วิชาสุดท้าย ที่มหาวิทยาลัยไม่ได้สอน

จากนักเขียนนักแปลคนโปรดคนนึงของผม คุณสฤณี อาชวานันทกุล ได้ยินมาว่าเป็นหนังสือที่บัณฑิตนิยมมอบให้กับบัณฑิตด้วยกันเมื่อสำเร็จการศึกษา.. นี่เป็นการสร้างจุดขายที่ทำให้กลายเป็นธรรมเนียมไม่เหมือนหนังสือเล่มอื่นเสียจริง ยอมรับว่าการตลาดฉลาดมาก เรื่องในเล่มเป็นเรื่องราวของคนเก่ง คนสำคัญ คนดัง หลายสิบคนที่เคยไปกล่าวปาถกฐาในวันสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกมากมาย เช่น Steve Job, JK Rolling และอีกหลายคนมากมายที่ผมเองก็จำไม่ได้เช่นกัน หนังสือเล่มนี้ดูเหมือนหนา..แต่ก็หนาจริงเพราะตั้งกว่า 500 หน้า แต่กลับไม่รู้สึกต้องใช้เวลาอ่านมากเลย เพราะเรื่องราวมาจากประสบการณ์จริงของบุคคลสำคัญจึงทำให้เวลาอ่านนั้นเข้าใจและคิดตามได้ไม่ยาก หลายเรื่องเป็นเรื่องราวที่เราพบเจอแต่ไม่เคยมองในแง่มุมของผู้พูดมาก่อน ก็ทำให้เราสะดุดคิดตามได้ ได้มุมมองใหม่ๆขึ้นมาได้ สุดท้ายแล้วหนังสือเล่มนี้ แม้คุณเลยวัยบัณฑิตมาแล้ว ก็ควรค่าแก่การหามาอ่านครับ เพราะวิชาสุดท้ายที่มหาวิทยาลัยไม่ได้สอน คือวิชาชีวิตนอกห้องเรียน วิชาที่คุณต้องลองผิดลองถูกด้วยตัวเอง…

สิ่งที่ดิสนีย์แลนด์สอนฉัน

เขียนโดย ชายผู้ทำงานที่โตเกียวดิสนีย์แลนด์ตั้งแต่เปิดจนน่าจะถึงทุกวันนี้ (ขอโทษทีที่จำตัวเลขที่แน่นอนไม่ได้ครับ) ถ่ายทอดเรื่องราวสุดประทับใจจากการทำงานที่ดิสนีย์แลนด์สถานที่ในฝันของใครหลายคนทั่วโลก ในเล่มเล็กๆประกอบด้วย 4 เรื่องราวที่บอกตามตรงว่าแค่เรื่องแรกก็ทำเอาน้ำตาจะไหลตอนอ่านบน BTS ซะแล้ว เป็นเรื่องราวของเด็กสาวคนนึงที่ได้มาทำงานที่ดิสนีย์แลนด์ เจอกับเกสต์(ลูกค้า)ผู้ถามทางกลับบ้าน แล้วเธอก็ตอบไปตามความจริงแต่เธอลืมนึกเผื่อไว้สำหรับสิ่งที่เกสต์ไม่ได้ถาม ทำให้ตัวเธอต้องย้อนกลับไปสำรวจชีวิตตัวเองที่ผ่านมาถึงการใส่ใจในรายละเอียดจนทำให้เธอได้เข้าใจชีวิตมากขึ้น เป็นหนึ่งในหนังสือไม่กี่เล่มที่รู้สึกดีมากที่ได้ซื้อมาโดยไม่ตั้งใจ สารภาพตามตรงตอนที่ซื้อมาก็ไม่ได้อ่านข้างในมากนัก แต่ซื้อเพราะคำว่า “ดิสนียส์แลนด์” นี่แหละครับ คำๆนี้เสมือนคำในฝันของผมมาตั้งแต่เด็กที่ฝันอยากไปดิสนีย์แลนด์ กว่าจะได้ไปก็ปาไป 25 แล้วตอนนั้น เหมือนการไล่เติมเต็มความฝันเอาตอนโต เราอาจจะโตขึ้นแต่ความฝันก็ยังคงไม่ได้โตตาม ถ้าไม่นับเรื่องของความต้องการในอาชีพหรือหน้าที่การงาน เราทุกคนต่างยังมีความฝันอยู่ด้วยกันทั้งนั้น ขอให้คุณได้แบ่งเวลาได้ทำตามฝันบ้างนะครับ เหมือนผมคือการไปดิสนีย์แลนด์ในตอนโตโดยที่เราไม่รู้ตัวว่าเราได้กลายเป็นเด็กอีกครั้ง (แม้จะเป็นเด็กที่ผมหงอกเต็มหัวก็ตามในตอนนี้) ปล.สรุปเพิ่มเติมปี…

