ขาย 100 คน ซื้อ 99 คน

แม้ไม่ใช่นักขายโดยอาชีพ แต่คุณรู้มั้ยครับว่าเราทุกคนก็ล้วนเป็นนักขายโดยธรรมชาติ เพราะการซื้อขายคือการแลกเปลี่ยนให้ได้ในสิ่งที่เราต้องการกันมาแต่เกิด เช่น เด็กทารกต้องขายเสียงร้องให้เพื่อได้รับน้ำนมจากแม่ โตขึ้นมาหน่อยก็เริ่มต้องขายการทำตัวดีเพื่อให้พ่อแม่ชื่นชมหรือได้รับขนม โตมาอีกนิดก็เริ่มจะขายคำหวานเพื่อให้ได้รับความรักความสนใจจากเพศตรงข้าม โตขึ้นมาก็ต้องขายความสามารถเพื่อแลกเงิน หรือบางคนก็เปิดธุรกิจค้าขายตรงๆไปก็มี นี่แหละครับทำไมผมถึงบอกว่ามนุษย์เราล้วนเป็นนักขายมาตั้งแต่เกิดแล้ว ดังนั้นผมจึงกล้าบอกว่าหนังสือเล่มนี้ไม่ได้เหมาะกับแค่คนที่มีอาชีพเป็นนักขายหรือ Sale เท่านั้น แต่เหมาะกับทุกคนต่างหาก ว่าแต่ อะกิระ คะกะตะ ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้เป็นใคร… …ตามประวัติท้ายเล่มบอกว่าเป็นชายที่ได้รับการขนานนามในญี่ปุ่นว่าเป็น “เทพเจ้าการขาย” มีเปอร์เซ็นต์การปิดการขายสำเร็จอยู่ที่ 99% ฟังดูเหมือนโม้แต่ผมก็ไม่รู้หรอกนะว่ามันเรื่องจริงมั้ย แต่ผมคิดว่าก็น่าจะสูงมากๆจนทำให้ชาวบ้านที่ญี่ปุ่นให้ฉายาเค้าแบบนั้นนั่นแหละครับ ใจความสำคัญของการขายให้สำเร็จจากหนังสือเล่มนี้ผมว่ามีอยู่แค่ 3 ข้อ 1.คุณต้องเข้าใจคน… หมายถึงคุณต้องเข้าใจในธรรมชาติของความเป็น “คน”…

Digital Strategies ติดอาวุธให้แบรนด์พุ่งแรงในโลกดิจิทัล

ถ้ามีเพื่อนที่เป็น marketer หรือ advertiser ที่เชี่ยวชาญด้าน traditional แล้วอยากจะศึกษาด้าน digital ผมจะแนะนำหนังสือเล่มนี้ให้ เพราะเนื้อหาเข้าใจง่าย มีให้ครบทุกแง่มุม อาจจะยังไม่ลึกมากแต่ก็จะได้ความเข้าใจในภาพรวมได้ค่อนข้างครบ รวมถึงพวกเคสจริงจาก SME ดีๆในบ้านเราประกอบด้วย ในเล่มประกอบด้วย 4 บทใหญ่ ที่ประกอบด้วย 18 หัวข้อเริ่มตั้งแต่… บทที่ 1 สร้างธุรกิจบนโลกดิจิทัล ไม่ใช่แค่ digital marketing แต่ต้องเริ่มตั้งแต่ digital branding…

