เศรษฐวิบัติ ฉบับปรับปรุง The Return of Depression Economics and The Crisis of 2008

หนังสือที่เขียนโดยนักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบลชื่อดังอย่าง Paul Krugman ที่ชำแหละเรื่องราววิกฤตการเงินกับเศรษฐกิจโลกในช่วงที่ผ่านมา ไม่ว่าจะวิกฤตต้มยำกุ้ง หรือ Hamberger Crisis ให้คนธรรมดาที่ไม่ใช่นักเศรษฐศาสตร์หรือสายการเงินก็เข้าใจได้ว่า ทั้งหมดทั้งมวลแล้วล้วนเป็นละครเรื่องเก่า พล็อตเดิม แค่เปลี่ยนเสื้อผ้าหน้าผมตัวละครกับฉากใหม่ๆเท่านั้นเอง อยากเห็นเศรษฐกิจล่มจมทั้งประเทศหรอ ไม่ยาก แค่เราทุกคนไปถอนเงินออกจากธนาคารพร้อมกัน แค่นั้นเศรษฐกิจของประเทศนั้นก็เป็นจุลแล้ว แถมรับประกันด้วยว่าประเทศคู่ค้าที่เกี่ยวข้องก็ต้องเจ็บตามกันแน่ๆ ทำไมแค่การถอนเงินพร้อมกันของทุกคนถึงทำให้เศรษฐกิจเล่มได้ล่ะ? เพราะธนาคารของพวกคุณไม่ได้มีเงินสดไว้มากพอสำหรับให้ทุกคนได้ถอนออกไปพร้อมกันในครั้งเดียวน่ะซิครับ เรื่องนี้เคยเกิดขึ้นแล้วที่สหรัฐอเมริกาในยุค 1930 ที่ผู้คนแห่กันไปถอนเงินออกจากธนาคารแห่งหนึ่ง จนเกิดภาวะตื่นตัวหรือควรจะเรียกว่า “ตื่นตูม” กันแห่ออกไปถอนเงินจนทำให้ธนาคารมีเงินสดไม่พอจ่าย เป็นเหตุให้ธนาคารล้มตามๆกัน และเศรษฐกิจล่มจมหรือตกต่ำครั้งใหญ่ที่มีชื่อเรียกกันว่า Great Depression มาแล้ว…

Propaganda โฆษณาชวนเชื่อ

สรุปอย่างย่อ นี่คือหนังสือที่สอนเรื่องการ PR ชั้นดี ที่เผยเบื้องหลังของสิ่งต่างๆรอบตัวที่เรามองข้ามมาตลอด ให้เห็นความเชื่อมโยงที่จริงอย่างไม่น่าเชื่อ เพราะถ้าลองคิดตามดูจะพบว่ามันจริงซะจริงจนไม่รู้จะว่ายังไง เช่น การจะทำให้สินค้าที่ผ่านการออกแบบมีค่าในสายตาผู้บริโภคทั่วไปมากขึ้น ก็จะไม่ใช้การโฆษณาตรงๆ แต่จะใช้การสร้างกระแสให้เห็นคุณค่าของการศิลปะ อาจจะผ่านหอศิลป์ต่างๆมากมาย เพื่อให้คนยอมรับในคุณค่าของการออกแบบมากขึ้น แม้หนังสือเล่มนี้จะอ่านแล้วไม่สมูทเท่าไหร่นักในความคิดผม แต่ผมว่าเนื้อหาในเล่มมีประเด็นเด็ดๆที่ไม่เคยคิดถึงมาก่อนไม่น้อยเลยครับ ดังนั้นถ้าใครทำงานการตลาด ทำงานด้านการขาย หรือทำงานประชาสัมพันธ์ หรืออาจจะแค่อยากรู้เท่าทันว่าสารที่เราเห็นผ่านสื่อรอบตัวนั้น แท้จริงแล้วเค้ากำลังต้องการอะไรจากเรากันแน่ เพราะการโฆษณาชวนเชื่อคือการไม่บอกตรงๆว่าอยากให้เราทำอะไร แต่เป็นการพูดอ้อมๆหรือสะกิดเบาๆให้เรารู้เองว่าเราควรทำหรือคิดอย่างไร สรุปอย่างยาว ผมขอหยิบบางส่วนในเล่มมาเล่าให้ฟังเพื่อเรียกน้ำย่อยให้คุณไปหามาอ่านเองแบบเต็มๆที่งานหนังสือที่กำลังจะมาถึงสิ้นเดือนนี้ หรือลองไปหาดูตามร้านหนังสือใกล้บ้านนะครับ ป้อนเรื่องให้คนต้องคิด ทำให้คนไม่มีเวลาไปคิดเรื่องอื่นที่ไม่อยากให้คิด อย่างการที่สื่อต่างๆพยายามป้อนข่าวโน่นนี่นั่นใส่หัวเราตลอดเวลา บางทีเค้าก็ไม่ได้อยากให้เราใส่ใจเรื่องนั้นหรอก แต่เค้าแค่ไม่อยากให้เรามีเวลาว่างไปใส่ใจเรื่องอื่นที่เค้าไม่อยากให้เราใส่ใจ…

