บรรยง พงษ์พานิช คิด

ถ้าถามว่าหนังสือประเภทไหนที่ผมชอบที่สุด ผมตอบได้เลยว่าผมชอบหนังสือประเภทกลั่นมาจากประสบการณ์ชีวิต โดยเฉพาะประสบการณ์ตรงของชีวิตผู้เขียน เพราะหนังสือแนวนี้จะเนื้อเน้นๆไม่มีน้ำ ไม่มากทฤษฎีหรือหลักการให้ปวดกะโหลก ไม่มีศัพท์แสงวิชาการที่ฟังดูต้องใช้จินตนาการเยอะ อ่านเข้าใจง่ายแต่กลับได้อะไรๆเยอะมาก เรียกได้ว่ามีขุมทรัพย์ซ่อนอยู่ระหว่างบรรทัดเลยก็ว่าได้ หนังสือประเภทนี้จะเต็มไปด้วยคำธรรมดาที่โคตรจะคม จนทำให้คำคมทั่วไปกลายเป็นโคตรธรรมดา ถ้าเป็นภาษาการตลาดหรือคนโฆษณานี่บอกได้เลยว่า เต็มไปด้วย key message หรือ super insight สะกิดใจทุกคำ และหนังสือเล่มนี้ก็เป็นทั้งหมดที่ผมว่า เป็นหนังสือที่กลั่นมาจากประสบการณ์ชีวิตของนักการเงินเศรษฐศาสตร์(หรืออะไรก็ตามทำนองนั้นที่ผมก็นิยามให้ไม่ถูกเหมือนกัน)ที่ชื่อว่า บรรยง พงษ์พานิช คุณบรรยง พงษ์พานิช คนนี้มีประวัติที่ไม่ธรรมดาเพราะเริ่มทำงานในตำแหน่งเสมียนเคาะกระดานหุ้น เงินเดือน 2,450 บาท เมื่อ 36…

Evolution of Money from Cowries to Cryptocurrency วิวัฒนาการของเงินจากหอยเบี้ยสู่คริปโทเคอเรนซี

สรุปหนังสือ Evolution of Money from Cowries to Crypto Currency วิวัฒนาการของเงินจากหอยเบี้ยสู่คริปโทเคอเรนซี เป็นหนังสือที่ทำให้เข้าใจภาพของ “เงิน” ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ จนถึงภาพ “เงินในอนาคต” ที่กำลังจะมาถึง ผมว่าเราควรเริ่มจากคำถามที่ว่า “เงินคืออะไร?” ทุกวันนี้ไม่มีใครไม่รู้จักเงิน และเงินในความคิดคนส่วนใหญ่ก็คงหนีไม่พ้นธนบัตร เหรียญ หรือตัวเลขในบัญชีธนาคารที่เราใช้ฝากจ่ายโอนถอนกันทุกวัน แล้วยังมีอะไรอีกบ้างที่สามารถเป็น “เงิน” ได้ในวันนี้ “บุหรี่คือเงินในคุก” ตั้งแต่สมัยอดีตตอนสงครามโลกครั้งที่ 2 ในคุกที่เป็นค่ายกักกันชาวยิวก็มีการใช้บุหรี่เพื่อแลกเปลี่ยนสิ่งของต่างๆที่ต้องการในคุก และแม้แต่ในปัจจุบันคุกบ้านเราก็ใช้บุหรี่แทนตัวเงินเช่นกัน…

KOREA, The impossible country, มหัศจรรย์เกาหลี จากเถ้าถ่านสู่มหาอำนาจทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรม

