ฝนเม็ดเล็ก ใครจะคิดว่าอารยธรรมที่เคยยิ่งใหญ่กลับล่มสลายเพราะขาดฝนเป็นจำนวนไม่น้อย

และต่อให้ในปัจจุบันที่เต็มไปด้วยเครื่องมือสุดไฮเทค และเทคโนโลยีอย่าง Big Data เราก็ยังเดาทางเดาใจฝนไม่ได้แม่นยำซักที

ในยุค Big Data ที่เต็มไปด้วยเครื่องไม้เครื่องมือพรั่งพร้อม และซุปเปอร์คอมพิวเตอร์สมรรถนะสูง สิ่งที่น่าทึ่งก็คือการพยากรณ์ฝนแบบไฮเทคจะเที่ยงตรงมากขึ้นด้วยฝีมือนักอุตุนิยมวิทยา

เพราะคำพยากรณ์ที่มีนักอุตุนิยมวิทยามาช่วยอ่านค่า จะแม่นยำกว่าคำพยากรณ์จากคอมพิวเตอร์ล้วนๆถึง 25%

นักอุตุนิยมวิทยาไม่ตกในงานยุค Big Data และ AI แล้วนะครับ

ส่วนในอดีตในช่วงยุค 1560-1660 ช่วงที่ยุโรปนิยมล่าแม่มดกัน ก็ตรงกับช่วงที่เกิดภูมิอากาศเลวร้ายที่สุดในยุคน้ำแข็งน้อยในปัจจุบัน (ใช่ครับ เรายังคงอยู่ในยุคน้ำแข็งน้อยที่ร้อนขึ้นนิดหน่อย) ในช่วงนั้นการล่าแม่มดคือการหาแพะให้กับปัญญาฝนไม่ตกต้อง หรือฝนตกหนักเกินไปจนเกินควบคุม

น่าสงสารคนมากมายที่ต้องกลายเป็นแพะระบายอารมณ์โกรธของคนเพราะไม่รู้ว่าทำไมพายุฝนจึงถล่มเข้ามาจัง

เพราะมีฝนถึงมีน้ำ เพราะมีน้ำถึงมีฝน แต่รู้มั้ยว่าน้ำเดียวกันนี้ในอดีตดาวศุกร์และดาวอังคารเองก็เคยมีน้ำระดับมหาสมุทรไม่น้อยไปกว่าโลกเลย

แต่น้ำของดาวศุกร์นั้นกลับระเหยไปไม่กลายเป็นฝนเพื่อกลับมาเป็นน้ำในมหาสมุทรดังเดิมอีก ดาวศุกร์ก็เลยเป็นดาวที่มีไอน้ำและความชื้นสูงในอากาศ แต่ไร้ซึ่งน้ำโดยสิ้นเชิง และเจ้าสิ่งนี้แหละคือภัยร้ายที่ทำลายชีวิตบนดาวทั้งดวงที่เรียกว่า “ภาวะเรือนกระจกยิ่งยวด” ก็เลยทำให้อุณหภูมิที่ร้อยอยู่แล้วบนดาวศุกร์กลายเป็นร้อนตับแตกยิ่งขึ้นไปอีก

เพราะภาวะเรือนกระจกที่อันตรายที่สุดไม่ได้เกิดจากคาร์บอนไดออกไซด์ แต่เกิดจาก “ไอน้ำ” ธรรมดาๆนี่แหละครับ

ความร้อนทำให้น้ำกลายเป็นไอ แต่ถ้าไม่มีความเย็นเข้ามาทำให้ไอน้ำจับตัวกันกลายเป็นฝนให้ตกกลับลงมายังแหล่งน้ำ น้ำก็จะยิ่งระเหยไปเรื่อยๆจนหมดทั้งดาวแบบดาวศุกร์ และกลายเป็นบรรยากาศที่ชวนอึดอัดเหมือนเวลาฝนจะตกแต่ไม่ยอมตกยังไงล่ะครับ

ส่วนดาวอังคารเองก็อย่างที่รู้กันผ่านข่าวเป็นประจำว่า มีร่องรอยของทางเดินน้ำหรือมหาสมุทรใหญ่ในอดีต แต่ด้วยความที่เย็นจนเกินไปจนทำให้น้ำเองก็ระเหยหายหรือไม่ก็กลายเป็นน้ำแข็งอยู่ใต้ดินลงไป

โชคดีที่โลกเรานั้นสามารถรักษาวัฏจักรของน้ำเอาไว้ได้ เราก็เลยยังเป็นดาวสีฟ้าที่อุดมไปด้วยน้ำและสิ่งมีชีวิตจนถึงทุกวันนี้

