สรุปหนังสือ My Brain has too many tabs open ปิดแท็บชีวิตแค่ปิดโซเชียล Tanya Goodin รัก เรียน รู้ สู่การเป็นพลเมืองดิจิทัล

สรุปหนังสือ My Brain Has Too Many Tabs Open ปิดแท็บชีวิตแค่ปิดโซเชียล How to untangle our relationship with tech รัก เรียน รู้ สู่การเป็นพลเมืองดิจิทัล Tanya Goodin หนังสือที่จะพาคุณมาเข้าใจ Digital Behaviour Insights หรือพฤติกรรมการออนไลน์มากมายของคนทั่วโลกในหลากหลายแง่มุม และแน่นอนว่าหลายแง่มุมในเรื่องนี้ก็กลายเป็นสิ่งที่เราทุกคนล้วนเป็นไปแล้ว ส่วนจะมากน้อยแค่ไหนก็อีกเรื่องหนึ่ง

คำว่าพลเมืองดิจิทัล หรือ Digital Citizenship อาจเคยฟังดูไกลตัวเมื่อไม่นานมานี้ แต่ทุกวันนี้เราทุกคนกลายเป็นพลเมืองดิจิทัลโดยไม่รู้ตัวเรียบร้อยแล้ว ถ้าอยากรู้ว่าใครเป็นพลเมืองดิจิทัลก็ง่ายมาก แค่หาให้เจอว่าใครออกจากบ้านหรือใช้ชีวิตโดยขาดโทรศัพท์มือถือหรืออินเทอร์เน็ตได้บ้าง

ส่วนตัวเชื่อได้ว่าคงหาได้ยากยิ่งมากในโลกที่แม้แต่หวยก็ขายกันทางออนไลน์ได้สบายๆ ดังนั้นแทบทุกคนในประเทศไทยล้วนกลายเป็น Digital Citizenship ไปเรียบร้อยแล้ว

ดังนั้นเรายิ่งต้องรู้เท่าทันถึงพฤติกรรมการออนไลน์ที่ต้องระวัง จะได้ไม่เผลอไปทำนิสัยไม่ดีกับใคร หรือถ้าเรียกใหม่ให้ถูกบริบทต้องใช้คำว่า “มีมรรยาททางดิจิทัล” สักหน่อยก็ดีนะ

ก็เหมือนกับคำว่า “สมบัติผู้ดี” ในอดีตกาล ส่วนปัจจุบันกาลนี้คือ “ผู้ดีดิจิทัล” ถ้าอยากรู้ว่าผู้ดีดิจิทัลต้องไม่ทำอะไรเมื่อออนไลน์ ลองมาดูบางหัวข้อที่ผมเห็นว่าน่าสนใจกันครับ

Technoference เทคโนโลยีรบกวน

สรุปหนังสือ My Brain has too many tabs open ปิดแท็บชีวิตแค่ปิดโซเชียล Tanya Goodin รัก เรียน รู้ สู่การเป็นพลเมืองดิจิทัล
Photo : https://www.zerotothree.org/resource/screens-and-parenting-managing-technoference-in-a-digital-world/

Technoference มาจากการผสมระหว่างคำว่า Technology กับคำว่า Interference เลยรวมกันได้เป็นคำที่มีความหมายว่าเทคโนโลยีที่รบกวนความสัมพันธ์

แต่บริบทของคำนี้ไม่ได้หมายถึงการรบกวนความสัมพันธ์ของคู่รัก แต่หมายถึงความสัมพันธ์ระหว่าง พ่อแม่ กับ ลูก หรือ ผู้ปกครอง กับ เด็ก นั่นเอง

เพราะอะไร เด็กทุกวันนี้มักเห็นผู้ปกครองตัวเองจ้องหน้าจอโทรศัพท์เป็นส่วนใหญ่ จนตัวเด็กเองก็รู้สึกว่าแม้พ่อแม่จะนั่งอยู่ใกล้ๆ ในห้องนั่งเล่นด้วยกัน แต่ความสนใจก็ไม่ได้มีมาที่ตัวเด็กเลย สิ่งนี้สะท้อนถึงการที่เราให้ความสนใจกับสิ่งที่ไม่สำคัญบนหน้าจอบ่อยจนเคยตัว

ส่วนที่คำนี้ไม่ถูกนำมาใช้ระหว่างความสัมพันธ์กับคู่รักก็คงเพราะ (ผมเดาว่า) ต่างฝ่ายต่างเล่นมือถือของตัวเองได้ เรียกได้ว่าต่างเต็มใจถูกรบกวน หรือไม่รบกวนกันระหว่างต่างฝ่ายต่างใช้โทรศัพท์มือถือครับ

Techtiquette มารยาทเทค

คำนี้ไม่ได้เป็นบทใดในหนังสือ แต่เป็นคำหนึ่งในบท Flaky Friends เพื่อนจอมเท คนที่แม้จะนัดกันทางมือถือแล้วแต่สุดท้ายกลับเทในนาทีสุดท้ายบอกว่าไม่มา หรือคนทำเป็นคอมเมนต์ว่าจะมา ๆ แต่สุดท้ายก็กลับมีเหตุผลข้ออ้างนั่นโน่นนี่ก่อนเริ่มงานว่า ไปไม่ได้แล้วขอโทษด้วย

