สรุปหนังสือ chip war สงครามชิป การต่อสู้เพื่อสุดยอดเทคโนโลยีระดับโลก Chris Miller เขียน ประวัติศาสตร์เรื่องราวของมหาอำนาจยุค AI

สรุปหนังสือ Chip War สงครามชิป การต่อสู้เพื่อสุดยอดเทคโนโลยีระดับโลก Chrip Miller เขียน มหาอำนาจโลกยุคก่อนแข่งกันแย่งชิงบ่อน้ำมัน แต่มหาอำนาจโลกยุค AI ในปัจจุบันนั้นต่างแย่งชิงขุมกำลังในการประมวลผลดาต้า นั่นก็คือชิปคอมพิวเตอร์นั่นเอง

ยิ่งเราใช้ชีวิตแบบขาดดิจิทัลไม่ได้มากเท่าไหร่ เรายิ่งต้องใช้ชิปคอมพิวเตอร์ในการประมวลผลมากเท่านั้น ยิ่งเราเก็บดาต้าจากอุปกรณ์ IoT มากละเอียดแค่ไหน เราก็ยิ่งต้องมีชิปที่มีพลังในการประมวลผลเร็วขึ้นเท่านั้น

หนังสือเล่มนี้จะทำให้เราเข้าใจว่าทำไมเกาะเล็กๆ อย่างใต้หวันจึงทำให้อเมริกาต้องใส่ใจมาเยือน เพราะเขาคือผู้ผลิตชิปเบอร์หนึ่งของโลก ถ้าโรงงานนี้มีเหตุต้องหยุดทำงานแม้แต่วันเดียว ย่อมส่งผลกระทบต่อโลกทั้งใบไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง

ปัจจุบันประเทศจีนใช้เงินกับการนำเข้าชิปมากกว่าน้ำมันแล้ว และสงครามยุคใหม่แข่งกันที่ความสามารถประมวลผล จรวดที่แม่นยำกว่า รถถังจู่โจมกับเครื่องบินอัตโนมัติที่เราเห็นทั้งหลาย ล้วนต้องใช้ชิปล้ำสมัยมากมายมาประกอบกัน

ในโลกยุค AI Driven ดาต้าไม่ใช่น้ำมัน แต่เป็น Chip ประมวลผลต่างหากที่เป็นน้ำมัน

พูดถึงน้ำมัน ยุคที่โลกขับเคลื่อนด้วยน้ำมัน อเมริกาเคยถูกตะวันออกกลางแบนสั่งห้ามส่งออกน้ำมันให้อเมริกาซื้อ ทำให้เกิดภาวะข้าวยากหมากแพง อเมริกาไม่มีน้ำมันใช้ ส่งผลต่อเศรษฐกิจอเมริกามหาศาล อเมริกาเลยเริ่มออกนโยบายบุกตะวันออกกลางเพราะต้องการปกป้องฐานการส่งน้ำมันของตัวเอง

แต่ปัจจุบันนี้เรื่องราวเดียวกันไม่ได้เกิดขึ้นกับน้ำมัน แต่เกิดขึ้นกับชิป เมื่ออเมริกากลัวว่าจีนจะสั่งห้ามใต้หวันส่งออกชิปให้อเมริกา ก็เลยต้องพยายามเข้ามามีส่วนร่วมกับเกาะเล็กๆ เห็นนี้ เกาะใต้หวันที่เป็นประเทศผู้ผลิตชิปอันดับหนึ่งของโลก

แถมเกร็ดความรู้ คำว่า Bug มาจากการประมวลผลสมัยก่อนที่ต้องใช้หลอดไฟ จึงดึงดูดแมลงให้เข้ามาตามแสงไฟ ส่งผลให้เกิดการคำนวนผิดพลาดเพราะแมลงเหล่านั้นมาทำให้หลอดไฟขาด แม้ปัจจุบันเราจะไม่ได้ใช้หลอดไฟประมวลผลแล้ว เราไม่มีแมลงเข้ามาเกาะชิปประมวลผลหรือคอมพิวเตอร์แบบวันวาน แต่เราก็ยังคงใช้คำว่า Bug เมื่อเกิดความผิดพลาดในการประมวลผลอยู่

