Another I มนุษย์กับ AI ใครวิ่งนำ ใครตาม

นิตยสารรายเดือนฉบับนี้จาก TCDC รวมแง่คิดเรื่อง AI ที่น่าสนใจไว้มากมาย อย่างประเด็นที่มนุษยชาติวันนี้เริ่มวิตกกังวลว่าวันนึงพรุ่งนี้ AI จะทัดเทียมเลียนแบบมนุษย์ได้ แต่ความกังวลนี้ก็ถูกขจัดไปด้วยประโยคจากบทบรรณาธิการที่บอกว่า “ตราบใดที่มนุษย์ยังเป็นภัยต่อมนุษย์ด้วยกันเอง การสร้าง AI ที่สามารถเลียนแบบมนุษย์ได้แทบทุกอย่างจะมีค่าอะไร ถ้าเราไม่พัฒนาเผ่าพันธุ์ของเราเองให้ดีเสียก่อน” ได้ยินแบบนี้แล้วจุกเลยครับ หรือสรุปได้ว่า ไม่ต้องกลัวว่า AI หรือใครจะมาเลียนแบบเราหรอก ถ้าเราไม่ได้มีดีอะไรที่น่าเลียนแบบขนาดนั้น ทำให้ผมนึกถึงภาพยนต์เรื่อง Her ที่ AI ไม่ใช่แค่คิด แต่ยังสามารถ “รู้สึก” ได้เสมือนมนุษย์ สามารถมีความรักได้ และที่สำคัญสามารถบรรลุจนลบตัวเองทิ้งจากระบบได้…

Human Rights สิทธิมนุษยชน

หลังจากที่ดองหนังสือซีรีส์ A Very Short introduction มานาน ก็ถึงคราวไล่อ่านเรียงตามเรื่องซักที จากปรัชญาการเมืองที่มีเกริ่นเรื่องสิทธิมนุษยชน ก็เลยถึงเวลาหยิบหนังสือสิทธิมนุษยชนความรู้ฉบับพกพาเล่มนี้มาอ่านซักที ถ้าให้สรุปสั้นๆหลังอ่านจบว่าสิทธิมนุษยชนคืออะไร ก็คงบอกได้ว่าคือแนวคิดที่ไม่แบ่งชายแยกหญิง ไม่แบ่งขาวแยกดำ ไม่แบ่งเชื้อชาติแยกคนกลุ่มน้อย ไม่แบ่งศาสนาแยกความเชื่อ ไม่แบ่งรวยแยกจน คือหลักแนวคิดที่ว่าทุกคนที่เกิดมาเป็นมนุษย์ล้วนมีสิทธิเยี่ยงมนุษย์หนึ่งคนเท่ากันถ้วนหน้า สิทธิมนุษยชนเลยเป็นเรื่องที่ไม่มีวันจบ ไม่มีกฏิกาเส้นกำหนดแน่นอน ไม่มีขาวดำชัดเจน หลายประเด็นล้วนเป็นสีเทาๆ และสิทธิมนุษยชนจะไม่มีวันลดลง กลับมีแต่เพิ่มประเด็นมากขึ้นทุกวัน ยิ่งถกเถียงกันก็ยิ่งเจอประเด็นใหม่ๆของสิทธิมนุษยชน สิทธิมนุษยชนมีให้ทุกคนแม้แต่ผู้ก่อการร้าย แม้ถูกจับได้ก็ยังได้รับการคุ้มครองตามหลักสิทธิมนุษยชนจนกลายเป็นประเด็นข้อถกเถียงที่ว่า Human Rights for Act หรือจะเป็น…