พูดถึงเกาหลีมั่นใจว่าไม่มีใครไม่รู้จัก ตั้งแต่แดจังกึม ที่ถูกเอามาล้อกันเป็นแดกจังมึง กิมจิ, Super Junior, เพลงฮิตอย่าง NOBODY NOBODY BUT YOU และ กังนัมสไตล์ที่ได้พันล้านวิวแรกบนยูทูป เกาหลีที่ดูมหัศจรรย์เต็มไปด้วยสีสันและสวยงามด้วยศัลยกรรมในความรู้สึกเราในวันนี้ ใครจะรู้ว่าเมื่อ 60 ปีที่แล้วเกาหลีเองเคยจะเป็นหนึ่งในชาติที่พังพินาศอย่างถึงที่สุด เกาหลีเองเพิ่งได้เอกราชจากญี่ปุ่นเมื่อหลังสงครามโลกครั้งที่สองเมื่อปี 1945 จากนั้นก็ยังถูกสองขั้วมหาอำนาจโลกฉีกประเทศเกาหลีออกเป็นสองส่วน เกาหลีเหนืออยู่ภายในการชี้นำจากโซเวียตหรือรัสเซียในวันนี้ ส่วนเกาหลีใต้อยู่ในความดูแลของสหรัฐ แต่ใช่ว่าเกาหลีใต้ในยุคแรกที่ได้เอกราชจะเป็นประชาธิปไตยที่แท้จริง เพราะเกาหลีใต้ถูกปกครองด้วยผู้นำเผด็จการมาอย่างยาวนาน จนอาจบอกได้ว่าเกาหลีใต้เพิ่งจะเป็นประชาธิปไตยแบบเต็มใบจริงๆก็เมื่อสามสิบปีที่ผ่านมาก็ว่าได้ เกาหลีใต้หนึ่งในประเทศที่พัฒนาแล้วจนมีเศรษฐกิจติดลำดับต้นๆของโลกในวันนี้ แต่ผู้คนส่วนใหญ่กลับไม่เคยพบความสุขเลย หนึ่งในชาติที่มีชั่วโมงการทำงานสูงที่สุดในโลก หนึ่งในประเทศที่มีอัตราการฆ่าตัวตายสูงแซงญี่ปุ่นขึ้นไปแล้ว และหนึ่งในชาติที่ถูกปลูกฝังให้แข่งขันกันจนถึงที่สุด…

The Worlds is Round ล่องคลื่นโลกาภิวัฒน์ 1

หนังสือเล่มนี้เขียนโดยคุณสฤณี อาชวานันทกุล นักเขียนและนักแปลใจดวงใจ เพราะห้องหนังสือบ้านผมมีหนังสือของเค้าคนนี้เยอะมากครับ คุณสฤณีชอบเขียนหรือแปลหนังสือแนวระบบเศรษฐกิจแบบรักษ์โลก หรือจะเรียกว่าทุนนิยมสีเขียวก็ว่าได้ ซึ่งเป็นหนังสืออีกสไตล์ที่ผมชอบมากโดยไม่รู้ตัว จนผมบังเอิญได้หนังสือเล่มนี้จากร้านหนังสือสำนักพิมพ์สมมติ ที่เป็น pop-up store เล็กๆตั้งอยู่เส้นกัลปพฤกษ์ บอกได้เลยว่าเป็นร้านที่ถ้าไม่ตั้งใจมาก็ยากที่จะเจอได้ หนังสือเล่มนี้เขียนขึ้นเมื่อสิบกว่าปีมาแล้ว แต่ก็ยังคงมีเนื้อหาแง่มุมที่น่าสนใจ เพราะเป็นเรื่องใกล้ตัวแต่กลับไม่เคยได้รู้จักมาซักเท่าไหร่เลย เช่น การประกันพืชผลบนดัชนีอากาศ ต้องบอกว่าได้ยินเรื่องนี้ก็จากหนังสือทุนนิยมที่มีหัวใจ ของคุณสฤณี ที่ได้ไปบรรยายให้มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนเมื่อสิบกว่าปีก่อนเหมือนกัน เป็นแนวคิดการทำประกัยภัยของชาวสวนไร่นาที่ฟังดูโลกาภิวัฒน์มาก จากเดิมการทำประกันพืชผลนั้นทำกันบนเรื่องของราคาขาย ว่าถ้าราคาในปีไหนตกต่ำกว่าที่ทำประกันไว้ ก็จะได้รับเงินชดเชย หลายครั้งเราเห็นบรรดาชาวสวนไร่นาเดินทางเข้าเมืองกรุงเพื่อมาเรียกร้องกระทรวงหรือนายกให้ช่วยรับประกันราคาพืชผลที่เพาะปลูกไว้ให้หน่อย พอได้ตามข้อเรียกร้องก็ยกกันกลับไป นี่คือเรื่องที่ผมได้ยินมาตั้งแต่สมัยเด็กก็ว่าได้ครับ คุณสฤณีให้มุมมองที่น่าสนใจว่า การรับประกันเรื่องราคาพืชผลนั้นอาจทำให้เกษตรกรไม่ยอมเปลี่ยนไปปลูกอย่างอื่นที่น่าจะดีกว่ากับสภาพผืนดินและอากาศในถิ่นของตัวเอง…

