Youtility การตลาดที่ดีเริ่มต้นที่การให้

สรุปอย่างย่อ ผมว่าหนังสือเล่มนี้เป็นส่วนผสมของ Content Marketing, Realtime Marketing, Social Media และ Digital Value Transformation ใจความหลักคือการทำยังไงให้เป็นประโยชน์กับคนบนออนไลน์ ทำไมต้องคนบนออนไลน์ เพราะในวันนี้แทบไม่มีใครไม่ออนไลน์ คนไทยกว่า 50 ล้านคนใช้เฟซบุ๊ก ผมว่าอีก 20 ล้านที่ไม่ใช่น่าจะเป็นเด็กน้อยเกินกว่าจะมี Account หรือไม่ก็คนเฒ่าคนแก่มากๆอย่างยายผมที่อายุ 9x ปีแล้วและตาเป็นต้อจนมองทีวีแยกไม่ออกไหนพี่เบิร์ด ไหนลุงตู่ ดังนั้นการตลาดในวันนี้หัวใจสำคัญคือการทำยังไงที่จะช่วยเหลือคนบนออนไลน์ด้วยความรู้ความสามารถ ความเชี่ยวชาญที่ตัวเองมี ดังนั้นการตลาดในวันนี้ไม่ใช่การเที่ยวตะโกนให้คนเข้ามาซื้อ แต่คอยฟังเสียงกระซิบเล็กๆของคนมากมายที่มีปัญหา…

สาวไส้แบรนด์ดัง มาสร้างแบรนด์ให้โดน

เต็มไปด้วยเรื่องราวของแบรนด์ดังทั้งไกล้ตัว(ในประเทศ)และไกลตัว(แบรนด์อินเตอร์)มากมาย ตั้งแต่แม่กิมไล้ของฝากยอดนิยมเวลาเมืองเพชรบุรี ไปยันแบรนด์โซนี่อดีตยักษ์ใหญ่ระดับโลก ให้ได้รู้ในเรื่องที่ไม่เคยรู้ หรือเจาะให้ลึกในเรื่องที่พอรู้อยู่แล้ว เป็นหนังสือที่อ่านสนุกเข้าใจง่าย เอาจริงๆใช้เวลาแค่ 2 ชั่วโมงก็จบแล้ว ถ้าถามว่าหนังสือเล่มนี้เหมาะกับใคร ผมว่าเหมาะกับทุกคนที่สนใจอ่านเอาประดับความรู้รอบตัว โดยเฉพาะนักการตลาดหรือคนทำโฆษณาที่อาจจะแนะนำให้หามาอ่านเป็นพิเศษหน่อย แล้วคุณจะได้มุมมองใหม่ๆในการวางแผนกลยุทธ์หรือการทำการตลาดมากขึ้น ผมขอหยิบบางบทบางตอนที่เห็นว่าน่าสนใจ เอามาเล่าเป็นน้ำจิ้มเรียกน้ำย่อยให้คุณไปหาซื้ออ่านก็แล้วกันนะครับ ว่าด้วยเรื่องของแบรนด์ที่ดี แบรนด์ที่ดีสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าได้มากกว่าแบรนด์อื่นซึ่งขายสินค้าประเภทเดียวกัน เคสตัวอย่างคือ เมื่อประมาณ 20 ปีที่แล้ว บริษัทฮิตาชิของญี่ปุ่นกับบริษัทจีอีของอเมริกา ร่วมกันลงทุนสร้างโรงงานผลิตโทรทัศน์ในประเทศอังกฤษ พอผลิตออกมาแล้วแต่ละฝ่ายก็เอายี่ห้อของตัวเองมาติด ตั้งราคาได้เองตามใจชอบ ทำไปทำมาปรากฏว่า โทรทัศน์ซึ่งติดยี่ห้อฮิตาชิตั้งราคาได้สูงกว่าจีอีถึง 75 ดอลลาร์ แถมยังขายได้มากกว่าสองเท่าแสดงว่าแบรนด์ฮิตาชิมีภาษีดีกว่าจีอีอยู่หลายขุม…

