ฟาสต์ฟู้ดธุรกิจ ๒๕, การสิ้นสุดของสิ่งหนึ่ง คือ การเริ่มต้นของสิ่งใหม่เสมอ

จากภาพหน้าปกก็พอเดาได้ว่าจากหนอนตัวอ้วนกลมที่ได้แต่กระดื๊บ กระดื๊บ ทีละนิด กำลังจะเปลี่ยนผ่านกลายเป็นผีเสื้อปีกใหญ่ที่จะโบยบินออกไปได้ไกลเกินกว่าที่ตัวหนอนจะจิตนาการได้ แต่เจ้าหนอนผีเสื้อนั้นในวันที่มันยังเป็นหนอนมันคงไม่คิดว่าชีวิตมันจะเปลี่ยนแปลงอะไรไปกว่าที่เป็นอยู่ เปรียบกับชีวิตคนเราก็เหมือนกัน เรามักจะคิดว่าสิ่งที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนั้นคงทนถาวร แต่ในความเป็นจริงแล้วยังมีการเปลี่ยนแปลงข้างหน้ารออยู่อีกมากมาย แม้บางเรื่องจะไม่เป็นที่ต้องการ แต่ก็เหมือนกับชีวิตที่มีทั้งสองด้านสลับกันเสมอ เหมือนคำโบราณท่านว่า “ชั่วเจ็ดที ดีเจ็ดหน” ไม่มีใครบนโลกที่จะเจอชั่วสิบสี่ทีไม่มีดีซักหนเลยหรอกครับ คุณหนุ่มเมืองจันท์ และหนังสือฟาสต์ฟู้ดธุรกิจเล่มนี้รวมเรื่องราวเรื่องเล่าจากนักธุรกิจ นักคิด นักธุรกิจของเมืองไทยมากมาย เกี่ยวกับเรื่องราวการเกิดวิกฤตทางธุรกิจต่างๆของแต่ละแบรนด์ ซึ่งล้วนแต่เป็นแบรนด์ดังๆทั้งนั้น ทั้งออฟฟิศเมทที่จากจะเจ๊งกลายมาเป็นธุรกิจหมื่นล้านได้ยังไง หรือไทยแอร์เอเซียจากที่เคยถูกแขวนไว้กับเทมาเซกจนเป็นได้อย่างทุกวันนี้ หรือธุรกิจที่พักโฮสเทลเล็กๆอย่างสุเนต์ตา เปลี่ยนจากเจ๊งให้กลายเป็นเจ๋งจนโตแล้วโตอีกได้ยังไง ยังมีอีกหลายเรื่องหลายเคสที่เล่าไม่หมด เพราะเดี๋ยวคุณหนุ่มเมืองจันท์จะตามมาด่าเอาว่าสรุปจนไม่เหลือให้อ่าน แต่สิ่งสำคัญคือ “ความคิด” ของคนเหล่านี้ ที่ผ่านวิกฤตเหล่านั้นจนมีเรื่องมาเล่าให้เราฟังในวันนี้…

ฟาสต์ฟู้ดธุรกิจ 1

ผมเริ่มจากอ่านเล่มหลังๆของคุณหนุ่มเมืองจันท์ พอได้ลองมาอ่านเล่มแรกของแกก็เลยรู้สึกว่าสำนวนสำเนียงการเขียนเปลี่ยนไปพอสมควร แต่ที่ไม่เปลี่ยนคือ “สาระ” และความ “ตลก” ต้องบอกว่าเป็นหนังสือไม่กี่เล่มที่ทำให้ผมต้องกลั้นขำเวลาอ่านบนรถไฟฟ้าตอนเช้าไปทำงาน แถมบางตอนก็ขำมากจนต้องกลับมานั่งอ่านใหม่ที่บ้านหรือร้านกาแฟ จะได้ปล่อยก๊ากได้เต็มที่ แค่อ่านไม่กี่เล่มก็รู้ว่าคุณหนุ่มเมืองจันท์เป็นคนที่เขียนเล่าเรื่องมุขตลกได้ดีมากๆ ด้วยการเล่นกับความคาดหวังของคนแล้วก็หักมุมตบก๊ากเต็มๆ แถม “สาระ” ที่ได้ก็ไม่ได้เป็นเรื่องจากไหนไกล กลับเป็นเรื่องราวของนักธุรกิจหรือคนดังคนไทยที่ไกล้ตัว จุดนี้แหละที่ผมว่าน่าสนใจ เพราะหนังสือส่วนใหญ่ที่ผมอ่านมักจะเป็นหนังสือแปล ทำให้เรื่องราวส่วนใหญ่แม้จะเป็นเรื่องที่ดี เป็นเรื่องที่จริง เป็นเรื่องผ่านประสบการณ์ตรง แต่ก็ยังมีระยะห่างความไกลตัวอยู่บ้าง แต่กับเรื่องเล่าของคุณหนุ่มเมืองจันท์กลับเป็นเรื่องไกล้ตัวมากมายที่นึกไม่ค่อยถึง เช่นธุรกิจของเจ้าสัวซีพี หรือเจ้าสัวเจริญเจ้าของไทยเบฟ (เบียร์ช้าง) ที่ดูจะมีหลายตอนในเล่มเหมือนกัน แต่กลับมีหลายแง่มุมมาเล่าถ่ายทอดได้น่าติดตามตลอด และก็ตบด้วยมุขตลกทุกตอนเหมือนเดิม ถ้าใครที่ชอบอ่านเอาสาระแบบไม่ซีเรียนนัก แถมยังได้ความตลกอารมณ์ขันแบบสมาร์ทๆ…

