การเงินคนจน The Poor and Their Money

หนังสือการเงินคนจนที่แปลมาจาก The Poor and Their Money เล่มนี้ได้รับการสนับสนุนให้แปลเป็นภาษาไทยโดยบริษัทเงินติดล้อ ที่ต้องการให้คนที่ได้รับรู้และเข้าใจวิถีชีวิตคนจนอย่างลึกซึ้งกว่าความเชื่อมเดิมๆ ที่ว่า คนจนนั้นจนเพราะเก็บเงินไม่เป็น หรือเพราะบริหารเงินไม่เป็นถึงจน เพราะในความเป็นจริงแล้วคนจนนั้นบริหารเงินเก่งไม่แพ้คนชนชั้นกลางหรือชนชั้นสูง ซึ่งสาเหตุหลักสำคัญก็เพราะคนจนมีเงินอยู่น้อยนิด ดังนั้นยิ่งมีน้อยเท่าไหร่ก็ยิ่งต้องใช้สมองว่าจะทำอย่างไรกับเงินนั้นให้เกิดค่าสูงสุด ถ้าพวกเขาออมเงินเก่ง บริหารเงินเป็น แล้วเหตุใดพวกเขาถึงยังคงจนอยู่ล่ะ? ที่คนจนยังจนอยู่ส่วนหนึ่งก็เพราะสภาพแวดล้อมที่คนจนอยู่ไม่เอื้อต่อการออมเลย ลองคิดดูซิว่าถ้าคุณต้องอยู่บ้านกระต๊อบเพิงสังกะสีที่อาจจะถูกมองลอดเข้ามาจากภายนอกเมื่อไหร่ก็ได้ คุณคิดว่าจะเอาเงินเก็บไว้ตรงไหนในบ้านถึงจะปลอดภัยได้พอจริงมั้ยครับ ด้วยความที่บ้านหรือที่อยู่อาศัยของคนจนไม่ได้มีรั้วรอบขอบชิดเหมือนบ้านชนชั้นกลางคนทั่วไป กำแพงไม่ได้หนาพอจะทนทานต่อการบุกรื้อค้นเข้ามาได้ ทำให้การจะเอาเงินเก็บไว้ในลิ้นชักในบ้านพร้อมล็อคกุญแจก็จะยิ่งเป็นการเสี่ยงต่อคนนอกที่อาจจะเข้ามา เป็นการส่งสัญญาณให้รู้ว่าในนี้น่าจะมีของสำคัญมากๆ อยู่ก็เป็นได้ หรือดีไม่ดีเอาเงินสอดไว้ใต้หมอนมุ้งก็อาจจะถูกคนในบ้านนี่แหละครับเข้ามาหยิบจับแล้วค้นเจอ จากนั้นก็เผลอไม่ได้ที่จะเอาเงินไปใช้กับเรื่องอื่นที่อาจจะจำเป็นชั่วขณะในตอนนั้น จนพลาดโอกาสที่จะเปลี่ยนเงินออมให้กลายเป็นเงินก้อนที่จะทำให้คนจนคนนั้นหลุดออกจากกับดักความจนได้ครับ แล้วนั่นก็เลยเป็นเหตุผลว่าทำไมคนจนจำนวนไม่น้อยมักเลือกออมเงินผ่านทอง เพราะพวกเขารู้สึกว่าการเปลี่ยนเงินให้อยู่ในรูปทองนั้นปลอดภัยกว่า…

