หนังสือเล่มนี้เริ่มต้นที่คำถามว่า “โลกาภิวัตน์” คืออะไร? การเจริญขึ้นของสังคม? การพัฒนาขึ้นของเทคโนโลยี? หรืออะไรคือโลกาภิวัตน์..

..โลกาภิวัตน์หมายถึงกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในระดับโลกได้หรือไม่

น่าจะได้

งั้นคำถามต่อไปคือแล้วโลกาภิวัตน์เกิดขึ้นตั้งแต่เมื่อไหร่? ในยุคอินเตอร์เนตใช่หรือไม่? หรือช่วงเวลาไหนที่เกิดนิยามความเป็น “โลกาภิวัตน์” ขึ้น?

..ถ้าเราค่อยๆย้อนกลับไปเสมือนเลื่อนลงไล่ดู Facebook Timeline ก็จะเห็น Social Media ที่เชื่อมคนทั้งโลกให้เข้าไกล้กันได้มากขึ้น

ถอยกลับไปอีกหน่อยก็จะพบว่าเป็นยุคของ Smartphone และ Internet ไร้สายที่ทำให้การเชื่อมต่อไม่ต้องติดอยู่กลับที่

เลื่อนหน้าฟีดของโลกาภิวัตน์ลงไปอีกก็อาจจะพบเจอกับยุค www หรือยุคเริ่มต้นอินเตอร์เนตนั่นเอง

หรือย้อนกลับไปอีกอาจเป็นยุคของ PC คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่สามารถเพิ่มศักยภาพของเราที่บ้านได้

หรือย้อนกลับไปอีกก็จะเจอกับยุคของ TV ที่ทำให้การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่เต็มทั้งภาพและเสียงเข้าได้ถึงในห้องนอนของเรา 

หรือย้อนกลับไปอีกอาจเป็นยุคของ Radio ที่ทำให้ส่งข้อความเสียงได้กว้างไกลกว่าการพูดตะโกนในที่ชุมชน

ย้อนกลับไปอีกอาจเป็นยุคของการพิมพ์แบบ Gutenberg ที่ทำให้การเผยแพร่ความรู้เข้าถึงได้ในทุกชนชั้น

หรือย้อนกลับไปอีกอาจเป็นยุคการเดินเรือที่ทำให้ยุโรปกลายเป็นมหาอำนาจในยุคล่าอานาณิคมช่วงนั้น

หรือย้อนกลับไปอีกอาจเป็นยุคที่เริ่มประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นในช่วงกรีกโบราณ อียิปต์ หรืออักษรจีน

หรือย้อนกลับไปอีกอาจเป็นยุคที่มนุษย์เริ่มก่อตั้งสร้างชุมชนของตัวเองขึ้น ทำให้เกิดการพึ่งพากันในสังคม ทุกคนไม่ต้องทำงานเพื่อหาอาหาร แต่สามารถสร้างสมฝีมือและความคิดสร้างสรรค์เพื่อแลกกับอาหารได้

หรือย้อนกลับไปในยุคที่บุกเบิกการปลูกพืชเลี้ยงสัตว์ทำให้คนเราไม่ต้องเที่ยวเร่ร่อนไปเสี่ยงดวงหาอาหารอันตราย

หรือย้อนกลับไปอีกอาจเป็นยุคที่มนุษย์เริ่มใช้เครื่องมือสำริด หรือเหล็กในการทำอาวุธเพื่อเอาชนะอันตรายจากศัตรูหรือสัตว์ร้าย

หรือย้อนกลับไปอีกอาจเป็นยุคที่มนุษย์เริ่มเดินทางออกจากจุดเริ่มต้นของเผ่าพันธุ์มนุษย์ที่แอฟาริกาตอนใต้..