ปั่นฟรีคิกพลิกไอเดีย

ไม่อยากจะเชื่อว่าจะมีคนเอาเรื่องราวของธุรกิจและการตลาด ไปเปรียบเทียบกับฟุตบอลได้อย่างหมดจดได้อย่างหนังสือเล่มนี้ ถ้าคุณเป็นคนที่พอรู้เรื่องบอลบ้าง คุณก็จะเข้าใจเรื่องราวการตลาดและมุมมองของธุรกิจได้ง่ายขึ้น เพราะผู้เขียนๆเปรียบเทียบการตลาดกับฟุตบอล ตั้งแต่การเลือกนักเตะ แผนการเล่น ไปยันการปั่นฟรีคิก ให้กลายเป็นเรื่องการตลาดได้อย่างไม่น่าเชื่อ หรือถ้าคุณไม่รู้จักโลกของฟุตบอลเท่าไหร่นัก แต่คุณพอรู้เรื่องการตลาดหรือธุรกิจอยู่บ้าง หนังสือเล่มนี้ก็จะช่วยคุณเปิดมุมมองใหม่ให้รู้จักโลกของฟุตบอลด้วยมุมมองการตลาดและธุรกิจได้อย่างน่าสนุก เผื่อเวลาที่คุณต้องไปคุยธุรกิจกับคนที่ชอบฟุตบอล คุณก็จะต่อติดกับเค้าได้ง่ายขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อ ผมขอหยิบบางตอนบางหน้า ที่น่าสนใจมาเล่าให้ฟังพอกระตุ้นความอยากซื้อหนังสือเล่มนี้ซักหน่อยแล้วกันครับ ขนาดสนาม เคยสงสัยมั้ยว่าทำไมการแข่งฟุตบอลถึงต้องมีฝ่ายละ 11 คน มีฝ่ายละ 20 คนไม่ได้หรอ หรือเหลือแค่ฝ่ายละ 7 คนไม่ได้หรอ คำตอบก็คือได้ครับ แต่ตัวแปรที่ทำให้ต้องมีฝ่ายละ 11 คนในการแข่งแบบปกติก็คือ…

THE DISRUPTOR

สรุป The Disruptor อย่างย่อ นี่คือหนังสือที่เต็มไปด้วยเรื่องราวดีๆกว่า 50 ตอนสั้นๆ ขนาดตอนละไม่เกิน 10 หน้า ที่สามารถเอาติดตัวไว้อ่านระหว่างเดินทางไปไหนมาไหน หรือแม้จะตอนที่กำลังขึ้นลิฟต์ รอกาแฟ หรือแม้แต่จะเข้าส้วมก็ยังได้ แล้วถึงแม้แต่ละตอนจะสั้นๆแต่สาระที่ได้นั้นกลับไม่ได้น้อยเหมือนอย่างจำนวนหน้าเลย เพราะหลายเรื่องเป็นประสบการณ์ตรงของคุณรวิศ หาญอุตสาหะ CEO เครื่องสำอางศรีจันทร์ (ที่ไม่กี่ปีที่ผ่านมาเพิ่งรีแบรนด์ใหม่ทำเอาไม่น้อยหน้าแบรนด์ฝรั่งใดๆเลยด้วยซ้ำ) จากการบริหารธุรกิจของตัวเองที่เอามาถ่ายทอดให้เราได้เรียนรู้โดยที่เราไม่ต้องเจ็บตัวแบบเค้า หรือบางเรื่องก็เป็นเรื่องที่ผมเคยอ่านเจอมาแล้ว แต่คุณรวิศก็ได้ให้มุมมองใหม่ที่ผมคาดไม่ถึงมาก่อน ทำให้ผมได้ขยายมุมมองและความรู้เดิมที่เคยมีในเรื่องเก่าให้กลายเป็นเรื่องใหม่ในแบบที่นึกไม่ถึง และอีกหลายเรื่องที่ผมไม่เคยรู้หรืออ่านเจอมาก่อน แต่คุณรวิศน่าจะเป็นนักสะสมข้อมูลตัวยง เห็นท้ายเล่มบอกว่าสะสมหนังสือไว้กว่า 5,000 เล่ม (โอเคตอนนี้ผมยอมแพ้ครับ…