รู้ แล้ว เปลี่ยน

สรุปหนังสือ รู้แล้วเปลี่ยน ที่แต่งโดย คุณสฤณี อาชวานันทกุล เล่มนี้ตั้งแต่ปี 2016 ปัญหาโลกร้อนแต่ได้ยินมายาวนานแต่กลับเหมือนไกลตัวเราทุกคนจนไม่เคยใส่ใจ โลกร้อนแล้วยังไงก็เปิดแอร์ให้แรงขึ้นกว่าเดิมซิ..จบข่าว หนังสือเล่มนี้พูดในหลายแง่มุมของปัญหาโลกร้อน และผลกระทบที่มาจากอุตสาหกรรม ธุรกิจ รวมถึงมนุษยชาติที่ทำร้ายทำลายโลกที่เราอาศัยอยู่สะสมขึ้นทุกวัน แต่น้อยคนนักจะรับรู้และใส่ใจที่จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในความรับผิดชอบของตัวเอง ให้เป็นมิตรต่อโลกมากขึ้น แต่ไหนแต่ไรโลกธุรกิจเชื่อว่า การจะแก้ปัญหาโลกร้อนเป็นคนละเรื่องกับการทำธุรกิจให้มีกำไรแข่งขันได้มานาน แต่หารู้ไม่ว่าการพัฒนาธุรกิจและเทคโนโลยีของคุณนั้นกลับจะทำให้คุณเหนือคู่แข่งและสร้างกำไรในธุรกิจได้ในระยะยาว หลายบริษัทชั้นนำของโลกเริ่มปรับเปลี่ยนตัวเองให้สร้างเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ไม่ใช่แค่ลดปัญหาโลกร้อน แต่เป็นการเพิ่มกำไรเป็นกอบเป็นกำให้กับธุรกิจของตัวเองมากมาย เราทุกคนต่างใช้โลกนี้อย่างแทบไม่เคยถนอม และไม่เคยเห็นคุณค่าของโลกมานานมาก จนเราต่างลืมไปว่าปัญหาทั้งหมดบนโลกก็จะยังคงอยู่บนโลก ไม่ได้ลอยออกไปดาวดวงไหนได้ง่ายๆ ยกเว้นวันที่เราสร้างจรวดขนขยะสารพิษไปทิ้งนอกโลก แต่ก็ต้องเสียงว่ามันจะลอยกลับเข้ามายังโลกอีกหรือเปล่า ผลกระทบอาจไม่ได้เกิดขึ้นในยุคของเรา แต่ในยุคหน้าในรุ่นลูกหลานของเราล่ะ เมื่อวันนึงเค้าย้อนถามกลับมาว่า…

Resource Revolution ธุรกิจพลิกอนาคต

สรุปหนังสือ Resource Revolution ธุรกิจพลิกอนาคต ค้นหาโอกาสใหม่ทางธุรกิจ ในยุควิกฤตทรัพยากร ในยุคที่อะไรๆก็ 4.0 เรากลับใช้ทรัพยากรได้เหมือน 0.4 ยังไงยังงั้น ย้อนกลับไปยังสมัยของ Adam Smith บิดาแห่งวิชาเศรษฐศาสตร์ผู้แต่งหนังสือชื่อ The Wealth of Nation หรือ ความมั่งคั่งของชาติ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1776 อดัม สมิท บอกว่าจากการปฏิวัติอุสาหกรรมที่กำลังจะเกิดขึ้นในตอนนั้นจะทำให้ทุกอย่างเปลี่ยนไปในทิศทางที่ดีขึ้น จะทำให้เกิดการปฏิวัติ 3 สิ่งสำคัญที่จะทำให้ประชาคมโลกอยู่ดีกินดียิ่งขึ้น…

จักรวาลกระดานเดียว BOARD GAME UNIVERSE

ที่เขียนโดยนักเขียนและนักแปลที่ชอบ คุณ สฤณี อาชวานันทกุล ถ่ายทอดความรู้และความรักในเกมกระดานออกมาให้เราสนุกตามผ่านตัวหนังสือ ประวัติศาสตร์ของเกมกระดานนั้นยาวนานมากหลายพันปี..(ที่ต้องพูดกว้างๆแบบนี้เพราะจำไม่ได้) ลูกเต๋าสิบหน้า ทำจากเขาสัตว์ฝังคู่ในหลุมศพมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์..(หรือต้องเรียกว่าก่อนคริสตกาล) ทำให้รู้ว่ามนุษย์นั้นรักการเล่นมานานมากกว่าที่เราคิด อารยธรรมไม่ได้มีเพื่อขยายเมืองหรือเผ่าพันธ์เท่านั้น แต่ยังมีเรื่องของการเติบโตทางสุนทรียอารมณ์ด้วย แล้วถ้าพูดถึงเกมกระดานไกล้ตัวของเราหลายคนน่าจะไม่พ้นเกมเศรษฐีที่เชื่อว่าแทบทุกคนต้องเคยผ่านการเล่น ซื้อที่ ลงบ้าน อัพเกรดเป็นโรงแรม และจับได้ใบล้มละลายกันมาทั้งนั้น แต่เกมกระดานปัจจุบันนั้นเป็นการเล่าเรื่องราวที่หลากหลายมีความซับซ้อนไม่แพ้การอ่านหนังสือดีๆหนึ่งเล่ม หรือดูภาพยนต์หนึ่งเรื่อง จนมีถึงขั้นเป็นงานเทศกาลโลกที่ประเทศเยอรมัน คนจากทั่วมุมโลกมารวมตัวกันหลายหมื่นพันคน ทำให้เห็นมุมมองของเกมกระดานในปัจจุบันและอนาคตที่กว้างไกลมากขึ้น ทำให้เราได้ความคิดว่าอยากจะทำเกมกระดานเพื่อการเรียนรู้และสอนในเรื่องที่เคยน่าเบื่อให้เด็กรุ่นใหม่สนุกสนานกับการเรียนมากขึ้น บางครั้งวิธีการเล่าเรื่องที่ดีก็สามารถทำเรื่องธรรมดาให้น่าสนใจยิ่งขึ้นไปอีก ขอให้สนุกกับการละเล่นไม่ว่าจะเกมกระดานหรือเกมอะไรก็ตามครับ อ่านเมื่อปี 2016