KEYNES เคนส์

ถ้าใครที่ชอบอ่านแนวเศรษฐศาสตร์ ประวัติศาสตร์ การเมือง น่าจะคุ้นกับชื่อนี้ดี ผมเองก็คุ้นชื่อ เคนส์ มานานพอสมควรเวลาอ่านหนังสือเกี่ยวกับเศรษฐาสตร์ การเมือง เศรษฐกิจทีไร ก็ต้องเจอชื่อ เคนส์ คนนี้เป็นประจำ รู้แต่เพียงคร่าวๆว่า เคนส์ เป็นผู้สร้างแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ที่สำคัญเอาไว้ให้รัฐบาลหลายประเทศในโลกใช้เป็นแนวทางอยู่เรื่อยๆ โดยเฉพาะรัฐบาลอังกฤษ กับ อเมริกา เป็นหนังสือที่น่าจะเหมาะกับคนที่กำลังเรียนทางด้านเศรษฐศาสตร์ หรืออยู่ในแวดวงนี้มากกว่าคนทั่วไป เพราะอาจจะทำให้ไม่ค่อยสนุกหรือไม่เข้าใจจากความรู้พื้นฐานที่มีไม่เท่ากับคนที่ร่ำเรียนมา ที่พูดแบบนี้เพราะสารภาพตรงๆว่าอ่านจบแล้วผมก็ไม่ค่อยเข้าใจหรืออินซักเท่าไหร่นัก แต่พอจับประเด็นที่น่าสนใจบางอย่างมาเล่าสู่กันฟังได้บ้าง เช่น คำว่า “การว่างงาน” หรือ unemployment เพิ่งปรากฏใน Oxford…

MARX มาร์กซ ความรู้ฉบับพกพา

Karl Marx หรือ คาร์ล มาร์กซ ชื่อที่ใครบางคนน่าจะคุ้นหูหรือคุ้นตา และถ้าเคยอ่านพวกหนังสือประวัติศาสตร์การเมืองการปกครองมาบ้างก็ยิ่งน่าจะคุ้นขึ้นไปใหญ่ และยิ่งถ้าบอกว่า มาร์กซ คนนี้ คือหนึ่งในผู้ทำให้แนวคิดการปกครองแบบสังคมนิยมเป็นที่ถูกอกถูกใจบรรดาผู้นำประเทศทั้งหลาย ก็คงจะร้องอ๋อกันเลยทีเดียว สิ่งที่ผมเข้าใจมาก่อนหน้าจะอ่านหนังสือเล่มนี้คือ มาร์กซ คนนี้คือผู้ที่ก่อสร้างแนวคิดสังคมนิยมให้กับโลก แต่ความจริงแล้วสังคมนิยมมีมาก่อนเค้า แต่ มาร์กซ คนนี้ทำให้แนวคิดเรื่องสังคมนิยมเป็นที่ตราตรึงใจของบรรดาผู้นำประเทศ หรือผู้นำที่มาจากการปฏิวัติทั้งหลาย จากหนังสือสองเล่มสำคัญที่เค้าเขียน คือ Das Kapital (หรือ Capital ในภาษาอังกฤษ) กับ Communist Manifesto…

ทางรอดในโลกใบใหม่ แห่งการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่สี่, Shaping the Fourth Industrial Revolution

จากหนังสือการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ก่อนหน้าที่เคยอ่านไป ที่บอกให้รู้ว่าการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่สี่คืออะไร ก็คือการปฏิวัติด้วย Big Data, Machine Learning และ AI ที่มีพื้นฐานมาจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 3 หรือการปฏิวัติดิจิทัล มาคราวนี้ Klaus Schwab ออกมาเขียนหนังสือเล่มต่อเพื่อบอกให้รู้ว่า ถ้าอยากจะรอดให้ได้ต้องทำตัวอย่างไร ในวันนี้มนุษย์ส่วนใหญ่อาจถูกเทคโนโลยีที่สร้างมากดขี่หรือทำลายล้างเราไปโดยไม่รู้ตัว และไม่ใช่แค่เราเท่านั้นที่ต้องปรับตัว แต่ผู้เขียนยังบอกว่าสิ่งสำคัญคือทั้งสังคมและโดยเฉพาะภาครัฐยิ่งต้องปรับตัว เพราะไม่อย่างนั้นแล้วคุณค่าของมนุษย์จะถูกเทคโนโลยีที่สามารถทดแทนได้เข้ามาล้มล้างเราไปหมด หรือเทคโนโลยีที่ทรงพลังไม่น่าเชื่อจะกลายเป็นเครื่องมือของผู้ทรงอำนาจกลุ่มเล็กๆ ที่จะยิ่งใช้กดขี่คนส่วนมากให้ไม่ได้ลืมตาอ้าปากยิ่งกว่าเดิม แง่คิดหนึ่งในเล่มที่น่าสนใจที่ผู้เขียนบอกว่า เรามักอ้างว่าเทคโนโลยีก็เหมือนดาบสองคม เหมือนเหรียญสองด้าน หรือก็เป็นแค่เครื่องมือที่ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของผู้ใช้ เช่น…

รู้ทันอนาคตที่(อาจจะ)ไม่มีคุณ The Industries of the Future

เป็นหนังสือที่ให้ภาพอนาคตแบบคร่าวๆตั้งแต่วันนี้ เพื่อให้เราเตรียมพร้อมรับมือกับความเปลี่ยนแปลงที่น่าจะเกิดขึ้นได้ทันท่วงที เพราะถ้าเราไม่เตรียมพร้อมรับมือไว้ ก็ตามชื่อหนังสือนั่นแหละครับ เราอาจจะไม่มีที่ยืนในอนาคตได้ ด้วยเทคโนโลยีต่างๆมากมายที่พร้อมเข้ามาแทนที่มนุษย์เรา Formless และ Borderless คือสองคำที่น่าจะเป็นหัวใจหลักในการบรรยายถึงโลกอนาคต, Formless คือการไม่ยึดติดกับสิ่งเดิม ไม่ว่าจะวิธีการ ความเชื่อ หรือความสำเร็จ เพราะทุกสิ่งจะเปลี่ยนแปลงตลอดและเร็วขึ้นเรื่อยๆ ส่วน Borderless คือโลกจะเปิดกว้างยิ่งขึ้น เส้นแบ่งต่างๆจะค่อยๆจางหายไป มีโอกาสให้แทบกับทุกคน แต่โลกที่เปิดกว้างขึ้นก็ไม่ได้มีแค่โอกาส แต่มันหมายถึงการแข่งขันและคู่แข่งที่จะพรั่งพรูตามมาด้วย ดังนั้นถ้าไม่แกร่ง ไม่เร็ว ไม่ชัดเจนในความเชี่ยวชาญพอ ก็ยากที่จะมีที่ให้เราอยู่ในอนาคตครับ เพราะนวัตกรรมกับโลกาภิวัฒน์นั้นสร้างทั้งผู้แพ้และผู้ชนะ โลกาภิวัฒน์จะทำให้ค่าแรงในประเทศสูงขึ้น แต่ด้วยค่าแรงที่สูงขึ้นนี่แหละที่จะทำให้คนในประเทศไม่มีงานทำ…

