วิชาความสุข ที่มีสอนแค่ในฮาร์วาร์ด Happier

“ความสุขของเราคืออะไร?” และ “ทำไมสิ่งนี้ถึงเป็นความสุขของเรา?” คำถามแรกคือคำถามที่ผุดขึ้นมาทันทีเมื่อเริ่มอ่านและอ่านจบ ส่วนคำถามที่สองเริ่มโผล่ออกมาเมื่อย้อนคิดถึงคำถามแรก ถ้าจะบอกว่าความสุขคือจุดมุ่งหมายสูงสุดในการใช้ชีวิตของคนเราก็ไม่ผิดนัก เพราะทุกคนต่างก็ดิ้นรนแสวงหาความสุขกันทั้งนั้น เพียงแต่ “ความสุขของเราคืออะไร?” นี่คือคำถามที่ผมเชื่อว่าคนส่วนใหญ่มีคำตอบในใจอยู่แล้ว เช่น มีรายได้พอเลี้ยงครอบครัวให้อยู่สุขสบาย (บางคนต้องการเดือนละสองหมื่น แต่บางคนก็ต้องการเดือนละสองล้าน) หรืออาจจะเป็น เมื่อทำธุรกิจประสบความสำเร็จจนมีเงินเก็บถึงจุดนึง (บางคนต้องการสิบล้านบาท หรือบางคนก็ต้องการร้อยล้านบาทขึ้นไป) หรือบางคนอาจจะเป็นการที่ได้เรียนจบเกรียตินิยม หรืออาจจะเป็นการได้ทำงานในบริษัทที่มั่นคงและมีชื่อเสียง หรืออาจจะเป็นการได้มีตำแหน่งใหญ่โต เป็น VP หรือบอร์ดบริหาร หรือบางคนอาจจะแค่ได้กินของอร่อยๆอย่างไอศกรีมซักแท่ง นั่นแหละครับความสุขที่ต่างกันไปของแต่ละคน แต่ส่วนใหญ่ก็คงคล้ายๆกันไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเงิน บ้าน รถ งาน…

หลอกสมองให้ลองคิดกลับด้าน Law of Illusion

“เราไม่ได้เห็นโลกอย่างที่มันเป็น แต่เลือกทุกคนต่างเห็นโลกอย่างที่เราเลือกมอง”ถ้าให้เลือกสรุปจบทั้งเล่มในหนึ่งบรรทัด ผมคงเลือกประโยคนี้ เพราะคนเราไม่ได้เห็นโลกอย่างที่มันเป็นซักเท่าไหร่ แต่เราทุกคนต่างมี “แว่นตา” ที่ใช้มองแต่ละสิ่ง แต่ละเรื่องที่ต่างกันไป คนนึงอาจมองเรื่องนี้เป็นเรื่องเล็ก แต่อีกคนอาจมองเรื่องเดียวกันเป็นเรื่องคอขาดบาดตาย เรื่องแบบนี้มีให้พบเจออยู่เป็นประจำ เหมือนที่วินสตัน เชอร์ชิล อดีตนายกรัฐมนตรีประเทศอังกฤษ ที่นำพาประเทศผ่านพ้นวิกฤตสงครามโลกครั้งที่สองจนพลิกกลับมาเอาชนะนาซีได้ในครั้งนั้น เคยกล่าวเอาไว้ว่า “คนธรรมดามองเห็นปัญหาเป็นปัญหา แต่คนฉลาดมองเห็นปัญหาเป็นโอกาส” (ประโยคประมานนี้) แค่ประโยคนี้ก็ย้ำเตือนได้ดีถึง “มุมมอง” ของเรื่องเดียวกันที่ให้ผลต่างกันเกินคาด และทั้งหมดนี้ก็มาจากการ “หลอกสมองให้ลองคิดกลับด้าน” เหมือนชื่อหนังสือเล่มนี้จริงๆครับ เพราะเมื่อไหร่ก็ตามที่เราพบเจอเรื่องหนึ่งในชีวิต แล้วถ้าเรามองว่ามันเป็นปัญหา มันก็จะเป็นปัญหาอย่างที่เราคิดจริงๆ แต่ถ้าเมื่อไหร่เรากลับมองว่านั่นคือโอกาส โอกาสที่จะทำให้เราได้ปรับปรุงมันให้ดีขึ้น…