รู้ แล้ว เปลี่ยน

ปัญหาโลกร้อนแต่ได้ยินมายาวนาน แต่กลับเหมือนไกลตัวเราทุกคนจนไม่เคยใส่ใจ โลกร้อนแล้วยังไงก็เปิดแอร์ให้แรงขึ้นกว่าเดิมซิ..จบข่าว หนังสือเล่มนี้พูดในหลายแง่มุมของปัญหาโลกร้อน และผลกระทบที่มาจากอุตสาหกรรม ธุรกิจ รวมถึงมนุษย์ชาติที่ทำร้ายทำลายโลกที่เราอาศัยอยู่สะสมขึ้นทุกวัน แต่น้อยคนนักจะรับรู้และใส่ใจ ที่จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในความรับผิดชอบของตัวเองให้เป็นมิตรต่อโลกมากขึ้น แต่ไหนแต่ไรโลกธุรกิจเชื่อว่าการจะแก้ปัญหาโลกร้อนเป็นคนละเรื่องกับการทำธุรกิจให้มีกำไรแข่งขันได้มานาน แต่หารู้ไม่ว่าการพัฒนาธุรกิจและเทคโนโลยีของคุณนั้นกลับจะทำให้คุณเหนือคู่แข่งและสร้างกำไรในธุรกิจได้ในระยะยาว หลายบริษัทชั้นนำของโลกเริ่มปรับเปลี่ยนตัวเองให้สร้างเทคโนโลยีใหม่ๆ ไม่ใช่แค่ลดปัญหาโลกร้อน แต่เป็นการเพิ่มกำไรเป็นกอบเป็นกำให้กับธุรกิจของตัวเองมากมาย..เล่าไม่หมดหรอกไปเปิดอ่านในเล่มก็แล้วกัน เราทุกคนต่างใช้โลกนี้อย่างแทบไม่เคยถนอมและเห็นคุณค่าของโลกมานานมาก จนเราต่างลืมไปว่าปัญหาทั้งหมดบนโลกก็จะยังคงอยู่บนโลกไม่ได้ลอยออกไปดาวดวงไหนได้ง่ายๆ… ยกเว้นวันที่เราสร้างจรวดขนขยะสารพิษไปทิ้งนอกโลก แต่ก็ต้องเสียงว่ามันจะลอยกลับเข้ามายังโลกอีกหรือเปล่า ผลกระทบอาจไม่ได้เกิดขึ้นในยุคของเรา แต่ในยุคหน้าในรุ่นลูกหลานของเราล่ะ เมื่อวันนึงเค้าย้อนถามกลับมาว่าทำไมพ่อแม่เค้าถึงไม่เคยถนอมโลกไว้ให้เค้าในตอนที่พวกเราทุกคนยังหนุ่มสาวกันอยู่.. ..แล้วตอนนั้นเราจะตอบคำถามคนรุ่นต่อไปยังไง บ้านเรา ทรัพย์สินเราๆยังต้องดูแลเพื่อส่งต่อให้คนรุ่นต่อๆไป แล้วโลกของเราล่ะ จะไม่ดูแลให้ดีขึ้นเลยหรือ? อ่านเมื่อปี 2016

