The Filter Bubble ยิ่งหา ยิ่งหาย

สรุปหนังสือ The Filter Bubble ยิ่งหา ยิ่งหาย เป็นเรื่องระหว่างความเป็นส่วนตัวและการสร้างความเฉพาะตัว ซึ่งจะกลายเป็นปัญหาที่สำคัญมากและจะเห็นภาพชัดขึ้นในไม่กี่ปีข้างหน้านี้ นึกง่ายๆถึงโพสนึงที่เป็นกระแสกันเมื่อไม่กี่วันก่อน..ที่เราจะเห็นหน้าเฟซบุ๊คว่ามีเพื่อนเราหลายคนก๊อปปี้ข้อความต่อๆกันมาโพสยืดยาวแล้วเราก็ทนอ่านจนจบที่มีใจความว่า “เราไม่อนุญาตให้เฟซบุ๊คเอารูปภาพและข้อมูลส่วนตัวของเราไปใช้นะเราขอประกาศ บลา บลา บลา” แต่โพสเหล่านั้นไม่ได้มีผลเลย เพราะทุกคนที่เล่นเฟซบุ๊คคือคนที่ยอมสูญเสียความเป็นส่วนตัวทั้งหมดไปแล้วตั้งแต่ตอนสมัครสมาชิก ไม่ใช่แค่เฟซบุ๊คเท่านั้น แต่แทบทุกบริการที่ออนไลน์ทั้งหมดก็ทำแบบเดียวกัน นั่นคือเข้าถึอข้อมูลส่วนตัวของคุณแม้ว่าคุณจะไม่ตั้งใจ เหตุผลส่วนนึงเพราะมันเป็นการสร้างความสะดวกสบายให้คุณ สร้างความเป็นเฉพาะตัวที่เป็นคุณให้คุณ ทำให้คุณเห็นโฆษณาที่ไกล้กับความเป็นคุณหรือสิ่งที่คุณจะหามากขึ้น ง่ายขึ้น หรืออาจนิยามด้วย 2 ศัพท์ง่ายๆนั่นคือ customize และ personalize แค่คลิ๊กแค่เล่นก็รู้แล้วว่าเป็นคุณ และคุณต้องการอะไร…

ภูมิรัฐศาสตร์ Geopolitics: A Very Short Introduction

เป็นหนึ่งในหนังสืออีกเล่มที่ได้มาจากงานหนังสือเมื่อนานพอสมควร (จำไม่ได้ว่าหนึ่งหรือสองปีแล้ว) หลังจากช่วงนี้ได้หยิบหนังสือแนวการเมืองการปกครอง และหนังสือในชุด “ความรู้ฉบับพกพา” ของสำนักพิมพ์ Openworlds มาอ่านหลายเล่ม ก็เลยเกิดการอยากอ่านต่อเนื่องไปเรื่อยๆเพื่อเพิ่มความรู้เรื่องการเมืองการปกครองไว้ประดับสมองกับเค้าบ้าง ภูมิรัฐศาสตร์ หมายถึงอะไร สารภาพตรงๆอ่านจนจบแล้วผมก็ยังไม่มีคำสรุปนิยามที่สั้นตรงใจจนสามารถเขียนออกมาได้ แต่ในความรู้สึกผมหลังอ่านจบผมรู้สึกว่าคำนี้เหมือนกับการนิยามให้กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ตั้งแต่แผนที่ กลุ่มชาติพันธุ์ ภาพยนต์ หรือแม้แต่ของเล่น กลายเป็นตัวแทนทางการเมืองได้ หรือแม้แต่สามารถปลูกฝังแนวคิดผ่านสิ่งเหล่านี้ได้อย่างน่าทึ่งปนน่ากลัว ถ้าถูกนำไปชักจูงใช้ในทางที่ผิด อารมณ์คล้ายๆ Propaganda อย่างไงอย่างงั้น เช่น หลังจากเหตุการณ์การก่อการร้ายที่ตึกแฝดในนิวยอร์ก ชาวตะวันออกกลาง หรืออิสลาม ก็กลายเป็นภาพแทนของกลุ่มผู้ที่น่ากลัวของสังคม หรือเป็นเป้าหมายให้คนผิวขาวทั่วไปต้องเฝ้าจับตามอง หรือการฉายภาพว่าประเทศแถบตะวันออกกลางเหล่านั้นคือแหล่งซ่องซุมของกองกำลังก่อการร้ายก็ว่าได้…

เศรษฐกิจดิจิทัล The Digital Economy: Rethinking Promise and Peril in the Age of Networked Intelligence