Write Your Dream ฝันตื่นลงมือทำจึงสำเร็จ

เป็นเรื่องของหญิงสาวชาวบ้านที่ยากจนชาวเกาหลีคนนึง ที่มีช่วงชีวิตวัยรุ่นที่ย่ำแย่ แต่เธอสามารถเปลี่ยนให้กลายเป็นการใช้ชีวิตที่เต็มไปด้วยแรงบันดาลใจให้กับคนอื่นๆอีกมากมาย เธอตั้งความฝันไว้มากมาย แล้วก็พยายามทำมันให้สำเร็จ เธอบอกว่าที่ไม่สามารถไปให้ถึงฝันได้ ส่วนใหญ่เพราะเอาแต่โทษโชคชะตาและสิ่งรอบข้าง แต่กลับลืมไปว่าสิ่งสำคัญที่ทำให้ฝันนั้นเป็นจริงได้คือตัวเราเอง หลายคนลดขนาดความฝันลงเพราะบอกว่ามันดูเพ้อฝัน และเป็นไปไม่ได้ แต่เธอบอกว่าอย่าลดขนาดความฝัน แต่ให้เพิ่มขนาดความพยายามเข้าไปแทน เธอบอกว่าชีวิตคนเราคือการวิ่งมาราธอน ถ้าเราหยุดวิ่งคนอื่นก็นำ ถ้าเรามัวแต่โทษว่ารองเท้าเราไม่ดีเท่าคนอื่น หรือเราเริ่มวิ่งช้ากว่าคนอื่นชีวิตก็คงไม่ไปไหน แล้วก็ได้อิจฉาเค้าต่อไป จงวิ่งและพัฒนาตัวเองไปเรื่อยๆ มีความสุขและเรียนรู้กับสองข้างทางชีวิต ส่วนตัวผมชอบหนังสือเรื่องราวประวัติของคนแบบนี้ เพราะดูเป็นไปได้และไกล้ตัว มากกว่ามหาเศรษฐีพันล้านแสนล้านเสียอีก อ่านเมื่อปี 2016

ขายเนื้อให้เหมือนหลุยส์วิตตอง

หนังสือเล่มนี้ว่าด้วยเรื่องการทำการตลาดแบบ high-end ว่าทำอย่างไรที่จะเปลี่ยนจาก low-end ให้กลายเป็น high-end หรือทำอย่างไรที่จะรักษาความ high-end ไว้ให้ได้นานเท่านาน จากหลายสิบจนอาจจะถึงร้อยเคสในเล่มที่ดีมากและไม่เคยรู้มาก่อน หรืออาจบอกได้ว่าหนังสือเล่มนี้เปิดโลกความลับของหลายแบรนด์ให้ผมได้รู้ การตลาดแบบ high-end มีใจความสำคัญอยู่ตรงที่ไม่ใช่การทำตลาดเพื่อ “ขาย” แต่เป็นการทำการตลาดเพื่อ “ทำให้ซื้อ” ฟังดูง่ายแต่น้อยคนน้อยแบรนด์จริงๆที่จะทำได้จริงมั้ยครับ ถ้าอย่างนั้นผมขอหยิบหน้าสุดท้ายของหนังสือเล่มนี้มาเกริ่นเล่า เพราะผมว่าหน้าสุดท้ายของเล่ม #ขายเนื้อให้เหมือนหลุยส์วิตตอง เป็นอะไรที่ดีมาก ผู้เขียนเล่าว่า เวลาที่พูดคุยเรื่องไฮเอนด์ คำถามที่มักได้รับอยู่เป็นประจำคือ “High-end เป็นแบรนด์เนมหรือเปล่า” คำถามนี้เป็นคำถามแรกที่ได้ถามไว้ในตอนเริ่มต้นของหนังสือ ถ้ากล่าวโดยสรุปก็คือ แบรนด์เนมคือ…

