อารมณ์ดีกับชีวิต, ฟาสต์ฟู้ดธุรกิจเล่ม 5

อ่านเล่มนี้จบทำให้คิดได้ว่าใครที่สามารถทำให้ตัวเอง “อารมณ์ดี” ได้มากกว่า และบ่อยครั้งกว่าคนอื่น ถือว่าคนนั้นเป็นคนมีบุญหนักหนา เพราะในในแต่ละวันเป็นที่รู้กันดีว่าเราอารมณ์ของเราไม่ได้ดีเหมือนหน้าตาตลอดทั้งวัน มีดี มีเสีย มีดี มีร้าย มีสุข มีเศร้า มีหัวเราะ มีโกรธ แต่ทุกอารมณ์ของเราก็ล้วนแล้วแต่มาจากมุมในการมองโลกของเราทั้งนั้น ไม่แปลกที่เราจะอารมณ์ไม่ดี เวลาที่ชีวิตมีปัญหา แต่กับคนที่น่าอิจฉาหรือเกิดมาโชคดีบางคน ที่สามารถมองปัญหาให้เป็นโอกาส และอารมณ์ดีไปกับมันได้ คนแบบนี้ซิ คือคนที่จะไปได้ไกลกว่าคนทั่วๆไปมาก อาจจะมีเพื่อนเราบางคนที่เป็นคนอารมณ์เสียกับอะไรได้ง่ายๆ แม้แต่เรื่องเล็กๆน้อยๆ ก็ยังพาลทำให้อารมณ์เสียได้ทั้งวัน แม้จะมี 24 ชั่วโมงเท่ากัน แต่กลับมีคุณภาพเวลาของความสุขที่ไม่เท่ากันกับคนที่สามารถมองโลกในแง่ดีได้บ่อยๆ แม้แต่กับปัญหาก็กลับมองเป็นเกมส์ปริศนาที่น่าท้าทาย…

ฝันใกล้ใกล้ ไปช้าๆ, ฟาสต์ฟู้ดธุรกิจ 4

เรามักมีฝันใหญ่ๆ ที่อยู่ไกลๆ แถมยังอยากไปถึงให้เร็วๆกันทั้งนั้น แต่ก็ไม่ได้ผิดอะไรครับ เพราะส่วนตัวผมก็เคยมีฝันอะไรแบบนั้นอยู่เรื่อยๆ เริ่มจากวัยเด็ก ฝันอยากเป็นนักเขียนการ์ตูนชื่อดัง ที่สร้างผลงานออกมาเป็นเล่มๆเหมือนที่ผมชอบอ่าน โตขึ้นมาหน่อยก็เริ่มฝันอยากเป็นนักดนตรีมือกีตาร์ชื่อดัง มีผลงานออกเทปให้สารกรี๊ดขอลายเซ็นกับเค้าบ้าง โตขึ้นมาอีกนิดก็ฝันอยากเป็นเจ้าของร้านเหล้าที่ใครๆก็อยากมาเที่ยวดื่มเต้นฟังเพลงกัน โตขึ้นมาอีกทีฝันอยากเป็นนักเล่นเกมส์ไปแข่งแร็คนาร็อคระดับประเทศที่เกาหลีใต้ พอเริ่มเข้าวัยทำงานก็ฝันอยากเป็นนักออกแบบกราฟฟิกดีไซเนอร์ที่มีผลงานให้ชื่นชมลงหนังสือ พอมาทำโฆษณาก็ฝันอยากมีชื่ออยู่ในงานรางวัลกับเค้าบ้าง ตลอดเวลาที่ผ่านมาผมฝันมาเยอะมากครับ เยอะขนาดที่ว่าพออ่านเล่มนี้จบ แล้วได้ลองนึกย้อนดูก็ถึงรู้ว่าเยอะจริงๆ แถมแต่ละฝันนั้นไกลเกินจะเอื้อม แต่ก็นั่นแหละครับ เรามักถูกพร่ำบอกจากผู้ใหญ่คนรอบข้างมาตั้งแต่เด็กว่าต้องฝันให้ใหญ่ ต้องประสบความสำเร็จในชีวิตให้ได้ ฟาสต์ฟู้ดธุรกิจเล่มที่ 4 ของหนุ่มเมืองจันท์เล่มนี้ รวมเรื่องราวเกี่ยวกับความฝันของใครหลายคน ส่วนใหญ่เป็นนักธุรกิจคนสำคัญในประเทศ แต่ก็มีดังๆนอกประเทศมาแซมๆบ้าง ให้เราเห็นเรื่องราวความฝันที่กลายเป็นความจริง ความฝันที่ไม่ได้แค่เอาแต่ฝันเหมือนคนส่วนใหญ่ แต่เป็นความฝันที่อาจจะใหญ่…