เป็นเหตุการณ์คุ้นเคยที่ผมเชื่อว่าเราทุกคนล้วนเป็นทั้งฝ่ายกระทำ และฝ่ายถูกกระทำ หลายครั้งเราไปคอมเมนต์สนุก ๆ ในโพสเพื่อนว่า “ไปๆๆ” แต่สุดท้ายก็กลับไม่ไป เหลือทิ้งไว้แค่คอมเมนต์เป็นประจำ

แต่ถ้าเป็นเวลาเราตั้งโพสเองว่าจะไป แล้วพอมีคนบอกว่าจะมาเราก็กลับคาดหวังรอด้วยความจริงจัง แม้เราจะไม่กล้าทักไปถามว่าใกล้ถึงรึยัง เพราะเราเองก็รู้ว่ากับแค่การคอมเมนต์นั้นมักเอาแน่เอานอนไม่ได้

แต่ถ้าเป็นการตกลงผ่านแชทนั้นกลับมีความน่าเชื่อถือมากกว่า แต่ก็ยังมีโอกาสถูกเทได้มากกว่าการตกลงกันทางโทรศัพท์หรือเห็นหน้าแบบ Face 2 Face อยู่ดี

ดังนั้นการมีมรรยาททางออนไลน์ หรือทางโซเชียลระหว่างเพื่อนกันจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ควรต้องเรียนรู้ใหม่ เราไม่ควรไปตกปากรับคำใครง่ายๆ ทางออนไลน์หรือโซเชียลว่าจะไป จะทำ หรือตกลงเรื่องอะไรก็แล้วแต่ครับ

Sharenting พ่อแม่นักแชร์

สรุปหนังสือ My Brain has too many tabs open ปิดแท็บชีวิตแค่ปิดโซเชียล Tanya Goodin รัก เรียน รู้ สู่การเป็นพลเมืองดิจิทัล
Photo : https://timesofindia.indiatimes.com/life-style/parenting/moments/dangers-of-sharenting-parents-sharing-too-many-details-of-their-children-on-social-media/photostory/101419153.cms

ปฏิเสธไม่ได้ว่าตั้งแต่มีโซเชียลมืเดียอย่าง Facebook ถือกำเนิดขึ้นมา บรรดาพ่อแม่ผู้ปกครอง โดยเฉพาะกลุ่ม Millennials Parent ก็ต่างถ่ายรูปลูกตัวเองแชร์ลงโซเชียลมีเดียเป็นประจำ หรืออาจไปถึงขั้นการพยายามปั้นลูกตัวเองให้เป็น Influenecr แทนดาราดังในแบบวันวาน จากพฤติกรรม Digital Behaviour Insight นี้จึงส่งผลให้บรรดาเด็กยุคใหม่เกิดมาก็มี Digital Foot Print ตัวเองเต็มโลกออนไลน์ไปหมด และส่วนใหญ่ก็เกิดขึ้นโดยไม่ได้รู้ตัวไปจนถึงไม่ยินยอมก็มากมาย

เด็กรุ่นใหม่หลายคนขอร้องให้พ่อแม่ไม่ถ่ายแล้วแชร์รูปตัวเองลงไปบนโซฌชียลมีเดียอีก ทางพ่อแม่ก็มักปฏิเสธด้วยมุมมองต่อพฤติกรรมนั้นว่าไม่ต่างจากการที่พ่อแม่ถ่ายรูปลูกแล้วแปะติดผนังบ้านไว้เป็นความทรงจำ

แต่บรรดาพ่อแม่ยุคดิจิทัลคงลืมไปว่าเวลาเราโพสออกไปบนโซเชียลมันคือพื้นที่กึ่งสาธารณะไม่ใช่พื้นที่ส่วนตัวอย่างผนังบ้าน

เพราะผนังบ้านเราเลือกได้ว่าจะให้ใครเข้ามาในบ้านบ้างเป็นส่วนใหญ่ แต่บนโซเชียลคือใครก็สามารถเข้ามาเยี่ยมชมหน้าโปรไฟล์ส่วนตัวเราได้ เพราะเรามักจะกดรับเพื่อนกับคนที่ไม่สนิทได้ง่าย ไปจนถึงแค่มีเพื่อนร่วมกันนิดหน่อยก็ยินดีกดรับคำขอเป็นเพื่อนอย่างเต็มใจแล้ว

ในต่างประเทศเริ่มมีการที่บรรดาลูก ๆ ที่โตขึ้นจนอายุ 18 ปี บรรลุนิติภาวะทำการฟ้องร้องพ่อแม่ผู้ปกครองตัวเองให้ลบรูปของตัวเองที่โพสไปออกจากออนไลน์หรือโซเชียลมีเดียของพ่อแม่ทั้งหมด

เพราะภาพเหล่านั้นที่โพสไปไม่เคยได้รับความยินยอมจากตัวเองมาก่อน และหลายครั้งมันก็เป็นรูปภาพที่น่าอาย ซึ่งอาจส่งผลต่ออนาคตหรือการ Bully ได้ หรืออาจส่งผลต่อหน้าที่การงานได้ด้วยซ้ำ