BIG DATA SERIES II คิดแบบนักวิทยาศาสตร์ข้อมูล

สรุปอย่างย่อ เป็นหนังสือที่ให้ความเข้าใจที่ลึกซึ้งขึ้นกว่าเริ่มแรกมากในความคิดผม ว่าการจะทำโปรเจค Big data นั้นต้องทำอย่างไร และประกอบด้วยอะไรบ้าง โดยเฉพาะการเจาะลึกไปยังด้าน Data Scientist ตามชื่อหนังสือเลย เพราะในเล่มจะประกอบด้วยโมเดลการคิดและสมการแบบต่างๆ ที่ถ้าเป็นคนที่ไม่มีความรู้พื้นฐานด้านคณิตศาสตร์หรือการวิเคราะห์ข้อมูลมาอาจเมาได้(แบบผม) ดังนั้น ถ้าใครกำลังจะเริ่มทำโปรเจคเกี่ยวกับ Big Data แต่ยังไม่รู้ว่าต้องรู้อะไรบ้าง หรือทำไปแล้ว และอยากจะหาแนวทางเปรียบเทียบการทำงาน ผมกล้าแนะนำหนังสือเล่มนี้เลย แต่ถ้าคุณเป็นคนทั่วไป ที่พอรู้เรื่อง digital หรือ data มาบ้าง ผมไม่ค่อยกล้าแนะนำเล่มที่ 2 นี้เท่าไหร่…

รู้อะไรไม่สู้รู้ดาต้า DATA FOR THE PEOPLE

สรุปอย่างย่อ นี่คือหนังสือที่จะทำให้คุณเข้าใจ data มากขึ้นในหลายมิติ คุณจะพบว่า data มากมายรอบตัวนั้นเกี่ยวพันกับชีวิตเราอย่างแยกไม่ออกแล้ว และ data ในอดีตของเรานั้นกลับเป็นตัวชี้น้ำ data ในอนาคตเรามากขึ้นทุกที หรือจะอนุมานว่า data นั้นเปรียบเสมือนดาบสองคมก็ว่าได้ ขึ้นอยู่กับคนที่มีเอาไปใช้ยังไง แต่ส่วนใหญ่วันนี้มักเอาไปใช้ไม่ค่อยดี เช่น ปากบอกว่าเพื่อให้บริการเราได้ดียิ่งขึ้น แต่ความจริงแล้วกลับหลอกล่อให้เราคลิ๊กซื้ออะไรที่ไม่จำเป็นมากขึ้นต่างหาก ฉะนั้น ใครที่อยากรู้เท่าทัน data ไม่ควรพลาดหนังสือเล่มนี้ ดีไม่ดีอ่านจบคุณอาจจะอยากลบข้อมูลทุกอย่างบนโซเชียล แล้วก็เลิกออนไลน์ไปออกธุดงเลยก็ได้ครับ สรุปแบบยาว ในยุคดิจิทัลที่ไม่ว่าใครก็ใช้สมาร์ทโฟนกันทั้งนั้น คนไทยเกือบ 50…

