เศรษฐศาสตร์มีจริต

ดร. วิรไท สันติประภพ, นักเศรษฐศาสตร์พเนจร เป็นหนังสือที่เล่าเรื่องเศรษฐศาสตร์อีกเล่มที่อ่านเข้าใจได้ไม่ยาก และก็ทำให้เข้าใจภาพความจริงของเศรษฐกิจบ้านเมืองเราในช่วงก่อนยุค คสช ได้มากพอควร และพออ่านจบก็เลยเพิ่งรู้ว่าผมมีหนังสือของนักเขียนคนนี้อยู่อีกเล่มแต่ยังไม่ได้อ่าน คือ “ประชานิยม: ทางสู่ความหายนะ” เป็นเล่มที่ได้จากงานหนังสือเมื่อต้นปี 2560 แต่เล่มนี้เพิ่งได้มาจากงานหนังสือเมื่อปลายปีเดียวกันแต่ดันอ่านจบก่อนซะงั้น เนื้อหาหลักๆของเล่มผมว่าแบ่งเป็นสองส่วน คือ “ประชานิยม” กับ “ทุนนิยม” (ความจริงในเล่มมีเนื้อหาหลายหัวข้อ อันนี้ผมขอสรุปจากความรู้สึกส่วนตัวของผมนะครับ) “ประชานิยม” กลายเป็นสิ่งที่คนไทยถูกพรรคการเมืองและรัฐบาลตั้งแต่ยุคทักษิณมอบให้ เสมือนขนมเค้กที่ปราศจากคำเตือนถึงอันตรายของโรคต่างๆที่จะตามมา เพราะทุกครั้งที่ไม่ว่าจะรัฐบาลหรือพรรคการเมืองใดๆก็ตามต้องการคะแนนนิยมจากประชาชน ก็จะหยิบเอานโยบายประชานิยมต่างๆขึ้นมาหาเสียง ไม่ว่าจะรถไฟฟ้า 20บาททุกสายทุกเส้น(จนวันนี้บินหนีไปไหนแล้วก็ไม่รู้) ไปจนถึงจำนำข้าวทุกเมล็ด…

Politics การเมือง ความรู้ฉบับพกพา

เรื่องประวัติความเป็นมาการเมืองมนุษย์เริ่มต้นยุคการเมืองอย่างมีหลักมีฐาน ตั้งแต่สมัยกรีกโบราณ ที่ส่งต่อให้โรมัน จนศาสนาคริสเข้ามาเบียดโรมันให้เสื่อมไปจนยิ่งใหญ่กลายเป็นคริสตจักร สืบต่อจนมาเป็นรากฐานให้การเมืองปัจจุบันทุกวันนี้ การเมืองก็มีวัฏจักรของมัน เริ่มต้นจากกษัตริย์เสื่อมเป็นทรราชย์ แล้วยึดอำนาจโดยคณาธิปไตย แล้วก็ถูกประชาชนคนส่วนมากล้มล้างกลายเป็นประชาธิปไตย สุดท้ายประชาธิปไตยตกหลุมวนในอ่างจนเข้าสู่ยุคของกษัตริย์ นี่คือวัฏจักรธรรมชาติของการเมืองที่ถูกสังเกตุโดยนักปราชญ์ชาวกรีก เป็นหนังสือที่ได้มุมมองความรู้ไกล้ตัวที่น่าสนใจหลากเรื่อง ยิ่งอ่านประวัติศาสตร์ยิ่งทำให้เรารู้ว่า ทุกปัจจุบันของเรานั้นล้วนแต่ส่งต่อมาจากอดีตทั้งนั้น อย่างที่เค้าว่ากันว่าอดีตเป็นรากฐานของปัจจุบัน และส่งต่อไปถึงอนาคต อ่านเมื่อปี 2016