ชีวิตผิดได้ หนุ่มเมืองจันทร์ ฟาสต์ฟู้ดธุรกิจ ๒๘

เล่มล่าสุดจากงานหนังสือล่าสุดที่ผ่านมา(ปลายปี2560)ของคุณ หนุ่มเมืองจันทร์ นักเขียนชายที่ทำให้ผมตกหลุมรักในสำนวนลีลาการเขียนของแกซะเหลือเกิน ในชื่อเล่มว่า “ชีวิตผิดได้” เหมือนจะ “ไม่ได้” แต่ก็มีการขีดฆ่าทับจงใจให้ดูออกว่าชีวิตจริงมันผิดได้เว้ย ถ้าจะให้สรุปก็คงสรุปได้ไม่ยากเลยว่า เต็มไปด้วยเรื่องราวที่ “ผิด” และ “พลาด” จากคนเก่งทั้งดังและไม่ดังจากทั่วโลก ที่กว่าจะเก่งและดังได้อย่างทุกวันนี้ในจริงในชีวิตเค้าเต็มไปด้วยบทเรียนจากความผิดพลาดมากมาย และในโลกที่เราคุ้นเคยกับการ “ห้าม” การ “ผิด” ในแทบทุกเรื่องตั้งแต่เป็นเด็กเล็กจนเริ่มเข้าเรียน ตั้งแต่เลิกเรียนจนเข้าสู่วัยทำงาน เราถูกหล่อหลอมสั่งสอนเหลือเกินให้อย่าทำพลาด หลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่จะทำผิด โดยหารู้ไม่ว่าเส้นทางสู่ความสำเร็จของคนที่ประสบความสำเร็จทั้งหลายนั้น เต็มไปด้วยบทเรียนจากความผิดพลาดที่ยากจะมีสอนจากที่ไหน เหมือนประโยคนึงที่ผมจำเนื้อหาได้ แต่กลับจำไม่ได้ว่าใครเป็นคนพูดว่า “คนที่ไม่เคยทำอะไรผิดพลาด คือคนที่ไม่เคยลงมือทำอะไรเลย” ถ้าใครรู้ว่าใครเป็นคนพูดช่วยกระซิบบอกผมทีผมอยากตามมาเติมเครดิตให้เจ้าของครับ…

THE STRATEGIST คิดอย่างนักวางกลยุทธ์

โดย Cynthia A. Montgomery เป็นผู้สอนในหลักสูตรยอดนิยมของ Harvard Business School ที่มีชื่อว่า EOP ย่อมาจาก Entrepreneur, Owner และ President ผู้เรียนส่วนใหญ่เลยเป็นบรรดา CEO ผู้บริหารระดับสูง เจ้าของธุรกิจ หรือไม่ก็ทายาทที่กำลังจะมารับช่วงต่อ จากบริษัทระดับกลางที่มีรายได้หรือยอดขายต่อปีอยู่ที่หลักสิบล้านดอลลาร์ จนถึงพันล้านดอลลาร์ เราอาจจะคิดว่าคนเหล่านี้ต้องรู้จักและเข้าใจในเรื่องกลยุทธ์ หรือ strategy เป็นอย่างดีอยู่แล้วซิ ไม่งั้นจะสามารถพาบริษัทให้โตจนมียอดขายต่อปีหลายสิบจนถึงพันล้านดอลลาร์ได้หรอ แต่ในความเป็นจริงแล้วใช่ครับ เพราะผู้เขียนบอกว่าคนส่วนใหญ่ไม่เข้าใจถึงการคิดแบบนักวางกลยุทธ์อย่างแท้จริง และงานการวางกลยุทธ์ส่วนใหญ่ก็กลับเป็นของที่ปรึกษา…

