จนวันนี้บินหนีไปไหนแล้วก็ไม่รู้) ไปจนถึงจำนำข้าวทุกเมล็ด…

เศรษฐศาสตร์เปลี่ยนสิ่งประหลาดให้เป็นเรื่องปกติ

ถ้าใครที่ชื่นชอบผลงานของอาจารย์วรากรณ์ สามโกเศศ ผู้เขียนหนังสือเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์หลายชุด ที่เขียนให้ชาวบ้านอ่านเข้าใจได้แม้จะไม่ได้เรียนเศรษฐศาสตร์มา(ตัวอย่างผมเป็นต้น) เช่น โลกนี้ไม่มีอะไรฟรี หรือล่าสุดก็ Global Change ที่มีถึงเล่ม 5 เข้าไปแล้วกับสำนักพิมพ์ Openbooks ก็น่าจะชอบหนังสือเล่มนี้เหมือนกับที่ผมชอบ และส่วนนึงผมก็คิดว่าหนังสือเล่มนี้ออกไปทางแนวเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม ที่กำลังเริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้นในบ้านเรา ทำให้อ่านง่าย อ่านสนุก แถมยังได้รู้ในสิ่งที่ไม่เคยรู้และมองข้ามมาตลอดด้วย ถ้าอย่างนั้นไม่ต้องเกริ่นเพื่อปูความเข้าใจของหนังสือเล่มนี้เยอะ ผมขอหยิบยกตัวอย่างบางเรื่องที่ผมคิดว่าน่าสนใจเอามาสรุปให้อ่านโดยประมาณนึงก็แล้วกัน รูปแบบ 3 อย่างของการตัดสินใจ....คนเรามีรูปแบบการตัดสินใจอยู่ 3 รูปแบบ 1. การใช้จุดอ้างอิง (reference-dependence) คือ…

สร้างโลกไร้จน Creating a World Without Poverty

เป็นหนังสือที่ดีมากที่สุดเล่มนึง ต้องขอบคุณเพื่อนแบงค์มากที่ทิ้งไว้ให้อ่านในวันที่เค้าลาออก หนังสือที่เขียนโดย Muhammad Yunes นักธุรกิจเพือสังคมรางวัลโนเบลของบังคลาเทศ คนที่พยายามสู้เปลี่ยนแปลงสังคมความเป็นอยู่ให้กับคนด้อยโอกาส หรือเสียเปรียบในสังคมของเค้า เป็นผู้ริเริ่ม micro finance หรือธนาคารกรามีนต้นแบบกองทุนหมู่บ้านที่โด่งดังไปทั่วโลก จนมาถึงในบ้านเรา ยูนุสค้นพบว่าคนจนไม่สามารถเข้าถึงทรัพยากรได้ง่ายเหมือนคนรวย คนจนไม่มีทรัพย์สินไปค้ำประกันหรือมีเครดิตไปกู้แบงค์ ..แน่นอนเพราะเค้าจน ยูนุสเลยก่อตั้งธนาคารเงินกู้ขนาดเล็กเพื่อคนจนจริงๆ ทำให้คนจนสามารถมีทุนไปต่อยอดด้วยแรงงานตัวเองต่อได้ ยูนุสยังสร้างธุรกิจเพื่อสังคมอีกมากมายในประเทศของเค้า ธุรกิจเพื่อสังคมของยูนุสเป็นอะไรที่สร้างแรงบันดาลใจให้ผมได้มาก ธุรกิจเพื่อสังคมไม่ใช่แค่ CSR ในทางการตลาดที่เราคุ้นเคยกัน แต่เป็นการทำธุรกิจเพื่อให้อยู่ได้ด้วยตัวเอง และพอมีกำไรไปต่อยอดคืนให้สังคม โดยไม่มีใครสะสมกำไรนั้นไว้กับคนเพียงกลุ่มใดกลุ่มนึง เปรียบเทียบง่ายๆก็เหมือนต้นไม้ที่ออกดอกผลแล้วดอกผลนั้นตกลงพื้นก็กลายเป็นต้นใหม่ขึ้นมาวนเวียนแบบนั้นไปไม่จบสิ้น อยากเห็นธุรกิจเพื่อสังคมในบ้านเรา และนี่เป็นอีกสิ่งนึงในชีวิตที่เราอยากจะทำในขั้นต่อไป อ่านเมื่อปี…

