Data-First Marketing บทที่ 7 Data Analysis ลด Bias และ Belief ที่ทำร้ายธุรกิจเสียที

สรุปหนังสือ Data-First Marketing บทที่ 7 กับการทำ Data Analysis หรือการใช้ Data เพื่อลด Belief และ Bias จากการตัดสินใจออกไปให้เหลือน้อยที่สุด
ยุค Digital Driven Data เมื่อเราหันมาใช้ดิจิทัลมากขึ้นก่อให้เกิดดาต้ามากมาย และทุกวันนี้เราใช้ดาต้าแค่เพียงน้อยนิดเท่านั้น เปรียบกับนักเดินเรือที่อยู่ท่ามกลางมหาสมุทร แม้รอบตัวจะเต็มไปด้วยน้ำมากมายแต่ก็ล้วนแต่เป็นน้ำทะเล เป็นน้ำเค็มที่ไม่สามารถดื่มกินเข้าไปได้ เราต้องหาวิธีการกลั่นหรือสกัดน้ำทะเลให้กลายเป็นน้ำจืดที่เราสามารถดื่มได้ กับการทำ Data Analysis ก็เช่นเดียวกัน
อุปสรรคสำคัญคืออย่างของการจะทำ Data-Driven Marketing คือ Bias ของมนุษย์เรา เหมือนอย่างภาพยนต์เรื่อง Moneyball ที่บอกให้รู้ว่าเมื่อจะหันมาเลือกนักกีฬาจาก Data ก็ถูกปรามาสและต่อต้านมากมายจากคนในวงการ ซึ่งกว่าจะยอมรับกันได้ก็ต้องประสบความสำเร็จอย่างประจักษ์แล้ว
แมวมองหรือคนที่อยู่ในวงการมาก่อนต่างก็มี Data Attributes ในใจว่านักกีฬาที่ดีต้องเลือกจากอะไรบ้าง รูปร่าง หน้าตา ท่าตี เป็นต้น แต่เมื่อถามกลับไปว่า Attributes มากมายที่ใช้มานานนั้นสะท้อนถึงความเก่งได้อย่างไรบ้างกลับไม่มีใครสามารถตอบได้ และก็เอาแต่บอกกันว่านี่คือสิ่งที่วงการเบสบอลเชื่อถือมานาน ถ้ามันไม่ดีจริงเขาจะใช้กันมานานหลายสิบจนเป็นร้อยปีได้อย่างไร
อีกหนึ่งตัวอย่างที่น่าสนใจที่จะทำให้เห็นภาพว่าพลังของ Human Bias นั้นน่ากลัว แต่ถ้าเปิดใจให้ Data ก็จะช่วยให้ธุรกิจหันหัวหลบวิกฤตที่จะพุ่งเข้ามาได้
อย่าปล่อยให้ Bias หรือ Belief ครอบงำการตัดสินใจ
FOSE หนึ่งในงาน IT ใหญ่เก่าแก่งานหนึ่งของอเมริกาที่เกือบจะปิดตัวลงเพราะผู้บริหารเชื่อว่าเราทำมานานเกินไป!