ทุนนิยมที่มีหัวใจ ทางเลือกใหม่แห่งการพัฒนา

หนังสือเล่มนี้ค่อนข้างแปลกในความคิดผม เพราะเป็นหนังสือที่เอาคำพูดที่คุณ สฤณี อาชวานันทกุล ที่ไปบรรยายให้กับมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนในเรื่องของ “ทางรอดทุนนิยม: สังคมแห่งความร่วมมือ” ในวันนั้น พร้อมกับสิ่งที่ผู้บรรยายและผู้ฟังในวันนั้นได้ถกเถียงกันให้กลายเป็นหนังสือเล่มนี้ ดังนั้นหนังสือเล่มนี้เลยให้อารมณ์เหมือนได้ฟังเลคเชอร์ร่วมกับผู้ฟังคนอื่นๆ ขาดก็แต่ไม่ได้ร่วมถกเถียงความคิดที่แวบขึ้นมาในหัวด้วยเท่านั้น “ทุนนิยม” กลายเป็นระบบทางเศรษฐกิจยอดนิยมอันดับหนึ่งของโลกในวันนี้ แม้แต่คอมมิวนิสต์ก็ยังยอมที่จะเป็นทุนนิยม จีนก็เป็นหนึ่งในทุนนิยมที่เติบโตเร็วที่สุดในโลกต่อเนื่องมากว่า 30 ปี นับแต่เปิดประเทศรับทุนเข้ามาและปล่อยให้ทุนไปตามความนิยมของเจ้าของทุนมากขึ้น แต่เมื่อเศรษฐกิจโตมากขึ้นเรื่อยๆ เราก็ไม่ค่อยแน่ใจว่า “ทุนนิยมในปัจจุบัน” หรือ “ทุนนิยมแบบตลาดเสรี” นั้นจะดีต่อเราและโลกจริงหรือ เพราะในขณะที่เศรษฐกิจในหลายประเทศโตวันโตคืน แต่กับทรัพยากรและธรรมชาตินั้นกลับร่อยหรอลงทุกทีๆ จนวันนี้ธรรมชาติเริ่มกลับมาเอาคืนมนุษย์เรามากขึ้นผ่านภัยธรรมชาติทั้งหลายที่เราก็ยังรับมือไม่ค่อยไหว เพราะแนวทางของทุนนิยมทุกวันนี้นั้นคือการแข่งกันลงเหว หรือที่เรียกว่า Race…