Sociology สังคมวิทยาฉบับพกพา

สารภาพตามตรงว่าเข้าใจได้ไม่ถึงครึ่งเล่มแต่ก็ได้แง่คิดมุมมองที่น่าสนใจไม่น้อย เช่น ศาสนาคริสนิกายโปเตสแตนท์เกิดมาในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม เพื่อก้ามข้ามผ่านนิกายคาทอลิค ที่ให้คนยึดถือความพอเพียงมากกว่าการสะสมทรัพย์สิน แต่ให้เอาทรัพย์สินมาบริจาคให้คริสตจักรแทน แต่คนเริ่มรวยขึ้นก็อยากเก็บเอาทรัพย์สินไว้กับตัวเอง หรือสรุปได้ว่าเดิมที “รวยคือบาป” ครับ หรือแม้แต่ปัจจุบันรัฐชาติ หรือศาสนาไม่อาจปกครอง หรือมีอำนาจต่อผู้คนได้เท่าสมัยก่อน ในปัจจุบันที่คนเรามีเสรีภาพในการเลือกสิ่งต่างๆในชีวิตมากขึ้น ก็เป็นผลมาจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมที่ทำให้เกิดส่วนเกินที่มากขึ้น ความขาดแคลนในวันนี้ไม่ใช่ความขาดแคลนในสิ่งพื้นฐานของชีวิตอีกต่อไป แต่เป็นความขาดแคลนในสิ่งที่จะเติมเต็มความต้องการหรือจิตวิญญาณของเรามากขึ้น สังคมวิทยามีความคล้ายจิตวิทยาพอสมควรในความคิดผม คิดว่าคงต้องกลับมาอ่านซ้ำอีกรอบเมื่อหนังสือเล่มที่ค้างไว้หมด (ค้างอ่านอยู่ 70 เล่มตอนนั้น 2016) คงได้ความรู้ความเข้าใจใหม่ๆที่จะเอากลับมาเล่าต่อแน่ๆ อ่านเมื่อปี 2016

The Prince by Niccolo Machiavelli

มนุษย์เราต้องทำตัวเป็นสุนัขจิ้งจอกเพื่อจดจำกับดักได้ และต้องเป็นสิงโตเพื่อทำให้หมาป่าตกใจ..นี่คือประโยคนำจากหน้าปกโดยผู้เขียน.. ..หนังสือเล่มนี้แต่งขึ้นเมื่อกว่า 500 ปีก่อน เขียนขึ้นเพื่อให้เจ้าชายคนหนึ่งที่กำลังจะได้ขึ้นเป็นเจ้าผู้ปกครองนครในเวลานั้น เป็นเสมือนคู่มือการปกครองและบริหารทรัพยากรต่างๆที่มี ไม่ว่าจะกองทัพ ดินแดน พันธมิตร และประชาชนในเวลานั้น.. ..เพราะมีธรรมเนียมตั้งแต่สมัยนั้นว่าเมื่อไหร่ที่เจ้าชายองค์ใหม่กำลังจะขึ้นเป็นผู้ปกครองนคร บรรดาขุนนางผู้ใหญ่ ต้องนำสิ่งของมีค่าหรือหายากมาถวายหรือมอบให้ว่าที่เจ้าชายองค์ใหม่ แต่กับผู้เขียนที่เป็นเหมือนอัจฉริยะด้านการปกครองอย่าง มาเกียวิลลี นั้นไม่มีสิ่งของมีค่าอะไรมอบให้เจ้าชายนอกจากหนังสือคู่มือการปกครองเล่มนี้ หนังสือที่กลั่นกรองประสบการณ์ของตัวเองมานานจากการสังเกตุทุกแง่มุมของผู้คน ในความคิด ความอ่าน การกระทำ หรือจะเรียกว่าเป็นนักจิตวิทยามวลชนคนแรกๆของโลกก็ว่าได้.. ..มาเกียเวลลีผู้เขียนถูกยกย่องให้เป็นบิดาแห่งรัฐศาสตร์ยุคใหม่ จากผลงานของเค้าในยุคเรเนซองส์ ที่ยังทรงคุณค่าถึงทุกวันนี้.. ..ว่าไปยังมี The Prince อีกเล่มที่หนาๆ ไม่รู้เหมือนกันว่าจะต่างกับเล่มนี้มากน้อยแค่ไหน…

