China 5.0 สีจิ้นผิง เศรษฐกิจยุคใหม่ และแผนการใหญ่ AI

ตอนแรกที่หยิบมาอ่านผมสงสัยว่าทำไมต้อง China 5.0 ทั้งที่ Thailand เพิ่งจะประกาศ 4.0 เอง แล้วไอ้เจ้า 5.0 ที่ว่านี้คืออะไร . พออ่านจบก็เลยเข้าใจได้ว่า 5.0 ก็คงเปรียบได้ว่าเป็นยุค AI เพราะ 4.0 ที่นิยามกันส่วนใหญ่เป็นแค่ยุค Digital . บางคนอาจมีคำถามต่อไปว่า แล้ว Digital ไม่ใช่ AI หรือ . ต้องตอบว่าไม่ใช่ครับ เพราะ…

เสรีภาพในการพูด Free Speech

เป็นส่วนหนึ่งของสิทธิมนุษยชน #HumanRights ที่ว่าด้วยมนุษย์เราล้วนเท่าเทียมกันและมีเสรีภาพที่จะทำอะไรก็ได้ตราบที่ไม่ไปรบกวนเสรีภาพของผู้อื่น และการพูดก็เป็นอีกหนึ่งประเด็นสำคัญที่เป็นนามธรรมว่าเส้นแบ่ง หรือขอบเขตของเสรีภาพในการพูดที่เหมาะสมนั้นควรอยู่ที่ไหน . ทำไมเสรีภาพในการพูดถึงสำคัญ? . เพราะในโลกประชาธิปไตย การเปิดโอกาสให้ผู้คนต่างแสดงความคิดเห็นได้อย่างไม่ปิดกั้นนั้นทำให้เกิดโอกาสในการพัฒนาความคิดนั้นให้ดียิ่งขึ้น หรือไม่ก็เป็นการลบล้างความคิดที่ไม่ดีหรือแข็งแรงพอให้ล้มหายตายจากไป . เสรีภาพในการพูดทำให้เกิดการโต้แย้ง ถกเถียง ลับคม พัฒนา ทำให้ความคิดของผู้พูดนั้นต้องวิวัฒนาการเพื่อให้สามารถพิสูจน์ได้ว่าความคิดนั้นดีพอที่จะอยู่รอดได้ . ผู้ที่ยึดถือเสรีภาพในการพูดที่ยิ่งใหญ่และเป็นตำนานของโลกมากที่สุดคงหนีไม่พ้น #โสกราตีส . โสกราตีสผู้หญิงทั้งครูและวีรบุรุษของปราชญ์อย่างเพลโตที่เราคุ้นเคยกันดีนั้นยอมปกป้องเสรีภาพในการพูดด้วยชีวิตของตัวเอง . ด้วยความที่เป็นคนช่างพูด และช่างถาม จนทำให้บรรดาเหล่าผู้ปกครองในนครกรีกเวลานั้นต่างหวาดกลัวความคิดของโสกราตีสและเป็นห่วงคนรุ่นใหม่ในนครรัฐตอนนั้นยิ่งนัก . จนบรรดาเหล่าผู้ปกครองมีมติร่วมกันว่าให้ปิดปากโสกราตีสซะ . อ่านถึงตรงนี้อาจคิดว่า…

