สารภาพตามตรงว่าเข้าใจได้ไม่ถึงครึ่งเล่มแต่ก็ได้แง่คิดมุมมองที่น่าสนใจไม่น้อย เช่น

ศาสนาคริสนิกายโปเตสแตนท์เกิดมาในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม เพื่อก้ามข้ามผ่านนิกายคาทอลิค ที่ให้คนยึดถือความพอเพียงมากกว่าการสะสมทรัพย์สิน แต่ให้เอาทรัพย์สินมาบริจาคให้คริสตจักรแทน แต่คนเริ่มรวยขึ้นก็อยากเก็บเอาทรัพย์สินไว้กับตัวเอง

หรือสรุปได้ว่าเดิมที “รวยคือบาป” ครับ

หรือแม้แต่ปัจจุบันรัฐชาติ หรือศาสนาไม่อาจปกครอง หรือมีอำนาจต่อผู้คนได้เท่าสมัยก่อน

ในปัจจุบันที่คนเรามีเสรีภาพในการเลือกสิ่งต่างๆในชีวิตมากขึ้น ก็เป็นผลมาจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมที่ทำให้เกิดส่วนเกินที่มากขึ้น

ความขาดแคลนในวันนี้ไม่ใช่ความขาดแคลนในสิ่งพื้นฐานของชีวิตอีกต่อไป แต่เป็นความขาดแคลนในสิ่งที่จะเติมเต็มความต้องการหรือจิตวิญญาณของเรามากขึ้น

สังคมวิทยามีความคล้ายจิตวิทยาพอสมควรในความคิดผม คิดว่าคงต้องกลับมาอ่านซ้ำอีกรอบเมื่อหนังสือเล่มที่ค้างไว้หมด (ค้างอ่านอยู่ 70 เล่มตอนนั้น 2016) คงได้ความรู้ความเข้าใจใหม่ๆที่จะเอากลับมาเล่าต่อแน่ๆ

อ่านเมื่อปี 2016

By Nattapon Muangtum

จากนักอ่านที่เริ่มอยากหัดเขียน จากการที่ต้องอ่านเพราะความจำเป็น กลายเป็นอ่านเพราะหลงไหล, สวัสดีครับผมชื่อหนุ่ย ผมทำงานด้าน Digital and Data Marketing ผมยังมีเพจการตลาดอีกเพจที่อยากฝากให้ลองอ่านดูนะครับ https://www.facebook.com/everydaymarketing.co/