วิชาสุดท้าย ที่มหาวิทยาลัยไม่ได้สอน

จากนักเขียนนักแปลคนโปรดคนนึงของผม คุณสฤณี อาชวานันทกุล ได้ยินมาว่าเป็นหนังสือที่บัณฑิตนิยมมอบให้กับบัณฑิตด้วยกันเมื่อสำเร็จการศึกษา.. นี่เป็นการสร้างจุดขายที่ทำให้กลายเป็นธรรมเนียมไม่เหมือนหนังสือเล่มอื่นเสียจริง ยอมรับว่าการตลาดฉลาดมาก เรื่องในเล่มเป็นเรื่องราวของคนเก่ง คนสำคัญ คนดัง หลายสิบคนที่เคยไปกล่าวปาถกฐาในวันสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกมากมาย เช่น Steve Job, JK Rolling และอีกหลายคนมากมายที่ผมเองก็จำไม่ได้เช่นกัน หนังสือเล่มนี้ดูเหมือนหนา..แต่ก็หนาจริงเพราะตั้งกว่า 500 หน้า แต่กลับไม่รู้สึกต้องใช้เวลาอ่านมากเลย เพราะเรื่องราวมาจากประสบการณ์จริงของบุคคลสำคัญจึงทำให้เวลาอ่านนั้นเข้าใจและคิดตามได้ไม่ยาก หลายเรื่องเป็นเรื่องราวที่เราพบเจอแต่ไม่เคยมองในแง่มุมของผู้พูดมาก่อน ก็ทำให้เราสะดุดคิดตามได้ ได้มุมมองใหม่ๆขึ้นมาได้ สุดท้ายแล้วหนังสือเล่มนี้ แม้คุณเลยวัยบัณฑิตมาแล้ว ก็ควรค่าแก่การหามาอ่านครับ เพราะวิชาสุดท้ายที่มหาวิทยาลัยไม่ได้สอน คือวิชาชีวิตนอกห้องเรียน วิชาที่คุณต้องลองผิดลองถูกด้วยตัวเอง…

Here Comes Everybody พลังกลุ่มไร้สังกัด

เรื่องราวการณ์ปฏิวัติโลกของอินเทอร์เน็ตและโซเชียลมีเดีย ที่จะไม่มีเหมือนหวนกลับคืนวันวานอีกต่อไป หนังสือเล่มนี้บอกเล่าถึงเรื่องราวเหตุการณ์หลายๆเหตุการณ์ในโลกที่เกิดขึ้นจริง เล็กบ้าง ใหญ่บ้าง แต่ทุกอย่างนั้นล้วนทำให้เห็นว่าอินเทอร์เน็ต การเชื่อมต่อ และโซเชียลมีเดียเปลี่ยนวิถีชีวิตเราไปมากแค่ไหน โดยเฉพาะคนที่เกิดในช่วงปี 1980 ขึ้นไป เพราะเราจะมีภาพเปรียบเทียบที่ชัดเจนก่อนหน้าที่โลกจะมีอินเทอร์เน็ต และหลังจากที่เราขาดอินเทอร์เน็ตไม่ได้แล้วอย่างทุกวันนี้ ลองคิดดูเล่นๆก็ได้ว่าถ้าเปรียบเทียบกับสมัยก่อนย้อนกลับไปแต่ละยุคแล้ว ชีวิตเราไม่เคยลำบากขึ้นเลยซักนิด เช่น สมัยนี้เวลาเราจะคุยแบบได้ยินเสียงกับใครซักคน เราก็แค่กดโทรผ่านไลน์หาอีกคนนึง ซึ่งก็ฟรีไม่เสียเงินซักกะบาท แต่ถ้าให้ลองนึกย้อนกลับไปซักสิบปีก่อนในวันที่มือถืออย่างดีก็มีแค่ระบบ GSM การจะโทรหากันทีก็ต้องกดเบอร์โทรหากันแล้วก็เสียกันนาทีละ 3บาท แถมดีไม่ดีถ้าเป็นโทรทางไกลก็ต้องจ่ายเพิ่มขึ้นอีกด้วยซ้ำ เห็นมั้ยครับว่าชีวิตเรานั้นสะดวกสบายเพิ่มขึ้นมากขนาดไหน ทีนี้ลองมาคิดย้อนกลับไปอีกหน่อยก็จะพบว่าก่อนหน้าจะมีมือถือ เราทั้งสองฝ่ายต้องโทรหากันผ่านโทรศัพท์บ้านเท่านั้น ซึ่งทั้งสองฝ่ายก็ต้องพร้อมที่จะอยู่หน้าโทรศัพท์กันทั้งคู่ แถมยังต้องลุ้นไม่ให้ในเวลานั้นมีใครในบ้านใช้โทรศัพท์อยู่ ไม่งั้นก็ต้องรอจนกว่าสายจะว่างถึงจะโทรหากันได้…

