Global Change 6 วรากรณ์ สามโกเศศ

สรุปหนังสือ GLOBAL CHANGE เล่มที่ 6 ในฐานะที่ผมเป็นแฟนตัวยงของอาจารย์วรากรณ์ สามโกเศศ ดังนั้นจึงไม่พลาดที่จะตามหนังสืออาจารย์ทุกเล่มเท่าที่หาอ่านได้แน่นอน หนังสือ GLOBAL CHANGE เล่มที่ 6 นี้ทำให้คุณได้รู้เท่าทันโลก ทันกระแส ทันเทรนด์ โดยเฉพาะประเด็นสำคัญที่ไม่ควรพลาด ในวันที่เต็มไปด้วยข่าวสารมากมายล้นหน้าจอการได้อ่านหนังสือ GLOBAL CHANGE เล่มนี้สำหรับผมก็เพียงพอที่จะเห็นภาพกว้าง เข้าใจภาพรวม พอจะเห็นทิศทางการเป็นไปของโลกในวันข้างหน้า บอกตรงๆ ว่าหนังสือเล่มนี้เป็นอะไรที่สรุปยากมาก เพราะลำพังเนื้อหาในเล่มก็เหมือนสรุปแต่ประเด็นสำคัญๆ มาหมดแล้ว ดังนั้นผมขอเลือกหยิบบางส่วนในเล่มมาเล่าเพื่อเรียกน้ำย่อยให้คนที่ไม่เคยได้อ่านหนังสือชุด GLOBAL CHANGE…

โลกนี้ไม่มีอะไรฟรี 6 ศาสตร์แห่งความหดหู่และสิ้นหวัง

สรุปหนังสือโลกนี้ไม่มีอะไรฟรี เล่มที่ 6 ที่มีชื่อประจำเล่มว่า ศาสตร์แห่งความหดหู่และสิ้นหวังเล่มนี้ไม่ใช่หนังสือใหม่อะไร แต่เป็นหนังสือที่ผมตามหามานานกว่า 6 ปีแล้วครับ ต้องบอกว่าชุดหนังสือโลกนี้ไม่มีอะไรฟรีนี่แหละที่ทำให้ผมคนที่เคยไม่คิดจะอ่านหนังสือได้จบเล่ม กลายเป็นหนอนหนังสือขึ้นมา เปลี่ยนจากกองหนังสือเป็นชั้นหนังสือ และทำให้ผมพัฒนาจากชั้นหนังสือจนมีห้องหนังสือของตัวเองได้ทุกวันนี้ ในช่วงที่ผมได้อ่านหนังสือของอาจารย์วรากรณ์ สามโกเศศ เป็นครั้งแรกของสำนักพิมพ์ Openbooks ที่เป็นชุด 10 เล่ม เชื่อมั้ยครับว่าหนังสือของอาจารย์ที่ผมได้อ่านในตอนนั้นทำให้ผมถึงกับวางไม่ลงเลยจริงๆ จากนั้นผมก็เลยปวารณาตัวเองเป็นแฟนตัวยงของอาจารย์วรากรณ์แกโดยไม่ได้ขออนุญาต และนั่นก็ทำให้ผมพยายามตามหาหนังสือที่อาจารย์เขียนมาอ่านเป็นอาหารสมองให้มากที่สุดครับ จากหนังสือชุด 10 เล่มของสำนักพิมพ์ Openbooks สู่การเปิดโลกว่าอาจารย์แกก็เขียนให้กับสำนักพิมพ์มติชนด้วย และนั่นก็ทำให้ผมตามหาหนังสือชุดโลกนี้ไม่มีอะไรฟรีของแก และผมก็สามารถหาได้ทุกเล่มยกเว้นเล่มที่ 6…

Global Change 4

ว่าด้วยเรื่องของการเปลี่ยนแปลง กระแสใหม่ๆในโลกที่เกิดขึ้น แล้วกำลังจะเปลี่ยนชีวิตเราไปนั้น ดร. วรากรณ์ สามโกเศศ คนนี้แหละ ที่หยิบมาเล่าให้เข้าใจง่าย แม้ไม่รู้ความรู้ปูพื้นก็อ่านได้ ผมตามนักเขียนคนนี้มาตั้งแต่หนังสือชุด โลกนี้ไม่มีอะไรฟรี (เสียอย่างเดียวขาดเล่ม 6 หาซื้อเท่าไหร่ก็ไม่มี) มาถึงหนังสือชุด 10 เล่มของค่าย Openbooks ที่ผมจำชื่อไม่ได้ และเล่มอื่นๆเท่าที่ผมจะตามเจอ จนมาถึงหนังสือชุดใหม่ชุดนี้ที่ชื่อว่า Global Change ที่รวมเรื่องราวความเปลี่ยนบนโลกที่เรามองข้าม หรือยังมองไม่เห็น เพื่อให้เราได้อัพเดทความรู้ เสมือนการอัพเกรดปัญญา เพราะขนาดมือถือยังต้องอัพเกรดระบบปฏิบัติการ หรือ OS…