เศรษฐกิจจีน Demystifying The Chinese Economy ปริศนา ความท้าทาย อนาคต

จีน ประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจเป็นเบอร์สองของโลกรองจากแค่สหรัฐ หนึ่งในประเทศที่ช่วงวิกฤตต้มยำกุ้งบ้านเราฟื้นตัวเร็วได้เพราะความแข็งแกร่งของค่าเงินหยวน หนึ่งในประเทศที่ปกครองแบบสังคมนิยมแต่กลับมีเศรษฐกิจแบบตลาดเสรีที่เปิดกว้างกว่าคอมมิวนิสต์ไหนๆในโลก หนึ่งในประเทศที่เศรษฐกิจโตแบบปาฏิหาริย์แบบเลขสองหลักโดยเฉลี่ยกว่า 30 ปีมาแล้ว หนึ่งในประเทศที่รายได้คนเมืองกับชาวชนบทยังต่างกันลิบลับ ค่าสัมประสิทธิ์จีนีพุ่งทะยานสูงเป็นลำดับต้นๆของโลก หนึ่งในประเทศที่ส่งออกสินค้าสุดล้ำไปให้คนทั้งโลก และยังเป็นหนึ่งในประเทศที่มีการบริโภคสูงติดลำดับต้นๆของโลกแล้วในวันนี้ หนังสือเล่มนี้เขียนโดย Justin Yifu Lin นักเศรษฐศาสตร์ชื่อดังที่มีชื่อเสียงที่สุดในประเทศจีน เคยเป็นรองกรรมการอาวุโสและนักเศรษฐศาสตร์ประจำธนาคารโลก มาบอกเล่าให้ฟังถึงประวัติศาสตร์ของเศรษฐกิจจีนตั้งแต่ยุคยิ่งใหญ่เมื่อหลายร้อยปีก่อน จนถึงยุคตกต่ำสุดขีดของจีนตั้งแต่ยุโรปปฏิวัติอุตสาหกรรมสำเร็จ จนถึงวันที่จีนกลับมายิ่งใหญ่อีกครั้ง แต่อย่าเพิ่งตกใจกลัวไปนะครับ เห็นหน้าปกดูจริงจัง ชื่อดูขึงขัง แต่เนื้อหาในเล่มกลับอ่านง่ายกว่าที่คิด สารภาพตอนแรกผมยังแอบกลับว่าจะอ่านไม่ค่อยเข้าใจเหมือนกัน แต่พออ่านไปกลับอ่านสนุก เข้าใจได้ ทำให้หนังสือที่มีตั้งสี่ร้อยกว่าหน้าสามารถอ่านจบได้ในไม่กี่วัน (ผมมีเวลาอ่านแค่ช่วงเช้าตอนอยู่บนรถไฟฟ้ามาทำงาน กับช่วงเย็นตอนอยู่บนรถไฟฟ้ากลับบ้านครับ)…

สงครามน้ำ Water Wars: Drought, Flood, Folly and the Politics of Thirst

“น้ำ” สิ่งสามัญธรรมดาไกล้ตัวที่สุด เห็นทุกวันแค่เปิดก๊อกก็เห็น จนเราเองก็ไม่เคยตั้งคำถามเหมือนกันว่า “น้ำ” ที่เราเห็นว่าไหลออกมาจากก๊อกนั้นมาจากไหน.. ในต่างจังหวัดเขตนอกตัวเมืองจริงๆเราจะเห็นน้ำที่เราใช้ได้ไม่ยากเย็นเลย เช่น ขับรถผ่านไปเห็นฝายน้ำ หรือเข้าไปในบ้านก็จะพบบ่อน้ำของบ้านแต่ละหลัง ที่มีปั๊มน้ำคอยสูบน้ำให้คนในบ้านใช้ ไหนจะตุ่มเก็บน้ำขนาดใหญ่ท่วมหัวที่คอยเก็บกักน้ำฝนเอาไว้ใช้ นั่นคือภาพน้ำของต่างจังหวัดนอกตัวเมืองที่เราเห็นที่มาของน้ำที่ใช้ได้อย่างง่าย แต่ในตัวเมืองที่วุ่นวายที่เราต้องเดินไปเปิดน้ำล้างมือ กดชักโครกชำระล้างล่ะ น้ำที่แสนธรรมดานั้นมาจากแหล่งกำเนิดที่แสนไกลและวุ่นวายมากกว่าที่เราคิด ในหนังสือแบ่งเป็น 8 บท สกัดกั้นทะเล, บาปของขนาด, ลุ่มน้ำนับพัน, แห้ง แห้งกว่า แห้งที่สุด, กลืนไม่เข้าคายไม่ออก, แม่น้ำเดือดดาล, สงคราม และ ภาวนาขอฝน…

China 5.0 สีจิ้นผิง เศรษฐกิจยุคใหม่ และแผนการใหญ่ AI

ตอนแรกที่หยิบมาอ่านผมสงสัยว่าทำไมต้อง China 5.0 ทั้งที่ Thailand เพิ่งจะประกาศ 4.0 เอง แล้วไอ้เจ้า 5.0 ที่ว่านี้คืออะไร . พออ่านจบก็เลยเข้าใจได้ว่า 5.0 ก็คงเปรียบได้ว่าเป็นยุค AI เพราะ 4.0 ที่นิยามกันส่วนใหญ่เป็นแค่ยุค Digital . บางคนอาจมีคำถามต่อไปว่า แล้ว Digital ไม่ใช่ AI หรือ . ต้องตอบว่าไม่ใช่ครับ เพราะ…