คนเราจะเดาถึงอนาคตได้อย่างมากเท่าไหร่กัน…1ปี 5 ปี หรือ 10 ปี คำถามยอดฮิตเวลาสัมภาษณ์งาน, ปีหน้า คิดว่าจะพากันไปฉลองครบรอบวันแต่งงานหรือเป็นแฟนกันที่ไหนดี หรืออาจจะจองตั๋วเที่ยวบินราคาถูกข้ามปีเอาไว้ หรือ ไตรมาสหน้า..ว่าผลประกอบการบริษัทจะเป็นอย่างไร โบนัสจะมาหรือไม่ หรือ วีคหน้า..ว่าจะมีโปรเจคอะไรใหม่เข้ามาบ้าง และต้องรีบทำอะไรบ้าง หรือแค่วันพรุ่งนี้…ต้องใส่ชุดอะไรไปทำงานนะ… แต่มีชายคนนึงที่คาดเดาอนาคตของโลกไว้ตั้งแต่เมื่อ 20ปีที่แล้ว ในวันที่โลกเริ่มมีเค้าลางของปัจจุบันแค่ไม่กี่อย่าง หนึ่งในนั้นก็คือ “อินเทอร์เน็ต” เมื่อเวลา 20ปีผ่านไป แทบทุกอย่างที่เค้าคาดเดาไว้ก็ต้องบอกว่าแม่นอย่างกับจับวาง ยังกับนอสตราดามุสของโลกดิจิทัลยังไงยังงั้น และชายคนนี้ที่พูดถึงก็คือ Don Tapscott ซึ่งปัจจุบันเป็นหนึ่งใน…

Democracy: A very short introduction ประชาธิปไตย ความรู้ฉบับพกพา

ประชาธิปไตย…คำที่คุ้นเคยแต่ใครเอยจะรู้ว่า แท้จริงแล้วประชาธิปไตยที่เข้าใจกันมานั้นมีที่มาอย่างไร Democracy แรกเริ่มเดิมทีจากรากคำภาษากรีกโบราณ มาจากสองคำผสมกันระหว่างคำว่า Demos ที่หมายถึงประชาชน กับ Krator ที่หมายถึงการปกครอง เมื่อรวมกันแล้วก็หมายความว่า “การปกครองโดยประชาชน” ในยุคกรีกโบราณที่ประชาธิปไตยถือกำเนิดขึ้นนั้น อริสโตเติล ปราชญ์นักคิดชื่อดังผู้สนับสนุนประชาธิปไตยคนแรกๆกลับไม่ได้สนับสนุนประชาธิปไตยที่มี “การเลือกตั้ง” ในแบบที่เป็นอยู่ ในสมัยนั้นอริสโตเติลสนับสนุนให้ใช้การ “จับฉลาก” เลือกผู้ที่จะเข้ามาทำงานหรือตัดสินใจ เพราะอริสโตเติลรู้ว่าคนเรานั้นโลภและเขลาเกินกว่าที่คิด ทำให้ไม่มั่นใจว่าถ้าต้องโหวตกันก็จะมวลหมู่มากก็จะพ่ายแพ้ต่อปัญญา เหมือนที่มีคนกล่าวว่า “ความเขลาจะมีชัยเหนือปัญญา และปริมาณจะสำคัญกว่าความรู้” ว่าไปก็คือแนวคิดว่า “ประชานิยม” ในทุกวันนี้ ที่ผู้เขียนเชื่อว่าจะเป็นตัวการพาประชาธิปไตยไปสู่ความเสียหาย เพราะประชานิยมคือการที่พรรคต่างๆแข่งขันกันเอาใจประชาชนหมู่มาก…

Populism : A very short introduction ประชานิยม ความรู้ฉบับพกพา

ประชานิยมคืออะไร? และอะไรไม่ใช่ประชานิยม? ขอบคุณหนังสือเล่มนี้ที่ทำให้ผมเข้าใจความหมายและที่มาที่ไปของคำว่า “ประชานิยม” ดีขึ้น ถ้าให้ผมเดา ผมขอเดาว่าคำนี้น่าจะมาจากคำว่า “ประชาชน” บวกกับ “ความนิยม” หรือ “เป็นที่นิยม” นั่นหมายความว่าอะไรก็ตามที่คนส่วนมากนิยมชมชอบ ก็สามารถนิยามว่าประชานิยมได้ไม่ยาก เท่าที่ผมนึกออกผมเดาว่าคำนี้น่าจะเป็นที่รู้จักกันในบ้านเราตอนสมัย ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีคนหนึ่งที่น่าจะเป็นผู้ริเริ่มนโยบายแบบประชานิยมขึ้นมา จนกลายเป็นทุกพรรคต่างต้องมีนโยบายประชานิยมในแบบของตัวเอง เท่าที่ผมนึกออกนโยบายประชานิยมในตอนนั้นที่ได้ใจประชาชนไปมาก น่าจะเป็น 30 บาท รักษาทุกโรค แม้จะโดนแซะโดนแซวว่าได้แต่พารา แต่ครอบครัวผมก็เป็นหนึ่งที่ได้ใช้สิทธิ์นี้ในการรักษาโรคมะเร็งอยู่ช่วงเวลาหนึ่ง นี่คงเป็นจุดเริ่มต้นของคำว่าประชานิยมในบ้านเราเท่าที่ผมจำได้ แล้วอะไรที่ “ประชาไม่นิยม” นั่นก็คือคนส่วนน้อยในสังคม…