เศรษฐศาสตร์มีจริต

ดร. วิรไท สันติประภพ, นักเศรษฐศาสตร์พเนจร เป็นหนังสือที่เล่าเรื่องเศรษฐศาสตร์อีกเล่มที่อ่านเข้าใจได้ไม่ยาก และก็ทำให้เข้าใจภาพความจริงของเศรษฐกิจบ้านเมืองเราในช่วงก่อนยุค คสช ได้มากพอควร และพออ่านจบก็เลยเพิ่งรู้ว่าผมมีหนังสือของนักเขียนคนนี้อยู่อีกเล่มแต่ยังไม่ได้อ่าน คือ “ประชานิยม: ทางสู่ความหายนะ” เป็นเล่มที่ได้จากงานหนังสือเมื่อต้นปี 2560 แต่เล่มนี้เพิ่งได้มาจากงานหนังสือเมื่อปลายปีเดียวกันแต่ดันอ่านจบก่อนซะงั้น เนื้อหาหลักๆของเล่มผมว่าแบ่งเป็นสองส่วน คือ “ประชานิยม” กับ “ทุนนิยม” (ความจริงในเล่มมีเนื้อหาหลายหัวข้อ อันนี้ผมขอสรุปจากความรู้สึกส่วนตัวของผมนะครับ) “ประชานิยม” กลายเป็นสิ่งที่คนไทยถูกพรรคการเมืองและรัฐบาลตั้งแต่ยุคทักษิณมอบให้ เสมือนขนมเค้กที่ปราศจากคำเตือนถึงอันตรายของโรคต่างๆที่จะตามมา เพราะทุกครั้งที่ไม่ว่าจะรัฐบาลหรือพรรคการเมืองใดๆก็ตามต้องการคะแนนนิยมจากประชาชน ก็จะหยิบเอานโยบายประชานิยมต่างๆขึ้นมาหาเสียง ไม่ว่าจะรถไฟฟ้า 20บาททุกสายทุกเส้น(จนวันนี้บินหนีไปไหนแล้วก็ไม่รู้) ไปจนถึงจำนำข้าวทุกเมล็ด…

Global Change 3

อาจารย์วรากรณ์ สามโกเศศ หนึ่งในนักเขียนน้อยคนที่เขียนให้คนธรรมดาแบบผมเข้าใจและหลงไหลในเรื่องเศรษฐศาสตร์ได้ เพราะแนวคิดของอาจารย์คือ “ไม่ต้องแบกบันไดอ่าน” จนผมเองเป็นหนึ่งคนที่ตามเก็บตามอ่านหนังสือของอาจารย์แทบทุกเล่มเท่าที่จะหาได้ ตั้งแต่ซีรียส์ “โลกนี้ไม่มีอะไรฟรี” ทั้งสิบเล่ม ขาดก็แต่เล่ม 6 ที่สำนักพิมพ์ไม่พิมพ์แล้วและก็หามือสองจากไหนไม่ได้ทั้งนั้น และชุดเศรษฐศาสตร์ชาวบ้านทั้ง 10 เล่มของสำนักพิมพ์ Openworlds และก็ตามมาถึงชุดใหม่นี้ Global Change ที่มาถึงเล่ม 3 แล้ว ถ้าถามว่าเศรษฐศาสตร์เกี่ยวกับคนเราชาวบ้านยังไง ผมว่าที่เกี่ยวที่สุดและเข้าใจง่ายที่สุดก็คือเรื่องของ “ปากท้อง” เพราะทุกอย่างที่เรากิน ทุกอย่างที่เราใช้ นั้นล้วนถูกผลิตสร้างเพื่อให้เศรษฐกิจเกิดการแลกเปลี่ยนทั้งในระดับชาวบ้านที่เรียกว่า เศรษฐศาสตร์จุลภาค และระดับชาติที่เรียกว่า…