Economics The User’s Guide เศรษฐศาสตร์ฉบับทางเลือก

เมื่ออ่านจบความรู้สึกแรกที่รู้สึกสรุปออกมาหนึ่งประโยคให้กับหนังสือเล่มนี้คือ “เศรษฐศาสตร์จริงๆมันไม่ได้ซับซ้อนอย่างที่เคยคิดกันซักเท่าไหร่นี่หว่า?” ที่คิดแบบนี้เพราะครั้งนึงผมเคยเข้าไปเรียนในคณะเศรษฐศาสตร์มาหนึ่งปี(แล้วซิ่วไปที่อื่น) แล้วรู้สึกว่า…ยากชิบหาย มหภาค จุลภาค เส้นโค้งโน่นนี่นั่น หลายเรื่องไม่เคยเม้คเซ้นส์หรือเข้าใจได้เลยสำหรับผม จนพอเวลาล่วงเลยมาสิบกว่าปี(อย่าสงสัยเลยว่าผมอายุเท่าไหร่) ก็เริ่มสนใจอ่านหนังสือแนวเศรษฐศาสตร์มากขึ้น แต่เป็นเศรษฐศาสตร์แบบชาวบ้านๆ เริ่มแรๆเท่าที่จำได้ผมอ่านงานของ อาจารย์วรากร สามโกเศศ ในหนังสือชุด edutainment essay ของสำนักพิมพ์ openbooks พออ่านจบเล่มแรกเท่านั้นแหละ ผมกลายเป็นแฟนคลับคนนึงของอาจารย์วรากรเลย จนผมต้องไปตามหามาอ่านครบชุด edutainment essay จนครบ แล้วไม่วายไปตามเก็บหนังสือชุด “โลกนี้ไม่มีอะไรฟรี” ของอาจารย์อีก จนผมเริ่มสนใจในเรื่องของเศรษฐศาสตร์แบบชาวบ้านๆ หรือที่อยู่ในชีวิตจริงไกล้ตัวมากขึ้น…

Misbehaving เศรษฐศาสตร์พฤติกรรม

รู้สึกว่ากระแสเรื่องเศรษฐศาสตร์พฤติกรรมกำลังมาในบรรดาเพื่อนรอบตัว เห็นบนหน้าฟีดเฟซบุ๊คหลายคนแชร์เล่มนี้ก็เลยต้องถึงเวลาหยิบขึ้นมาอ่านซักที หลังจากซื้อดองมาแรมปีจากงานหนังสือคราวก่อน เศรษฐศาสตร์พฤติกรรม ต่างกับ เศรษฐศาสตร์ปกติยังไง? แนวความคิดครับ เศรษฐศาสตร์ดั้งเดิมหรือที่นักเศรษฐศาสตร์เรียกกันว่าสายชิคาโกนั้นยึดหลักว่า มนุษย์นั้นช่างเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีเหตุมีผลที่สุด ดังนั้นทุกการเลือก ทุกการกระทำ หรือทุกการตัดสินใจ ก็บอกได้เลยว่าผ่านการคิดสะระตะมาอย่างดีแล้ว ว่าสิ่งที่เลือกทำหรือตัดสินใจนั้นต้องก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับตัวเองอย่างแน่นอน เช่น การเลือกที่จะไม่กินมื้อดึกวันศุกร์เพราะคงเพิ่มความเสี่ยงให้กับปริมาณไขมันในร่างกายในระยะยาว หรือ เลือกที่จะไม่ซื้อโทรศัพท์รุ่นใหม่ล่าสุดเพราะโทรศัพท์เครื่องเดิมยังใช้งานได้ แม้จะดูเก่าๆไปหน่อย แล้วก็เอาเงินไปเก็บสำหรับการเกษียรในระยะยาว นี่แหละครับ มนุษย์ในอุดมคติของนักเศรษฐศาสตร์เดิมๆที่อยู่ในความคิดของนักเศรษฐศาสตร์ตลอดมา จนกระทั่งเกิดเศรษฐศาสตร์สาขาแนวทางใหม่ขึ้นมาเมื่อไม่กี่สิบปีก่อนที่เรียกกันว่า เศรษฐศาสตร์พฤติกรรม ที่มองมนุษย์ในแบบที่มนุษย์ส่วนใหญ่เป็นจริงๆ แล้วมนุษย์ส่วนใหญ่นั้นเป็นยังไง? ต้องบอกว่าคนเราส่วนใหญ่นั้นไม่ได้คิดเยอะ ซับซ้อน หรือถึงข้อดีในระยะยาวขนาดนั้นครับ เราส่วนใหญ่ก็คนธรรมดาที่เลือกกินมื้อใหญ่ตอนดึก…

Neoliberalism เสรีนิยมใหม่

เริ่มด้วยคำถามที่ว่า Neoliberalism หรือ เสรีนิยมใหม่ คืออะไร ? ..เสรีนิยมใหม่ คือหลักการอุดมคติที่เชื่อว่า “ตลาดกำกับดูแลตัวเอง” เป็นเครื่องจักรที่ให้ปัจเจกชนแสวงหาความมั่นคั่งอย่างมีเหตุผล หรือจะเรียกได้ว่าต้นกำเนิดของมันน่าจะมาจาก “นักเสรีนิยมคลาสสิก” อย่าง Adam Smith และ David Ricardo ที่ต่อต้านลัทธิพาณิชยนิยม (Mercantisim) ของเหล่ากษัตริย์ในยุโรบในช่วงยุคมืดและช่วงยุคล่าอาณานิคมก็ว่าได้.. ..จากการควบคุมหรือรวมศูนย์กลางความมั่นคั่งไว้ที่เหล่ากษัตริย์หรือขุนนางไม่กี่คนทำให้เกิดแนวคิดขั้วตรงข้ามอย่าง “เสรีนิยมคลาสสิก” นี้ขึ้นมา จนพัฒนากลายมาเป็น “เสรีนิยมใหม่” ก็ว่าได้ แล้วอย่างนั้นเสรีนิยมใหม่เริ่มต้นที่ตรงไหน.. ..ตามหนังสือบอกว่าเริ่มต้นที่ยุคสมัยของ โรนัลด์…