จากศูนย์สู่ซาร่า From Zero to Zara

อามันซิโอ ออร์เตกา จากชายธรรมดากลายเป็นคนที่ร่ำรวยอันดับ 4 ของโลก ด้วยทรัพย์สินรวมกว่า 78.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ (2017) ด้วยการขายเสื้อผ้าให้คนกว่าครึ่งโลกสวมใส่กัน เมื่อเทียบกับมหาเศรษฐีติดอันดับต้นๆของโลก อามันซิโอ ออร์เตกา คงดูไม่หวือหวาน่าสนใจนักสำหรับใครๆ เพราะเขาไม่ได้ร่ำรวยด้วยการทำธุรกิจเทคโนโลยีทันสมัย แต่เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมาเมื่อเขาได้ติดอันดับบุคคลที่ร่ำรวย 10 อันดับแรกของโลก สปอร์ตไลท์จากความสนใจทั้งหลายก็กลับให้ความสนใจกับชายนิรนามผู้นี้อย่างมาก เหมือนจะบอกว่าอยู่ดีๆประเทศจากหมู่แฟโรอะไรก็ไม่รู้ผ่านเข้ารอบ 16 ทีมสุดท้ายฟุตบอลโลกได้ก็ไม่ผิดนัก แล้ว Amancio Ortega ผู้นี้เป็นใคร? ทำไมเจ้าของแบรนด์ Zara ร้านขายเสื้อผ้าที่ดูไม่ได้หวือหวาหรูหราใดๆถึงได้ทำให้เขากลายเป็นคนที่รวยเป็นอันดับ 4…

165 เกร็ดสถิติจาก Harvard ที่จะทำให้คุณอ่านเกมขาดเรื่องธุรกิจ

Stats & Curiosities from Harvard Business Review เป็นอีกหนึ่งหนังสือที่น่าสนใจและอ่านง่ายอย่างไม่น่าเชื่อว่าจะอ่านแค่ไม่กี่ชั่วโมงก็จบแล้ว แต่กลับได้สถิติ ตัวเลข จากการสำรวจที่หลากหลาย จนทำให้ใครก็ตามที่กำลังหาข้อมูลสนับสนุนการทำพรีเซนเทชั่นสามารถเอาไปใช้ได้แบบน่าเชื่อถือ (ก็มาจาก Havard Business Review นิ จะมีซักกี่คนที่จะไม่เชื่อกันล่ะ) ไม่ต้องเกริ่นเยอะกว่านี้แล้ว ผมขอเอาบางสถิติในเล่มที่ผมคิดว่าน่าสนใจด้วยความแปลกใหม่และไม่น่าเชื่อเอามาเล่าสรุปสู่กันฟังแล้วกันนะครับ สถิติที่ 4 ผู้คนไม่ชอบธนบัตรเก่า และอยากใช้มันให้เร็วที่สุด คนที่ได้รับธนบัตรดอลลาร์ใบเก่ามีโอกาสจะนำธนบัตรไปใช้มากกว่าคนที่ได้รับธนบัตรใบใหม่ถึง 82% เพราะผู้คนรู้สึกขยะแขยงธนบัตรที่มีสภาพยับเยินและอยากกำจัดไปให้พ้นๆ เพราะรู้สึกว่ามันเต็มไปด้วยเชื้อโรค… ดังนั้นถ้ารัฐบาลอยากให้คนออมเงินเยอะๆช่วงไหน ก็พยายามแจกจ่ายธนบัตรใบใหม่ๆสวยๆออกไปนะครับ…