ความสุข ณ จุดที่ยืนอยู่, ฟาสต์ฟู้ดธุรกิจ ฉบับพิเศษ

เป็นหนังสือเก่าที่ผมเพิ่งซื้อมาใหม่จากงานหนังสือครั้งล่าสุด รู้สึกว่าจะเป็นเล่มฉลองครบรอบ 12 ปี ของหนุ่มเมืองจันทร์ ในชุด “ฟาสต์ฟู้ดธุรกิจ” เป็นหนังสือที่อ่านง่ายแต่กลับเต็มไปด้วยข้อคิด สาระความรู้ใหม่ๆด้วยวิธีการเล่าเรื่องสนุกๆ แถมหยอดมุขตลกแบบที่ต่อให้คนที่ไม่ชอบอ่านหนังสือก็น่าจะอ่านจบ และชอบได้ไม่ยาก ต้องขอบคุณน้องต๊ะ น้องในทีมสมัยเป็นครีเอทีฟที่นึงที่แนะนำให้ผมได้รู้จักกับนักเขียนคนนี้ จนผมรู้สึกว่าผมไม่น่าหลงกลซื้อเล่มก่อนมาอ่านเลย มันทำให้ผมติดจนต้องหาทุกเล่มที่ผมไม่มีมาอ่านจนได้ เล่มนี้คุณหนุ่มเมืองจันทร์บอกว่าเป็นเนื้อหาที่รวมมาจาก 12 เล่มแรก เอามามัดรวมกลายเป็นเล่มฉลอง 12 ปี แต่ที่น่าสนใจคือคุณหนุ่มเมืองจันทร์แกจะบริจาคค่าลิขสิทธิ์ที่ได้จากหนังสือเล่มนี้ให้กับมูลนิธิที่เกี่ยวกับ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เล่มนี้เป็นการพิมพ์ครั้งที่ 21 แล้ว ผมเดาว่าคุณหนุ่มเมืองจันทร์น่าจะได้ช่วยบริจาคไปไม่น้อยเลยทีเดียว เนื้อหาหลักๆของเล่ม ก็ไม่พ้นจากชื่อประจำเล่มที่ว่า…

Joy On Japan อยู่แดนปลาดิบ อย่างมีความสุข

อาจจะเรียกได้ว่าเป็นหนังสือคู่มือการใช้ชีวิตอยู่ญี่ปุ่นก็ว่าได้ เพราะอย่างที่ผู้เขียนว่า เรามักจินตนาการไปว่าประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศที่น่าอยู่อาศัย เมื่อเราดูจากการ์ตูน หรือภาพยนต์ AV ต่างๆ..เอ๊ะ ไม่เกี่ยวกับหนัง AV ซิ อันนั้นชาติไหนก็น่าดู เอ๊ย!! น่าอยู่.. ..ผู้เขียน ณัฐพงศ์ ไชยาวานิชย์ผล เป็นคนที่ได้ไปร่ำเรียนและทำงานใช้ชีวิตอยู่ที่ญี่ปุ่นเป็นเวลานานมากพอที่จะถ่ายทอดความจริงการใช้ชีวิตของคนญี่ปุ่นที่ไม่น้อยคนจะรู้ เช่น เรื่องการทิ้งขยะ ที่พออ่านแล้วต้องถือว่าน่าปวดหัวแต่ก็ชวนให้เข้าใจได้ว่าเพื่อสังคมของเค้า ไม่ได้ทิ้งอะไรที่ไหนเมื่อไหร่ก็ได้แบบบ้านเรา เพราะที่นั่นต้องทิ้งขยะแยกประเภทให้เรียบร้อย แล้วก็ต้องทิ้งแต่ละประเภทให้ตรงวัน แถมยังต้องทิ้งให้ตรงจุดที่กำหนดเท่านั้น และคุณจะไปทำเนียนทิ้งตามหน้าร้านสะดวกซื้ออย่างเซเว่นอีเลฟเฟ่นก็จะถูกสังคมประนาม เพื่อนบ้านไม่คบเอาได้ง่ายๆ.. เรื่องที่สอง…ภาษาญี่ปุ่น ถ้าไม่อ่านเล่มนี้ผมก็จะไม่รู้เลยว่าตัวอักษรญี่ปุ่นแยกเป็น 3 ประเภท…

เพราะฉะนั้นฉันจึงถาม, ฟาสต์ฟู้ดธุรกิจ 30

สรุปหนังสือฟาสต์ฟู้ดธุรกิจเล่มที่ 30 เล่มล่าสุดจากงานหนังสือปลายปี 2018 ที่ผ่านมา ในฐานะหนึ่งในแฟนคลับที่ติดตามงานเขียนของคุณหนุ่มเมืองจันท์มาไม่นาน แต่มีตามอ่านครบทุกเล่ม และทุกเล่มก็มีจะมีอาหารสมองผสมเกร็ดความรู้ดีๆให้เรียนรู้อยู่เสมอ ฟาสต์ฟู้ดธุรกิจเล่มที่ 30 เป็นการเล่นกับ “คำถาม” อีกครั้ง คำถาม ที่เปรียบเสมือนอาวุธสำคัญของคุณหนุ่มเมืองจันท์จากอาชีพนักข่าว ผมชอบประโยคนึงที่คุณหนุ่มเมืองจันท์มักพูดว่า “คำถามจะบอกทิศ คำตอบจะบอกทาง” นั้นบอกให้รู้ว่า “คำถามสำคัญกว่าคำตอบ” กว่ามัววิ่งหาคำตอบถ้ายังไม่รู้จักขัดเกลาคำถาม เพราะถ้าตั้งคำถามผิด ยังไงคำตอบก็ไม่ทางถูก แล้วเล่มที่ 30 นี้ถามอะไรที่น่าสนใจบ้าง เกรดนั้นสำคัญแค่ไหน? เกรดหรือเกียรตินิยมที่นักศึกษาส่วนใหญ่ให้ความสนใจ ในความเป็นจริงแล้วหลังจบไปเกรดของคุณนั้นจะถูกใช้แค่วันเดียว “วันสมัครงาน”…