Neoliberalism เสรีนิยมใหม่

เริ่มด้วยคำถามที่ว่า Neoliberalism หรือ เสรีนิยมใหม่ คืออะไร ? ..เสรีนิยมใหม่ คือหลักการอุดมคติที่เชื่อว่า “ตลาดกำกับดูแลตัวเอง” เป็นเครื่องจักรที่ให้ปัจเจกชนแสวงหาความมั่นคั่งอย่างมีเหตุผล หรือจะเรียกได้ว่าต้นกำเนิดของมันน่าจะมาจาก “นักเสรีนิยมคลาสสิก” อย่าง Adam Smith และ David Ricardo ที่ต่อต้านลัทธิพาณิชยนิยม (Mercantisim) ของเหล่ากษัตริย์ในยุโรบในช่วงยุคมืดและช่วงยุคล่าอาณานิคมก็ว่าได้.. ..จากการควบคุมหรือรวมศูนย์กลางความมั่นคั่งไว้ที่เหล่ากษัตริย์หรือขุนนางไม่กี่คนทำให้เกิดแนวคิดขั้วตรงข้ามอย่าง “เสรีนิยมคลาสสิก” นี้ขึ้นมา จนพัฒนากลายมาเป็น “เสรีนิยมใหม่” ก็ว่าได้ แล้วอย่างนั้นเสรีนิยมใหม่เริ่มต้นที่ตรงไหน.. ..ตามหนังสือบอกว่าเริ่มต้นที่ยุคสมัยของ โรนัลด์…

Animal Farm แอนิมอลฟาร์ม สงครามกบฏของสรรพสัตว์

เป็นวรรณกรรมเล่มที่สองที่เคยอ่าน เล่มแรกคือ Utopia (ไม่ใช่สถานที่อาบน้ำหลังศูนย์วัฒนธรรมนะครับ) และมาถึงเล่มนี้คือ Animal Farm ว่าด้วยเรื่องของการลุกขึ้นปฏิวัติของเหล่าสัตว์ในฟาร์มจากมนุษย์ จากเหล่าสัตว์ที่เคยถูกกดขี่ข่มเหงจากมนุษย์เดินสองขากลายมาเป็นเหล่าสัตว์ลุกขึ้นฮือไล่มนุษย์เจ้าของฟาร์มออกไปเพื่อปกครองดูแลกันเอง แต่พอเมื่อเวลาผ่านไปก็จะพบว่าความโลภและอำนาจนั้นทำให้สัตว์นั้นค่อยๆกลายเป็นมนุษย์ที่เจ้าเล่ห์ขึ้นเรื่อยๆ กดขี่สัตว์ด้วยกันเองขึ้นเรื่อยๆ บิดเบือนหลอกลวงกันขึ้นเรื่อยๆ จนในที่สุดบรรดาสัตว์อย่างหมูที่เป็นกลุ่มผู้นำในฟาร์มแห่งสรรพสัตว์นั้นทำตัวเยี่ยงมนุษย์เองที่เค้าเคยโกรธเกลียด และสาบแช่งต่างๆนาๆ จากบัญญัติ 7 ประการตอนตั้งต้นว่าสุดท้ายแล้วสัตว์อย่างพวกเค้าจะไม่ทำตัวเยี่ยงมนุษย์นั้นกลับเจ้าเล่ห์ยิ่งกว่ามนุษย์ยิ่งนัก ผู้เขียนๆเรื่องนี้ในยุคที่รัสเซียปฏิวัติการปกครองจากพวกราชวงศ์ในช่วงต้นศตวรรษที่ 19 จนถูกห้ามตีพิมพ์ในอังกฤษ์เป็นเวลาหลายปีเพราะในช่วงนั้นอังกฤษเป็นพันธมิตรกับรัสเซียในช่วงสงครามโลก แม้จะคนละประเทศแต่อิทธิพลก็ยังแผ่ขยายมาถึงอังกฤษอดีตมหาอำนาจของโลกได้เต็มที่ในช่วงนั้น สุดท้ายแล้วอ่านจบพบว่านี่คือนวนิยายตลกร้ายของสังคมโลกในหลายๆประเทศทั่วโลก ไม่เหมือนมากหน้าก็น้อยบท เพราะกลุ่มผู้นำก็อยากจะคงอำนาจตัวเองไว้ และกลุ่มผู้คนประชาชนก็ได้แต่คว้าฝันให้อิ่มท้องไปเรื่อยๆ George Orwell เขียน คนเดียวกับผู้เขียน 1984