แย็บบ่อยๆสอยด้วยฮุคขวา Jab, Jab, Jab, Right Hook

เขียนโดย Gary Vaynerchuk นักเขียนผู้เปิดบริษัทที่ปรึกษาด้านโซเขียลมีเดียที่อเมริกาชื่อ VaynerMedia ที่คอยให้คำปรึกษาบริษัทชั้นนำระดับ Fortune 500 และเป็นผู้ลงทุนใน Start Up ด้าน Social Media ที่ดังๆตั้งแต่เริ่มตั้งไข่หลายราย เช่น Twitter เป็นต้น เมื่อพูดถึงโซเชียลมีเดียที่ใครๆก็คุ้นเคย.. ..แต่คนที่คุ้นเคยที่สุดคงหนีไม่พ้นนักการตลาดทั้งหลาย เพราะตั้งแต่มีเจ้า Social Media นี้เข้ามาทำให้บรรดานักการตลาดและเอเจนซี่โฆษณาเองต้องปวดหัวกันไปตามๆกันแบบไม่มีหยุดพัก เพราะอะไรน่ะหรอ.. ..เพราะแต่ก่อนช่องทางการสื่อสารของเรามีจำกัดจำเขี่ยมาก ขนาดยุคอินเตอร์เนตและเวปเข้ามาก็ยังไม่ปวดหัวเท่า Social Media ครองโลก…

ชุมนุมชีวประวัติ Biographical Round-Up

เขียนโดย เดล คาร์เนกี นักเขียนผู้โด่งดังที่นักอ่านหลายคนคงรู้จัก เล่มนี้เป็นหนังสือรวบรวมประวัติบุคคลโด่งดังสำคัญแบบสั้นๆแต่ยังเข้าใจได้ครบ.. ..แต่หลายบุคคลในเล่มนี้ผมไม่คุ้นเคยมาก่อน เพราะเป็นบุคคนสำคัญผู้โด่งดังจากการทหารในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 ในยุคของเดลเองส่วนหนึ่ง แต่สิ่งนึงที่ทำให้ทึ่งมากคือตัวผู้เขียนหรือเดลเอง ได้ออกเดินทางไปสัมภาษณ์บุคคลเหล่านี้ด้วยตัวเอง หรือครอบครัวของคนสำคัญเหล่านั้นไปตามที่ต่างๆทั่วโลก เท่ากับว่าหนังสือเล่มนี้เป็นตัวแทนของการเดินทางไปเกือบทั่วโลกก็ว่าได้.. ..ผมขอยกบุคคลหนึ่งที่ผมไม่เคยรู้จักมาก่อน แต่พอได้อ่านจากเล่มนี้เพียงครั้งเดียวกลับทำให้ผมจำได้คร่าวๆก็คือ มาดามคูรี.. ..มาดามคูรี เธอเป็นนักวิทยาศาสตร์หญิงคนแรกและคนเดียวของโลก(มั้ง) ที่เคยได้รับรางวัลโนเบลถึง 2 ครั้งด้วยกัน และสิ่งนึงที่ทำให้น่าทึ่งและน่านับถือมากคือการที่เธอเป็นผู้ประดิษฐ์จนค้นพบธาตุตัวใหม่ที่มีมูลค่ามหาศาลก็คือ เรเดียม.. ..เรเดียมซึ่งเป็นธาตุที่ไม่มีตามธรรมชาติแต่ต้องสร้างขึ้นมาด้วยความยากลำบากของมาดามคูรีและสามีของเธอตามลำพัง จากการต้องใช้ทุนตัวเองอดมื้อกินมื้อเพราะไม่มีใครให้ทุนอุดหนุนเธอแต่เธอก็พยายามทำ บางคนอาจสงสัยว่าธาตุเรเดียมนั้นสำคัญและมีมูลค่ามหาศาลอย่างไร นั่นเพราะธาตุเรเดียมนั้นใช้ในการฉายแสงรักษาโรคมะเร็งในสมัยนั้น(ไม่แน่ใจว่าตอนนี้ยังใช้อยู่รึเปล่า) และด้วยเหตุนี้เองทำให้น่าจะมีมูลค่ามหาศาลถ้ามาดามคูรีเลือกที่จะจดสิทธิบัตรและขายความรู้นี้ในเชิงพานิชย์เพื่อเก็บเงินเข้ากระเป๋าเธอกับสามีให้ได้กินอยู่สบายตลอดชีวิต…