Rise of The Robots หุ่นยนต์ผงาด เทคโนโลยี และภัยแห่งอนาคตที่ไร้งาน

สรุปอย่างสั้น เมื่อเทคโนโลยีอย่างหุ่นยนต์ ไม่ว่าจะในรูปแบบที่มีตัวตนจริงๆที่จับต้องได้ หรืออาจจะเป็นแค่ระบบที่จับต้องไม่ได้อย่าง AI ก็ตาม กำลังจะเข้ามาปฏิวัติชีวิตเราทุกคนบนโลกที่เกี่ยวข้องกับระบบ “ตลาด” อย่างไม่อาจจะต้านทานได้ การเปลี่ยนแปลงจากเทคโนโลยีหุ่นยนต์ครั้งนี้จะรุ่นแรงยิ่งกว่าเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างคอมพิวเตอร์ หรือเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตไปอย่างเทียบกันไม่ได้ ลองคิดดูซิว่าตอนที่คอมพิวเตอร์เริ่มกลายเป็นหนึ่งในอุปกรณ์สำนักงาน ก็ทำเอาผู้ใหญ่หลายคนในตอนนั้นต้องปรับตัวเรียนรู้ใหม่มากขนาดไหนกว่าจะลงตัว หรืออย่างตอนที่อินเทอร์เน็ตเข้าถึงทุกหย่อมหญ้าด้วยพลังของสมาร์ทโฟนราคาถูก ที่ทำให้การเข้าถึงข้อมูลบนออนไลน์นั้นเป็นเรื่องง่ายที่คนรุ่นปู่ย่าก็ทำได้ จนขาดไม่ได้แล้วด้วยซ้ำ การปฏิวัติหุ่นยนต์นี้ถ้าจะเรียกว่าการปฏิวัติทางเทคโนโลยีที่เป็นเรื่องของ Big Data, Machine Learning และ AI หรือที่เรียกรวมๆได้ว่า “ระบบอัตโนมัติ” ก็ได้ครับ แล้วเจ้าระบบอัตโนมัตินี่แหละที่จากที่เคยเอามาทดแทนแรงงานแบบทำซ้ำได้ เช่น การผลิตรถยนต์ทุกวันนี้แทบจะไม่ต้องใช้คนงานเท่าสมัยก่อนอย่างเทียบไม่ได้ เพราะสามารถใช้หุ่นยนต์ในการทำงานซ้ำๆที่แน่นอนเหล่านั้นได้รวดเร็วและแทบไม่มีความผิดพลาดเลย…

A Little History of Religion ศาสนา ประวัติศาสตร์ศรัทธาแห่งมวลมนุษย์

หลังจากอ่านเล่ม “พุทธโคดม” จบ แต่ความอินและความสนใจในเรื่องศาสนากำลังครุกกรุ่นอยู่ ก็เจอว่ามีเล่มนี้อยู่ที่บ้านยังไม่ได้อ่าน ได้มาจากงานหนังสือแห่งชาติเมื่อปลายปี 2017 ที่ผ่านมาอยู่พอดี ก็เลยหยิบมาอ่านต่อให้บรรลุไปเลยแล้วกัน ถ้าให้สรุปย่อๆของเล่มนี้คือ รวมเรื่องราวของประวัติศาสตร์ด้านศาสนาของโลกตั้งแต่เริ่มมีการบันทึกไว้ ตั้งแต่ศาสนาโซโรอัสเตอร์บูชาไฟ อับราฮัมผู้ให้กำเนิด 3 ศาสนาสำคัญของโลกอย่าง ยิว คริสต์ และ อิสลาม มาจนถึงศาสนาอื่นๆและนิกายแยกย่อยของศาสนาหลักๆอีกมากมาย เรื่องละนิด อย่างละหน่อย เมื่ออ่านจบก็จะประกอบกันเป็นภาพรวมด้านศาสนาของโลกก็ว่าได้ แต่ถ้าให้ลงรายละเอียดอีกนิดก็ทำให้เข้าใจว่า ศาสนาหลักๆบนโลกแบ่งออกเป็นสองทาง หนึ่งเอกเทวนิยม หรือ มีพระเจ้าเพียงองค์เดียว อย่าง คริสต์…