โลกาภิวัตน์ Globalization; A very short introduction

หนังสือเล่มนี้เริ่มต้นที่คำถามว่า “โลกาภิวัตน์” คืออะไร? การเจริญขึ้นของสังคม? การพัฒนาขึ้นของเทคโนโลยี? หรืออะไรคือโลกาภิวัตน์.. ..โลกาภิวัตน์หมายถึงกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในระดับโลกได้หรือไม่ น่าจะได้ งั้นคำถามต่อไปคือแล้วโลกาภิวัตน์เกิดขึ้นตั้งแต่เมื่อไหร่? ในยุคอินเตอร์เนตใช่หรือไม่? หรือช่วงเวลาไหนที่เกิดนิยามความเป็น “โลกาภิวัตน์” ขึ้น? ..ถ้าเราค่อยๆย้อนกลับไปเสมือนเลื่อนลงไล่ดู Facebook Timeline ก็จะเห็น Social Media ที่เชื่อมคนทั้งโลกให้เข้าไกล้กันได้มากขึ้น ถอยกลับไปอีกหน่อยก็จะพบว่าเป็นยุคของ Smartphone และ Internet ไร้สายที่ทำให้การเชื่อมต่อไม่ต้องติดอยู่กลับที่ เลื่อนหน้าฟีดของโลกาภิวัตน์ลงไปอีกก็อาจจะพบเจอกับยุค www หรือยุคเริ่มต้นอินเตอร์เนตนั่นเอง หรือย้อนกลับไปอีกอาจเป็นยุคของ PC…

Human Rights สิทธิมนุษยชน

หลังจากที่ดองหนังสือซีรีส์ A Very Short introduction มานาน ก็ถึงคราวไล่อ่านเรียงตามเรื่องซักที จากปรัชญาการเมืองที่มีเกริ่นเรื่องสิทธิมนุษยชน ก็เลยถึงเวลาหยิบหนังสือสิทธิมนุษยชนความรู้ฉบับพกพาเล่มนี้มาอ่านซักที ถ้าให้สรุปสั้นๆหลังอ่านจบว่าสิทธิมนุษยชนคืออะไร ก็คงบอกได้ว่าคือแนวคิดที่ไม่แบ่งชายแยกหญิง ไม่แบ่งขาวแยกดำ ไม่แบ่งเชื้อชาติแยกคนกลุ่มน้อย ไม่แบ่งศาสนาแยกความเชื่อ ไม่แบ่งรวยแยกจน คือหลักแนวคิดที่ว่าทุกคนที่เกิดมาเป็นมนุษย์ล้วนมีสิทธิเยี่ยงมนุษย์หนึ่งคนเท่ากันถ้วนหน้า สิทธิมนุษยชนเลยเป็นเรื่องที่ไม่มีวันจบ ไม่มีกฏิกาเส้นกำหนดแน่นอน ไม่มีขาวดำชัดเจน หลายประเด็นล้วนเป็นสีเทาๆ และสิทธิมนุษยชนจะไม่มีวันลดลง กลับมีแต่เพิ่มประเด็นมากขึ้นทุกวัน ยิ่งถกเถียงกันก็ยิ่งเจอประเด็นใหม่ๆของสิทธิมนุษยชน สิทธิมนุษยชนมีให้ทุกคนแม้แต่ผู้ก่อการร้าย แม้ถูกจับได้ก็ยังได้รับการคุ้มครองตามหลักสิทธิมนุษยชนจนกลายเป็นประเด็นข้อถกเถียงที่ว่า Human Rights for Act หรือจะเป็น…

Political Philosophy ปรัญชาการเมือง

ถ้าถามว่า ปรัชญการเมือง ต่างกับ การเมือง ปกติอย่างไร ผมคงสรุปหลังจากอ่านจบได้ว่า การเมืองโดยทั่วไปคือผลลัพธ์หรือวิธีการ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางการเมืองนั้น . เช่น นักการเมืองอาจมีเป้าหมายที่จะทำให้เศรษฐกิจดีขึ้น ด้วยการทำให้เกิดการจ้างงานเต็มอัตรา เอาง่ายๆก็คือทุกผู้ทุกคนมีงานทำนั่นเอง แต่ไม่ใช่แค่ทุกคนมีงานทำเท่านั้น เพราะนั่นอาจหมายถึงว่ามีอาชีพที่คนไม่ได้อยากทำ หรือไม่ตรงกับความรู้ความสามารถที่มี ทำให้ไม่สามารถทำงานออกมาได้เต็มที่ เช่น ถ้านักการเมืองสร้างงานในตำแหน่งเสมียน หรือพนักงานกวาดถนน (ที่เอ่ยถึงสองอาชีพนี้ไม่ได้ดูถูก แค่ยกเป็นตัวอย่างง่ายๆให้เห็นภาพเร็วๆ) ก็ไม่อาจบรรลุวัตถุประสงค์ที่แท้จริงได้ . นี่คือ การเมือง . ส่วนปรัชาการเมืองหมายถึงการคิด คิดไปยังความจริงแท้ของเป้าหมายทางการเมืองนั้น เช่น…