ชีวิตพังซ่อมได้

หมายความว่าไงชีวิตพังซ่อมได้? พออ่านจบผมคิดว่าคนส่วนใหญ่นั้นไม่รู้กฏหมาย พอไม่รู้กฏหมายก็ถูกคนที่มีสี มีเส้น มีสาย เอากฏหมายมาทำข่มขู่หรือจนถึงขั้นทำให้ชีวิตพังได้ เพราะพอพูดถึงเรื่องกฏหมาย หรือต้องขึ้นโรงขึ้นศาล คนส่วนใหญ่ก็มักจะกลัวความยุ่งยาก วุ่นวาย ไหนจะต้องเสียเงินเสียทอง ที่สำคัญที่สุดคือมาจากการไม่รู้กฏหมาย แม้จะเป็นกฏหมายง่ายๆ กฏหมายเบื้องต้น กฏหมายที่เกี่ยวกับชีวิตประจำวันก็กลับมีความรู้น้อยมาก จนทำให้คนที่ไม่รู้ต้องเสียเปรียบ ตกเป็นเบี้ยล่าง ยอมจำนนให้กับผู้ที่ผิดแต่รู้กฏหมายมากกว่าไปเป็นประจำ ดังนั้นผมคิดว่าหนังสือเล่มนี้จึงเหมาะกับทุกคน เพราะทุกคนล้วนอยู่ภายใต้กฏหมายเหมือนกันหมดโดยไม่มีข้อยกเว้น…จริงๆนะเพราะตัวกฏหมายก็บัญญัติไว้แบบนั้น แล้วกฏหมายเกี่ยวพันกับชีวิตแต่ละวันเรามากแค่ไหน ก็เอาว่าตั้งแต่เกิดแต่ยังไม่คลอดจากท้อง ก็มีกฏหมายคุ้มครองเด็กในท้องแล้วว่าห้ามทำแท้ง พอเกิดออกมาก็มีสิทธิ์รับมรดกตามกฏหมายได้ทันที ตอนเป็นเด็กก็มีกฏหมายคุ้มครองว่าห้ามใช้แรงงานเด็ก หรือผู้ปกครองพ่อแม่ก็ต้องเลี้ยงดูให้ดีตามฐานะที่พึงมี พอเริ่มใช้เงินเป็นก็เข้าสู่กฏหมายคุ้มครองผู้บริโภค พอเริ่มขับรถใช้ถนนเป็นก็เข้าสู่กฏหมายบนท้องถนนให้ทำตามกฏระเบียบอย่างเคร่งครัด พอเริ่มทำงานก็เข้าสู่กฏหมายแรงงานที่ให้ความเป็นธรรมทั้งลูกจ้างและนายจ้าง แม้แต่กระทั่งตายไปกฏหมายก็ยังไม่หยุดเกี่ยวกับชีวิตเรา…

เศรษฐศาสตร์มีจริต

ดร. วิรไท สันติประภพ, นักเศรษฐศาสตร์พเนจร เป็นหนังสือที่เล่าเรื่องเศรษฐศาสตร์อีกเล่มที่อ่านเข้าใจได้ไม่ยาก และก็ทำให้เข้าใจภาพความจริงของเศรษฐกิจบ้านเมืองเราในช่วงก่อนยุค คสช ได้มากพอควร และพออ่านจบก็เลยเพิ่งรู้ว่าผมมีหนังสือของนักเขียนคนนี้อยู่อีกเล่มแต่ยังไม่ได้อ่าน คือ “ประชานิยม: ทางสู่ความหายนะ” เป็นเล่มที่ได้จากงานหนังสือเมื่อต้นปี 2560 แต่เล่มนี้เพิ่งได้มาจากงานหนังสือเมื่อปลายปีเดียวกันแต่ดันอ่านจบก่อนซะงั้น เนื้อหาหลักๆของเล่มผมว่าแบ่งเป็นสองส่วน คือ “ประชานิยม” กับ “ทุนนิยม” (ความจริงในเล่มมีเนื้อหาหลายหัวข้อ อันนี้ผมขอสรุปจากความรู้สึกส่วนตัวของผมนะครับ) “ประชานิยม” กลายเป็นสิ่งที่คนไทยถูกพรรคการเมืองและรัฐบาลตั้งแต่ยุคทักษิณมอบให้ เสมือนขนมเค้กที่ปราศจากคำเตือนถึงอันตรายของโรคต่างๆที่จะตามมา เพราะทุกครั้งที่ไม่ว่าจะรัฐบาลหรือพรรคการเมืองใดๆก็ตามต้องการคะแนนนิยมจากประชาชน ก็จะหยิบเอานโยบายประชานิยมต่างๆขึ้นมาหาเสียง ไม่ว่าจะรถไฟฟ้า 20บาททุกสายทุกเส้น(จนวันนี้บินหนีไปไหนแล้วก็ไม่รู้) ไปจนถึงจำนำข้าวทุกเมล็ด…