Buddha Gotama พุทธโคดม

บทวิเคราะห์เชิงรัฐศาสตร์ ว่าด้วยพุทธประวัติในทางบริบทางเศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรมอินเดียในสมัยพุทธกาล “สตาร์ทอัพทางจิตวิญญาณ” คือความรู้สึกที่ผุดขึ้นมาตอนเริ่มอ่าน และอ่านจบก็ยังคิดว่าน่าจะเป็นคำสรุปที่ได้จากหนังสือเล่มนี้ในการทำความเข้าใจพุทธศาสนาในอีกมุมนึงที่ไม่เคยรู้มาก่อน ที่บอกว่าเป็น “สตาร์อัพททางจิตวิญญาณ” เพราะ ถ้าเปรียบเทียบกับในยุคปัจจุบันที่เต็มไปด้วยบริษัท องค์กร หรือผู้ก่อตั้ง Startup น้อยใหญ่มากมาย เพราะต้องการจะปฏิวัติในแง่ธุรกิจเป็นหลัก เพื่อสร้างทางเลือกหรือฉีกหนีจากบริษัทยักษ์ใหญ่ที่กุมอำนาจหลักๆของโลกไว้ หรืออีกเหตุผลหลักก็คือ “ความไม่พอใจ” ในสภาพที่เป็นอยู่ในปัจจุบันจนต้องลุกขึ้นมาลงมือทำอะไรซักอย่างจนส่งสามารถเติบโตต่อได้ เช่น Apple ที่ครั้งตั้งต้นคือบริษัท Startup ที่ต้องการจะสร้างทางเลือกใหม่ให้กับคนทั่วไปเข้าถึงคอมพิวเตอร์ได้ หรือ Uber บริษัท Startup ที่กลายเป็นยักษ์ใหญ่ระดับโลกในวันนี้…

INBOUND MARKETING การตลาดแบบแรงดึงดูด

สรุปหนังสือ Inbound Marketing เล่มนี้ เมื่ออ่านจบผมคิดว่าหนังสือเล่มนี้เหมาะกับคนสามกลุ่ม กลุ่มแรกคือคนที่เพิ่งเรียนรู้และสนใจเรื่องการตลาด อยากรู้ว่าการตลาดในยุคดิจิทัลทุกวันนี้ควรรู้อะไร และต้องทำอย่างไร หนังสือเล่มนี้น่าจะเป็นหนังสือการตลาด 101 ที่ครบและครอบคลุมในทุกด้านที่จำเป็นต้องรู้ กลุ่มที่สองคือคนที่กำลังสนใจศึกษาเรื่องดิจิทัลมาร์เก็ตติ้ง หรือการตลาดออนไลน์เพิ่มเติม อาจจะเป็นคนที่เก่งกาจเรื่องการตลาดและการขายแบบเดิม แต่อยากอัพเดทตัวเองให้ทันโลก แบบหลักสูตรเร่งลัด และไม่ต้องการพวกศัพท์แสงเทคนิคเยอะ เพราะหนังสือเล่มนี้ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย สามารถเปรียบเปรยกับเรื่องต่างๆรอบตัวได้อย่างดี นั่นหมายความว่าผู้เขียนต้องแตกฉานดีจนสามารถเปรียบเทียบกับเรื่องต่างๆรอบตัว สามารถทำให้เรื่องใหม่ของคนที่ยังไม่แน่นเรื่องดิจิทัล ก็สามารถเข้าใจได้ว่าไม่ได้ใหม่จนน่ากลัวขนาดนั้น ส่วนกลุ่มที่สามที่ผมอยากแนะนำให้อ่านก็คือพวกที่คิดว่ารู้ดีอยู่แล้ว หรือคนที่ทำงานด้านดิจิทัลมานาน ด้วยความที่มันนานนี่แหละครับ บางครั้งบางทีเราก็อาจหลงลืมอะไรบางอย่างที่มันเป็นพื้นฐานไปได้ เหมือนได้กลับมาทบทวนความรู้อีกครั้ง หรือบางเรื่องก็อาจจะได้อีกมุมมองในเรื่องที่เคยรู้ หรือเคยคิดว่ารู้ครับ เนื้อหาในเล่มแบ่งย่อยออกเป็น…