ไม่มีอะไรในเกาหลีเหนือ

เพิ่งอ่านมหัศจรรย์เกาหลีใต้จบเมื่อวานก็เลยนึกขึ้นได้ว่ายังเหลือหนังสือเกาหลีอีกเล่มที่ดองไว้นานแล้วนี่นา และหนังสือเกาหลีอีกเล่มที่ว่าก็คือ “เกาหลีเหนือ” เล่มนี้ที่ได้มาตั้งแต่ตอนงานหนังสือเมื่อต้นปี 2018 นี่แหละครับ เกาหลีเหนือประเทศที่หลายคนคุ้นหูดีผ่านสื่อต่างๆที่คอยฉายภาพว่ามีผู้นำเผด็จการที่แสนบ้าคลั่ง ดูเผินๆเหมือนเป็นประเทศที่แสนจะโหดร้าย เป็นประเทศปิดที่มอมเมาผู้คนทั้งหลายให้หลงไหลในตัวผู้นำ ประเทศที่มักถูกฉายภาพอีกว่าผู้คนนั้นอดอยาก คนส่วนใหญ่ไม่มีความสุข แถมยังล้าหลังสุดๆเสมือนหยุดประเทศไว้เมื่อหลายสิบปีที่แล้ว จนอาจเผลอคิดได้ว่าถ้าอยากย้อนเวลาไปดูโลกเมื่อซัก 40-50 ปีที่แล้วให้ลองไปดูที่เกาหลีเหนือก็ได้มั้ง แต่นั่นแหละครับ สิ่งที่เรามักคิดว่ารู้ดีแท้จริงแล้วเรากลับไม่รู้อะไรเลยก็ได้ ครั้งหนึ่งผมเคยดูสารคดีเกาหลีเหนือทาง Netflix กลับพบอีกแง่มุมหนึ่งที่น่าสนใจว่า ความจริงแล้วเราไม่จำเป็นต้องวิ่งให้ทันโลก เราไม่จำเป็นต้องเปิดรับอะไรมากมาย สำคัญคือเรามีความสุขกับสิ่งที่เกิดขึ้นมั้ย ในเมื่อผู้คนในเกาหลีเหนือผ่านภาพฉายของสารคดีเหล่านั้นก็แลดูมีความสุขตามอัตภาพดี ทำให้ผมไม่แน่ใจว่าประเทศที่เจริญกว่าทั้งหลายในโลกแต่กลับป่วยใข้ทางจิต เต็มไปด้วยโรคซึมเศร้าทุกวันนี้ แท้จริงแล้วใครกันแน่ที่ล้าหลังกว่ากัน ที่พูดแบบนี้ไม่ได้หมายความว่าผมสนับสนุนระบอบราชาธิปไตย หรือเผด็จการแบบเบ็ดเสร็จที่มีผู้ปกครองเป็นสมมติเทพแบบเกาหลีเหนือหรอกนะครับ เพราะผมก็ยังพยายามหาความสุขตามอัตภาพจากหนังสือที่ผมมี…

The Last Lecture

เลกเชอร์ครั้งสุดท้ายที่สร้าวแรงบันดาลใจแก่คนนับล้านทั่วโลก สมมติว่าถ้าคุณตรวจพบว่าคุณเป็นโรคมะเร็งในระยะลุกลามและกำลังจะตายในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า คุณจะทำอย่างไร?และถ้าคุณเองมีลูกเล็กๆที่แสนจะน่ารัก 3 คนในขณะนั้นล่ะ คุณจะทิ้งอะไรไว้ให้เค้า? หลายคนอาจจะคิดหาทางทิ้งมรกดที่เป็นทรัพย์สินเงินทองไว้ให้ครอบครัวมากที่สุด เพราะเมื่อตัวเองจากไปแล้วพวกเค้าจะได้ลำบากน้อยที่สุดเมื่อไม่มีคุณ แต่ชายผู้นี้ แรนดี เพาซ์ ชายในวัยสี่สิบปลายๆที่มีชีวิตการทำงานที่ดีเป็นศาสตราจารย์ประจำในมหาวิทยาลัยชื่อดังในอเมริกา เลือกที่จะใช้เวลาช่างท้ายสุดของชีวิตไม่กี่เดือนกับการมุ่งมั่นตั้งใจขึ้นพูดปาฐกถาที่มหาวิทยาลัยคาเนกี เมลอน เป็นครั้งสุดท้ายในชีวิตทิ้งไว้เป็นมรดกให้ลูกๆทั้ง 3 แล้วมันจะถึงลูกๆทั้งสามได้อย่างไรตรงนี้แหละที่น่าคิด แรนดี เพาซ์ มองว่าเค้าจะทำยังไงที่จะได้เหมือนอยู่สอนลูกๆเค้าไปจนโต จนพร้อมที่จะออกไปผจญชีวิตภายนอกเต็มตัวในวันข้างหน้าได้ นั่นก็คือการฝากความคิดและประสบการณ์ทั้งหมดในชีวิตทิ้งไว้ให้กับโลก เพื่อให้โลกนี้ส่งต่อให้ลูกๆเค้าทั้ง 3 คน เพราะการพูดครั้งนี้ได้พูดต่อหน้าคนหลายร้อยจนถึงพันคน และยังมีการถ่ายเก็บบันทึกทั้งหมดไว้เป็นหลักฐานให้ลูกค้าได้ทบทวนดูทุกครั้งเมื่อคิดถึงพ่อผู้ล่วงลับไปแล้ว เค้าตั้งใจให้ลูกๆเค้ารู้สึกว่าพ่อของเค้านั้นพิเศษแค่ไหนและยิ่งใหญ่เพียงใด เรื่องที่เป็นหัวข้อในการพูดครั้งสุดท้ายของเค้าคือการใช้ชีวิตตามความฝัน แรนดี…