มองโลกง่ายง่ายสบายดี, ฟาสต์ฟู้ดธุรกิจ 3

เพราะหลายทีเราก็ตั้งโจทย์ให้ชีวิตยากไป ปัญหาเดียวกันแต่ตั้งคนละโจทย์ คำตอบก็ต่างกันแล้ว จะว่าไปการตั้งโจทย์ก็เหมือนกับการทำ strategy ปัญหาสุดคลาสสิคของการทำโฆษณาคือ…อยากให้คนรู้จักมากขึ้น หรือเพิ่ม Awareness ต้องทำไง หลายครั้งก็ตั้งโจทย์กันไปว่าต้องทำไวรัลวีดีโอ แล้วก็ไประดมเวลาพลังสมองกันหาทางทำวีดีโอให้น่าจะไวรัลที่สุด ถึงเวลาไอเดียมาก็คอมเมนท์กันตามความชอบ นั่นไม่ไวรัล นี่ไม่ไวรัล โดยที่ไม่เคยมีข้อสรุปกันเลยว่าอะไรที่ “น่าจะ” ไวรัลไม่ไวรัลเลยซักที ทั้งที่บางทีถ้าถอยออกมามองปัญหาให้กว้างขึ้นอีกนิด อาจจะเห็นอะไรที่มองข้ามไปทำให้ตั้งโจทย์ใหม่ได้ดีขึ้น โจทย์อาจไม่ใช่ awaness แต่อาจเป็นหาซื้อยากก็ได้ งั้นเลิกคิดไวรัล ไปเพิ่มช่องทางการขายหรือทำให้คนติดการซื้อผ่านออนไลน์กันเถอะ ที่พูดมาทั้งหมดไม่ใช่ทำไม่ได้ แต่ทำมาแล้วครับตอนดันยอดขายให้โฟมล้างหน้ารายหนึ่งขายบนออนไลน์เพิ่มขึ้นได้ 10เท่า พูดเรื่องตัวเองเยอะแล้ว กลับมาที่หนังสือหน่อยดีกว่า คนส่วนใหญ่ที่ทุกข์ระทมเพราะแก้ปัญหาชีวิตไม่ได้…