จุดเริ่มต้นสงครามชิป Chip War คิดเป็น สร้างได้ แต่ต่อยอดไม่เป็น

TI บริษัท Texas Instruments ผู้ผลิตชิปในยุค 1970 ที่สามารถคิดค้นและสร้างชิปประมวลผลต่างๆ ได้มากมายเป็นรายแรก แต่ไม่สามารถสร้าง Consumer Product ที่ต้องใช้ชิปประมวลผลที่ตนเองสร้างให้คนอยากซื้อได้ เอาง่ายๆ คือคิดเก่งแต่บิดขายไม่เป็นนั่นแหละครับ

ทางบริษัทญี่ปุ่นอย่าง Sharp เองมองเห็นโอกาสจากชิปประมวลผลที่ Texas Instruments สร้างขึ้นมา ก็เลยขอสั่งซื้อแล้วเอาไปต่อยอดผลิตเป็นเครื่องคิดเลขที่แสนจะล้ำในเวลานั้น และที่สำคัญคือมันขายดีจนดังมากๆ

จากนั้น Sony ก็เอาชิปจาก Texas Instruments มาต่อยอดสร้างเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านดีๆ มากมาย อย่างเครื่องเล่นเทป มาจนถึง Walkman ที่ทำยอดขายทั่วโลกไปได้กว่า 385 ล้านเครื่อง จนทำให้​ Sony ก้าวขึ้นมาเป็นแบรนด์ผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าอันดับหนึ่งของโลกมาแล้ว

ดังนั้นในช่วงเวลานั้นจะเห็นว่าคนอเมริกันคิดเก่ง สร้างเก่ง แต่ต่อยอดคิดเรื่องขายไม่เก่งเท่าญี่ปุ่น

จุดพลิกผันความพลาดเพราะปรามาสเอเซีย

ในช่วงเวลานั้นจะมีแค่อเมริกาที่ผลิตชิปประมวลผลได้ และธุรกิจก็เริ่มเติบโตได้ด้วยความคิดต่อสอดสร้างเป็นสินค้าผู้บริโภค Consumer Products จากเอเซีย ก็เลยก่อให้เกิดปัญหาใหม่คือความสามารถในการผลิตที่ไม่ทัน บวกกับค่าแรงในอเมริกาก็สูง ผู้บริหารอยากได้กำไรดี ก็เลยมองหาทางส่งออกเทคโนโลยีการผลิตให้กับประเทศฝั่งเอเซีย ที่ตอนนั้นยังมีค่าแรงถูกอยู่

สิงค์โปรช่วงปี 1960 ก็เริ่มรับประกอบ Semi Conductor เพราะค่าแรงต่ำมาก ชั่วโมงละแค่ 11 เซนต์ในเวลานั้นเท่านั้น บวกกับข้อได้เปรียบทางกายภาพของคนเอเซีย ที่ตรงผู้หญิงเอเซียตัวเล็ก มือจึงเล็กมาก ทำให้เป็นหัวใจหลักของงานประกอบสิ่งของเล็กๆ ที่ต้องใช้ความละเอียดอ่อนสูงๆ อย่าง Semi Conductor ในเวลานั้นโดยปริยาย

อเมริกาเลยเริ่มพลาดท่าส่งเทคโนโลยีการผลิต Chip และ DRAM ให้ญี่ปุ่น ฮ่องกง และ เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ด้วยค่าแรงที่ถูกมาก และมีมือของผู้หญิงเอเซียที่เล็กมาก บวกกับด้วยความคิดว่าจะใช้ประเทศแถบเอเซียโดยเฉพาะญี่ปุ่นเป็นแค่ฐานการผลิต แต่ท้ายที่สุดถูกญี่ปุ่นต่อยอดสร้างชิปให้ดีกว่าจนกลายเป็นศัตรูทางธุรกิจจนได้

แต่พอสักพักค่าแรงของประเทศญี่ปุ่นเริ่มสูงขึ้นตามการพัฒนาของเมือง ทำให้อเมริกาเริ่มมองหาผู้รับผลิตชิปรายใหม่ จนมาตกที่ประเทศเกาหลีใต้เป็นฐานการผลิตต่อไป หารู้ไม่ว่ามันคือจุดเริ่มต้นของบริษัทอย่าง Samsung ที่กลายเป็นขู่แข่งคนสำคัญในปัจจุบันนี้

ทางรัสเซียเองก็เคยพยายามผลิตชิปสู้กับอเมริกาในเวลานั้น แต่สุดท้ายก็ไม่รอด เพราะถูการเมืองแทรงแซงเยอะเกินไป พึ่งพาแต่ลูกค้าทางการทหารของตัวเองมากเกินไป ผิดกับอเมริกาและญี่ปุ่นที่ตลาดใหญ่ของพวกเขาวันนั้นคือผู้บริโภคทั่วไป ที่ต้องการ Consumer Products ที่ดีมากขึ้นเรื่อยๆ