The Worlds is Round ล่องคลื่นโลกาภิวัฒน์ 1

หนังสือเล่มนี้เขียนโดยคุณสฤณี อาชวานันทกุล นักเขียนและนักแปลใจดวงใจ เพราะห้องหนังสือบ้านผมมีหนังสือของเค้าคนนี้เยอะมากครับ คุณสฤณีชอบเขียนหรือแปลหนังสือแนวระบบเศรษฐกิจแบบรักษ์โลก หรือจะเรียกว่าทุนนิยมสีเขียวก็ว่าได้ ซึ่งเป็นหนังสืออีกสไตล์ที่ผมชอบมากโดยไม่รู้ตัว จนผมบังเอิญได้หนังสือเล่มนี้จากร้านหนังสือสำนักพิมพ์สมมติ ที่เป็น pop-up store เล็กๆตั้งอยู่เส้นกัลปพฤกษ์ บอกได้เลยว่าเป็นร้านที่ถ้าไม่ตั้งใจมาก็ยากที่จะเจอได้ หนังสือเล่มนี้เขียนขึ้นเมื่อสิบกว่าปีมาแล้ว แต่ก็ยังคงมีเนื้อหาแง่มุมที่น่าสนใจ เพราะเป็นเรื่องใกล้ตัวแต่กลับไม่เคยได้รู้จักมาซักเท่าไหร่เลย เช่น การประกันพืชผลบนดัชนีอากาศ ต้องบอกว่าได้ยินเรื่องนี้ก็จากหนังสือทุนนิยมที่มีหัวใจ ของคุณสฤณี ที่ได้ไปบรรยายให้มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนเมื่อสิบกว่าปีก่อนเหมือนกัน เป็นแนวคิดการทำประกัยภัยของชาวสวนไร่นาที่ฟังดูโลกาภิวัฒน์มาก จากเดิมการทำประกันพืชผลนั้นทำกันบนเรื่องของราคาขาย ว่าถ้าราคาในปีไหนตกต่ำกว่าที่ทำประกันไว้ ก็จะได้รับเงินชดเชย หลายครั้งเราเห็นบรรดาชาวสวนไร่นาเดินทางเข้าเมืองกรุงเพื่อมาเรียกร้องกระทรวงหรือนายกให้ช่วยรับประกันราคาพืชผลที่เพาะปลูกไว้ให้หน่อย พอได้ตามข้อเรียกร้องก็ยกกันกลับไป นี่คือเรื่องที่ผมได้ยินมาตั้งแต่สมัยเด็กก็ว่าได้ครับ คุณสฤณีให้มุมมองที่น่าสนใจว่า การรับประกันเรื่องราคาพืชผลนั้นอาจทำให้เกษตรกรไม่ยอมเปลี่ยนไปปลูกอย่างอื่นที่น่าจะดีกว่ากับสภาพผืนดินและอากาศในถิ่นของตัวเอง…