เดาะโลกดีดีแล้วตีลังกา, ฟาสต์ฟู้ดธุรกิจ ๒

แม้จะเป็นหนังสือที่เก่า เพราะตีพิมพ์ครั้งแรกผ่านมาเกือบ 20 ปีแล้ว แต่เนื้อหาสาระ ความรู้ที่ได้จากหนังสือฟาสต์ฟู้ดธุรกิจเล่มนี้นั้นไม่เก่าเลย หนุ่มเมืองจันท์ นักเขียนที่มักจะแอบเน้นในเรื่องการ “ตั้งคำถาม” อย่างคงเส้นคงวาอยู่เสมอ ผ่านมาร่วมยี่สิบปีก็ยังคงให้ความสำคัญกับ “คำถาม” มากกว่านักเขียนคนไหนๆที่ผมเคยอ่าน แค่ตั้งคำถามก็บอกได้เลยว่าฉลาดหรือโง่ คำถามที่ดีจะพาไปสู่คำตอบที่ดี ส่วนคำถามที่ผิดยังไงก็ไม่มีทางเจอคำตอบที่ถูก แถมการตั้งคำถามเปิดกว้างยังพาไปสู่คำตอบที่หลากหลายมากกว่าอีก เช่น คำถามแรก 5+5 ได้คำตอบอะไร แน่นอนว่ามีแค่ 10 เป็นคำตอบเดียวคำตอบสุดท้าย แต่ถ้าถามใหม่ว่า อะไรที่บวกกันแล้วได้ 10 แน่นอนว่าคำตอบมีมากกว่าสิบไปจนหลักร้อยอย่างน้อยๆแน่ๆ คนเก่งๆผู้บริหารหลายคนในบ้านเราให้ความสำคัญกับการ “ตั้งคำถาม”…

ปรากฏการณ์ 4.0

หนังสือเล่มนี้ทำให้รู้ว่าจากนโยบาย Thailand 4.0 ที่เป็นกระแสในบ้านเรานั้น แท้จริงแล้วตอนนี้ธุรกิจหรือผู้ประกอบการส่วนใหญ่ในบ้านเราอยู่ตรงไหน แล้วมีใครในธุรกิจไหนบ้างที่พูดได้ว่าไปถึง 4.0 แล้วในวันนี้ กับสุดท้ายแล้วอะไรบ้างที่ต้องรีบแก้ไขโดยด่วนเพื่อที่จะทำให้ Thailand เป็น 4.0 ได้จริงๆ เขียนโดยเหล่าคณะอาจารย์จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ด้วยการสำรวจในมุมกว้าง และเสาะหาในมุมลึกครับ ตอนนี้เราอยู่ตรงไหน ไกล้ถึง 4.0 แล้วหรือยัง ถ้าแบ่งเป็น 1 ถึง 4 จากการสำรวจในภาพรวมตอนนี้เราเลย 2 มาหน่อยแล้วครับ อยู่ที่ราวๆ 2.5 แม้ยังไม่ไกล้ 4…

Customer Genius ลูกค้าอัจฉริยะ

ในวันที่ลูกค้ารู้มากขึ้น เอาใจยากขึ้น และ loyalty กับแบรนด์น้อยลงมาก บรรดาแบรนด์มากมาย และองค์กรบริษัททั้งหลาย จะต้องปรับตัวกันยังไงให้อยู่รอดต่อไปได้ หนังสือเล่มนี้มีคำตอบให้ด้วยหนึ่งแนวทางที่ชัดเจน คือการเน้นไปที่ “ลูกค้า” ไม่ใช่ “ตัวเงิน” เพราะปฏิเสธไม่ได้ว่า “เงิน” ที่กลายเป็นผลกำไรให้กับธุรกิจนั้นต่างก็มาจากลูกค้าทั้งนั้น จะมีบ้านในการปฏิรูปขั้นตอนหรือวิธีการทำงานเพื่อลดต้นทุนลงเพื่อให้เพิ่มตัวเลขกำไรขึ้น แต่ก็หาใช่วิธีที่ยั่งยืนไม่ ลูกค้าอัจฉริยะเล่มนี้ หมายถึงธุรกิจไหนที่สามารถเข้าอกเข้าใจลูกค้าได้อย่างแท้จริงเท่านั้นที่จะเพิ่มผลกำไรให้ธุรกิจเติบโตได้ในระยะยาว ไม่ใช่แค่การเล่นแคมเปญการตลาดหรือใช้โปรโมชั่นส่วนลดเพื่อกระตุ้นยอดขายในระยะสั้น แต่ทำร้ายแบรนด์ตัวเองในระยะยาวอย่างที่ทำๆกัน หนังสือเล่มนี้ยังให้มุมมองใหม่ที่น่าสนใจในเรื่องการโฟกัสกับเฉพาะลูกค้าทีทำกำไรให้ธุรกิจจริงๆ หมายความว่าธุรกิจไม่จำเป็นต้องมีลูกค้าเป็นจำนวนมากๆ จนถึงขั้นมากกว่าคู่แข่งถึงจะดีอย่างที่คุ้นเคยกัน แต่ให้เน้นเฉพาะกลุ่มลูกค้าที่สร้างผลกำไรให้กับธุรกิจจริงๆเท่านั้นพอ ส่วนที่เหลือไม่ว่าจะเป็นพวกลูกค้าขาจร ลูกค้าที่เอาใจยาก หรือลูกค้าที่ไม่สร้างผลกำไรอะไรให้ เพราะไม่ว่าจะต้องใช้ต้นทุนในการดูแลลูกค้าที่สูงจนเข้าเนื้อแล้ว…

