sex and the english language 1

หนังสือที่จะช่วยให้คุณเข้าใจภาษารัก และรักภาษาอังกฤษ ต้องบอกว่าเป็นหนังสือเก่าเล่มใหม่ของผม เพราะผมบังเอิญไปเจอเล่มนี้เข้าที่ร้านหนังสือมือสองที่ชื่อว่า Mali mali coffee and book cafe เป็นร้านที่เต็มไปด้วยหนังสือเก่า หนังสือมือสองมากมาย ผมเชื่อว่าถ้าใครเป็นคนที่รักการอ่านหรือมักจะไปล้มละลายในงานหนังสือแบบผม ถ้าได้มาร้านนี้จะต้องรู้สึกมีความสุขเป็นแน่แท้ เพราะแม้จะเต็มไปด้วยหนังสือเก่า แต่ก็อุดมไปด้วยหนังสือดีๆมากมาย ที่ถ้าคุณเพิ่งเริ่มอ่านได้ไม่นานแบบผม(5ปี) คุณจะพบหนังสือดีๆที่คุณไม่คาดคิดหลายเล่มแน่ ร้าน Mali Mali Coffee อยู่ในพื้นที่บริเวณคอนโด Chapter One ครับ กลับมาที่เนื้อหาในหนังสือ จะบอกว่าตามหน้าปกก็ไม่ผิดนัก เพราะเนื้อหาในเล่มเต็มไปด้วยคำสัปดี้สัปดล แต่ก็เต็มไปด้วยความรู้จากคำศัพท์ต่างๆที่เกี่ยวเนื่องกันอย่างไม่น่าเชื่อ…

เทคโนโยนี The Technology of Orgasm: “Hysteria,” the Vibrator and Women’s Sexual Satisfaction

เป็นหนังสือที่อ่านจบแล้วคิดอยู่นานเหมือนกันว่าเราจะเขียนสรุปเนื้อหายังไงดีนะ ให้มันดูเป็นเรื่อง “เซ็กส์” จนเกินไป เพราะก็ต้องบอกตามตรงว่าในความรู้สึกผม “คนไทย” กับเรื่อง “เซ็กส์” หรือเรื่องเพศนั้น อาจจะยังไม่ได้เสรี เปิดกว้าง หรือเท่าเทียมกันนักเมื่อเทียบกับฝรั่งตาน้ำข้าว แต่ก็ต้องบอกตามตรงว่าเมื่ออ่านจบแล้วผมกลับรู้สึก “เห็นใจ” บรรดาผู้หญิงเมื่อไม่ถึงร้อยปีที่ผ่านมาว่า ทำไมผู้หญิงถึงได้โดนเหล่าผู้ชายกดขี่แม้กระทั่งเรื่องเพศได้ขนาดนี้ ส่วนหนึ่งก็ต้องย้อนกลับไปตั้งแต่ในเครื่องของ “ศาสนา” ที่สร้างความเชื่อที่ยึดถือเพศชายเป็น “ศูนย์กลาง” มาช้านาน ถ้าไม่เชื่อก็ลองนึกดูซิว่าบรรดา ศาสดา หรือ พระเจ้า ของศาสนาแทบทุกศาสนานั้นล้วนเป็นเพศชายทั้งนั้น ไม่นับบรรดาเทพเสริมที่เป็นเพศหญิงนะครับ เมื่อศาสนาบ่มเพาะความเชื่อมาตั้งแต่ครั้งโบราณกาลหลายพันปีก่อนมาขนาดนี้ ดังนั้นก็ไม่ต้องแปลกใจที่ “เพศหญิง”…

The Internet of Things อินเตอร์เน็ตแห่งสรรพสิ่ง

เขียนโดย Samuel Greengard แปลโดย ทีปกร วุฒิพิทยามงคล สำนักพิมพ์ openworlds สำหรับคนทำงานเกี่ยวกับดิจิทัล อินเทอร์เน็ต และเทคโนโลยี คำว่า internet of things หรือที่เราเรียกกันย่อๆว่า IoT นั้นคงเป็นอะไรที่คุ้นเคยและคิดว่ารู้จักกันดี แต่พอได้อ่านหนังสือเล่มนี้ ผมก็เหมือนได้เปิดโลกรู้จักความหมายของ Internet of things อีกหลายเรื่องหลากแง่มุมที่ผมไม่เคยรู้มาก่อนเลย หนังสือ The Internet of Things เล่มนี้เล่าย้อนกลับไปตั้งแต่ในยุคแรกเริ่มที่อินเทอร์เน็ตถือกำเนิด…