ฝนก็มีฟอสซิล

ฟอสซิลรูปรอยหยดน้ำฝนที่เก่าแก่ที่สุดอยู่ในหินจากแอฟริกาใต้ รอยกลมเล็กๆที่เป็นเหมือนอักษรเบรลล์ในทางธรณีวิทยา ที่บ่งบอกว่ามีฝนตกลงบนเถ้าภูเขาไฟร้อนๆเมื่อ 2,700 ล้านปีก่อน

ฝืนคือแหล่งน้ำจืดที่สำคัญลำดับต้นๆของมนุษย์เรา เพราะเวลาฝนตกทีก็สามารถเติมน้ำให้เขื่อนได้เป็นเดือนๆ และรู้มั้ยครับว่าแท้จริงแล้วแหล่งน้ำจืดที่มากที่สุดในโลกไม่ใช่แม่น้ำหรือทะเลสาบ แต่กลับเป็นแหล่งน้ำที่อยู่ในชั้นหินใต้ดิน แหล่งน้ำในชั้นหินใต้ดินนี้มีปริมาณน้ำมากกว่าแม่น้ำและทะเลสาบทั้งโลกรวมกันซะอีก

ฝนก็ไม่ได้มีหน้าตาอย่างที่เราคิด

เรามักคิดว่าฝนจะมีหน้าตาเหมือนหยดน้ำ ที่มีหางแหลมอยู่ด้านบนและด้านกลมมนอยู่ด้านล่าง แต่หน้าตาของฝนนั้นกลับด้านกับหยดน้ำครับ เพราะฝนนั้นจะมีด้านแหลมอยู่ด้านล่าง ส่วนด้านกลมมนอยู่ด้านบน

น่าแปลกดีมั้ยครับ แต่ก็ไม่รู้ว่าทำไม รู้แต่วันหน้าจะรองนั่งสังเกตุหยดน้ำฝนก่อนตกถึงพื้นให้ทันจริงๆ

ฝนเองก็เกี่ยวพันธ์แม้กระทั่งกับสีสันและขนาดของสิ่งมีชีวิต เช่น ผีเสื้อ

ลวดลายของผีเสื้อแอฟริกาที่ชื่อ สควินติ้งบุชบราวน์ ขึ้นอยู่กับว่ามันออกจากดักแด้ในช่วงที่ฝนชุกหรือฝนแล้ง

ผีเสื้อที่โผล่มาเจอฝนชุกจะมีขนาดตัวใหญ่กว่า สีสันสดใสกว่า กินอาหารมากกว่า และแพร่พันธุ์บ่อยกว่าด้วย

ไม่ใช่แค่กับชีวิต แต่ยังมีผลต่อการเลือกตั้งด้วยนะครับ

ฝนที่ตกในวันเลือกตั้งเมื่อปี 2000 ช่วยพรรครีพับลิกัน ให้จอร์จ ดับเบิลยู บุช ชนะจนกลายเป็นประธานาธิบดีในตอนนั้น

หากวันนั้น วันเลือกตั้งที่ฟอริดาในปี 2000 ฝนไม่ตก กอร์ ก็จะชนะในพื้นที่นี้ และผลการเลือกตั้งระดับประเทศก็จะเปลี่ยนให้เค้ากลายเป็นประธานธิบดีได้เลย

รู้แบบนี้แล้วขอให้ตอนวันเลือกตั้งบ้านเราฝนไม่ตกนะครับ

และเรื่องที่น่าตลกอีกนิดของประเทศอเมริกาคือ สมัยก่อนพวกผู้รู้ทั้งหลายเชื่อกันว่าการเผาป่าจะช่วยเรียกฝนได้

ดังนั้นถ้าเมืองไหนฝนแล้ง ก็จะเผาป่าเพื่อเพิ่มความร้อนในอากาศ เพราะเค้าเหล่านั้นเชื่อว่าความร้อนที่ลอยขึ้นไปเนี่ยแหละจะกระตุ้นให้เกิดฝน

ดีนะครับที่ไม่ทำกันจนป่าหมดประเทศเสียก่อน

ฝนเองก็เคยเปลี่ยนผลของสงครามสำคัญของโลกในอดีตมาแล้ว

ในเรื่อง Les Miserables ก็บอกว่า Victor Hugo รำพึงว่าหากฝนไม่ตกจนดินกลายเป็นโคลน จนการต่อสู้ที่เริ่มช้าจนพวกปรัสเซียรวมตัวกันติด สงครามวอเตอร์ลูครั้งนั้นก็คงไม่ทำให้นโปเลียนไปสู่จุดจบ และฝรั่งเศษก็คงยังเป็นอภิมหาอำนาจต่อไป