1984 George Orwell

เป็นวรรณกรรมน้อยเล่มที่ผมอ่าน ส่วนตัวผมไม่ค่อยได้อ่านวรรณกรรมเพราะคิดว่าตัวเองคงไม่ค่อยอินเท่าไหร่ แต่กับ 1984 เล่มนี้ที่เคยได้ยินคนพูดถึง และประจวบกับช่วงนี้ไล่อ่านหนังสือแนวการเมืองการปกครองหลายเล่ม จนทำให้ถึงคราวที่ต้องหยิบ 1984 ขึ้นมาลองอ่านดูบ้าง . 1984 ถ้าให้สรุปสั้นๆก็คงบอกได้ว่าเป็นหนังสือแนวการเมืองการปกครองในจินตนาการของผู้เขียนที่เกิดขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง จนถึงช่วงสงครามเย็น ที่ระบบการปกครองแบ่งออกเป็นสองฝ่ายที่แข็งขันกัน ระหว่างสังคมนิยมกับเสรีนิยม . ในหนังสือว่าด้วยผู้นำสูงสุดหรือที่เรียกว่า Big Brother หรือ “พี่เบิ้ม” ในชื่อไทย ที่คอยจับตาดูประชาชนทุกผู้คน โดยเฉพาะสมาชิกในพรรคชั้นนอกไม่ให้หลุดจากแนวคิดของพรรคหรือผู้นำ ผ่านโทรภาพที่เหมือนทีวีรุ่นพิเศษที่สามารถเฝ้ามองและฟังเสียงเรากลับได้ด้วย . ถ้าเปรียบโทรภาพใน 1984 ผมว่าก็เหมือนกับ “อินเทอร์เน็ต”…

ปฏิวัติ 2.0 Revolution 2.0; The Power of the People Is Greater Than the People in Power

บทบันทึกเรื่องราวของคลื่นปฏิวัติเพื่อประชาธิปไตยในโลกอาหรับ (Arab Spring) ผ่านประสบการณ์ตรงของผู้จุดประกายการปฏิวัติผ่านโลกไซเบอร์ด้วยพลังของเฟซบุ๊ค เขียนโดย Wael Ghonim Wael Ghonim ชายชาวอียิปต์วัยกลางคนทำงานที่บริษัท Google ในตำแหน่งผู้อำนวยการด้านการตลาดของประเทศแถบภูมิภาคนั้น เป็นชายผู้ริเริ่มกระแสการเรียกร้องความยุติธรรมให้กับชายอียิปต์ผู้หนึ่งที่ตัวเองไม่เคยรู้จักมาก่อนที่ชื่อ คาเลด ซาอิดชายหนุ่มที่ถูกตำรวจความมั่นคงซ้อมจนตายและยัดข้อหาค้ายาให้ทั้งที่เป็นผู้บริสุทธิ์.. ..จากจุดเริ่มต้นนี้ทำให้ Wael Ghonim หลังจากได้เห็นภาพและเรื่องราวที่น่าสยองสมเพชกับสิ่งที่เกิดขึ้นกับเพื่อนร่วมชาตินี้กระตุ้นให้เค้าเริ่มสร้างเพจที่มีชื่อว่า “เราล้วนคือ คาเลด ซาอิด” ขึ้นมาเพื่อหาแนวร่วมเรียกร้องความยุติธรรมและความจริงที่ถูกตำรวจภายใต้รัฐบาลประชาธิปไตยเผด็จการของ มูบารัค ที่คอยใช้สื่อปกปิดหลอกลวงความจริงกับประชาชนตลอดกว่า 30 ปีที่เค้าปกครองประเทศมา.. ..การเรียกร้องความยุติธรรมเริ่มจากสร้างเพจเฟซบุ๊คเพื่อหาแนวร่วม ไปจนถึงการออกมาแสดงพลังเงียบในโลกจริงด้วยการร่วมกันใส่ชุดดำยืนนิ่งเงียบร่วมกันจนกลายเป็นกระแสที่ทั่วโลกต่างให้ความสนใจในช่วงปี 2010..…