TSMC บริษัทเอกชนจากกลยุทธ์แห่งชาติ

ถ้าถามว่าใครคือผู้ผลิตชิปรายสำคัญของโลกในวันนี้ ก็ต้องพูดเป็นเสียงเดียวกันอย่างเอกฉันท์ว่า TSMC ที่ย่อมาจาก Taiwan Semiconductor Manufacturing Company ซึ่งบริษัทที่ดูเป็นเอกชนแห่งนี้ แท้จริงแล้วมาจากกลยุทธ์ของประเทศใต้หวัน

ส่วนประเทศจีนที่เป็นผู้นำเข้าชิปมากเป็นอันดับต้นๆ ของโลกก็ไม่ได้อยู่เฉย เพราะก็มีความจะพยายามสร้างโรงงานผลิตชิปของตัวเองมานานแล้ว ด้วยแนวคิดเดียวกับการทำธุรกิจอื่นๆ ของชาวจีน

เครื่องแรกนำเข้า เครื่องสองผลิต เครื่องสามส่งออก

แนวคิดเขาน่าทึ่งดีนะครับ แต่ก็ยังมีความน่าชื่นชมไปพร้อมกัน ที่ขยันคิดหาทางใหม่ๆ อยู่เสมอ

ด้วยความที่บริษัท TSMC ผู้ผลิตชิปรายสำคัญของโลกปัจจุบันนี้อยู่ใกล้กับประเทศจีนมาก แล้วไหนจะญี่ปุ่นกับเกาหลีใต้ที่เป็นอีกสองผู้ผลิต Chip รายสำคัญก็อยู่ใกล้กับจีนอีกหละ อเมริกาจึงกลัวทุกวันว่าถ้าเกิดเหตุร้ายแรงอย่างสงครามขึ้นความมั่นคงทางชิปของตัวเองจะสั่นคลอนได้โดยง่าย

เพราะต่อให้มีจรวดที่มีอานุภาพทำลายล้างสูงแค่ไหน แต่ถ้ามันไม่สามารถพุ่งเป้าเข้าเป้าหมายอย่างแม่นยำ จรวดนั้นก็ไร้ค่าสิ้นดี

Huawei ทางออกของจีนในสงครามชิปหรือไม่ ?

Huawei คงไม่มีใครไม่รู้จักบริษัทนี้ เพราะมีสินค้ามากมายหลากหลายตั้งแต่โทรศัพท์มือถือ ไปจนถึงคอมพิวเตอร์ และก็ระบบไอทีระดับใหญ่ ต้องบอกว่าบริษัท Huawei เป็นบริษัทรายแรกที่สามารถออกไปเติบโตนอกประเทศจีนได้จริง

เดิมทีบริษัทจีนมักโตได้จำกัดภายในประเทศ​ แต่คำว่าจำกัดก็อาจไม่จำกัดจริง เพราะลำพังผู้บริโภคภายในประเทศก็มีเป็นพันล้านคนแล้ว

และจากการที่ Huawei เป็นบริษัทของจีนที่โตมากจนทำให้หลายประเทศกังวล ก็เลยเริ่มถูกตัดออกจากหลายๆ ประเทศ เช่น อเมริกา ออสเตเรีย ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ ด้วยเหตุผลว่ากังวลเรื่องความปลอดภัย หรือ Cyber Security

อเมริกาก็ยิ่งบีบบังคับด้วยการร่วมมือกับชาติตะวันตกให้ไม่ขายเครื่องจักการผลิตชิปให้ แต่จีนก็ยังพยายามสร้างโรงงานผลิตชิปของตัวเองอย่าง YMTC หรือ Yangtze Memory Technologies Corp ขึ้นมาได้

บริษัทนี้จีนจริงจังมาก ให้ความสำคัญสุดๆ ขนาดไหนหรอครับ ขนาดที่ตอนโควิดระบาดทางการจีนยังเปิดโรงงานผลิตชิปแห่งนี้ต่อไปไม่ได้ปิด เพราะตอนนั้นทางการจีนคาดการณ์ว่าถ้าทุกอย่างล็อคดาวน์ โรงงานผลิตชิปในใต้หวันและที่อื่นๆ บนโลกล็อคดาวน์หยุดการผลิตแบบนี้ จะต้องก่อให้เกิดสถานการณ์ชิปขาดตลาดเป็นแน่