ในตอนนั้นทีมผู้บริหารที่จัดงานเชื่อข่าวลือว่าเหล่า IT ตัวจริงไม่มาเดินงานแบบนี้ด้วยตัวเองหรอก มีแต่ส่งลูกน้องมาเดิน หรือไม่ก็มีแต่พวกที่ตั้งใจมาเอาของแจกฟรีในงานเท่านั้น ข่าวลือนี้ทำงาน FOSE นี้เสียชื่อเสียงไม่จำนวนไม่น้อย ส่งผลให้ผู้บริหารที่จัดงานนี้รู้สึกว่าจัดต่อไปก็ไร้ค่า สู้ปิดไปดีกว่าให้คนมาทำให้เราเสียหน้าอีกปี
แต่เมื่อเอา Data มาดูและ Analytics จริงๆ จึงได้พบความจริงว่ามีดีลเกิดขึ้นมากมายในงานที่จัดตลอดทุกปีแม้แต่ปีล่าสุด ทำให้เข้าใจความจริงที่แท้ว่างานนี้ก่อให้เกิดประโยชน์กับคนในวงการ IT มากมาย และท้ายที่สุดข่าวลือก็กลายเป็นแค่ข่าวลือต่อไป
ก้าวข้าม Bias และ Belief ด้วย Data
การตลาดแบบฉลาดยุคใหม่คือการตลาดที่ใช้ดาต้าช่วยคิดและตัดสินใจ ซึ่งประกอบด้วย 3 ขั้นตอนสำคัญแต่เรียบง่าย
- ตั้งคำถามที่ใช่ ก่อนจะเริ่มใช้ดาต้าครั้งใดต้องถามตัวเองให้แน่ใจว่านี่คือเราสำคัญที่เราต้องรู้จริงหรือเปล่า
- ต้องรู้ว่าดาต้าแบบไหนหรือดาต้าอะไรจะตอบคำถามที่เราอยากรู้ได้
- วิเคราะห์ให้เห็น Insight ใหม่ ต้องสามารถเข้าใจได้ว่า Data แสดงผลแบบนี้เพราะอะไร มันมีที่มาที่ไปอย่างไร และรู้ว่าจะต้องทำอะไรต่อชัดเจน
สิ่งที่เรามักพบว่าเป็น Belief หรือ Bias ที่มักส่งผลให้การตัดสินใจแย่หรือผิดทางเป็นประจำ
Beauty Bias สวยทำไมถ้าขายไม่ได้
หลายคนมักกังวลกับเรื่องความสวยหรือดีไซน์มากเกินไป ส่วนหนึ่งเพราะอาจเห็นตัวอย่างอย่างแบรนด์ Apple ว่าที่ขายดีถล่มทลายจนถึงทุกวันนี้เพราะมีดีไซน์ที่สวยแบบแทบจะไร้ที่ติด (ยกเว้นติ่งกล้องที่ยื่นมากินขอบหน้าจออะนะ) แต่เราก็ลืมไปว่าความเป็นจริงแล้วเป้าหมายของธุรกิจและการตลาดไม่ใช่ความสวย แต่เป็นการขาย ถ้าความสวยที่เพิ่มขึ้นช่วยให้เราขายดีขึ้นก็ควรจะสวยไป แต่ถ้าไม่คำถามคือเราจะสวยไปทำไม ถ้าสวยแล้วขายไม่ได้นับเป็นการตัดสินในและลงทุนที่ไร้สาระมาก
Finish Line เว็บขายรองเท้าและเสื้อผ้ากีฬาที่เกือบเจ๊งเพราะความสวย

ในปี 2012 ร้านขายของเท้า Finish Line ได้ทำการปรับโฉมดีไซน์เว็บไซต์ตัวเองใหม่แบบยกเครื่อง เพราะทีมผู้บริหารมองว่าเว็บเดิมนั้นน่าเกลียด ดูเชย เลยอยากยกดีไซน์เว็บไซต์ใหม่หมดจรดให้ดูสวยสะดุดตา แต่หารู้ไม่ว่านั่นแหละคือการตัดสินใจที่กำลังนำไปสู่ยอดขายที่ลดลงมหาศาล
เพราะหลังจากเปิดตัวเว็บไซต์ใหม่ที่ผ่านการดีไซน์มาอย่างสวยงามแบบบรรจง สิ่งที่เกิดขึ้นคือผ่านไปแค่ 17 วันยอดขายหายไปกว่า 100 ล้านบาท แน่นอนว่า Chief Digital Officer หรือ CDO นั้นถูกไล่ออกในทันที แล้วทั้งหมดที่ทำไปก็ถูกเททิ้งเพราะ CEO สั่งให้เอาเว็บที่ดูห่วยๆ ไม่สวยกลับคืนมา และนั่นก็ทำให้ยอดขายเดิมที่เคยดีกลับมาอีกครั้ง
Marks & Spencer เว็บสวยขึ้นแต่ยอดขายลดลง 8%