Audience เปลี่ยนจากแค่รู้จักเป็นรักและบอกต่อ

ผู้เขียนทำงานบริษัทด้านดิจิทัลมาร์เก็ตติ้งชื่อดังในเครือ Saleforce ในอเมริกา เค้าแชร์ว่าสิ่งสำคัญของการตลาดยุคนี้ไม่ใช่แค่การตะโกนประกาศเหมือนสมัยก่อนว่า “ชั้นมีของดีมาขาย ซื้อมั้ยจ้ะๆ” เพราะ…แม้เราจะอยู่ในยุคที่เต็มไปด้วยสื่อดิจิทัล เสพย์ติดสมาร์โฟนมากกว่าทีวี หรือเปิดทีวีไว้แต่ก้มหน้าเล่นเฟซบุ๊คแล้วแชตไลน์กับเพื่อน แต่นักการตลาดหรือเอเจนซี่ส่วนใหญ่ก็ยังคิดในรูปแบบเดิมแค่ขยายช่องทางการเข้าถึงใหม่ๆที่เป็นดิจิทัล ก็คือการตะโกนขายของปาวๆเหมือนเดิม ไม่ได้สนใจผู้บริโภคหรือกลุ่มผู้ชมที่อยู่ในแต่ละบริบทเอาซะเลย เพราะแต่ละ Channel ก็มี Context ของมัน แต่เรื่องนี้ก็เป็นเรื่องที่เข้าใจได้ว่าทำไมคนยุคโฆษณาทีวีถึงยังคิดแบบนั้น.. ..เพราะสมัยก่อนช่องทางการเข้าถึงกลุ่มผู้ชมหรือ Audience นั้นมีแค่ 9 ช่องทาง ทำให้การคิดงานนั้นมีรูปแบบและ Platform ที่ไม่ชัดเจนไม่ซับซ้อน แต่ทุกวันนี้ช่องทางการเข้าถึงกลุ่ม Audience นั้นมากกว่า 50…

การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4, The Fourth Industrial Revolution