เหตุผลของธรรมชาติ

ครั้งนี้ผมขอเริ่มด้วยการหยิบปกหลังหนังสือขึ้นมาเขียนนะครับ ทำไมเราถึงแพ้ท้องทำไมถึงจึงมีไข้ทำไมไข้มาลาเรียทำให้เรานอนซม แต่ไข้หวัดทำให้เราไอและจามทำไมไฟฉายย่อส่วนเป็นจริงไม่ได้ทำไมคนเมืองร้อนจึงชอบกินอาหารเผ็ดกำเนิดการหายใจด้วยออกซิเจนทำไมปลวกต้องสร้างจอมปลวกใหญ่ทำไมเราต้องกินทำไมทารกหัวใจจึงเต้นเร็วกว่าผู้ใหญ่ทำไมเรากินอาหารสามมื้อต่อวัน แต่งูเหลือมกินวันละหนึ่งมื้อต่อเดือนหูช้างและอัณฑะคนคล้ายกันตรงไหนทำไมอัณฑะจึงหดเล็กเมื่อเราโกรธทำไมนกฟลามิงโกยืนขาเดียวทำไมเราเบื่ออาหารเวลาเราป่วยและคำถามทั้งหมดนี้เกี่ยวข้องกันยังไง ทั้งหมดนี้มีคำตอบอยู่ในหนังสือเล่มเล็กอ่านสนุกเข้าใจง่ายไม่ถึงสองร้อยหน้า คราวนี้ผมขอตอบคำถามจากปกหลังของเล่มทั้งหมดจากความจำที่เพิ่งอ่านจบไปเมื่อกี๊ให้ดูแล้วกันนะครับ ทำไมเราถึงแพ้ท้อง เพราะ เป็นวิวัฒนาการกลไกป้องกันร่างกายของแม่ตั้งแต่สมัยโบราณที่ไม่มีตู้เย็นเก็บรักษาอาหารให้สดใหม่ได้ตลอดเวลา ดังนั้นอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ที่อาจเน่าเสียได้ง่ายในสมัยโบราณนั้นทำให้ร่างกายของหญิงที่เริ่มตั้งท้องช่วงแรกไม่เปิดรับ แต่ด้วยเราเพิ่งสร้างเทคโนโลยีที่เรียกว่าตู้เย็นเพื่อเก็บรักษาอาหารเมื่อไม่นานมานี้ (ไม่ถึงร้อยปี) ร่างกายเราจึงวิวัฒนาการตามไม่ทัน ผมเดาว่าอีกซักพันปีร่างกายของผู้หญิงคงเลิกแพ้ท้องแล้วล่ะครับ และอีกเหตุผลหนึ่งคือเพราะร่างกายของทารกในช่วง 1-3 เดือนแรกนั้นยังนับว่าเป็นสิ่งแปลกปลอมในร่างกายของแม่ เพราะครึ่งหนึ่งของตัวอ่อนในท้องนั้นมาจาก DNA ของพ่อ ดังนั้นร่างกายแม่ก็ต้องปรับตัวกับตัวอ่อนไปพร้อมกัน ทำไมถึงจึงมีไข้ เพราะการเพิ่มความร้อนในร่างกายด้วยตัวเองของคนเราสามารถรักษาเชื้อโรค ไวรัส หรือแบคทีเรีย ให้หายด้วยตัวเองได้ตามวิวัฒนาการของร่างกายแต่สมัยก่อน ทำไมไข้มาลาเรียทำให้เรานอนซม แต่ไข้หวัดทำให้เราไอและจาม เพราะ ไข้มาลาเรียนั้นเป็นวิวัฒนาการในการไม่พึ่งพาร่างเหยื่อหรือเจ้าของมากนัก…