หลอกสมองให้ลองคิดกลับด้าน Law of Illusion

“เราไม่ได้เห็นโลกอย่างที่มันเป็น แต่เลือกทุกคนต่างเห็นโลกอย่างที่เราเลือกมอง”ถ้าให้เลือกสรุปจบทั้งเล่มในหนึ่งบรรทัด ผมคงเลือกประโยคนี้ เพราะคนเราไม่ได้เห็นโลกอย่างที่มันเป็นซักเท่าไหร่ แต่เราทุกคนต่างมี “แว่นตา” ที่ใช้มองแต่ละสิ่ง แต่ละเรื่องที่ต่างกันไป คนนึงอาจมองเรื่องนี้เป็นเรื่องเล็ก แต่อีกคนอาจมองเรื่องเดียวกันเป็นเรื่องคอขาดบาดตาย เรื่องแบบนี้มีให้พบเจออยู่เป็นประจำ เหมือนที่วินสตัน เชอร์ชิล อดีตนายกรัฐมนตรีประเทศอังกฤษ ที่นำพาประเทศผ่านพ้นวิกฤตสงครามโลกครั้งที่สองจนพลิกกลับมาเอาชนะนาซีได้ในครั้งนั้น เคยกล่าวเอาไว้ว่า “คนธรรมดามองเห็นปัญหาเป็นปัญหา แต่คนฉลาดมองเห็นปัญหาเป็นโอกาส” (ประโยคประมานนี้) แค่ประโยคนี้ก็ย้ำเตือนได้ดีถึง “มุมมอง” ของเรื่องเดียวกันที่ให้ผลต่างกันเกินคาด และทั้งหมดนี้ก็มาจากการ “หลอกสมองให้ลองคิดกลับด้าน” เหมือนชื่อหนังสือเล่มนี้จริงๆครับ เพราะเมื่อไหร่ก็ตามที่เราพบเจอเรื่องหนึ่งในชีวิต แล้วถ้าเรามองว่ามันเป็นปัญหา มันก็จะเป็นปัญหาอย่างที่เราคิดจริงๆ แต่ถ้าเมื่อไหร่เรากลับมองว่านั่นคือโอกาส โอกาสที่จะทำให้เราได้ปรับปรุงมันให้ดีขึ้น…

ฟาสต์ฟู้ดธุรกิจ 26, ทางของเราต้องก้าวเอง

จุดหมายเดียวกัน แต่กลับมีหลายเส้นทางให้เดินไป ถ้าเปรียบกับการเดินทาง ถ้าจุดหมายปลายทางคือเชียงใหม่ ก็มีหลายทางที่เราจะไปถึงได้ ตั้งแต่นั่งเครื่อง หรือขับรถ ถ้าสมัยก่อนอาจจะมีเดินเรือย้อนขึ้นไป แถมถ้าขับรถไปเส้นทางถนนที่จะพาเราไปถึงเชียงใหม่นั้นก็ไม่ได้มีแค่เส้นเดียว ตั้งแต่ถนนสายหลักตรงผ่านพิษณุโลก หรือจะไปทางจังหวัดตาก ยังไม่นับทางเล็กทางน้อยที่จะพาเราไปถึงเชียงใหม่ปลายทางของเราได้เหมือนกัน ชีวิตก็เหมือนกัน จุดหมายปลายทางเดียวกัน แต่กลับมีเส้นทางมากมายให้เราเลือกเดิน บางคนจุดหมายปลายทางคือความร่ำรวย ก็มีตั้งแต่เป็นผู้บริหารเงินเดือนหลายแสน หรือจะเป็นเจ้าของธุรกิจเงินหมุนเวียนหลายล้าน หรือบางคนจะเลือกทางลัดเล็กๆอย่างเล่นหวย หรือบางคนอาจจะเลือกทางลัดที่เสี่ยงหนักๆขายยาผิดกฏหมาย แต่ทุกทางนั้นล้วนมาจากการ “เลือก” ของแต่ละคนที่แตกต่างกัน ก็เพราะชีวิตก็คือการเลือก แม้กระทั่งไม่เลือกก็ยังนับว่าเป็นการเลือกที่จะไม่เลือกเหมือนกัน ดังนั้นฟาสต์ฟู้ธุรกิจเล่มที่ 26 ของคุณหนุ่มเมืองจันท์นี้ จะเต็มไปด้วยบทความถ่ายทอดเรื่องราวที่เต็มไปด้วยทางเลือก ทั้งจากชีวิตบุคคลสำคัญในบ้านเรา…