สร้างโลกไร้จน Creating a World Without Poverty

เป็นหนังสือที่ดีมากที่สุดเล่มนึง ต้องขอบคุณเพื่อนแบงค์มากที่ทิ้งไว้ให้อ่านในวันที่เค้าลาออก หนังสือที่เขียนโดย Muhammad Yunes นักธุรกิจเพือสังคมรางวัลโนเบลของบังคลาเทศ คนที่พยายามสู้เปลี่ยนแปลงสังคมความเป็นอยู่ให้กับคนด้อยโอกาส หรือเสียเปรียบในสังคมของเค้า เป็นผู้ริเริ่ม micro finance หรือธนาคารกรามีนต้นแบบกองทุนหมู่บ้านที่โด่งดังไปทั่วโลก จนมาถึงในบ้านเรา ยูนุสค้นพบว่าคนจนไม่สามารถเข้าถึงทรัพยากรได้ง่ายเหมือนคนรวย คนจนไม่มีทรัพย์สินไปค้ำประกันหรือมีเครดิตไปกู้แบงค์ ..แน่นอนเพราะเค้าจน ยูนุสเลยก่อตั้งธนาคารเงินกู้ขนาดเล็กเพื่อคนจนจริงๆ ทำให้คนจนสามารถมีทุนไปต่อยอดด้วยแรงงานตัวเองต่อได้ ยูนุสยังสร้างธุรกิจเพื่อสังคมอีกมากมายในประเทศของเค้า ธุรกิจเพื่อสังคมของยูนุสเป็นอะไรที่สร้างแรงบันดาลใจให้ผมได้มาก ธุรกิจเพื่อสังคมไม่ใช่แค่ CSR ในทางการตลาดที่เราคุ้นเคยกัน แต่เป็นการทำธุรกิจเพื่อให้อยู่ได้ด้วยตัวเอง และพอมีกำไรไปต่อยอดคืนให้สังคม โดยไม่มีใครสะสมกำไรนั้นไว้กับคนเพียงกลุ่มใดกลุ่มนึง เปรียบเทียบง่ายๆก็เหมือนต้นไม้ที่ออกดอกผลแล้วดอกผลนั้นตกลงพื้นก็กลายเป็นต้นใหม่ขึ้นมาวนเวียนแบบนั้นไปไม่จบสิ้น อยากเห็นธุรกิจเพื่อสังคมในบ้านเรา และนี่เป็นอีกสิ่งนึงในชีวิตที่เราอยากจะทำในขั้นต่อไป อ่านเมื่อปี…

กลยุทธ์จุดกระแส The Tipping Point

จะบอกว่าเป็นหนังสือที่ค่อนข้างเก่าพอควรก็ว่าได้ แต่ด้วยจากผมเพิ่งหัดอ่านหนังสือได้ไม่นานเลยให้ใหม่สำหรับผม หนังสือตามสไตล์ของ Malcolm Gladwell ที่เล่าเรื่องของการตลาด หรือเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม ที่ทำอย่างไรถึงจะจุดกระแสอะไรบางอย่างขึ้นมา และอะไรบางอย่างที่เป็นกระแสขึ้นมานั้น เป็นได้ด้วยอะไร การจุดกระแส และทำให้คนติดหนึบกับอะไรบางอย่างนั้น ในหนังสือบอกว่า การจุดกระแสประกอบด้วยคนสามคน คือ ผู้รู้(Maven)ผู้เชื่อมโยง(Connector)และนักขาย รวมถึงบริบทหรือสถานการณ์ ณ ขณะนั้น ก็มีผลอย่างมาก เพราะมนุษย์เราไม่ได้เป็นปัจเจก หรือแน่วแน่ในตัวเองอย่างแท้จริง แต่เป็นไปตามสภาพแวดล้อมรอบตัว โดยไม่รู้ตัวเป็นประจำ 3 คน และ 1 สถานการณ์ ทำให้เกิดการจุดกระแสขึ้นมาได้…