Privacy: A Very Short Introduction ความเป็นส่วนตัว ความรู้ฉบับพกพา

ความเป็นส่วนตัวที่เป็นคดีความครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อร้อยกว่าปีก่อนในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 เป็นคดีความฟ้องร้องระหว่างเจ้าชายอัลเบิร์ทและควีนวิคตอเรีย กับชายชาวธรรมดาสามัญชน ที่นำภาพพิมพ์ส่วนตัวของทั้งสองพระองค์ไปเผยแพร่สู่สาธารณะ ทั้งสองจึงฟ้องศาลเป็นคดีความแรกของโลกที่พูดถึงเรื่อง “ความเป็นส่วนตัว” นับเป็นจุดเริ่มต้นจากนั้นเป็นต้นมา ในสหรัฐอเมริกานั้นมาตรฐานความเป็นส่วนตัวถือว่าต่ำกว่ายุโรบมากจนเทียบกันไม่ได้ การเก็บข้อมูลส่วนตัวและส่วนบุคคลของบริษัทเอกชนหรือรัฐนั้นแทบจะเป็นอิสระสะดวกสบายโดยไม่ต้องรับผิดชอบความเสียหายของบุคคลที่จะตามมาเลย ความเป็นส่วตัวเริ่มเสียหายอย่างเป็นจริงจังก็ตอนที่โกดักเองทำกล้องกระดาษที่ใครๆก็สามารถหาซื้อมาถ่ายกันได้ง่ายๆ นั่นเองที่ทำให้กำแพงความเป็นส่วนตัวหายไป ความเป็นส่วนตัวและความเป็นเสรีในการแสดงความคิดเห็นนั้นมีแง่มุมที่ขัดแย้งกันมานาน การพูดการแสดงออกคือเสรีภาพ แต่ถ้าเสรีภาพของการแสดงออกเป็นการไปกระทบความเป็นส่วนตัวของผู้อื่นจะยังนับเป็นการแสดงออกอย่างเสรีที่ไม่ควรถูกขัดขวางงั้นหรอ ครั้งนึงคนดังอย่าง เซลีนา วิลเลียม เคยถูกช่างภาพนักข่าวแอบถ่ายภาพเธอขนะกลับจากกลุ่มบำบัดยาเสพย์ติด เธอฟ้องช่างภาพและหนังสือพิมพ์นั้นในการละเมิดความเป็นส่วนตัวของเธอ และเธอปฏิเสธว่าเธอไม่ได้เข้าร่วมกลุ่มบำบัดยาเสพย์ติด ผลปรากฏว่าศาลตัดสินให้ยกฟ้องไม่เอาผิดสื่อ เพราะเธอโกหกความจริงที่ปรากฏสื่อในฐานะผู้ตีแผ่ความจริงให้สังคมรับรู้ นี่เป็นแค่เสี้ยวเดียวของความเป็นส่วนตัวที่พิกลพิการในทางกฏหมายในสังคมที่พัฒนาแล้วอย่างอังกฤษ ไม่ต้องพูดถึงบ้านเรา ข้อมูลของเราก็คือความเป็นส่วนตัวที่สำคัญมากอย่างนึง ทุกอย่างที่ถูกบันทึกไว้เป็นการสูญเสียความเป็นส่วนตัวเราไปเรื่อยๆทั้งนั้น เฟซบุ๊คที่โพส ภาพที่อัพ ที่ๆเช็คอิน…

