Deluxe “How Luxury Lost its Luster” ความหรูหรา สูญสิ้นมนต์เสน่ห์ไปได้อย่างไร

494 หน้า ที่อัดแน่นเรื่องราวของความหรูหรา จากแบรนด์สุดหรูไปจนถึงห้องเสื้อโอต์ ตูกูร์ ของชนชั้นสูงที่สามัญชนคงไม่มีวันได้ใส่ ตั้งแต่เบื้องหน้าร้านแฟล๊กชิพสุดหรู ไปจนถึงเบื้องหลังจักรเย็บเครื่องหนังโดยแรงงานสาวค่าแรงต่ำในโรงงานประเทศจีน ตีแผ่ทุกซอกมุมของแบรนด์หรูที่เราคนเมืองเฝ้าใฝ่ฝันอยากเป็นเจ้าของ หนีบกระเป๋าลวดลายดาร์มิเยร์ออกไปกินกาแฟตอนกลางวัน แท้จริงแล้วเรากำลังจ่ายให้กับอะไรกันแน่? แล้วความหรูหราคืออะไร? ฟรังซัวส์ มองเตอเนย์ อดีตประธานของชาแนลประจำยุโรปอธิบายไว้ว่า “อย่างน้อยที่สุดมันต้องไม่มีที่ติ อย่างมากที่สุดมันต้องไม่เหมือนใคร” ผมว่านี่คือคำนิยามของความหรูหราที่ทำให้ผู้ชายอย่างผมเข้าใจภาพทั้งหมดได้ชัดเจน ธรรมชาติของมนุษย์ล้วนอยากโดดเด่น แตกต่าง หรือเป็นคนสำคัญเสมอ แบรนด์หรูทั้งหลายก็พยายามหยิบยื่นสิ่งนั้นด้วยข้าวของที่เป็นป้ายโฆษณาตัวเราให้คนรอบตัวเข้าใจอย่างที่เราต้องการ เริ่มที่บรรดาห้องเสื้อโอต์ กูตูร์ ในฝรั่งเศษส่วนใหญ่นั้น แรกเริ่มเดิมทีมาจากการทำเสื้อผ้าแบบเฉพาะบุคคลให้กับชนชั้นสูงเท่านั้น จนมาถึงการปฏิวัติทางอุตสาหกรรมในประเทศอังกฤษทำให้เกิดชนชั้นกลางมากมายที่ร่ำรวยและมีเงินมากพอ และก็อยากลิ้มลองชีวิตแบบชนชั้นสูงหรือบรรดาขุนนางในยุโรปด้วย ห้องเสื้อดังๆไม่ว่าจะเป็น ชาแนล…

THE STRATEGIST คิดอย่างนักวางกลยุทธ์

โดย Cynthia A. Montgomery เป็นผู้สอนในหลักสูตรยอดนิยมของ Harvard Business School ที่มีชื่อว่า EOP ย่อมาจาก Entrepreneur, Owner และ President ผู้เรียนส่วนใหญ่เลยเป็นบรรดา CEO ผู้บริหารระดับสูง เจ้าของธุรกิจ หรือไม่ก็ทายาทที่กำลังจะมารับช่วงต่อ จากบริษัทระดับกลางที่มีรายได้หรือยอดขายต่อปีอยู่ที่หลักสิบล้านดอลลาร์ จนถึงพันล้านดอลลาร์ เราอาจจะคิดว่าคนเหล่านี้ต้องรู้จักและเข้าใจในเรื่องกลยุทธ์ หรือ strategy เป็นอย่างดีอยู่แล้วซิ ไม่งั้นจะสามารถพาบริษัทให้โตจนมียอดขายต่อปีหลายสิบจนถึงพันล้านดอลลาร์ได้หรอ แต่ในความเป็นจริงแล้วใช่ครับ เพราะผู้เขียนบอกว่าคนส่วนใหญ่ไม่เข้าใจถึงการคิดแบบนักวางกลยุทธ์อย่างแท้จริง และงานการวางกลยุทธ์ส่วนใหญ่ก็กลับเป็นของที่ปรึกษา…