Corruption: A very short introduction คอร์รัปชัน ความรู้ฉบับพกพา

สรุปรีวิวหนังสือ คอร์รัปชั่น Corruption: A very short introduction หนังสือเล่มนี้ทำให้เข้าใจความหมายของ #คอร์รัปชัน คำเดิมที่คิดว่ารู้จักดีแล้วให้ดียิ่งขึ้นและลึกซึ้งขึ้น โดยเริ่มจากบทแรกที่ถามง่ายๆว่า “คอร์รัปชันคืออะไร?” คอร์รัปชันแรกเริ่มเดิมทีมีมาตั้งแต่โบราณ และเป็นหนึ่งในวาเหตุสำคัณที่ทำให้จักรวรรดิโรมันต้องเสื่อมสลาย และด้วยการคอร์รัปชันนี่เองที่ทำให้เกิดการปฏิรูปศาสนาใหม่กลายเป็นนิกายโปรเตสแตนต์ เพราะผู้คนส่วนหนึ่งในตอนนั้นทนไม่ไหวกับการคอร์รัปชันของคริสตจักรโรมันคาทอลิก จากการขายใบชำระบาปที่ระบาดมากมายในตอนนั้น คอร์รัปชันแบ่งกว้างๆได้เป็นสองประเภท คือแบบ “กินหญ้า” กับแบบ “กินเนื้อ” คอร์รัปชันแบบกินหญ้าหมายถึง เจ้าหน้าที่รับเงินเมื่อมีผู้เสนอสินบนให้ ส่วนคอร์รัปชันแบบกินเนื้อหมายถึง เจ้าหน้าที่เรียกหาสินบนจากผู้คนด้วยตัวเอง คอร์รัปชันไม่ได้เกิดแค่ในภาครัฐ แต่ยังมีไม่น้อยที่เกิดในภาคเอกชน และมีชื่อเรียกแบ่งออกเป็นสองส่วน คือการคอร์รัปชันของเจ้าหน้าที่เอง…

สวัสดีเพื่อนนักอ่าน

จุดเริ่มต้นของการอ่านของผมเริ่มขึ้นเมื่อไม่กี่ปีก่อน น่าจะราวๆปี 2013 จากการเปลี่ยนสายงานจากเดิมที่เคยเป็นนักออกมามาสู่นักคิดโฆษณา เริ่มรู้สึกตัวว่าความรู้เดิมที่มีนั้นไม่เพียงพอ เลยต้องหาความรู้ใหม่ๆมาต่อยอดเพื่อคิดงานให้แปลกใหม่ได้มากขึ้น จากที่เคยใช้เวลาเป็นเดือนกว่าจะอ่านได้จบเล่ม กลายมาเป็นเดือนละเล่มสองเล่ม จนถึงทุกวันนี้เดือนนึงน่าจะอ่านจบได้ไม่ต่ำกว่าสิบเล่มแล้ว สำหรับผมการอ่านเหมือนการสะสม อ่านสะสมไปเรื่อยๆทุกวัน มีคนเคยถามว่าเคล็ดลับการอ่านหนังสือให้ได้เร็วๆและเยอะๆคืออะไร สำหรับผมนั้นเคล็ดลับเดียวคืออ่านไปเรื่อยๆครับ มีเวลาก็หยิบมาอ่าน อ่านตลอด อ่านทุกวัน อ่านให้เป็นนิสัย อ่านให้เหมือนการหยอดกระปุก หยอดวันลห้าบาทสิบบาท แปบเดียวก็เป็นพันแล้ว วันหนึ่งผมมีเวลาอ่านแค่สองช่วง คือระหว่างขึ้นรถไฟฟ้าไปทำงาน และระหว่างขึ้นรถไฟฟ้ากลับบ้านเท่านี้ครับ ดังนั้นผมเชื่อว่าถ้าผมว่ามีเวลาน้อยยังอ่านได้ขนาดนี้ คุณหรือใครที่มีเวลามากกว่าผมต้องอ่านได้ไม่น้อยกว่าผมแน่ครับ ขอแค่มีวินัยในการอ่านเท่านั้นเอง สุดท้ายแล้วต้องขอบคุณหม่อน น้องที่ทำงานเก่าคนนึงที่ยุให้ผมเริ่มเขียนสรุปหนังสือจริงจังลงตาม storylog หรือ…