The Strategy and Tactics of Pricing

กลยุทธ์การตั้งราคา แนวทางการตัดสินใจเพื่อสร้างผลกำไร เมื่อราคาไม่ใช่แค่ “ราคา” ที่เคยเข้าใจอีกต่อไป หนังสือเล่มนี้แม้จะอ่านยากนิดๆ (มีอารมณ์คล้ายหนังสือเรียนที่มักจะต้องถูกบังคับจากอาจารย์ให้อ่าน) แต่ก็ถ้าตั้งใจอ่านซักหน่อยก็จะพบว่ามีอะไรให้เรียนรู้และเก็บเกี่ยวอีกเยอะ รวมถึงเคสที่น่าสนใจมากมาย หลายครั้ง “ราคา” มักเป็นส่วนสุดท้ายของการตัดสินใจ ที่มักจะเอา “ต้นทุน” มาบวก “ผลกำไร” ที่ต้องการ แล้วใช้ตัวเลขนั้นเป็นราคาขายให้กับลูกค้า แทบจะเรียกได้ว่าเป็นปลายทางของธุรกิจเลยก็ว่าได้ แต่หนังสือเล่มนี้ให้มุมมองใหม่ที่น่าสนใจว่า การตั้งต้นด้วยราคาก่อนจะเริ่มทำธุรกิจนั้น มีโอกาสที่จะทำให้ธุรกิจนั้นอยู่รอดและเติบโตได้มากกว่า!? สำหรับผมเป็นมุมมองใหม่ที่ไม่เคยคิดถึงมาก่อนเลยกับการ”เอาราคาเป็นตัวตั้ง” เพราะแต่ไหนแต่ไรมา การกำหนดราคาด้วยต้นทุนคือสินค้า > ต้นทุน > ราคา >…

แมคโดนัลด์ แฮมเบอร์เกอร์…ไม่ธรรมดา Everything I know about business I learned at McDonald

แบรนด์ธรรมดาที่เบื้องหลังไม่ธรรมดา กับ 7 วิธีการที่พาองค์กรให้อยู่รอดผ่านมรสุมทางเศรษฐกิจต่างๆตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมาให้อยู่รอดอย่างยิ่งใหญ่ จนเป็นร้านฟาสฟู๊ดที่มีสาขามากที่สุดในโลกทุกวันนี้ 1. ความซื่อตรงและเป็นพวกพ้อง แนวคิดและแนวทางในการทำธุรกิจที่ไม่เหมือนใคร และไม่คิดว่าจะมีใครเหมือน ด้วยการ “จับมือ” แทนการทำสัญญา ที่ผู้ก่อตั้งแมคโดนัลด์ เรย์ ครอก (Ray Kroc) ผู้ก่อตั้งและผู้บริหารรุ่นถัดมาใช้เป็นแนวทางในการดำเนินธุรกิจกับคู่ค้ามากมาย แม้จะผ่านมากี่สิบปีแล้ว สัญญาใจจากการจับมือกันนั้นก็ยังคงอยู่จนถึงทุกวันนี้ คู่ค้าหลายคนของแมคโดนัลด์ตั้งแต่รุ่นก่อตั้งเมื่อหลายสิบปีก่อน จนวันนี้ธุรกิจถูกส่งต่อมายังรุ่นที่สองหรือรุ่นลูก ก็ยังคงใช้การ “จับมือ” แทนการใช้เอกสารสัญญา เพราะด้วยแนวคิดที่ว่า ถ้าเราจะไม่ซื่อสัตย์ต่อกัน การทำสัญญาใดๆก็ไร้ความหมาย ธุรกิจ การค้า…