เป็นหนังสือที่ให้ภาพรวมแนวกว้างรวมกับข้อมูลเชิงลึกว่า โลกในวันพรุ่งนี้หลายปีข้างหน้าจะไปในทิศทางไหน ด้วยผลของการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 จากอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงไร้สายที่สามารถให้อุปกรณ์รอบตัวที่มีเซนเซอร์รับข้อมูลรอบด้าน เอาข้อมูลทั้งหมดไปวิเคราะห์ด้วยความเร็วไม่ว่าจะด้วย ai หรือ machine learning ที่จะเปลี่ยนแปลงชีวิตเราไปทุกด้าน แล้วการปฏิวัติอุตสาหกรรม 3 ครั้งที่ผ่านมาล่ะเป็นยังไง การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 1 คือการปฏิวัติแรงงานจากคนและสัตว์ กลายมาเป็น “เครื่องจักรไอน้ำ” ทำให้การทำงานที่ต้องใช้แรงงานในรูปแบบซ้ำๆถูกทดแทนด้วยเครื่องจักรไอน้ำ เช่น การทอผ้าที่เคยเป็นเรื่องยากทำให้ผ้ามีราคาแพงเพราะต้องใช้แรงงานคนมากมาย เมื่อใช้แรงงานจากเครื่องจักรไอน้ำก็ทำให้อาชีพคนทอผ้ามากมายในอังกฤษต้องหายไป และก็ได้ผ้าราคาถูกที่ใครๆก็เข้าถึงได้มาแทน แถมเครื่องทอผ้านี่แหละที่ทำให้อินเดียตกอยู่ในวิกฤตในตอนนั้น การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 2 คือการปฏิวัติพลังงานมาเป็น “ไฟฟ้า” และการผลิตแบบสายพานการผลิต…

BRANDiNG 4.0 จากการตลาด 3.0 สู่การสร้างแบรนด์ 4.0

เมื่อการตลาดเปลี่ยนไป แต่ใจความสำคัญ…ยังเหมือนเดิม ถ้าจะบอกว่าใจความสำคัญของการตลาดก็ยังเป็นการสร้างผลกำไรหรือเงินเข้าบริษัทก็คงไม่ผิดนัก เพราะถ้าบริษัทไม่มีกำไรแล้วจะอยู่ได้อย่างไร เพียงแต่หนทางในการได้เงินมาขององค์กรทุกวันนี้เปลี่ยนไปมากกว่าเดิมจากการเริ่มค้าขายในประวัติศาสตร์ของมนุษย์มากนัก ในสมัยโบราณถ้าจะบอกว่าการตลาดก็คือการที่คนเอาของที่ตัวเองต้องการน้อยกว่าไปแลกกับของที่ตัวเองมากกว่ากับคนอื่นมา เช่น คนที่ปลูกพืชได้เยอะเกินความจะกินหมดหรือเก็บไว้ได้ ก็เอาพืชผลที่ปลูกได้เงินมานั้นไปแลกกับอีกคนที่อาจจะมีเนื้อสัตว์ที่เกินกินเกินเก็บไว้ และก็กำลังต้องการธันญพืชอยู่พอดี การแลกเปลี่ยนกันก็เลยเกิดขึ้นโดยความพร้อมใจทั้งสองฝ่าย แล้วก็วิวัฒนาการกลายเป็น “เงิน” หรือตัวกลางในการแลกเปลี่ยนขึ้นมาเพื่อให้ง่ายต่อทุกฝ่ายมากขึ้น ถ้าการตลาดทุกวันนี้ต่างจากเมื่อหลายพันหมื่นปีก่อนยังไง ถ้าจะบอกว่าแก่นใจความสำคัญก็คือการสร้างความพึงพอใจให้ทั้งสองฝ่ายที่ได้แลกเปลี่ยนกันก็คงไม่ผิดนัก เพราะถ้าเราไม่พอใจมากพอก็คงไม่ยอมเสียเงินมีอยู่ไปแลกมันมากันใช่มั้ยล่ะครับ การตลาดทุกวันนี้ไปไกลมากจนผู้เขียนนิยามว่าเป็นการตลาดยุค 4.0 (ไม่รู้ทำไมต้อง 4.0 ตามๆกันไปหมดทุกอย่างด้วย มีแต่ถุงยางหรือไงที่พยายามลดตัวเลขลงเรื่อยๆ ไม่เห็นเน้นจุดขายในตัวเลขที่เพิ่มขึ้นเหมือนสินค้าอื่นๆเลย) กว่าจะมาเป็นการตลาด 4.0 แน่นอนก็ต้องผ่านการนับหนึ่งมา คือเริ่มต้นจากการซื้อมาขายไป แลกเปลี่ยนกันซื่อๆไม่ซับซ้อน ต้องการอะไรก็เดินไปหามา…