แบรนด์ดังที่เชื่อว่าหลายคนน่าจะรู้จักและคุ้นเคย แต่ใครจะเชื่อว่า Mark & Spencers จะเคยลงเอยเหมือน Finish Line
เมื่อผู้บริหารและทีมงานคิดว่าเว็บเดิมที่ใช้มานานดูไม่ทันสมัย ดีไซน์ไม่สวยโดนใจเอาเสียเลย ก็เลยทำการทุ่มทุนยกเครื่องเว็บไซต์และระบบ Ecommerce ใหม่ทั้งหมดเป็นเงินกว่า 240 ล้านเหรียญ และใช้เวลากว่า 2 ปี พวกเขาก็มั่นใจว่าถ้าเปิดตัวไปจะต้องปังแน่ เพราะจากเว็บหน้าตาเชยๆ แย่ๆ วันนี้หน้าตาดูเป็นแมกกาซีนในรูปแบบดิจิทัลเรียบร้อยแล้ว
แต่หลังจากเปิดตัวไปได้ 13 สัปดาห์ก็พบว่ายอดขายลดลงทันทีกว่า 8% กลายเป็นว่าความสวยที่ทีมงานคิดว่าโดนกลับไม่สามารถดึงดูดผู้บริโภคให้ซื้อของได้ดีกว่าเดิม แถมยังแย่กว่าเดิมด้วยซ้ำ
ขนาดเว็บไซต์ใหม่มีการใส่วิดีโอเข้าไป ปรับสไตล์ใหม่ให้ดูเป็นไลฟ์สไตล์มากขึ้น แต่ก็นั่นแหละครับ เมื่อสวยไปแต่ขายไม่ได้ก็ไร้ค่าทางธุรกิจ ทาง Mark & Spencer ก็เลยปรับเว็บไซต์และแพลตฟอร์มตัวเองใหม่อีกรอบ และกว่าสถานการณ์จะดีขึ้นก็ล่วงไปถึงต้นปี 2015 ที่ดีไซน์สามารถช่วยยอดขายได้จริงถึง 38.7% แต่ก็มาจากการวิเคราะห์ Data ว่าตกลงดีไซน์แบบไหนแน่จึงจะทำให้คนอยากกดซื้อสินค้ามากกว่าเดิม
Bias ต้องหายไป เพิ่มการใช้ Data เข้ามาแทน
ทั้งหมดที่เล่ามานี้จะทำให้เห็นภาพว่า Bias ต้องหมดไปจากการตัดสินใจทางธุรกิจเสียที (ถ้าส่วนตัวพอรับได้) และหันมาใช้ Data ช่วยตัดสินใจเพิ่มขึ้น หรือให้ดีคือใช้ Data ให้ได้มากที่สุดครับ
อย่าแรกคือเราต้องเลือกดาต้าที่ใช่เพื่อตอบคำถามสำคัญให้เป็น เพราะไม่ใช่ดาต้าอะไรก็ได้จะตอบคำถามเราได้ นั่นคือสิ่งที่คนมักเข้าใจผิด และหลังจากนั้นเราต้องรู้ว่าดาต้าที่เราต้องการอยู่ที่ไหน อยู่กับใคร หรือจะใช้เทคโนโลยีอะไรในการจัดเก็บ
ระวังการใช้ Data แบบมี Bias
แม้ว่าการใช้ดาต้าจะช่วยลด Bias ได้ แต่มนุษย์เรานั้นก็หลักแหลมกว่าที่คิด เพราะบางคนก็เลือกที่จะใช้ดาต้าอย่างมี Bias หรือใช้เพื่อสนับสนุนความคิดและการตัดสินใจของตัวเองที่เรียกกันว่า Cherry Picking
การเลือกใช้ดาต้าแบบ Cherry Picking นั้นสำคัญมาก เหมือนกับการให้ค่าบางอย่างมากเกินจริงเพราะเรารู้สึกว่าน่าสนใจในความคิดเรา เราอาจจะเห็นตัวเลขผิดปกติบางอย่างแล้วปักใจกับมันเร็วเกินไป จนลืมมองภาพรวมทั้งหมดเพื่อเข้าใจความจริง
หรือการเห็นข้อมูลสองส่วนที่สอดคล้องกันอย่างไม่น่าเชื่อ หรือที่เรียกว่า Correlation แต่ไม่สามารถอธิบายหรือตอบได้ว่ามันเกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์ หรือเป็นเหตุเป็นผลกันอย่างไร
สิ่งสำคัญคือเราต้องเข้าใจบริบทหรือที่มาที่ไปของดาต้าด้วย เราต้องเข้าใจ Context ของความสัมพันธ์นั้น ถ้าตอบไม่ได้มันก็มีโอกาสมากที่จะเป็นแค่เรื่องบังเอิญที่สอดคล้องกัน แต่ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกันหรือเป็นเหตุเป็นผลกันแต่อย่างไร