ทุนนิยมที่มีหัวใจ ทางเลือกใหม่แห่งการพัฒนา

หนังสือเล่มนี้ค่อนข้างแปลกในความคิดผม เพราะเป็นหนังสือที่เอาคำพูดที่คุณ สฤณี อาชวานันทกุล ที่ไปบรรยายให้กับมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนในเรื่องของ “ทางรอดทุนนิยม: สังคมแห่งความร่วมมือ” ในวันนั้น พร้อมกับสิ่งที่ผู้บรรยายและผู้ฟังในวันนั้นได้ถกเถียงกันให้กลายเป็นหนังสือเล่มนี้ ดังนั้นหนังสือเล่มนี้เลยให้อารมณ์เหมือนได้ฟังเลคเชอร์ร่วมกับผู้ฟังคนอื่นๆ ขาดก็แต่ไม่ได้ร่วมถกเถียงความคิดที่แวบขึ้นมาในหัวด้วยเท่านั้น “ทุนนิยม” กลายเป็นระบบทางเศรษฐกิจยอดนิยมอันดับหนึ่งของโลกในวันนี้ แม้แต่คอมมิวนิสต์ก็ยังยอมที่จะเป็นทุนนิยม จีนก็เป็นหนึ่งในทุนนิยมที่เติบโตเร็วที่สุดในโลกต่อเนื่องมากว่า 30 ปี นับแต่เปิดประเทศรับทุนเข้ามาและปล่อยให้ทุนไปตามความนิยมของเจ้าของทุนมากขึ้น แต่เมื่อเศรษฐกิจโตมากขึ้นเรื่อยๆ เราก็ไม่ค่อยแน่ใจว่า “ทุนนิยมในปัจจุบัน” หรือ “ทุนนิยมแบบตลาดเสรี” นั้นจะดีต่อเราและโลกจริงหรือ เพราะในขณะที่เศรษฐกิจในหลายประเทศโตวันโตคืน แต่กับทรัพยากรและธรรมชาตินั้นกลับร่อยหรอลงทุกทีๆ จนวันนี้ธรรมชาติเริ่มกลับมาเอาคืนมนุษย์เรามากขึ้นผ่านภัยธรรมชาติทั้งหลายที่เราก็ยังรับมือไม่ค่อยไหว เพราะแนวทางของทุนนิยมทุกวันนี้นั้นคือการแข่งกันลงเหว หรือที่เรียกว่า Race…

Creative Capitalism ทุนนิยมสร้างสรรค์

ว่าด้วยเรื่องของการพูดคุยกันระหว่างสองมหาเศรษฐีผู้ยิ่งใหญ่ของโลกสองขั้ว Bill Gates ขั้วเทคโนโลยี และ Warren Buffett ขั้วแห่งนักลงทุน การถกเถียงเริ่มต้นจาก Bill Gates ผู้ผันตัวไปทำมูลนิธิเพื่อสังคมอย่างเต็มตัวและถอนตัวจากบริษัท Microsoft ที่ตัวเองเป็นผู้ก่อตั้งขึ้นมา ตั้งคำถามว่าเป็นไปได้มั้ยที่บริษัทยักษ์ใหญ่ระดับโลกจะช่วยกันสละทรัพยากรของตนเพื่อตอบสนองกลุ่มคนที่ยากจนที่สุดในโลกกว่าหนึ่งพันล้านคนที่ต้องใช้ชีวิตอยู่ด้วยเงินดำรงชีพไม่ถึง 1 เหรียญสหรัฐ เป็นไปได้มั้ยว่าเศรษฐกิจทุนนิยมจะเปลี่ยนตัวเองให้กลายเป็นทุนนิยมสร้างสรรค์ที่ไม่ได้มุ่งหวังแต่กำไรสูงสุด แต่มุ่งหวังเรื่องชื่อเสียงและเป็นที่ยอมรับเพื่อกลับมาสร้างผลกำไรสูงสุดที่อาจจะไม่ใช่แค่ตัวเงิน แต่จะเป็นการยอมจ่ายมากขึ้นของลูกค้า การดึงดูดพนักงานเก่งๆให้เข้ามาด้วยค่าแรงที่ถูกกว่า เพราะภูมิใจที่ตัวเองจะได้เป็นส่วนหนึ่งของบริษัทเพื่อสังคม หรือแม้แต่สละผลกำไรก่อนหักภาษีเพื่อช่วยเหลือคนยากจนที่สุดในโลกหนึ่งพันล้านคน เกิดเป็นการถกเถียงผ่านเวปบอร์ดที่ผู้เขียนตั้งใจให้เกิดขึ้น โดยเริ่มต้นจากวิวาทะของ Bill Gates ที่กรุงดาวอสที่เริ่มพูดถึงเรื่องทุนนิยมสร้างสรรค์ และการสนทนาส่วนตัวระหว่างเขากับ Warren…