ฟาสต์ฟู้ดธุรกิจ 26, ทางของเราต้องก้าวเอง

จุดหมายเดียวกัน แต่กลับมีหลายเส้นทางให้เดินไป ถ้าเปรียบกับการเดินทาง ถ้าจุดหมายปลายทางคือเชียงใหม่ ก็มีหลายทางที่เราจะไปถึงได้ ตั้งแต่นั่งเครื่อง หรือขับรถ ถ้าสมัยก่อนอาจจะมีเดินเรือย้อนขึ้นไป แถมถ้าขับรถไปเส้นทางถนนที่จะพาเราไปถึงเชียงใหม่นั้นก็ไม่ได้มีแค่เส้นเดียว ตั้งแต่ถนนสายหลักตรงผ่านพิษณุโลก หรือจะไปทางจังหวัดตาก ยังไม่นับทางเล็กทางน้อยที่จะพาเราไปถึงเชียงใหม่ปลายทางของเราได้เหมือนกัน ชีวิตก็เหมือนกัน จุดหมายปลายทางเดียวกัน แต่กลับมีเส้นทางมากมายให้เราเลือกเดิน บางคนจุดหมายปลายทางคือความร่ำรวย ก็มีตั้งแต่เป็นผู้บริหารเงินเดือนหลายแสน หรือจะเป็นเจ้าของธุรกิจเงินหมุนเวียนหลายล้าน หรือบางคนจะเลือกทางลัดเล็กๆอย่างเล่นหวย หรือบางคนอาจจะเลือกทางลัดที่เสี่ยงหนักๆขายยาผิดกฏหมาย แต่ทุกทางนั้นล้วนมาจากการ “เลือก” ของแต่ละคนที่แตกต่างกัน ก็เพราะชีวิตก็คือการเลือก แม้กระทั่งไม่เลือกก็ยังนับว่าเป็นการเลือกที่จะไม่เลือกเหมือนกัน ดังนั้นฟาสต์ฟู้ธุรกิจเล่มที่ 26 ของคุณหนุ่มเมืองจันท์นี้ จะเต็มไปด้วยบทความถ่ายทอดเรื่องราวที่เต็มไปด้วยทางเลือก ทั้งจากชีวิตบุคคลสำคัญในบ้านเรา…

ทางรอดในโลกใบใหม่ แห่งการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่สี่, Shaping the Fourth Industrial Revolution

จากหนังสือการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ก่อนหน้าที่เคยอ่านไป ที่บอกให้รู้ว่าการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่สี่คืออะไร ก็คือการปฏิวัติด้วย Big Data, Machine Learning และ AI ที่มีพื้นฐานมาจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 3 หรือการปฏิวัติดิจิทัล มาคราวนี้ Klaus Schwab ออกมาเขียนหนังสือเล่มต่อเพื่อบอกให้รู้ว่า ถ้าอยากจะรอดให้ได้ต้องทำตัวอย่างไร ในวันนี้มนุษย์ส่วนใหญ่อาจถูกเทคโนโลยีที่สร้างมากดขี่หรือทำลายล้างเราไปโดยไม่รู้ตัว และไม่ใช่แค่เราเท่านั้นที่ต้องปรับตัว แต่ผู้เขียนยังบอกว่าสิ่งสำคัญคือทั้งสังคมและโดยเฉพาะภาครัฐยิ่งต้องปรับตัว เพราะไม่อย่างนั้นแล้วคุณค่าของมนุษย์จะถูกเทคโนโลยีที่สามารถทดแทนได้เข้ามาล้มล้างเราไปหมด หรือเทคโนโลยีที่ทรงพลังไม่น่าเชื่อจะกลายเป็นเครื่องมือของผู้ทรงอำนาจกลุ่มเล็กๆ ที่จะยิ่งใช้กดขี่คนส่วนมากให้ไม่ได้ลืมตาอ้าปากยิ่งกว่าเดิม แง่คิดหนึ่งในเล่มที่น่าสนใจที่ผู้เขียนบอกว่า เรามักอ้างว่าเทคโนโลยีก็เหมือนดาบสองคม เหมือนเหรียญสองด้าน หรือก็เป็นแค่เครื่องมือที่ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของผู้ใช้ เช่น…