ดังนั้นก่อนจะแชร์รูปอะไรของลูกตัวเองไป ถ้าอยากให้เหมือนกับการถ่ายรูปภาพความประทับใจติดผนังบ้านไว้เป็นความทรงจำ แนะนำให้ตั้ง Status เป็น Private อย่าให้คนอื่นเห็น เพราะคุณคงไม่เปิดบ้านรับคนไม่สนิทมาก หรือไม่รู้จักให้เดินแวะเข้ามาเยี่ยมชมบ้านคุณได้จริงไหมครับ

Vampire Shopping ช้อปผีดูดเลือด

สรุปหนังสือ My Brain has too many tabs open ปิดแท็บชีวิตแค่ปิดโซเชียล Tanya Goodin รัก เรียน รู้ สู่การเป็นพลเมืองดิจิทัล
Photo : https://www.dailymail.co.uk/femail/article-4034534/Rise-vampire-shoppers-Meet-women-shop-online-dead-night-wake-regret-including-one-mum-blew-5-000-late-night-habit.html

Vampire Shopping คือพฤติกรรการออนไลน์ Digital Behaviour Insight ที่น่าสนใจเพราะมีที่มาที่ไปจาก Data

เมื่อข้อมูลบอกให้รู้ว่าคนสมัยนี้นิยมช้อปปิ้งออนไลน์ตอนดึก ๆ กันมากนัก มิน่าบรรดาโปรส่วนลดของ Ecommerce ต่าง ๆ มักชอบมาเริ่มกันตอนเที่ยงคืนเป็นหลัก

ซึ่งช่วงเวลาของพฤติกรรม Vampire Shopping นี้จะเกิดขึ้นตอนตี 1 ถึง ตี 4 หรืออาจเรียกว่า Zombie Hour Purchasers ดังนั้นใครขายออนไลน์พึงรู้ Insight นี้ไว้ มิน่า Data จากร้านเครื่องใช้ไฟฟ้าแบรนด์หนึ่งที่ผมมีก็บอกว่าลูกค้าที่มาช้อปตอนตีสองสูงที่สุดในบางวัน

บางทีเราอาจไถฟีดหน้าจอเพลินจนนอนไม่หลับ เลยเกิดไปเห็นของที่น่าสนใจขึ้นมา แต่ด้วยพลังสมองก็เหลือน้อยเกินกว่าจะใช้สติไตร่ตรองได้ดีว่าเราต้องการสิ่งนั้นไหม แต่ด้วยความเบื่อหน่ายยังไม่อยากนอนก็ทำให้เราต้องหาอะไรกดช้อปเพลินๆ ไป

สรุปหนังสือ My Brain Has Too Many Tabs Open ปิดแท็บชีวิตแค่ปิดโซเชียล

สรุปหนังสือ My Brain has too many tabs open ปิดแท็บชีวิตแค่ปิดโซเชียล Tanya Goodin รัก เรียน รู้ สู่การเป็นพลเมืองดิจิทัล

และนี่ก็เป็นแค่ 4 หัวข้อหลักๆ ของพฤติกรรมการออนไลน์ใหม่ ๆ ของผู้คนชาวดิจิทัลหรือ Digital Citizen ทุกวันนี้ที่น่าสนใจและเราก็มักเป็นโดยไม่รู้ตัวมาก่อน ยังมีอีกหลายสิบหัวข้อในหนังสือเล่มนี้ที่ผมอยากแนะนำให้เพื่อนๆ คนทำธุรกิจ นักการตลาด ไปจนถึงคนที่ชอบอ่านอะไรเติมอาหารสมองไปเรื่อย ๆ

แล้วคุณจะเข้าใตตัวเองกับคนรอบข้างมากขึ้น และจะได้รู้ว่าจะปรับปรุงตัวอย่างไรให้ดีขึ้น หรือจะรับมือกับคนรอบข้างที่มีพฤติกรรมแบบนี้ได้อย่างไรครับ

อ่านแล้วเล่า เล่มที่ 13 ของปี 2023

สรุปหนังสือ My Brain Has Too Many Tabs Open
ปิดแท็บชีวิตแค่ปิดโซเชียล
How to Untangle Our Relationship with Tech
รัก เรียน รู้ สู่การเป็นพลเมืองดิจิทัล
Tanya Goodin เขียน
พรรษรักษ์ พลสุวรรณา แปล
สำนักพิมพ์ broccoli

สั่งซื้อหนังสือเล่มนี้ทางออนไลน์ : https://shope.ee/99xCLjYOfI

By Nattapon Muangtum

จากนักอ่านที่เริ่มอยากหัดเขียน จากการที่ต้องอ่านเพราะความจำเป็น กลายเป็นอ่านเพราะหลงไหล, สวัสดีครับผมชื่อหนุ่ย ผมทำงานด้าน Digital and Data Marketing ผมยังมีเพจการตลาดอีกเพจที่อยากฝากให้ลองอ่านดูนะครับ https://www.facebook.com/everydaymarketing.co/