Politics การเมือง ความรู้ฉบับพกพา

เรื่องประวัติความเป็นมาการเมืองมนุษย์เริ่มต้นยุคการเมืองอย่างมีหลักมีฐาน ตั้งแต่สมัยกรีกโบราณ ที่ส่งต่อให้โรมัน จนศาสนาคริสเข้ามาเบียดโรมันให้เสื่อมไปจนยิ่งใหญ่กลายเป็นคริสตจักร สืบต่อจนมาเป็นรากฐานให้การเมืองปัจจุบันทุกวันนี้ การเมืองก็มีวัฏจักรของมัน เริ่มต้นจากกษัตริย์เสื่อมเป็นทรราชย์ แล้วยึดอำนาจโดยคณาธิปไตย แล้วก็ถูกประชาชนคนส่วนมากล้มล้างกลายเป็นประชาธิปไตย สุดท้ายประชาธิปไตยตกหลุมวนในอ่างจนเข้าสู่ยุคของกษัตริย์ นี่คือวัฏจักรธรรมชาติของการเมืองที่ถูกสังเกตุโดยนักปราชญ์ชาวกรีก เป็นหนังสือที่ได้มุมมองความรู้ไกล้ตัวที่น่าสนใจหลากเรื่อง ยิ่งอ่านประวัติศาสตร์ยิ่งทำให้เรารู้ว่า ทุกปัจจุบันของเรานั้นล้วนแต่ส่งต่อมาจากอดีตทั้งนั้น อย่างที่เค้าว่ากันว่าอดีตเป็นรากฐานของปัจจุบัน และส่งต่อไปถึงอนาคต อ่านเมื่อปี 2016

Sociology สังคมวิทยาฉบับพกพา

สารภาพตามตรงว่าเข้าใจได้ไม่ถึงครึ่งเล่มแต่ก็ได้แง่คิดมุมมองที่น่าสนใจไม่น้อย เช่น ศาสนาคริสนิกายโปเตสแตนท์เกิดมาในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม เพื่อก้ามข้ามผ่านนิกายคาทอลิค ที่ให้คนยึดถือความพอเพียงมากกว่าการสะสมทรัพย์สิน แต่ให้เอาทรัพย์สินมาบริจาคให้คริสตจักรแทน แต่คนเริ่มรวยขึ้นก็อยากเก็บเอาทรัพย์สินไว้กับตัวเอง หรือสรุปได้ว่าเดิมที “รวยคือบาป” ครับ หรือแม้แต่ปัจจุบันรัฐชาติ หรือศาสนาไม่อาจปกครอง หรือมีอำนาจต่อผู้คนได้เท่าสมัยก่อน ในปัจจุบันที่คนเรามีเสรีภาพในการเลือกสิ่งต่างๆในชีวิตมากขึ้น ก็เป็นผลมาจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมที่ทำให้เกิดส่วนเกินที่มากขึ้น ความขาดแคลนในวันนี้ไม่ใช่ความขาดแคลนในสิ่งพื้นฐานของชีวิตอีกต่อไป แต่เป็นความขาดแคลนในสิ่งที่จะเติมเต็มความต้องการหรือจิตวิญญาณของเรามากขึ้น สังคมวิทยามีความคล้ายจิตวิทยาพอสมควรในความคิดผม คิดว่าคงต้องกลับมาอ่านซ้ำอีกรอบเมื่อหนังสือเล่มที่ค้างไว้หมด (ค้างอ่านอยู่ 70 เล่มตอนนั้น 2016) คงได้ความรู้ความเข้าใจใหม่ๆที่จะเอากลับมาเล่าต่อแน่ๆ อ่านเมื่อปี 2016