Audience เปลี่ยนจากแค่รู้จักเป็นรักและบอกต่อ

ผู้เขียนทำงานบริษัทด้านดิจิทัลมาร์เก็ตติ้งชื่อดังในเครือ Saleforce ในอเมริกา เค้าแชร์ว่าสิ่งสำคัญของการตลาดยุคนี้ไม่ใช่แค่การตะโกนประกาศเหมือนสมัยก่อนว่า “ชั้นมีของดีมาขาย ซื้อมั้ยจ้ะๆ” เพราะ…แม้เราจะอยู่ในยุคที่เต็มไปด้วยสื่อดิจิทัล เสพย์ติดสมาร์โฟนมากกว่าทีวี หรือเปิดทีวีไว้แต่ก้มหน้าเล่นเฟซบุ๊คแล้วแชตไลน์กับเพื่อน แต่นักการตลาดหรือเอเจนซี่ส่วนใหญ่ก็ยังคิดในรูปแบบเดิมแค่ขยายช่องทางการเข้าถึงใหม่ๆที่เป็นดิจิทัล ก็คือการตะโกนขายของปาวๆเหมือนเดิม ไม่ได้สนใจผู้บริโภคหรือกลุ่มผู้ชมที่อยู่ในแต่ละบริบทเอาซะเลย เพราะแต่ละ Channel ก็มี Context ของมัน แต่เรื่องนี้ก็เป็นเรื่องที่เข้าใจได้ว่าทำไมคนยุคโฆษณาทีวีถึงยังคิดแบบนั้น.. ..เพราะสมัยก่อนช่องทางการเข้าถึงกลุ่มผู้ชมหรือ Audience นั้นมีแค่ 9 ช่องทาง ทำให้การคิดงานนั้นมีรูปแบบและ Platform ที่ไม่ชัดเจนไม่ซับซ้อน แต่ทุกวันนี้ช่องทางการเข้าถึงกลุ่ม Audience นั้นมากกว่า 50…

Political Philosophy ปรัญชาการเมือง

ถ้าถามว่า ปรัชญการเมือง ต่างกับ การเมือง ปกติอย่างไร ผมคงสรุปหลังจากอ่านจบได้ว่า การเมืองโดยทั่วไปคือผลลัพธ์หรือวิธีการ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางการเมืองนั้น . เช่น นักการเมืองอาจมีเป้าหมายที่จะทำให้เศรษฐกิจดีขึ้น ด้วยการทำให้เกิดการจ้างงานเต็มอัตรา เอาง่ายๆก็คือทุกผู้ทุกคนมีงานทำนั่นเอง แต่ไม่ใช่แค่ทุกคนมีงานทำเท่านั้น เพราะนั่นอาจหมายถึงว่ามีอาชีพที่คนไม่ได้อยากทำ หรือไม่ตรงกับความรู้ความสามารถที่มี ทำให้ไม่สามารถทำงานออกมาได้เต็มที่ เช่น ถ้านักการเมืองสร้างงานในตำแหน่งเสมียน หรือพนักงานกวาดถนน (ที่เอ่ยถึงสองอาชีพนี้ไม่ได้ดูถูก แค่ยกเป็นตัวอย่างง่ายๆให้เห็นภาพเร็วๆ) ก็ไม่อาจบรรลุวัตถุประสงค์ที่แท้จริงได้ . นี่คือ การเมือง . ส่วนปรัชาการเมืองหมายถึงการคิด คิดไปยังความจริงแท้ของเป้าหมายทางการเมืองนั้น เช่น…