The Fred Factor คนที่ทำงานเก่งที่สุดในโลกเขาทำอะไรกัน

นี่คือหนังสือที่ถูกแนะนำให้อ่านโดยหนังสือ(อ่านตรงนี้แล้วรู้สึก inception มั้ยครับ)ใช้ความสุขทำกำไร Delivering Happiness โดย Tony Hsieh หรือผู้ก่อตั้งเวปไซต์ที่ขายรองเท้าออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก และถูกซื้อกิจการไปโดยเวปไซต์ขายของที่ใหญ่ที่สุดในโลกเช่นกัน ด้วยราคากว่า 1,000ล้านเหรียญสหรัฐ เป็นหนึ่งในหนังสือที่ Tony Hsieh บอกว่าพนักงานของเค้าถ้าอยากจะเลื่อนขั้นอัพตำแหน่งต้องอ่านเล่มนี้แล้วมาคุยกันว่าคิดยังไง…เออ เป็นวิธีการประเมินที่น่าสนใจแฮะ อยากเห็นบ้านเราทำแบบนี้บ้างจัง เรื่องราวในเล่มเป็นเรื่องราวของบุรุษไปรษณีย์คนหนึ่งที่ชื่อว่า Fred หรือ เฟร็ด พนักงานไปรษณีย์ในรัฐเดนเวอร์ที่ทำงานเกินหน้าที่เสมอมา จน Mark Sanborn นักพูดผู้สร้างแรงบันดาลใจชื่อดังต้องหยิบเอาเรื่องที่ตัวเองได้รับจากเฟร็ดมาเขียนเป็นหนังสือหนึ่งเล่ม แถมยังติด New York…

ใช้ความสุขทำกำไร Delivering Happiness

ใช้ความสุขทำกำไร ทำไงวะ!? นี่คือคำถามแวปแรกที่เห็นหน้าปกหนังสือเล่มนี้ Delivering Happiness จาก CEO เวปขายรองเท้าออนไลน์มูลค่าหลายพันล้านเหรียญ คนส่วนใหญ่มักคิดเหมือนกันว่า “ความสุข” นั้นจะหาได้จากการใช้ “กำไร” ในการทำงานมาแลก แต่สำหรับ Tony Hsieh ที่เป็น CEO ของ Zappos.com เวปไซต์ขายรองเท้าเบอร์หนึ่งของโลกก็ว่าได้ พูดถึง “ความสุข” คนส่วนใหญ่มักคิดว่าถ้าอยากจะมีความสุขก็ต้องมี “เงินหรือกำไร” จากการทำงานทำธุรกิจ เพราะเรามักจะคิดถึงการที่เราต้องใช้ “เงิน” เพื่อซื้อหรือแลก “ความสุข”…

ขายเนื้อให้เหมือนหลุยส์วิตตอง

หนังสือเล่มนี้ว่าด้วยเรื่องการทำการตลาดแบบ high-end ว่าทำอย่างไรที่จะเปลี่ยนจาก low-end ให้กลายเป็น high-end หรือทำอย่างไรที่จะรักษาความ high-end ไว้ให้ได้นานเท่านาน จากหลายสิบจนอาจจะถึงร้อยเคสในเล่มที่ดีมากและไม่เคยรู้มาก่อน หรืออาจบอกได้ว่าหนังสือเล่มนี้เปิดโลกความลับของหลายแบรนด์ให้ผมได้รู้ การตลาดแบบ high-end มีใจความสำคัญอยู่ตรงที่ไม่ใช่การทำตลาดเพื่อ “ขาย” แต่เป็นการทำการตลาดเพื่อ “ทำให้ซื้อ” ฟังดูง่ายแต่น้อยคนน้อยแบรนด์จริงๆที่จะทำได้จริงมั้ยครับ ถ้าอย่างนั้นผมขอหยิบหน้าสุดท้ายของหนังสือเล่มนี้มาเกริ่นเล่า เพราะผมว่าหน้าสุดท้ายของเล่ม #ขายเนื้อให้เหมือนหลุยส์วิตตอง เป็นอะไรที่ดีมาก ผู้เขียนเล่าว่า เวลาที่พูดคุยเรื่องไฮเอนด์ คำถามที่มักได้รับอยู่เป็นประจำคือ “High-end เป็นแบรนด์เนมหรือเปล่า” คำถามนี้เป็นคำถามแรกที่ได้ถามไว้ในตอนเริ่มต้นของหนังสือ ถ้ากล่าวโดยสรุปก็คือ แบรนด์เนมคือ…