5 หลักใช้ดาต้าอย่างเป็นวิทยาศาสตร์
- Signal ดูสัญญาณความผิดปกติที่เกิดขึ้น
- Hypothesis ตั้งสมมติฐานจาก Signal นั้นว่าน่าจะเป็นเพราะอะไร
- Experiment ทดสอบสมมติฐานที่ตั้งไว้ว่าเป็นจริงหรือแค่คิดไปเอง
- Repeat ทดสอบลองทำซ้ำกับตัวแปรอื่นว่ามันเกิดซ้ำแบบนี้เสมอจนพิสูจน์ได้ว่าจริง
- Insightful เมื่อรู้ความจริงแท้แล้วก็ต้องหาทางนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อธุรกิจ
2 Data หลักที่นักการตลาดต้องรู้ว่าต่างกันอย่างไร
ในโลกดาต้ามีดาต้ามากมายหลายชนิดให้เลือกใช้ แต่เราสามารถสรุปออกมาได้เป็น 2 ชนิดหลักที่นักการตลาดต้องรู้เพราะจะใกล้ชิดกับดาต้าสองขนิดนี้มาก
- Customer data ข้อมูลที่ได้จากลูกค้าตรง ไม่ว่าจะข้อมูลการซื้อ ข้อมูลการสมัครสมาชิก ข้อมูลจาก CRM หรือข้อมูลจากการโฆษณา ซึ่งข้อมูลพวกนี้จะเอามาช่วยทำ Buyer Personas ได้ ทำให้เราสามารถกำหนด Strategy และ Marketing ที่แม่นยำกว่าเดิม หมดเวลาเดาแล้วว่าลูกค้าเราเป็นใครบ้าง เริ่มจากการดู Data ว่าตกลงแล้วลูกค้าเราแบ่งออกเป็นกี่กลุ่ม
- Marketing Operation data นักการตลาดในยุคดาต้า 5.0 จะแค่ใช้ดาต้าที่มีอย่างเดียวไม่ได้ แต่ต้องคิดที่จะหาทางเก็บดาต้าจากลูกค้าเพิ่มขึ้นด้วย อย่าทำแคมเปญการตลาดเพียงแค่ให้คนรู้จัก แต่ต้องทำเพื่อให้ได้ Customer data กลับมาเก็บไว้ใช้งานเพิ่มขึ้นด้วย ลองศึกษา Data Collection Canvas จากหนังสือ Data-Driven Marketing การตลาดแบบฉลาดใช้ดาต้าเพิ่มเติมครับ
เริ่มต้น Data Analysis อย่างไรดีสำหรับ Marketer
การเริ่มต้น Data Analysis สำหรับนักการตลาดคือการแยกให้ออกก่อนว่าเงินที่ใช้ไปก่อให้เกิดโอกาสขายมากเท่าไหร่ และพลาดไปเท่าไหร่ เริ่มต้นจากการดูสินค้าที่ขายได้จริง กับสินค้าที่ถูกใส่รถเข็นไว้แต่ยังไม่ยอมกดจ่ายเงินก็ได้ครับ
เริ่มจากการเปรียบเทียบตามช่วงเวลา ว่ามีช่วงเวลาไหนไหมที่ขายดีและขายได้แตกต่างกัน
ลองปรับมุมมองผ่านการทำ Data Visualization ในรูปแบบต่างๆ เพื่อให้เราได้เห็นดาต้าในหลายๆ แง่มุม ซึ่งหลายครั้งก็ทำให้เราได้เห็น Insight ใหม่ที่ไม่คาดคิดมาก่อนได้
สุดท้ายคือการทดลองไปเรื่อยๆ ว่าจาก Insight ที่เห็นนั้นเป็นจริงสามารถทำซ้ำได้หรือไม่ เพราะถ้าสิ่งไหนที่ทำซ้ำไม่ได้นั่นไม่ใช่ Insight ที่แท้จริงในโลกการตลาดยุคดาต้า 5.0 ครับ
อ่านสรุปหนังสือ Data-First Marketing บทที่ 8 > คลิ๊ก
อ่านสรุปตอนที่ 1 > คลิ๊ก
อ่านสรุปตอนที่ 2 > คลิ๊ก
อ่านสรุปบทที่ 1 > คลิ๊ก
อ่านสรุปบทที่ 2 > คลิ๊ก
อ่านสรุปบทที่ 3 > คลิ๊ก
อ่านสรุปบทที่ 4 > คลิ๊ก
อ่านสรุปบทที่ 5 > คลิ๊ก
อ่านสรุปบทที่ 6 > คลิ๊ก