ทั้งหมดเกิดจากฝนแค่เล็กน้อยและเมฆที่ลอยมาผิดฤดูกาล

นักโบราณคดีหลายคนยังเชื่อว่า “โฮโมเซเปียน” พัฒนาพลังสมองอันยิ่งใหญ่ในช่วงที่โลกขาดฝน และวิวัฒนาการคำพูดเพื่อแบ่งปันสิ่งที่รู้เกี่ยวกับแหล่งนำและอาหาร เพื่อความอยู่รอดในช่วงทุพภิกขภัย

อุปสรรคนำพามาซึ่งโอกาสจริงๆครับ ถ้าเราอยู่สุขสบายเราก็คงไม่ได้วิวัฒนาการกันจนเผาชั้นบรรยากาศได้สบายอย่างทุกวันนี้

ฝนเองยังเป็นแรงบันดาลใจให้ศิลปินดังระดับโลกมากมาย ไม่ว่าจะ Kurt Cobain ที่ได้แรงบันดาลใจในการแต่งเพลง Something in the way มาจากฝนที่ตกประจำในเมืองเค้า หรือนักประพันธ์อย่าง ดิกกินสัน ก็แต่งบทกวีที่ดีที่สุดของเธอในช่วงหน้าฝนได้มากกว่าฤดูอื่นเป็นไหนๆ

เรื่อง Frankenstein ที่โด่งดังก็ถูกแต่งขึ้นในตอนที่ Mary Shelly ติดอยู่ตอนที่เกิดฝนเยือกแข็งที่ตกเป็นเวลานานระหว่างเธอไปเที่ยวพักผ่อนกับสามีในฤดูร้อนปี 1816

ถ้าไม่มีฝนในวันนั้นก็คงไม่มีหลายผลงานสร้างสรรค์ระดับโลกในวันนี้

เพราะฝนทำให้คนเหล้านั้นต้องนั่งอยู่กับโต๊ะ และบรรจงสร้างสรรค์ผลงาน รวมถึงจิตนาการถึงเรื่องดีๆที่ฝนไม่มีให้

ฉะนั้นถ้าอยากเกิดไอเดียดีๆ ก็จงทิ้งความสบายและเข้าไปอยู่ในสถานการณ์ที่ยากลำบากกันนะครับ เพราะความสบายจะทำให้เราผ่อนคลายเกินไปจนไม่ตื่นตัวก็ว่าได้

เคยได้ยินเสื้อกันฝนยี่ห้อ Mackintosh มั้ยครับ ชื่อคล้ายคอมตั้งโต๊ะของ Apple แต่ไม่เกี่ยวอะไรกับ Steve Jobs นะครับ

เสื้อกันฝนยี่ห้อนี้แต่เดิมขายไม่ค่อยได้ ทั้งที่มีคุณสมบัติกันน้ำกันฝนได้ดีมากที่สุดในตอนแรก เพราะแพทย์ในตอนนั้นไม่แนะนำครับ

แพทย์ส่วนใหญ่ในตอนนั้นบอกว่าเสื้อยี่ห้อนี้กันน้ำได้ดีก็จริง แต่ทำให้กักเหงื่อ และส่งผลเสียต่อร่างกาย

ดูซิครับ เพราะความไม่รู้ของแพทย์แท้ๆ ในวันนี้เคยเห็นใครไม่ใส่เสื้อกันฝนด้วยเหตุผลแบบนี้อีกมั้ยล่ะครับ

และเสื้อกันฝนยี่ห้อ Mackintosh นี้เอง แต่เดิมผลิตขายให้กับพวกชนชั้นแรงงานทั่วไปเพื่อใส่กันเปียกกันเปื้อน แต่ในวันนี้มันกลายเป็นหนึ่งในไลน์ของแบรนด์สุดหรูอย่าง Mulberry ที่ขายแสนแพง แน่นอนว่าไม่มีใครกล้าซื้อออกไปใส่กันฝนแม้ว่ามันจะมีคุณสมบัติที่กันน้ำกันฝนได้ดีมากไม่น้อยไปกว่าตอนผลิตแรกเริ่มเลยก็ตาม

ส่วนก้านปัดน้ำฝนรถยนต์เองก็เพิ่งจะได้รับความนิยมจนกลายเป็นคุณสมบัติมาตรฐานเมื่อไม่นานมานี้

แต่เดิมคนขับต้องยื่นมือยื่นแขนออกไปที่ด้านหน้ากระจกรถพร้อมผ้า เพื่อเช็ดน้ำฝนที่เปียกกระจกอยู่ออกเองกันนะครับ