Disruption ฉีกแนวคิดสู่ชั้นเชิงธุรกิจ

ว่าด้วยวิธีคิดแบบ TBWA ที่เป็นแนวทางให้ TBWA ทั่วโลก คิดยังไงให้ต่าง? คำถามนี้คนโฆษณาและการตลาดมักจะคุ้นกันดี โดยเฉพาะคนเอเจนซี่ที่ต้องรับโจทย์จากนักการตลาด หรือแบรนด์มาอีกทีว่า จะทำยังไงให้สินค้าหรือบริการตัวเองต่างจากคู่แข่ง ทั้งๆที่ทุกวันนี้ความแตกต่างในสินค้าหรือบริการนั้นกลับแทบไม่มีเหลืออีกแล้ว นวัตกรรมใหม่ๆที่เคยทำให้แบรนด์ๆแตกต่างในได้ในอดีต กลับถูกลอกเลียนแบบได้ในเวลาที่สั้นลงกว่าทุกยุคที่ผ่านมา หรือที่มีคำเรียกว่า commondization หรือแปลง่ายๆเป็นภาษาชาวบ้านว่า “มันก็คือกันทั้งนั้นแหละ” แล้วเราจะทำยังไงให้เรา “ต่าง” จากคู่แข่งได้บ้างล่ะ? หนังสือเล่มนี้บอกว่ามันยังพอมีแนวทางอยู่ และแนวทางนี้ก็ประกอบด้วย 3 ส่วนหลักๆก็คือ Convention / Disruption / Vision Convention…

Biz View 361º กระตุกต่อมคิด มองธุรกิจมุมใหม่

“มุมใหม่” คำง่ายๆแต่น้อยคนนักจะทำได้ เพราะคนเราส่วนใหญ่มักจะติดมุมมองเดิมจากความเคยชิน ความเคยชินทำให้เราใช้สมองกับสิ่งนั้นลดลงโดยธรรมชาติ ซึ่งก็ไม่ผิดแปลกอะไร เพราะนั่นเป็นพันธุกรรมของมนุษย์เราที่ถูกโปรแกรมมาโดย DNA แล้วว่าพยายามเซฟพลังงานให้มากที่สุด โดยเฉพาะพลังงานทางความคิดที่ต้องใช้สมอง เพราะใครจะเชื่อว่าสมองที่หนักแค่ 1.2 กิโลนิดๆ กลับใช้พลังงานมากถึง 20% แต่ก็ยังมีกลุ่มคนจำนวนน้อยที่สามารถข้ามขีดจำกัดนั้นไปได้ ด้วยการใช้สมองให้มากกว่าคนทั่วไป พยายามคิดหา “มุมใหม่” ใน “สิ่งเดิม” จนเจอโอกาสมากมายที่มีแต่คนมองข้ามทั้งๆที่มองเห็นอยู่ตรงหน้า จนทำให้คนเหล่านั้นกลายเป็นผู้ที่ “ประสบความสำเร็จ” ทั้งหลายแหล่ที่เราเห็นตามหน้าข่าวทีวี หนังสือพิมพ์ หรือบนหน้าฟีดเฟซบุ๊คของเราด้วยซ้ำไป ฟังแบบนี้อาจจะดูท้อ แต่ความจริงแล้วการพยายามหา “มุมมองใหม่” เป็นเรื่องที่สร้างและฝึกฝนได้…