และก็จริงอย่างที่คิดการณ์ไว้ เพราะเมื่อล็อคดาวน์คนต้องอยู่บ้านอย่างแรกคือส่งผลให้ความต้องการคอมพิวเตอร์แรงๆ เพิ่มขึ้นมาก คนอัปเกรดคอมเยอะมากในตอนนั้น แล้วไหนจะความต้องการของ Data Center ต่างๆ ที่ต้องขยายขนาดเพื่อรองรับผู้ใช้งานพร้อมกันจำนวนมหาศาล

รถยนต์ก็ขายดีมากในช่วงล็อคดาวน์จนทำให้เกิดสถานการณ์ส่งมอบรถยนต์ไม่ได้เพราะชิปขาดตลาด สาเหตุเพราะบริษัทรถยนต์คาดการณ์ผิดว่าคนน่าจะไม่ซื้อรถ เลยหยุดการสั่งซื้อชิปจากโรงงานผู้ผลิตชิป จนเมื่อมีการสั่งซื้อเข้ามาจริงครั้นจะหาชิปมาประกอบรถยนต์ก็ไม่สามารถทำได้ทันที ทุกวันนี้รถยนต์หนึ่งคันประกอบด้วยชิปเป็นพันๆ ตัว

กลยุทธ์ธุรกิจที่น่าสนใจจากบริษัทชิป

เรามักได้ยินคำว่า Silicon Valley แหล่งรวมบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำระดับโลกมากมาย ทำให้คนทำงานเปลี่ยนงานง่าย เพราะถ้าไม่ชอบบริษัทที่ทำงานอยู่ ก็สามารถหางานใหม่ได้แทบจะในทันที แต่บริษัท Micron ผู้ผลิตชิป DRAM ในบอยซีคิดอีกแบบ ถ้าเราไปตั้งโรงงานในแหล่งที่เต็มไปด้วยสภาพแวดล้อมแบบเดียวกัน เราอาจรักษาพนักงานเก่งๆ ไว้ได้ยาก

ก็เลยเลือกที่จะตั้งโรงงานผลิตในที่ไกลจากแหล่งเทโนโลยีมากที่บอยซี ผลคือตัวเขาเองเป็นผู้ผลิตชิป DRAM รายเดียว พนักงานเลยอยู่กับที่นี่นานมากกว่าบริษัทเทคโนโลยีอื่นในเวลานั้น เป็นกลยุทธ์การรักษาพนักงานที่น่าสนใจจริงๆ

Intel จากผู้นำตลาดชิปโลกยุค CPU สู่ยุคชิปประมวลผลของ ARM

Intel ในเวลานั้นเองก็เคยผลิตชิป DRAM มาก่อน แต่ก็หนีจากสงครามราคาที่ใครๆ ก็แข่งกันตัดราคาไปสู่การผลิตชิปประมวลผลกลางอย่าง CPU ที่ซับซ้อนกว่ามาก แต่ก็สามารถขายได้ราคาที่แพงกว่าโข

เมื่อ Intel เริ่มผลิตชิป CPU ตระกูล X86 ได้ ทางจีนก็เร่งหาทางผลิตชิป X86 แบบเดียวกันให้ได้แต่ไม่ง่ายขนาดนั้น บริษัท ARM เองที่เคยเป็นคู่แข่ง Intel สมัยก่อนและก็แพ้ไปในช่วงยุคชิป CPU เฟื่องฟู ส่วนหนึ่งเพราะพันธมิตรของ Intel ที่แน่นแฟ้นกับ Microsoft มากๆ ทำให้เกิดการผูกขาดในระบบคอมพิวเตอร์บ้าน

Microsoft สร้างโปรแกรมที่ประมวลผลบนชิป X86 ได้ดี ทาง Intel ก็ยิ่งทำชิปใหม่ๆ ออกมาขายได้ดีขึ้น แต่นั่นคือยุคเฟื่องฟูในอดีต เพราะทุกวันนี้ Intel กำลังเจอศึกหนัก เมื่อโลกไม่ได้ต้องการชิป CPU คอมพิวเตอร์แบบเดิมสักเท่าไหร่

เพราะเราก้าวเข้าสู่ยุคของ IoT ที่ต้องการชิปประมวลผลตัวเล็กๆ ที่กินไฟต่ำมากๆ นั่นคือสิ่งที่ชิปของ Intel ทำไม่ได้ แต่ ARM นั้นทำได้ดีแบบขาดลอย