และผู้ที่คิดค้นที่ปัดน้ำฝนคนแรกก็ไม่ใช่ผู้ชาย แต่กลับเป็นผู้หญิงคนหนึ่งที่เห็นปัญหานี้ จนคิดค้นที่ปัดน้ำฝนด้วยแกนหมุนด้วยมือขึ้นมาเป็นคนแรก และก็จดสิทธิบัตรไว้ด้วย

สถาปนิกชื่อดังระดับโลกอย่าง Frank Lloyd Wright ที่สร้างน้ำกลางน้ำตกที่โด่งดังไปทั่วโลกอย่าง Fallingwater ตอนปี 1935

รู้มั้ยครับว่าจริงๆแล้วเจ้าของบ้านด่านักออกแบบชื่อดังระงม เพราะน้ำรั่วเต็มบ้าน แถมเชื้อราก็ยังลามไปทั่วบ้านจนน่าเกลียด

จะบอกว่าสวยแต่รูปจูบไม่หอมก็ได้ครับแบบนี้

กลิ่นฝนก็ทำให้ผงซักฟอกขายดี

ที่อเมริกาผงซักฟอกนั้นสะอาดไม่ต่างกัน ก็เลยต้องสู้กันด้วยกลิ่น ว่าใครจะทำกลิ่นให้คนรู้สึกว่าสะอาดได้มากกว่ากัน และกลิ่นที่คนชอบก็คือกลิ่นฝนใหม่ๆ เพราะคนเชื่อว่ากลิ่นฝนใหม่ๆคือกลิ่นที่ให้ความรู้สึกสดชื่น

ผิดกับที่อังกฤษคนชอบกลิ่นแดดอ่อนๆ แต่ทั้งหมดนี้ก็มีเหตุผล เพราะอังกฤษฝนตกเยอะแล้วคนเลยต้องการแดด ส่วนอเมริกาฝนไม่ค่อยตกมากนักโดยเฉพาะตอนกลางของประเทศก็เลยต้องการกลิ่นฝน

และจากผลสำรวจก็บอกว่า “กลิ่น” นี่แหละที่เป็นตัวกระตุ้นสำคัญให้คนกลับมาซื้อซ้ำถึง 80%

เมืองใหญ่ในโลกทุกวันนี้ก็มีปัญหากับฝน เพราะที่น้ำท่วมกันส่วนใหญ่เกิดจากการจัดการกับน้ำฝนได้ไม่ดี จากเดิมพื้นที่เมืองคือพื้นที่ลุ่มต่ำไม่ก็ทางผ่านน้ำเมื่อฝนตก

เมื่อเมืองสร้างขวางทางน้ำฝนก็เลยทำให้เกิดปัญหามากมายอย่างทุกวันนี้ แต่มีเมืองหนึ่งที่เริ่มปรับตัวให้เข้ากับฝน นั่นก็คือ Seattle ที่สามารถปรับตัวให้เข้ากับธรรมชาติของฝนได้ดี จนช่วยให้คนและธุรกิจใช้น้ำน้อยลง และก่อน้ำเสียน้ำลงด้วย

ปริมาณน้ำที่ใช้ก็ลดฮวบตั้งแต่กลางทศวรรษ 1970 ทั้งที่จำนวนประชากรพุ่งทะยาน

นี่เป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์หยาดฝน ใครจะคิดว่าฝน หยดน้ำเม็ดเล็กๆจะมีผลกระทบต่อหลายล้านชีวิตบนโลกอย่างไม่น่าเชื่อ

หลายอารยธรรมล้วนล่มสลายเพราะขาดฝน ส่วนฝนล้นเกินไม่ค่อยล่มสลาย

ส่วนสิ่งมีชีวิตมากมายก็ปรับตัวให้ดีขึ้นเพราะความขาดแคลน

หลายสิ่งใกล้ตัวที่เรามองข้าม กลับมาประวัติศาสตร์มากมายน่าทึ่งที่เราไม่รู้ ก็เหมือนกับฝนนี่แหละครับ

อ่านแล้วเล่า เล่มที่ 1 ของปี 2019

ประวัติศาสตร์หยาดฝน Rain: A Natural and Cultural History

Cynthia Barnett เขียน

พลอยแสง เอกญาติ แปล

สำนักพิมพ์ Openworlds

20181229

By Nattapon Muangtum

จากนักอ่านที่เริ่มอยากหัดเขียน จากการที่ต้องอ่านเพราะความจำเป็น กลายเป็นอ่านเพราะหลงไหล, สวัสดีครับผมชื่อหนุ่ย ผมทำงานด้าน Digital and Data Marketing ผมยังมีเพจการตลาดอีกเพจที่อยากฝากให้ลองอ่านดูนะครับ https://www.facebook.com/everydaymarketing.co/