What Will Matter หุ่นยนต์ | สมอง | คน

เป็นหนังสือเล่มเล็กๆแต่เนื้อหาสาระกลับไม่เล็กนะครับ(ประโยคคุ้นๆคล้ายๆหนังคลาสสิกยังไงก็ไม่รู้) ที่รวบรวมมาจากบทความใน The MATTER สำนักข่าวออนไลน์สาย Intellectual ชื่อดังและเขียนโดย ทีปกร วุฒิพิทยามงคล ว่าด้วยเรื่องของเทคโนโลยีในปัจจุบันที่เปลี่ยนกำลังเปลี่ยนชีวิตเราไป ทั้งในแง่ดีและร้ายโดยที่เราอาจจะนึกภาพไม่ออก ต้องขอบคุณหนังสือเล่มนี้ที่ช่วยชี้แนวทางให้เราเตรียมรับมือไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ หรือเรื่องไหนที่รับมือไม่ได้ก็ยังช่วยให้เราได้เตรียมใจไว้รับสภาพตั้งแต่วันนี้ ผมขอสรุปทั้ง 39บทความของทั้งเล่มให้ได้ลองอ่านดูเผื่อว่าคุณจะสนใจไปซื้อมาอ่านเต็มๆ (เพราะผมว่ามันน่าสนใจจริงๆนะสำหรับผม) 1. ไม่ว่าจะเรื่อง ai จากไมโครซอร์ฟที่กลายเป็นนางร้ายเหยียดเชื้อชาติจนต้องถูกลบทิ้งไปภายในวันเดียว 2. ระบบที่ช่วยให้ศาลตัดสินจำเลย แต่กลับช่วยให้คนต้องติดคุกมากขึ้นเพราะถูกตั้งค่าจากสถิติให้มีการเหยียดสีผิวซ่อนอยู่ 3. แม้แต่หุ่นยนต์หรือ ai ก็เห็นแก่ตัว เอาเปรียบกันเองได้ 4. แต่ก็ยังมี…

The Fred Factor คนที่ทำงานเก่งที่สุดในโลกเขาทำอะไรกัน

นี่คือหนังสือที่ถูกแนะนำให้อ่านโดยหนังสือ(อ่านตรงนี้แล้วรู้สึก inception มั้ยครับ)ใช้ความสุขทำกำไร Delivering Happiness โดย Tony Hsieh หรือผู้ก่อตั้งเวปไซต์ที่ขายรองเท้าออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก และถูกซื้อกิจการไปโดยเวปไซต์ขายของที่ใหญ่ที่สุดในโลกเช่นกัน ด้วยราคากว่า 1,000ล้านเหรียญสหรัฐ เป็นหนึ่งในหนังสือที่ Tony Hsieh บอกว่าพนักงานของเค้าถ้าอยากจะเลื่อนขั้นอัพตำแหน่งต้องอ่านเล่มนี้แล้วมาคุยกันว่าคิดยังไง…เออ เป็นวิธีการประเมินที่น่าสนใจแฮะ อยากเห็นบ้านเราทำแบบนี้บ้างจัง เรื่องราวในเล่มเป็นเรื่องราวของบุรุษไปรษณีย์คนหนึ่งที่ชื่อว่า Fred หรือ เฟร็ด พนักงานไปรษณีย์ในรัฐเดนเวอร์ที่ทำงานเกินหน้าที่เสมอมา จน Mark Sanborn นักพูดผู้สร้างแรงบันดาลใจชื่อดังต้องหยิบเอาเรื่องที่ตัวเองได้รับจากเฟร็ดมาเขียนเป็นหนังสือหนึ่งเล่ม แถมยังติด New York…

Economics The User’s Guide เศรษฐศาสตร์ฉบับทางเลือก

เมื่ออ่านจบความรู้สึกแรกที่รู้สึกสรุปออกมาหนึ่งประโยคให้กับหนังสือเล่มนี้คือ “เศรษฐศาสตร์จริงๆมันไม่ได้ซับซ้อนอย่างที่เคยคิดกันซักเท่าไหร่นี่หว่า?” ที่คิดแบบนี้เพราะครั้งนึงผมเคยเข้าไปเรียนในคณะเศรษฐศาสตร์มาหนึ่งปี(แล้วซิ่วไปที่อื่น) แล้วรู้สึกว่า…ยากชิบหาย มหภาค จุลภาค เส้นโค้งโน่นนี่นั่น หลายเรื่องไม่เคยเม้คเซ้นส์หรือเข้าใจได้เลยสำหรับผม จนพอเวลาล่วงเลยมาสิบกว่าปี(อย่าสงสัยเลยว่าผมอายุเท่าไหร่) ก็เริ่มสนใจอ่านหนังสือแนวเศรษฐศาสตร์มากขึ้น แต่เป็นเศรษฐศาสตร์แบบชาวบ้านๆ เริ่มแรๆเท่าที่จำได้ผมอ่านงานของ อาจารย์วรากร สามโกเศศ ในหนังสือชุด edutainment essay ของสำนักพิมพ์ openbooks พออ่านจบเล่มแรกเท่านั้นแหละ ผมกลายเป็นแฟนคลับคนนึงของอาจารย์วรากรเลย จนผมต้องไปตามหามาอ่านครบชุด edutainment essay จนครบ แล้วไม่วายไปตามเก็บหนังสือชุด “โลกนี้ไม่มีอะไรฟรี” ของอาจารย์อีก จนผมเริ่มสนใจในเรื่องของเศรษฐศาสตร์แบบชาวบ้านๆ หรือที่อยู่ในชีวิตจริงไกล้ตัวมากขึ้น…