..โลกาภิวัตน์นั้นสามารถย้อนไปได้ไกลมากกว่าที่เราเคยคิดนัก เพียงแต่การเปลี่ยนแปลงในสมัยก่อนอาจไม่ได้เกิดขึ้นพร้อมกันในช่วงเสี้ยววินาที หรือไม่กี่คลิ๊กก็เปลี่ยนแปลงโลกได้

แต่ผลจากการเปลี่ยนแปลงที่ละเล็กน้อยที่สั่งสมผ่านประสบการณ์และเวลาของมนุษยชาติก็ทำให้โลกเรามีโลกาภิวัตน์ในแบบทุกวันนี้

..ผู้เขียนบอกว่าโลกาภิวัตน์นั้นไม่สามารถวัดแค่แง่มุมในแง่มุมหนึ่ง ในมิติเดียวแล้วสรุปว่าสิ่งนั้นคือโลกาภิวัตน์ แต่การเปลี่ยนแปลงระดับโลกนั้นเกิดขึ้นในหลายมิติที่ส่งผลกระทบถึงกันเป็นลูกโซ่ต่อเนื่องไปไม่รู้จบ

เสมืองแทงสนุ๊กตั้งใจให้โดนแดงแต่ชิ่งไปโดนทั้งกองแตกกระจายออกไปแล้วกระทบเหลี่ยมมุมอีกหลายทอดต่อไปจนกลับมาโดนลูกขาวที่ใส่แรงลงไปในตอนเริ่ม

..งั้นโลกาภิวัตน์มีกี่มิติล่ะ? ผู้เขียจำแนกให้ครอบคลุมอย่างกว้างว่ามีทั้งหมด 5 มิติ มี เศรษฐกิจ, การเมือง, วัฒนธรรม, นิเวศหรือธรรมชาติ และ อุดมการณ์

ที่น่าสนใจคือในด้านมิติอุดมการณ์โลกาภิวัตน์นั้นสามารถแบ่งได้อีก 3 หัวข้อที่เกิดขึ้นในปัจจุบันคือ ลัทธิตลาดโลกนิยม ลัทธิความยุติธรรมโลกนิยม และลัทธิญิฮาดโลกนิยม..

..ลัทธิตลาดโลกนิยม (Market Globalism) นั้นเติบโตมาจากลิทธิเสรีนิยมที่เบ่งบานในยุคศตวรรษที่ 19-20

เพื่อตอบสนองต่อความเป็นความเป็นปัจเจกชนของชนชั้นกลางในยุโรบที่ต้องการออกไปร่ำรวยนอกประเทศ​ และชนชั้นนำที่ต้องการขยายความมั่นคงมั่งคั่งออกไปทั่วโลกผ่านการล่าอาณานิคมในช่วงนั้น จนเกิดกระแสเสรีนิยมขึ้นจนกลายมาเป็นตลาดโลกนิยม

ข้อดีที่สรุปได้ง่ายๆคือทำให้การค้าขายทั่วโลกเติบโตอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ทุนสามารถไหลเวียนได้อย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนทั่วทั้งโลก แต่ข้อเสียที่สรุปได้ง่ายๆก็คือ ช่องว่างระหว่างความรวยและความจนยิ่งถ่างและห่างออกจากกันมากขึ้น แม้ทรัพยากรโลกจะถูกใช้มากขึ้นและสร้างผลิตภาพและประสิทธิภาพมากขึ้นแต่จำนวนคนจนทั่วโลกกลับไม่ได้ลดลงเลยแม้แต่น้อย คนรวยที่สุด 1% กลับเป็นเจ้าของทรัพย์สินมากกว่า 50% ในโลก

..ลัทธิความยุติธรรมโลก หรือที่รู้จักกันมากขึ้นในฐานะ “การเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องความยุติธรรมทางสังคม” (Social Justice Movement)

หรือให้รู้จักง่ายๆก็บรรดาพวกองค์กรที่ประท้องเรียกร้องความยุติธรรมต่างๆจากลัทธิตลาดโลกนิยมหรือบรรดาที่เราเรียกกันว่า “นายทุน” ให้ออกมารับผิดชอบจากการเอาเปรียบผู้ด้อยโอกาสจากประเทศโลกที่สามหรือประเทศทางโซนล่างของโลก

ไม่ว่าจะปัญหาแรงงาน ปัญญหาธรรมชาติที่ถูกกอบโกย และปัญหามลพิษที่เหมือนขึ้นดอยขนขยะเอามาทิ้งแล้วลงไปตัวเปล่าหน้าตาเฉย..