ภูมิรัฐศาสตร์ Geopolitics: A Very Short Introduction

เป็นหนึ่งในหนังสืออีกเล่มที่ได้มาจากงานหนังสือเมื่อนานพอสมควร (จำไม่ได้ว่าหนึ่งหรือสองปีแล้ว) หลังจากช่วงนี้ได้หยิบหนังสือแนวการเมืองการปกครอง และหนังสือในชุด “ความรู้ฉบับพกพา” ของสำนักพิมพ์ Openworlds มาอ่านหลายเล่ม ก็เลยเกิดการอยากอ่านต่อเนื่องไปเรื่อยๆเพื่อเพิ่มความรู้เรื่องการเมืองการปกครองไว้ประดับสมองกับเค้าบ้าง ภูมิรัฐศาสตร์ หมายถึงอะไร สารภาพตรงๆอ่านจนจบแล้วผมก็ยังไม่มีคำสรุปนิยามที่สั้นตรงใจจนสามารถเขียนออกมาได้ แต่ในความรู้สึกผมหลังอ่านจบผมรู้สึกว่าคำนี้เหมือนกับการนิยามให้กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ตั้งแต่แผนที่ กลุ่มชาติพันธุ์ ภาพยนต์ หรือแม้แต่ของเล่น กลายเป็นตัวแทนทางการเมืองได้ หรือแม้แต่สามารถปลูกฝังแนวคิดผ่านสิ่งเหล่านี้ได้อย่างน่าทึ่งปนน่ากลัว ถ้าถูกนำไปชักจูงใช้ในทางที่ผิด อารมณ์คล้ายๆ Propaganda อย่างไงอย่างงั้น เช่น หลังจากเหตุการณ์การก่อการร้ายที่ตึกแฝดในนิวยอร์ก ชาวตะวันออกกลาง หรืออิสลาม ก็กลายเป็นภาพแทนของกลุ่มผู้ที่น่ากลัวของสังคม หรือเป็นเป้าหมายให้คนผิวขาวทั่วไปต้องเฝ้าจับตามอง หรือการฉายภาพว่าประเทศแถบตะวันออกกลางเหล่านั้นคือแหล่งซ่องซุมของกองกำลังก่อการร้ายก็ว่าได้…

Democracy: A very short introduction ประชาธิปไตย ความรู้ฉบับพกพา

ประชาธิปไตย…คำที่คุ้นเคยแต่ใครเอยจะรู้ว่า แท้จริงแล้วประชาธิปไตยที่เข้าใจกันมานั้นมีที่มาอย่างไร Democracy แรกเริ่มเดิมทีจากรากคำภาษากรีกโบราณ มาจากสองคำผสมกันระหว่างคำว่า Demos ที่หมายถึงประชาชน กับ Krator ที่หมายถึงการปกครอง เมื่อรวมกันแล้วก็หมายความว่า “การปกครองโดยประชาชน” ในยุคกรีกโบราณที่ประชาธิปไตยถือกำเนิดขึ้นนั้น อริสโตเติล ปราชญ์นักคิดชื่อดังผู้สนับสนุนประชาธิปไตยคนแรกๆกลับไม่ได้สนับสนุนประชาธิปไตยที่มี “การเลือกตั้ง” ในแบบที่เป็นอยู่ ในสมัยนั้นอริสโตเติลสนับสนุนให้ใช้การ “จับฉลาก” เลือกผู้ที่จะเข้ามาทำงานหรือตัดสินใจ เพราะอริสโตเติลรู้ว่าคนเรานั้นโลภและเขลาเกินกว่าที่คิด ทำให้ไม่มั่นใจว่าถ้าต้องโหวตกันก็จะมวลหมู่มากก็จะพ่ายแพ้ต่อปัญญา เหมือนที่มีคนกล่าวว่า “ความเขลาจะมีชัยเหนือปัญญา และปริมาณจะสำคัญกว่าความรู้” ว่าไปก็คือแนวคิดว่า “ประชานิยม” ในทุกวันนี้ ที่ผู้เขียนเชื่อว่าจะเป็นตัวการพาประชาธิปไตยไปสู่ความเสียหาย เพราะประชานิยมคือการที่พรรคต่างๆแข่งขันกันเอาใจประชาชนหมู่มาก…