Misbehaving เศรษฐศาสตร์พฤติกรรม

รู้สึกว่ากระแสเรื่องเศรษฐศาสตร์พฤติกรรมกำลังมาในบรรดาเพื่อนรอบตัว เห็นบนหน้าฟีดเฟซบุ๊คหลายคนแชร์เล่มนี้ก็เลยต้องถึงเวลาหยิบขึ้นมาอ่านซักที หลังจากซื้อดองมาแรมปีจากงานหนังสือคราวก่อน เศรษฐศาสตร์พฤติกรรม ต่างกับ เศรษฐศาสตร์ปกติยังไง? แนวความคิดครับ เศรษฐศาสตร์ดั้งเดิมหรือที่นักเศรษฐศาสตร์เรียกกันว่าสายชิคาโกนั้นยึดหลักว่า มนุษย์นั้นช่างเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีเหตุมีผลที่สุด ดังนั้นทุกการเลือก ทุกการกระทำ หรือทุกการตัดสินใจ ก็บอกได้เลยว่าผ่านการคิดสะระตะมาอย่างดีแล้ว ว่าสิ่งที่เลือกทำหรือตัดสินใจนั้นต้องก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับตัวเองอย่างแน่นอน เช่น การเลือกที่จะไม่กินมื้อดึกวันศุกร์เพราะคงเพิ่มความเสี่ยงให้กับปริมาณไขมันในร่างกายในระยะยาว หรือ เลือกที่จะไม่ซื้อโทรศัพท์รุ่นใหม่ล่าสุดเพราะโทรศัพท์เครื่องเดิมยังใช้งานได้ แม้จะดูเก่าๆไปหน่อย แล้วก็เอาเงินไปเก็บสำหรับการเกษียรในระยะยาว นี่แหละครับ มนุษย์ในอุดมคติของนักเศรษฐศาสตร์เดิมๆที่อยู่ในความคิดของนักเศรษฐศาสตร์ตลอดมา จนกระทั่งเกิดเศรษฐศาสตร์สาขาแนวทางใหม่ขึ้นมาเมื่อไม่กี่สิบปีก่อนที่เรียกกันว่า เศรษฐศาสตร์พฤติกรรม ที่มองมนุษย์ในแบบที่มนุษย์ส่วนใหญ่เป็นจริงๆ แล้วมนุษย์ส่วนใหญ่นั้นเป็นยังไง? ต้องบอกว่าคนเราส่วนใหญ่นั้นไม่ได้คิดเยอะ ซับซ้อน หรือถึงข้อดีในระยะยาวขนาดนั้นครับ เราส่วนใหญ่ก็คนธรรมดาที่เลือกกินมื้อใหญ่ตอนดึก…

Here Comes Everybody พลังกลุ่มไร้สังกัด

เรื่องราวการณ์ปฏิวัติโลกของอินเทอร์เน็ตและโซเชียลมีเดีย ที่จะไม่มีเหมือนหวนกลับคืนวันวานอีกต่อไป หนังสือเล่มนี้บอกเล่าถึงเรื่องราวเหตุการณ์หลายๆเหตุการณ์ในโลกที่เกิดขึ้นจริง เล็กบ้าง ใหญ่บ้าง แต่ทุกอย่างนั้นล้วนทำให้เห็นว่าอินเทอร์เน็ต การเชื่อมต่อ และโซเชียลมีเดียเปลี่ยนวิถีชีวิตเราไปมากแค่ไหน โดยเฉพาะคนที่เกิดในช่วงปี 1980 ขึ้นไป เพราะเราจะมีภาพเปรียบเทียบที่ชัดเจนก่อนหน้าที่โลกจะมีอินเทอร์เน็ต และหลังจากที่เราขาดอินเทอร์เน็ตไม่ได้แล้วอย่างทุกวันนี้ ลองคิดดูเล่นๆก็ได้ว่าถ้าเปรียบเทียบกับสมัยก่อนย้อนกลับไปแต่ละยุคแล้ว ชีวิตเราไม่เคยลำบากขึ้นเลยซักนิด เช่น สมัยนี้เวลาเราจะคุยแบบได้ยินเสียงกับใครซักคน เราก็แค่กดโทรผ่านไลน์หาอีกคนนึง ซึ่งก็ฟรีไม่เสียเงินซักกะบาท แต่ถ้าให้ลองนึกย้อนกลับไปซักสิบปีก่อนในวันที่มือถืออย่างดีก็มีแค่ระบบ GSM การจะโทรหากันทีก็ต้องกดเบอร์โทรหากันแล้วก็เสียกันนาทีละ 3บาท แถมดีไม่ดีถ้าเป็นโทรทางไกลก็ต้องจ่ายเพิ่มขึ้นอีกด้วยซ้ำ เห็นมั้ยครับว่าชีวิตเรานั้นสะดวกสบายเพิ่มขึ้นมากขนาดไหน ทีนี้ลองมาคิดย้อนกลับไปอีกหน่อยก็จะพบว่าก่อนหน้าจะมีมือถือ เราทั้งสองฝ่ายต้องโทรหากันผ่านโทรศัพท์บ้านเท่านั้น ซึ่งทั้งสองฝ่ายก็ต้องพร้อมที่จะอยู่หน้าโทรศัพท์กันทั้งคู่ แถมยังต้องลุ้นไม่ให้ในเวลานั้นมีใครในบ้านใช้โทรศัพท์อยู่ ไม่งั้นก็ต้องรอจนกว่าสายจะว่างถึงจะโทรหากันได้…