Intel เองเคยเสนอตัวผลิตชิปให้ Mac เหมือนกับ Microsoft จึงทำให้ช่วงหนึ่ง Apple หันมาใช้คอมพิวเตอร์ที่ใช้ชิปขอ Intel ก่อนจะหันมาใช้ชิปที่ตัวเองเป็นผู้ออกแบบ เรียกได้ว่าผูกขาดในระบบสถาปัตยกรรมแบบสุดๆ

เพราะ Steve Jobs เองหลังเปิดตัว iPhone ได้ไม่นานก็เริ่มรู้แล้วว่าชิปนั้นจะสำคัญกับธุรกิจของ Apple ขนาดไหน เลยเริ่มลงทุนซื้อบริษัทออกแบบชิปมาเพื่ออกแบบชิปในสินค้าทั้งหมดของ Apple ให้ จนสามารถสร้างชิปตระกูล A ของตัวเองออกมาได้ แล้วก็ถูกใช้ใน iPhone เป็นสินค้าแรก ก่อนจะขายไปยังคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อื่นๆ

ทั้งหมดนี้คือเหตุผลว่าทำไมมือถืออย่าง iPhone จึงเสถียรมากๆ ทำงานได้ราบรื่นกว่าโทรศัพท์มือถือรุ่นอื่นๆ แม้บางรุ่นจะบอกว่าชิปตัวเองแรงกว่าเท่านั้นเท่านี้ แต่กลับไม่สามารถเร็วเท่ากับ iPhone ได้ ดังนั้นถ้าอยากอยู่รอดและเติบใหญ่ได้ในระยะยาว ต้องเริ่มจากการเล่นเกมยากที่คนอื่นไม่อยากทำ อย่างการออกแบบและผลิตชิปของตัวเองขึ้นมาแบบ Apple ช่างเป็น Competitive Advantage แบบสุดๆ ครับ

สรุปหนังสือ Chip War สงครามชิป

นี่คือหนังสือที่จะเล่าประวัติศาสตร์ความเป็นมาของชิปประมวลผล ตั้งแต่ Semiconductor ไปจนถึง Chip Set CPU ในคอมพิวเตอร์เราทุกเครื่อง ลามมาถึงชิปในโทรศัทพ์มือถือที่เราทุกคนล้วนขาดมันไม่ได้ ในโลกยุค Digitaltization ยุคที่เต็มไปด้วย Deep Data มากมายจากอุปกรณ์ IoT หรือ​ Sensor ทั้งหลาย

ยุคที่ทุกสิ่งล้วน Automation กันมากขึ้น ตั้งแต่หุ่นยนต์ดูดฝุ่นอัจฉริยะ ไปจนถึงรถยนต์ไร้คนขับ แล้วไหนจะเครื่องบินรบที่บังคับจากภาคพื้นดิน ทั้งหมดนี้ล้วนต้องใช้พลังของชิปประมวลผลอย่างยิ่งยวด น้ำมันเริ่มหมดค่า จากที่เคยก่อสงครามเพื่อยึดครองบ่อน้ำมัน มาสู่สงครามทางการเมืองเพื่อควบคุมโรงงานผลิตชิปสำคัญของโลกในใต้หวัน

ถ้าอยากรู้ว่าชิปเล็กๆ นั้นสำคัญต่อมนุษยชาติขนาดไหน หาคำตอบได้จากหนังสือเล่มนี้ครับ

อ่านแล้วเล่า เล่มที่ 38 ของปี 2023

สรุปหนังสือ Chip War สงครามชิป
การต่อสู้เพื่อสุดยอดเทคโนโลยีระดับโลก
Chris Miller เขียน
ศักดิ์ชัย และ แพรพิไล จันทร์พร้อมสุข แปล
สำนักพิมพ์ ARROW

อ่านหนังสือแนวนี้ในอ่านแล้วเล่าต่อ : https://www.summaread.net/category/big-data/

สั่งซื้อออนไลน์ : https://shope.ee/3pyiHCqzKv

By Nattapon Muangtum

จากนักอ่านที่เริ่มอยากหัดเขียน จากการที่ต้องอ่านเพราะความจำเป็น กลายเป็นอ่านเพราะหลงไหล, สวัสดีครับผมชื่อหนุ่ย ผมทำงานด้าน Digital and Data Marketing ผมยังมีเพจการตลาดอีกเพจที่อยากฝากให้ลองอ่านดูนะครับ https://www.facebook.com/everydaymarketing.co/