The Alibaba Model จากธุรกิจรากหญ้า ปั้นคนธรรมดาให้ก้องโลก

ขอท้าวความย้อนกลับไปตอนเลือกซื้อหนังสือเล่มนี้นิดนึงเมื่อปี 2016 อาจด้วยความต้านทานในกระแส Alibaba ในร้านหนังสือไม่ไหว ที่เต็มไปด้วยหนังสือเกี่ยวกับแจ๊ค หม่า ผู้ก่อตั้งอาลีบาบามากมายเหลือเกิน จนเหมือนโดนสะกดให้ต้องหยิบมาลองดูซักเล่ม จนมาเริ่มที่เล่มนี้ เกี่ยวกับอาลีบาบาโดยตรงไม่ข้องเกี่ยวอะไรกับแจ็คหม่า ผมชอบหนังสือแบบนี้มากกว่าเรื่องราวของตัวบุคคลในบางครั้ง หนังสือที่บอกเล่าจุดเริ่มต้นและพัฒนาการแต่ละก้าวการเติบโตของอาลีบาบา จุดประสงค์ของอาลีบาบาคือการพัฒนา sme รากหญ้า หรือผู้ค้ารายจิ๋วที่เล็กยิ่งกว่ารายย่อย เพราะเศรษฐกิจของประเทศๆนึงจะเติบโตได้ ไม่ได้มาจากบริษัทยักษ์ใหญ่ร้อยหรือพันแห่ง แต่ประเทศๆนึงจะเติบโตอย่างมั่นคงได้นั้น มาจากธุรกิจรากหญ้ารายย่อย เป็นสิบล้านร้อยล้านรายที่ ถ้าดูในมุมมองนโยบายประเทศส่วนใหญ่ทั่วโลกจะเน้นไปที่การอุดหนุนรายใหญ่เพื่อหวังให้กระจายลงรายย่อย เป็นการกระจายแบบบนลงล่าง ทั้งป่าก็จะมีต้นไม้ใหญ่ต้นนึง กับต้นหญ้าเล็กๆอยู่รอบๆต้นไม้นั้น แต่มุมมองของอาลีบาบาเน้นการผลักดันจากล่างชึ้นบนทไม่ใช่บนลงล่างแบบที่คุ้นเคยกัน การดันจากล่างขึ้นบนนั้นกระจายความมั่งคั่งทั่วถึงกว่า และทำให้ป่าไม่ได้พึ่งพิงต้นไม้ใหญ่ไม่กี่ต้น แต่เป็นการผลักดันให้เกิดต้นไม้หลายต้นพร้อมๆกัน…

รู้ แล้ว เปลี่ยน

ปัญหาโลกร้อนแต่ได้ยินมายาวนาน แต่กลับเหมือนไกลตัวเราทุกคนจนไม่เคยใส่ใจ โลกร้อนแล้วยังไงก็เปิดแอร์ให้แรงขึ้นกว่าเดิมซิ..จบข่าว หนังสือเล่มนี้พูดในหลายแง่มุมของปัญหาโลกร้อน และผลกระทบที่มาจากอุตสาหกรรม ธุรกิจ รวมถึงมนุษย์ชาติที่ทำร้ายทำลายโลกที่เราอาศัยอยู่สะสมขึ้นทุกวัน แต่น้อยคนนักจะรับรู้และใส่ใจ ที่จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในความรับผิดชอบของตัวเองให้เป็นมิตรต่อโลกมากขึ้น แต่ไหนแต่ไรโลกธุรกิจเชื่อว่าการจะแก้ปัญหาโลกร้อนเป็นคนละเรื่องกับการทำธุรกิจให้มีกำไรแข่งขันได้มานาน แต่หารู้ไม่ว่าการพัฒนาธุรกิจและเทคโนโลยีของคุณนั้นกลับจะทำให้คุณเหนือคู่แข่งและสร้างกำไรในธุรกิจได้ในระยะยาว หลายบริษัทชั้นนำของโลกเริ่มปรับเปลี่ยนตัวเองให้สร้างเทคโนโลยีใหม่ๆ ไม่ใช่แค่ลดปัญหาโลกร้อน แต่เป็นการเพิ่มกำไรเป็นกอบเป็นกำให้กับธุรกิจของตัวเองมากมาย..เล่าไม่หมดหรอกไปเปิดอ่านในเล่มก็แล้วกัน เราทุกคนต่างใช้โลกนี้อย่างแทบไม่เคยถนอมและเห็นคุณค่าของโลกมานานมาก จนเราต่างลืมไปว่าปัญหาทั้งหมดบนโลกก็จะยังคงอยู่บนโลกไม่ได้ลอยออกไปดาวดวงไหนได้ง่ายๆ… ยกเว้นวันที่เราสร้างจรวดขนขยะสารพิษไปทิ้งนอกโลก แต่ก็ต้องเสียงว่ามันจะลอยกลับเข้ามายังโลกอีกหรือเปล่า ผลกระทบอาจไม่ได้เกิดขึ้นในยุคของเรา แต่ในยุคหน้าในรุ่นลูกหลานของเราล่ะ เมื่อวันนึงเค้าย้อนถามกลับมาว่าทำไมพ่อแม่เค้าถึงไม่เคยถนอมโลกไว้ให้เค้าในตอนที่พวกเราทุกคนยังหนุ่มสาวกันอยู่.. ..แล้วตอนนั้นเราจะตอบคำถามคนรุ่นต่อไปยังไง บ้านเรา ทรัพย์สินเราๆยังต้องดูแลเพื่อส่งต่อให้คนรุ่นต่อๆไป แล้วโลกของเราล่ะ จะไม่ดูแลให้ดีขึ้นเลยหรือ? อ่านเมื่อปี 2016