โลกาภิวัตน์ Globalization; A very short introduction

หนังสือเล่มนี้เริ่มต้นที่คำถามว่า “โลกาภิวัตน์” คืออะไร? การเจริญขึ้นของสังคม? การพัฒนาขึ้นของเทคโนโลยี? หรืออะไรคือโลกาภิวัตน์.. ..โลกาภิวัตน์หมายถึงกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในระดับโลกได้หรือไม่ น่าจะได้ งั้นคำถามต่อไปคือแล้วโลกาภิวัตน์เกิดขึ้นตั้งแต่เมื่อไหร่? ในยุคอินเตอร์เนตใช่หรือไม่? หรือช่วงเวลาไหนที่เกิดนิยามความเป็น “โลกาภิวัตน์” ขึ้น? ..ถ้าเราค่อยๆย้อนกลับไปเสมือนเลื่อนลงไล่ดู Facebook Timeline ก็จะเห็น Social Media ที่เชื่อมคนทั้งโลกให้เข้าไกล้กันได้มากขึ้น ถอยกลับไปอีกหน่อยก็จะพบว่าเป็นยุคของ Smartphone และ Internet ไร้สายที่ทำให้การเชื่อมต่อไม่ต้องติดอยู่กลับที่ เลื่อนหน้าฟีดของโลกาภิวัตน์ลงไปอีกก็อาจจะพบเจอกับยุค www หรือยุคเริ่มต้นอินเตอร์เนตนั่นเอง หรือย้อนกลับไปอีกอาจเป็นยุคของ PC…

Creative Capitalism ทุนนิยมสร้างสรรค์

ว่าด้วยเรื่องของการพูดคุยกันระหว่างสองมหาเศรษฐีผู้ยิ่งใหญ่ของโลกสองขั้ว Bill Gates ขั้วเทคโนโลยี และ Warren Buffett ขั้วแห่งนักลงทุน การถกเถียงเริ่มต้นจาก Bill Gates ผู้ผันตัวไปทำมูลนิธิเพื่อสังคมอย่างเต็มตัวและถอนตัวจากบริษัท Microsoft ที่ตัวเองเป็นผู้ก่อตั้งขึ้นมา ตั้งคำถามว่าเป็นไปได้มั้ยที่บริษัทยักษ์ใหญ่ระดับโลกจะช่วยกันสละทรัพยากรของตนเพื่อตอบสนองกลุ่มคนที่ยากจนที่สุดในโลกกว่าหนึ่งพันล้านคนที่ต้องใช้ชีวิตอยู่ด้วยเงินดำรงชีพไม่ถึง 1 เหรียญสหรัฐ เป็นไปได้มั้ยว่าเศรษฐกิจทุนนิยมจะเปลี่ยนตัวเองให้กลายเป็นทุนนิยมสร้างสรรค์ที่ไม่ได้มุ่งหวังแต่กำไรสูงสุด แต่มุ่งหวังเรื่องชื่อเสียงและเป็นที่ยอมรับเพื่อกลับมาสร้างผลกำไรสูงสุดที่อาจจะไม่ใช่แค่ตัวเงิน แต่จะเป็นการยอมจ่ายมากขึ้นของลูกค้า การดึงดูดพนักงานเก่งๆให้เข้ามาด้วยค่าแรงที่ถูกกว่า เพราะภูมิใจที่ตัวเองจะได้เป็นส่วนหนึ่งของบริษัทเพื่อสังคม หรือแม้แต่สละผลกำไรก่อนหักภาษีเพื่อช่วยเหลือคนยากจนที่สุดในโลกหนึ่งพันล้านคน เกิดเป็นการถกเถียงผ่านเวปบอร์ดที่ผู้เขียนตั้งใจให้เกิดขึ้น โดยเริ่มต้นจากวิวาทะของ Bill Gates ที่กรุงดาวอสที่เริ่มพูดถึงเรื่องทุนนิยมสร้างสรรค์ และการสนทนาส่วนตัวระหว่างเขากับ Warren…