ฟาสต์ฟู้ดธุรกิจ 17, ความหวังไม่เห็นไม่ใช่ไม่มี

“ความหวังเปรียบเสมืองพระเครื่องทางใจ” คุณหนุ่มเมืองจันท์เปรียบเทียบไว้ได้น่าสนใจ สำหรับผม “ความหวัง” เป็นเหมือนการให้กำลังใจตัวเองนิดๆ หลอกตัวเองหน่อยๆ แต่เป็นการหลอกแบบ White lie คือหลอกตัวเองในแง่ดีว่าวันพรุ่งนี้จะดีกว่าวันนี้ หรือเรื่องดีๆกำลังจะตามมา แต่พอกลับมาคิดย้อนดู “ความหวัง” ก็ไม่ใช่การหลอกตัวเองในแง่ดีเสมอไปซะทีเดียว และไม่ได้ถึงขั้น “โลกสวย” เหมือนที่ชอบแดกดันกัน แต่ความหวัง ในแง่นึงก็เหมือนความจริง อย่างเวลาที่เราเจอเรื่องร้ายๆ โดยเฉพาะเรื่องที่ร้ายแรงและหนักหนามากๆในชีวิตเรา เรามักจะคิดว่าเราคงผ่านมันไปไม่ได้ มันคงไม่หายไปไหน หรือที่แย่ที่สุดคือเราเผลอคิดไปว่านี่เรื่องร้ายนี่เป็นเรื่องถาวรของชีวิตแล้ว แต่ในความเป็นจริง ไม่มีใครในโลกนี้หรอกที่จะเป็นคนที่จะเจอแต่เรื่องร้ายๆได้ทั้งชีวิต เพราะร้ายและดีคือส่วนผสมของชีวิตที่สลับกันมาเสมอ เหมือนเมื่อมีกลางคืนที่มืดมิด ยังไงก็ต้องมีกลางวันที่เจิดจ้าตามมา ถ้ากลางคืนคือความโชคร้ายในชีวิตเรา…

ฟาสต์ฟู้ดธุรกิจ 15, คำถามสำคัญกว่าคำตอบ

คำถามก็เหมือนกับเข็มทิศ ที่จะชี้บอกว่าปลายทางที่เราต้องการจะไปถึงคือตรงไหน ส่วนคำตอบก็เปรียบได้กับเส้นทาง ที่เราจะก้าวเดินไปเพื่อให้ถึงปลายทางของคำถามนั้น ดังนั้นถ้าผิดตั้งแต่คำถาม คำตอบที่ได้มากต่อให้สวยงามแค่ไหนก็ไม่มีประโยชน์ เช่น MK เองเคยมีปัญหาหลังจากเปลี่ยนมาใช้เตาไฟฟ้าว่า “น้ำเดือดช้า” ถ้าใครที่มีเตาไฟฟ้าที่บ้านจะรู้ดีว่าเวลาต้มน้ำด้วยเตาไฟฟ้านั้นไม่ร้อนเร็วสะใจเหมือนเตาแก๊สเลย ทางคุณฤทธิ์ ธีระโกเมน เจ้าของ MK เองมีพื้นฐานมาจากวิศวกรก็เลยใช้วิธีตั้งคำถามว่า น้ำเดือดด้วยอะไร คำตอบที่ได้คืออุณหภูมิ คุณฤทธิ์ เลยตั้งคำถามต่อไปว่า แล้วมีอุณหภูมิอะไรบ้าง หนึ่งคือตัวเตาส่งไปยังตัวน้ำ สองคือตัวน้ำที่เดือดแล้ว จากคำถามนี้เองเลยได้คำตอบที่ทำให้น้ำซุปเดือดเร็วง่ายๆว่า ก็ทำให้น้ำมันร้อนพร้อมเดือดซิ คำตอบง่ายมากครับ ใครจะบอกว่าขวานผ่าซากก็แล้วแต่มุมมอง แต่คำตอบนี้จริงที่สุด เพราะถ้าแก้ที่ความร้อนของเตาไม่ได้ ก็แก้ที่ความร้อนของน้ำตรงเลยง่ายกว่า…