Marketing 3.0 from product to customer to human spirit

บางคนอาจสงสัยหรือไม่ก็ผมเองนี่แหละที่ตั้งคำถามกับตัวเองตอนหยิบหนังสือเล่มนี้มาอ่านว่า “สมัยนี้อะไรๆก็ 4.0 หมดแล้ว จะมัวมาอ่านอะไรที่ช้าไปแล้วทำไม?” ครับ 3.0 อาจเชยกว่า 4.0 จริง แต่สำหรับผมๆคิดว่าต่อให้มี 1.0 หรือ 0.1 ที่เชยตกยุคไปแล้วสุดๆผมก็จะตามอ่านถ้าผมยังไม่รู้ในสิ่งนั้น ผมคิดว่าผมเป็นพวกนักการตลาดแบบมวยวัดนะ ไม่ได้ร่ำเรียนมาแบบชาวบ้านเค้า ปากกัดตีนถีบหาความรู้มาเองตลอก ถ้าถามว่าอ่านจบแล้วได้อะไรบ้างล่ะ ก็ต้องบอกว่าได้ไม่น้อยเลยกับเรื่องที่ยังไม่รู้ จริงๆแล้วผมคิดว่าเล่มนี้น่าจะเป็นเรื่องของ social network หรือการตลาดแบบ social media มากกว่านะถ้าถอดเปลือกเอาแก่นมาคุยกัน เพราะการตลาดแบบ human spirit…

GameChangers เปลี่ยนเกมธุรกิจ พลิกเป็นผู้ชนะ

เป็นหนังสืออีกเล่มที่อยากแนะนำให้เพื่อนๆนักสายนักการตลาด นักธุรกิจ หรือเจ้าของกิจการ และใครก็ตามที่สนใจอยากรู้ว่าโลกธุรกิจในวันนี้เปลี่ยนไปยังไง รวมถึงเรื่องราวของ 100 บริษัทที่น่าสนใจแต่น้อยคนนักจะรู้จักทั้งหมดให้เรียนรู้กัน Game Changers ความหมายก็ตรงตัวคือตัวเปลี่ยนเกม ถ้าเป็นฟุตบอลก็คือนักเตะที่เข้ามาพลิกเกมจากไล่ตามเป็นนำได้เลย ในแง่ของธุจกิจก็เหมือนกันครับ Game Changers คือคนที่เข้ามาเปลี่ยนตลาด เปลี่ยนกฏกติกา หรือคือการเปลี่ยนกระดานแผ่นเดิมไปเล่นเกมใหม่ที่ตัวเองเป็นผู้สร้างกฏขึ้นมา การคิดแบบ Game Changers คือการไม่เล่นตามเกมของใคร ไม่เล่นตามกติกาเดิมที่อาจไม่มีวันชนะ แต่ออกไปสร้างเกมใหม่ขึ้นมาให้ตัวเองเป็นผู้ชนะและได้เปรียบไปอีกนาน ตัวอย่างง่ายๆในเล่มก็เช่น IBM IBM ที่เปลี่ยนตัวเองจากที่เคยขายอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ หรือโปรแกรมให้กลายเป็นผู้ให้คำปรึกษาธุรกิจ กลายเป็น IBM…

The Strategy and Tactics of Pricing กลยุทธ์การตั้งราคา

เมื่อราคาไม่ใช่แค่ “ราคา” ที่เคยเข้าใจอีกต่อไป หนังสือเล่มนี้แม้จะอ่านยากนิดๆ (มีอารมณ์คล้ายหนังสือเรียนที่มักจะต้องถูกบังคับจากอาจารย์ให้อ่าน) แต่ก็ถ้าตั้งใจอ่านซักหน่อยก็จะพบว่ามีอะไรให้เรียนรู้และเก็บเกี่ยวอีกเยอะ รวมถึงเคสที่น่าสนใจมากมาย . หลายครั้ง “ราคา” มักเป็นส่วนสุดท้ายของการตัดสินใจ ที่มักจะเอา “ต้นทุน” มาบวก “ผลกำไร” ที่ต้องการ แล้วใช้ตัวเลขนั้นเป็นราคาขายให้กับลูกค้า แทบจะเรียกได้ว่าเป็นปลายทางของธุรกิจเลยก็ว่าได้ . แต่หนังสือเล่มนี้ให้มุมมองใหม่ที่น่าสนใจว่า การตั้งต้นด้วยราคาก่อนจะเริ่มทำธุรกิจนั้น มีโอกาสที่จะทำให้ธุรกิจนั้นอยู่รอดและเติบโตได้มากกว่า!? . สำหรับผมเป็นมุมมองใหม่ที่ไม่เคยคิดถึงมาก่อนเลยกับการ “เอาราคาเป็นตัวตั้ง” . เพราะแต่ไหนแต่ไรมา การกำหนดราคาด้วยต้นทุนคือ สินค้า >…