The Sushi Economy เศรษฐศาสตร์ของซูชิ

ถ้าไม่อ่านเล่มนี้ก็คงไม่รู้ว่าปลาทูนาครีบน้ำเงินราคาแพง (อาคามิ, จูโทโร และ โอโทโร่) ในร้านซูชิทั้งหมดทั่วโลกนั้นเพิ่งจะมาเริ่มกินกันจริงๆก็เมื่อหลังปี 1970 เอง ทั้งที่ก่อนหน้าปี 1970 นี้ปลาทูน่าครีบน้ำเงินตัวใหญ่ยักษ์ทั้งหลายที่ชาวประมงส่วนใหญ่ตกได้กลายเป็นขยะที่ไม่มีใครต้องการ อย่างดีก็เอาไปป่นทำเป็นอาหารสัตว์อีกทอดนึง แทบไม่มีใครคิดจะหยิบมากิน หรือจัดใส่จานหรูๆราคาแพงในร้านซูชิอย่างทุกวันนี้ เรื่องมันเริ่มจากก่อนปี 1970 เป็นต้นมา แถบอเมริกา ปลาทูน่าครีบน้ำเงินมักจะเป็นเป้าหมายของนักตกปลาที่ตกเป็นกีฬาหรือเพื่อการแข่งขัน เพราะปลาทูน่าครีบน้ำเงินนั้นทั้งตัวใหญ่ และมีพละกำลังมหาศาล แต่พอตกขึ้นมาได้นอกจากจะเอามาถ่ายรูปเพื่อเป็นหลักฐานของนักตกปลาผู้เก่งกาจ ก็อาจจะมีแค่บางคนยอมเสียเงินเพื่อสตาฟปลายักษ์นั้นเก็บไว้ แต่ส่วนใหญ่มักจะเลือกเอาไปทิ้ง บ้างก็ยอมเสียเงินเพื่อทิ้งกับเทศบาล (ต่างประเทศเสียค่าทิ้งขยะ) หรือไม่ก็ยอมแล่นเรือออกไปกลางทะเลเพื่อเอาปลาทูน่าไปทิ้ง ส่วนพวกเรือประมงที่มีปลาทูน่าครีบน้ำเงินมาติดอวนก็มักจะหงุดหงิดเพราะทั้งหนักทั้งใหญ่ ทำให้เสียเวลาในการหาปลาอื่นๆ (ปลาค็อดหรือปลากะพง)…

the art of the idea ศิลปะการคิดใหม่

the art of the idea and how it can change your life เขียนโดย John Hunt, Creative Chairman แห่ง TBWA/Worldwide ศิลปะการคิดใหม่คืออะไร? ถ้าจะบอกว่าเป็นผู้เขียนแบ่งปันแนวทางวิธีคิดที่กลั่นกรองผ่านประสบการณ์ที่เคี่ยวกรำในวงการโฆษณาระดับโลกในสายงานนักคิดผู้สร้างสรรค์ จนผู้เขียน John Hunt ได้กลายเป็นประธานฝ่ายความคิดสร้างสรรค์ระดับโลก เชื่อได้เลยว่าเนื้อหาในเล่มเต็มไปด้วยพลังงานบางอย่างที่บอกไม่ถูก แต่พลังงานนั้นคือพลังงานในแง่บวก ข้อความหรือตัวหนังสือนั้นแทบจะเรียกได้ว่าน้อยถึงน้อยมาก แต่กลับกระตุ้นให้ต้องใช้ความคิด ความเข้าใจ…