The Worlds is Round ล่องคลื่นโลกาภิวัฒน์ 1

หนังสือเล่มนี้เขียนโดยคุณสฤณี อาชวานันทกุล นักเขียนและนักแปลใจดวงใจ เพราะห้องหนังสือบ้านผมมีหนังสือของเค้าคนนี้เยอะมากครับ คุณสฤณีชอบเขียนหรือแปลหนังสือแนวระบบเศรษฐกิจแบบรักษ์โลก หรือจะเรียกว่าทุนนิยมสีเขียวก็ว่าได้ ซึ่งเป็นหนังสืออีกสไตล์ที่ผมชอบมากโดยไม่รู้ตัว จนผมบังเอิญได้หนังสือเล่มนี้จากร้านหนังสือสำนักพิมพ์สมมติ ที่เป็น pop-up store เล็กๆตั้งอยู่เส้นกัลปพฤกษ์ บอกได้เลยว่าเป็นร้านที่ถ้าไม่ตั้งใจมาก็ยากที่จะเจอได้ หนังสือเล่มนี้เขียนขึ้นเมื่อสิบกว่าปีมาแล้ว แต่ก็ยังคงมีเนื้อหาแง่มุมที่น่าสนใจ เพราะเป็นเรื่องใกล้ตัวแต่กลับไม่เคยได้รู้จักมาซักเท่าไหร่เลย เช่น การประกันพืชผลบนดัชนีอากาศ ต้องบอกว่าได้ยินเรื่องนี้ก็จากหนังสือทุนนิยมที่มีหัวใจ ของคุณสฤณี ที่ได้ไปบรรยายให้มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนเมื่อสิบกว่าปีก่อนเหมือนกัน เป็นแนวคิดการทำประกัยภัยของชาวสวนไร่นาที่ฟังดูโลกาภิวัฒน์มาก จากเดิมการทำประกันพืชผลนั้นทำกันบนเรื่องของราคาขาย ว่าถ้าราคาในปีไหนตกต่ำกว่าที่ทำประกันไว้ ก็จะได้รับเงินชดเชย หลายครั้งเราเห็นบรรดาชาวสวนไร่นาเดินทางเข้าเมืองกรุงเพื่อมาเรียกร้องกระทรวงหรือนายกให้ช่วยรับประกันราคาพืชผลที่เพาะปลูกไว้ให้หน่อย พอได้ตามข้อเรียกร้องก็ยกกันกลับไป นี่คือเรื่องที่ผมได้ยินมาตั้งแต่สมัยเด็กก็ว่าได้ครับ คุณสฤณีให้มุมมองที่น่าสนใจว่า การรับประกันเรื่องราคาพืชผลนั้นอาจทำให้เกษตรกรไม่ยอมเปลี่ยนไปปลูกอย่างอื่นที่น่าจะดีกว่ากับสภาพผืนดินและอากาศในถิ่นของตัวเอง…

ก้าวแรกที่เท่าเทียม, GIVING KIDS A FAIR CHANGE

การศึกษาเพื่อสร้างโอกาสที่เสมอภาคแก่เด็กทุกคน เขียนโดย James Heckman นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบล เมื่อพูดถึงโลกแห่งความเท่าเทียม ผมว่าที่ไกล้เคียงที่สุดคงเป็นวรณกรรมเรื่อง Utopia จะว่าเป็นวรรณกรรมได้มั้ยในเมื่อผู้เขียนนั้นเขียนบันทึกจากการบอกเล่าของชายคนหนึ่งที่อ้างว่าได้ไปพบกับดินแดนดังกล่าวเมื่อกว่า 500 ปีก่อน โดย Sir Thomas More ดินแดนที่ว่าด้วยความเท่าเทียมอย่างที่สุด ทุกคนมีกินมีใช้เท่ากัน ไม่มีใครพิเศษไปกว่าใคร สิ่งเดียวที่ดินแดนแห่งนี้แตกต่างกันคือความสนใจใคร่หาความรู้ แต่ก็นั่นแหละครับ Utopia ถ้าว่าไปแล้วก็สังคมนิยมดีๆนี่เอง ทุกคนทำงานเหมือนกัน ได้รับผลตอบแทนเท่ากัน ไม่มีการสะสมทุน ไม่มีความทะเยอะทะยาน ไม่มีชนชั้นวรรณะ แต่ก็ไม่นะ ใน Utopia…