ฟาสต์ฟู้ดธุรกิจ 17, ความหวังไม่เห็นไม่ใช่ไม่มี

“ความหวังเปรียบเสมืองพระเครื่องทางใจ” คุณหนุ่มเมืองจันท์เปรียบเทียบไว้ได้น่าสนใจ สำหรับผม “ความหวัง” เป็นเหมือนการให้กำลังใจตัวเองนิดๆ หลอกตัวเองหน่อยๆ แต่เป็นการหลอกแบบ White lie คือหลอกตัวเองในแง่ดีว่าวันพรุ่งนี้จะดีกว่าวันนี้ หรือเรื่องดีๆกำลังจะตามมา แต่พอกลับมาคิดย้อนดู “ความหวัง” ก็ไม่ใช่การหลอกตัวเองในแง่ดีเสมอไปซะทีเดียว และไม่ได้ถึงขั้น “โลกสวย” เหมือนที่ชอบแดกดันกัน แต่ความหวัง ในแง่นึงก็เหมือนความจริง อย่างเวลาที่เราเจอเรื่องร้ายๆ โดยเฉพาะเรื่องที่ร้ายแรงและหนักหนามากๆในชีวิตเรา เรามักจะคิดว่าเราคงผ่านมันไปไม่ได้ มันคงไม่หายไปไหน หรือที่แย่ที่สุดคือเราเผลอคิดไปว่านี่เรื่องร้ายนี่เป็นเรื่องถาวรของชีวิตแล้ว แต่ในความเป็นจริง ไม่มีใครในโลกนี้หรอกที่จะเป็นคนที่จะเจอแต่เรื่องร้ายๆได้ทั้งชีวิต เพราะร้ายและดีคือส่วนผสมของชีวิตที่สลับกันมาเสมอ เหมือนเมื่อมีกลางคืนที่มืดมิด ยังไงก็ต้องมีกลางวันที่เจิดจ้าตามมา ถ้ากลางคืนคือความโชคร้ายในชีวิตเรา…

ฟาสต์ฟู้ดธุรกิจ 15, คำถามสำคัญกว่าคำตอบ

คำถามก็เหมือนกับเข็มทิศ ที่จะชี้บอกว่าปลายทางที่เราต้องการจะไปถึงคือตรงไหน ส่วนคำตอบก็เปรียบได้กับเส้นทาง ที่เราจะก้าวเดินไปเพื่อให้ถึงปลายทางของคำถามนั้น ดังนั้นถ้าผิดตั้งแต่คำถาม คำตอบที่ได้มากต่อให้สวยงามแค่ไหนก็ไม่มีประโยชน์ เช่น MK เองเคยมีปัญหาหลังจากเปลี่ยนมาใช้เตาไฟฟ้าว่า “น้ำเดือดช้า” ถ้าใครที่มีเตาไฟฟ้าที่บ้านจะรู้ดีว่าเวลาต้มน้ำด้วยเตาไฟฟ้านั้นไม่ร้อนเร็วสะใจเหมือนเตาแก๊สเลย ทางคุณฤทธิ์ ธีระโกเมน เจ้าของ MK เองมีพื้นฐานมาจากวิศวกรก็เลยใช้วิธีตั้งคำถามว่า น้ำเดือดด้วยอะไร คำตอบที่ได้คืออุณหภูมิ คุณฤทธิ์ เลยตั้งคำถามต่อไปว่า แล้วมีอุณหภูมิอะไรบ้าง หนึ่งคือตัวเตาส่งไปยังตัวน้ำ สองคือตัวน้ำที่เดือดแล้ว จากคำถามนี้เองเลยได้คำตอบที่ทำให้น้ำซุปเดือดเร็วง่ายๆว่า ก็ทำให้น้ำมันร้อนพร้อมเดือดซิ คำตอบง่ายมากครับ ใครจะบอกว่าขวานผ่าซากก็แล้วแต่มุมมอง แต่คำตอบนี้จริงที่สุด เพราะถ้าแก้ที่ความร้อนของเตาไม่ได้ ก็แก้ที่ความร้อนของน้ำตรงเลยง่ายกว่า…