การประท้วงหลายครั้งเกิดขึ้นเพื่อขัดขวางองค์กรเศษฐกิจการค้าโลก (World Ecoomic Forum) หรือประท้วง IMF ในการคิดดอกเบี้ยเงินกู้ในประเทศทางซีกโลกใต้ที่เหมือนใจดีให้กู้แต่เงินกู้เหล่านั้นก็กลับไปสะสมในกลุ่มทุนบริษัทจากประเทศในซีกโลกบนหรือในเหล่าผู้นำฉ้อโกงต่างๆ

และ..สุดท้ายคือลัทธิญิฮาดโลกนิยม

ที่คุ้นเคยกันก็กลุ่มมุสลิมหัวรุนแรงหรือผู้ก่อการร้ายทั้งหลายนี่แหละ ว่าแต่กลุ่มนี้เกี่ยวข้องกับโลกาภิวัตน์อย่างไร?

นี่คือคำถามของผมตอนที่ได้เห็นหัวข้อนี้..พออ่านจบเลยพบข้อสรุปได้ว่ากลุ่มนี้คือกลุ่มที่รู้จักกันในดีของอัลกออิดะห์ ผู้อยู่เบื้องหลังการก่อการร้ายทั่วโลกที่จุดชนวนความกลัวเปิดตัวด้วยเหตุการณ์ 9/11 แล้วมันเพราะอะไร..

เพราะเค้าเห็นว่าโลกมุสลิมหรือชาวอิสลามทั่วโลกนั้นถูกกลุ่มตลาดโลกนิยมกดขี่ข่มเหงทางเศรษฐกิจมานาน

ตัวผู้นำต้องการให้เกิด อุมมา (น่าจะเป็นพื้นที่ของอิสลามบริสุทธิ์) ขึ้นในโลก คือชาวอิสลามสามารถใช้ชีวิตตามหลักความเชื่อได้โดยไม่ถูกกดขี่ อุมมา นั้นจะเกิดขึ้นได้ก็ด้วยการ ญิฮาด ผ่านการกระทำ..การกระทำนั้นไม่จำกัดว่าจะเป็นการกระทำในรูปแบบนั้น ขอแค่ให้เกิด อุมมา ขึ้นได้ในอนาคตก็พอ..

สิ่งที่สนใจคือตัว บินลาเดน ให้สัมภาษณ์หลังเหตุการณ์ 9/11 ผ่านไปหลายปีคือฝ่ายเค้าใช้เงินทุนในเหตุการณ์นั้น 500,000 เหรียญสหรัฐ แต่รัฐบาล จอร์จ บุช ต้องใช้เงินไม่น้อยกว่า 500,000 ล้านเหรียญในการตอบโต้กลับจากเหตุการณ์ครั้งนั้น จนเป็นเหตุให้เงินคลังของประเทศร่อยหรอจนเกิดผลตีกลับทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่ตามมา..นี่เป็นความคิดที่จริงจนน่ากลัวมากกับสิ่งที่เกิดขึ้นตราบจนถึงวันนี้

โลกาภิวัตน์ไม่ว่าจะในแง่ดีหรือเลวก็ต่างเป็นผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปโดยทั่วโลกไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ไม่รู้เหมือนกันว่าโลกาภิวัตน์จะพาโลกไปในทางไหนในอีก 5 ปี และ 50 ปีข้างหน้า แต่สิ่งนึงที่พอบอกได้คือทุกผลลัพธ์ที่ยิ่งใหญ่มาจากผลของการกระทำเล็กๆรวมกันทั้งนั้น ถ้าเราอยากให้สังคมไปในทางที่ดี ไม่ต้องเริ่มจากเปลี่ยนโลกที่ไหน เริ่มจากที่เรานี่แหละเร็วที่สุด..

By Nattapon Muangtum

จากนักอ่านที่เริ่มอยากหัดเขียน จากการที่ต้องอ่านเพราะความจำเป็น กลายเป็นอ่านเพราะหลงไหล, สวัสดีครับผมชื่อหนุ่ย ผมทำงานด้าน Digital and Data Marketing ผมยังมีเพจการตลาดอีกเพจที่อยากฝากให้ลองอ่านดูนะครับ https://www.facebook.com/everydaymarketing.co/