เศรษฐกิจจีน Demystifying The Chinese Economy ปริศนา ความท้าทาย อนาคต

จีน ประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจเป็นเบอร์สองของโลกรองจากแค่สหรัฐ หนึ่งในประเทศที่ช่วงวิกฤตต้มยำกุ้งบ้านเราฟื้นตัวเร็วได้เพราะความแข็งแกร่งของค่าเงินหยวน หนึ่งในประเทศที่ปกครองแบบสังคมนิยมแต่กลับมีเศรษฐกิจแบบตลาดเสรีที่เปิดกว้างกว่าคอมมิวนิสต์ไหนๆในโลก หนึ่งในประเทศที่เศรษฐกิจโตแบบปาฏิหาริย์แบบเลขสองหลักโดยเฉลี่ยกว่า 30 ปีมาแล้ว หนึ่งในประเทศที่รายได้คนเมืองกับชาวชนบทยังต่างกันลิบลับ ค่าสัมประสิทธิ์จีนีพุ่งทะยานสูงเป็นลำดับต้นๆของโลก หนึ่งในประเทศที่ส่งออกสินค้าสุดล้ำไปให้คนทั้งโลก และยังเป็นหนึ่งในประเทศที่มีการบริโภคสูงติดลำดับต้นๆของโลกแล้วในวันนี้ หนังสือเล่มนี้เขียนโดย Justin Yifu Lin นักเศรษฐศาสตร์ชื่อดังที่มีชื่อเสียงที่สุดในประเทศจีน เคยเป็นรองกรรมการอาวุโสและนักเศรษฐศาสตร์ประจำธนาคารโลก มาบอกเล่าให้ฟังถึงประวัติศาสตร์ของเศรษฐกิจจีนตั้งแต่ยุคยิ่งใหญ่เมื่อหลายร้อยปีก่อน จนถึงยุคตกต่ำสุดขีดของจีนตั้งแต่ยุโรปปฏิวัติอุตสาหกรรมสำเร็จ จนถึงวันที่จีนกลับมายิ่งใหญ่อีกครั้ง แต่อย่าเพิ่งตกใจกลัวไปนะครับ เห็นหน้าปกดูจริงจัง ชื่อดูขึงขัง แต่เนื้อหาในเล่มกลับอ่านง่ายกว่าที่คิด สารภาพตอนแรกผมยังแอบกลับว่าจะอ่านไม่ค่อยเข้าใจเหมือนกัน แต่พออ่านไปกลับอ่านสนุก เข้าใจได้ ทำให้หนังสือที่มีตั้งสี่ร้อยกว่าหน้าสามารถอ่านจบได้ในไม่กี่วัน (ผมมีเวลาอ่านแค่ช่วงเช้าตอนอยู่บนรถไฟฟ้ามาทำงาน กับช่วงเย็นตอนอยู่บนรถไฟฟ้ากลับบ้านครับ)…

สงครามน้ำ Water Wars: Drought, Flood, Folly and the Politics of Thirst

“น้ำ” สิ่งสามัญธรรมดาไกล้ตัวที่สุด เห็นทุกวันแค่เปิดก๊อกก็เห็น จนเราเองก็ไม่เคยตั้งคำถามเหมือนกันว่า “น้ำ” ที่เราเห็นว่าไหลออกมาจากก๊อกนั้นมาจากไหน.. ในต่างจังหวัดเขตนอกตัวเมืองจริงๆเราจะเห็นน้ำที่เราใช้ได้ไม่ยากเย็นเลย เช่น ขับรถผ่านไปเห็นฝายน้ำ หรือเข้าไปในบ้านก็จะพบบ่อน้ำของบ้านแต่ละหลัง ที่มีปั๊มน้ำคอยสูบน้ำให้คนในบ้านใช้ ไหนจะตุ่มเก็บน้ำขนาดใหญ่ท่วมหัวที่คอยเก็บกักน้ำฝนเอาไว้ใช้ นั่นคือภาพน้ำของต่างจังหวัดนอกตัวเมืองที่เราเห็นที่มาของน้ำที่ใช้ได้อย่างง่าย แต่ในตัวเมืองที่วุ่นวายที่เราต้องเดินไปเปิดน้ำล้างมือ กดชักโครกชำระล้างล่ะ น้ำที่แสนธรรมดานั้นมาจากแหล่งกำเนิดที่แสนไกลและวุ่นวายมากกว่าที่เราคิด ในหนังสือแบ่งเป็น 8 บท สกัดกั้นทะเล, บาปของขนาด, ลุ่มน้ำนับพัน, แห้ง แห้งกว่า แห้งที่สุด, กลืนไม่เข้าคายไม่ออก, แม่น้ำเดือดดาล, สงคราม และ ภาวนาขอฝน…