Repositioning การวางตำแหน่งใหม่

Repositioning คืออะไร? แล้วทำไมต้องวางตำแหน่งใหม่ด้วย? Jack Trout ผู้เขียนเปรียบเทียบง่ายๆว่าการ Repositioning ก็เหมือนกับการ “แขวนป้าย” หรือ “แปะป้าย” ให้กับตัวเรา เพื่อให้ผู้คนหรือกลุ่มลูกค้ารู้ว่า “เราคือใคร” แต่ความน่าสนใจของหนังสือเล่มนี้อยู่ตรงแนวคิดที่อยู่ เราสามารถ Repositioning หรือ “แปะป้าย” ให้กับคู่แข่งเราได้ด้วย! ลองดูตัวอย่างจาก Burger King กับ McDonald’s ดู ครั้งนึงผู้เขียนและหุ้นส่วนเคยเข้าไปให้คำแนะนำกับ Burger King ที่จะแขวนป้าย…

BRANDiNG 4.0 จากการตลาด 3.0 สู่การสร้างแบรนด์ 4.0

เมื่อการตลาดเปลี่ยนไป แต่ใจความสำคัญ…ยังเหมือนเดิม ถ้าจะบอกว่าใจความสำคัญของการตลาดก็ยังเป็นการสร้างผลกำไรหรือเงินเข้าบริษัทก็คงไม่ผิดนัก เพราะถ้าบริษัทไม่มีกำไรแล้วจะอยู่ได้อย่างไร เพียงแต่หนทางในการได้เงินมาขององค์กรทุกวันนี้เปลี่ยนไปมากกว่าเดิมจากการเริ่มค้าขายในประวัติศาสตร์ของมนุษย์มากนัก ในสมัยโบราณถ้าจะบอกว่าการตลาดก็คือการที่คนเอาของที่ตัวเองต้องการน้อยกว่าไปแลกกับของที่ตัวเองมากกว่ากับคนอื่นมา เช่น คนที่ปลูกพืชได้เยอะเกินความจะกินหมดหรือเก็บไว้ได้ ก็เอาพืชผลที่ปลูกได้เงินมานั้นไปแลกกับอีกคนที่อาจจะมีเนื้อสัตว์ที่เกินกินเกินเก็บไว้ และก็กำลังต้องการธันญพืชอยู่พอดี การแลกเปลี่ยนกันก็เลยเกิดขึ้นโดยความพร้อมใจทั้งสองฝ่าย แล้วก็วิวัฒนาการกลายเป็น “เงิน” หรือตัวกลางในการแลกเปลี่ยนขึ้นมาเพื่อให้ง่ายต่อทุกฝ่ายมากขึ้น ถ้าการตลาดทุกวันนี้ต่างจากเมื่อหลายพันหมื่นปีก่อนยังไง ถ้าจะบอกว่าแก่นใจความสำคัญก็คือการสร้างความพึงพอใจให้ทั้งสองฝ่ายที่ได้แลกเปลี่ยนกันก็คงไม่ผิดนัก เพราะถ้าเราไม่พอใจมากพอก็คงไม่ยอมเสียเงินมีอยู่ไปแลกมันมากันใช่มั้ยล่ะครับ การตลาดทุกวันนี้ไปไกลมากจนผู้เขียนนิยามว่าเป็นการตลาดยุค 4.0 (ไม่รู้ทำไมต้อง 4.0 ตามๆกันไปหมดทุกอย่างด้วย มีแต่ถุงยางหรือไงที่พยายามลดตัวเลขลงเรื่อยๆ ไม่เห็นเน้นจุดขายในตัวเลขที่เพิ่มขึ้นเหมือนสินค้าอื่นๆเลย) กว่าจะมาเป็นการตลาด 4.0 แน่นอนก็ต้องผ่านการนับหนึ่งมา คือเริ่มต้นจากการซื้อมาขายไป แลกเปลี่ยนกันซื่อๆไม่ซับซ้อน ต้องการอะไรก็เดินไปหามา…