1984 George Orwell

เป็นวรรณกรรมน้อยเล่มที่ผมอ่าน ส่วนตัวผมไม่ค่อยได้อ่านวรรณกรรมเพราะคิดว่าตัวเองคงไม่ค่อยอินเท่าไหร่ แต่กับ 1984 เล่มนี้ที่เคยได้ยินคนพูดถึง และประจวบกับช่วงนี้ไล่อ่านหนังสือแนวการเมืองการปกครองหลายเล่ม จนทำให้ถึงคราวที่ต้องหยิบ 1984 ขึ้นมาลองอ่านดูบ้าง . 1984 ถ้าให้สรุปสั้นๆก็คงบอกได้ว่าเป็นหนังสือแนวการเมืองการปกครองในจินตนาการของผู้เขียนที่เกิดขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง จนถึงช่วงสงครามเย็น ที่ระบบการปกครองแบ่งออกเป็นสองฝ่ายที่แข็งขันกัน ระหว่างสังคมนิยมกับเสรีนิยม . ในหนังสือว่าด้วยผู้นำสูงสุดหรือที่เรียกว่า Big Brother หรือ “พี่เบิ้ม” ในชื่อไทย ที่คอยจับตาดูประชาชนทุกผู้คน โดยเฉพาะสมาชิกในพรรคชั้นนอกไม่ให้หลุดจากแนวคิดของพรรคหรือผู้นำ ผ่านโทรภาพที่เหมือนทีวีรุ่นพิเศษที่สามารถเฝ้ามองและฟังเสียงเรากลับได้ด้วย . ถ้าเปรียบโทรภาพใน 1984 ผมว่าก็เหมือนกับ “อินเทอร์เน็ต”…

การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4, The Fourth Industrial Revolution

เป็นหนังสือที่ให้ภาพรวมแนวกว้างรวมกับข้อมูลเชิงลึกว่า โลกในวันพรุ่งนี้หลายปีข้างหน้าจะไปในทิศทางไหน ด้วยผลของการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 จากอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงไร้สายที่สามารถให้อุปกรณ์รอบตัวที่มีเซนเซอร์รับข้อมูลรอบด้าน เอาข้อมูลทั้งหมดไปวิเคราะห์ด้วยความเร็วไม่ว่าจะด้วย ai หรือ machine learning ที่จะเปลี่ยนแปลงชีวิตเราไปทุกด้าน แล้วการปฏิวัติอุตสาหกรรม 3 ครั้งที่ผ่านมาล่ะเป็นยังไง การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 1 คือการปฏิวัติแรงงานจากคนและสัตว์ กลายมาเป็น “เครื่องจักรไอน้ำ” ทำให้การทำงานที่ต้องใช้แรงงานในรูปแบบซ้ำๆถูกทดแทนด้วยเครื่องจักรไอน้ำ เช่น การทอผ้าที่เคยเป็นเรื่องยากทำให้ผ้ามีราคาแพงเพราะต้องใช้แรงงานคนมากมาย เมื่อใช้แรงงานจากเครื่องจักรไอน้ำก็ทำให้อาชีพคนทอผ้ามากมายในอังกฤษต้องหายไป และก็ได้ผ้าราคาถูกที่ใครๆก็เข้าถึงได้มาแทน แถมเครื่องทอผ้านี่แหละที่ทำให้อินเดียตกอยู่ในวิกฤตในตอนนั้น การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 2 คือการปฏิวัติพลังงานมาเป็น “ไฟฟ้า” และการผลิตแบบสายพานการผลิต…

Blockchain เปลี่ยนโลก, Blockchain Revolution

ทำไม Skype ถึงไม่ได้เกิดมาจาก AT&T Paypal ไม่ได้เป็นของ Visa Twitter ไม่ได้มาจาก CNN Uber ไม่ได้เริ่มต้นที่ GM หรือ Hertz Google ไม่ได้แยกออกมาจาก Microsoft iTune ไม่ได้มาจากค่ายเพลงดังอย่าง Sony Instagram ไม่ได้ถูกคิดโดย Kodak Netflix ไม่ได้กำเนิดออกมาจาก Blockbuster เพราะนวัตกรรมที่ยิ่งใหญ่ล้วนเกิดจาก “คนนอก” ทั้งสิ้น…