สรุปหนังสือ Blockchain Revolution บล็อกเชนเปลี่ยนโลก เทคโนโลยีเบื้องหลัง Bitcoin จาก Digital Disruption สู่ Decentralized Disruption

สรุปหนังสือ Blockchain Revolution บล็อกเชนเปลี่ยนโลก อีกครั้ง หลังจากครั้งแรกอ่านจบไปเมื่อต้นปี 2018 ในวันที่คนส่วนใหญ่คงยังไม่คุ้นกับคำว่าบล็อกเชน หรืออาจมีแค่บางคนที่เคยได้ยินคำว่า Bitcoin มาบ้าง ต้องยอมรับว่าในวันนั้นเรื่องนี้ถือเป็นที่รู้จักกันในคนกลุ่มที่ Niche มากๆ และในการใช้งานจริงก็ยังไม่มี Use case ของการใช้งาน Blockchain มากมายอย่างทุกวันนี้ครับ

วันนี้เราเห็นการต่อยอดไอเดียและธุรกิจต่างๆ จากบน Blockchain มากมาย ทั้งการสร้างสกุลเงินคริปโตใหม่ๆ เต็มกระดานซื้อขายไปหมด และก็น่าจะดอยกันเต็มไปหมดในนาทีนี้ แล้วไหนจะการเกิดขึ้นของ NFT ที่สร้างเงินหมุนเวียนทั่วโลกเป็นจำนวนไม่น้อย แล้วไหนจะการเกิดขึ้นของ Metaverse ที่ทำให้บริษัทเทคโนโลยีระดับโลกอย่าง Facebook ถึงขั้นเปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น Meta เพื่อตอกย้ำว่าตัวเองเอาจริงเอาจังในเรื่องนี้แค่ไหน บวกกับกระแสของ DeFi และ DeManything ที่สร้างขึ้นมาบนพื้นฐานของเทคโนโลยีบล็อกเชน

ซึ่งเทคโนโลยีบล็อกเชนที่เกิดขึ้นมานานจะไม่ได้รับการยอมรับจากคนส่วนใหญ่เลย ถ้าภาครัฐและเอกชนยังคงความน่าเชื่อถือในความรู้สึกของประชาชน

เพราะความน่าเชื่อถือของสิ่งควรน่าเชื่อถือลดต่ำลง

ความโปร่งใสที่ลดน้อยหายไปเรื่อยๆ จากผู้คนมากมายทั่วโลกที่มีต่อหน่วยงานภาครัฐเอย และหน่วยงานภาคธุรกิจเลยเปิดโอกาสให้ Blockchain ที่เป็นเทคโนโลยีที่ไม่ต้องอาศัยพึ่งพาตัวกลางที่เป็น Third-Party แค่คนใดคนหนึ่ง หรือหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งมากุมชะตากำอำนาจต่อ Personal Data ของเราทั้งหมดอีกต่อไป

เพราะเมื่อองค์กรใดองค์กรหนึ่ง ไม่ว่าจะภาครัฐหรือเอกชนก็ตาม ต่างถูกผลักดันทิศทางหรือกำกับโดยมนุษย์อยู่ และเพราะมนุษย์กับ Bias หรืออคติส่วนตัวเป็นอะไรที่แยกกันได้ยาก ทำให้คนส่วนใหญ่จำนวนมากต้องการระบบที่น่าเชื่อถือผ่านโปรแกรมที่ระบุไว้ชัดเจนว่า 1 + 1 = 2 ไม่เอา 1 + 1 = 1 หรือ 3 อีกต่อไป

นี่คือช่วงเวลาที่มนุษยชาติส่วนใหญ่ต้องการลดการใช้วิจารณญาณของคนออกไป แล้วหันมาพึ่งกฏกติกาที่มั่นใจได้ว่าจะเป็นไปตามนั้น อย่างการใช้ Smart Contract บน Blockchain เข้ามาช่วยกำกับดูแลให้ทุกสิ่งเป็นไปตามที่เคยตกลงไว้ตั้งแต่แรก

นั่นหมายความว่าอินเทอร์เน็ต หรือดิจิทัลที่ก่อให้เกิดเศรษฐกิจแบบแพลตฟอร์มตัวกลางก็กำลังจะถูก Disrupt เหมือนที่เคย Disrupt ธุรกิจยักษ์ใหญ่ก่อนหน้ามาก่อน

จาก Digital Disruption สู่ Decentralized Distuption

จากเดิมอินเทอร์เน็ตและดิจิทัลทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า Digital Disruption ที่บริษัท Startup เข้ามา Disrupt​ ธุรกิจยักษ์ใหญ่มากมาย ไม่ว่าจะสื่อใหญ่ทั่วโลกที่ต่างถูก Facebook Disrupt วิธีการเข้าถึงผู้คน ไปจนถึงวิธีการการตลาดและการทำโฆษณาที่ไม่จำเป็นต้องผ่านเอเจนซี่ตัวกลางที่เคยคุม Media placement มากมาย

หรือที่ Uber กับ Grab เข้ามา Disrupt ธุรกิจแท็กซี่ทั่วโลก และวันนี้ก็ค่อยๆ ขยายไปสู่การ Delivery อาหารที่สามารถพาทุกร้านเข้าถึงทุกบ้านได้ โดยที่ทางร้านไม่ต้องเตรียมระบบ Delivery จ้าง Rider มาเพื่อรอวิ่งส่งของตัวเองเท่านั้น

หรือ Airbnb ที่เข้ามา Disrupt ธุรกิจโรงแรมทั่วโลกไปแบบพลิกผ่ามือ มีห้องพักมากที่สุดในโลก โดยไม่ต้องเป็นเจ้าของห้องพักแม้แต่นิดเดียว

นี่คือรูปแบบใหม่ของธุรกิจยุคอินเทอร์เน็ตและดิจิทัลที่เรียกว่า Platform Economy ที่ใครๆ ต่างก็พยายามสร้าง Ecosystem ของตัวเองขึ้นมา พยายามชักจูงผู้ขายให้เข้ามาเยอะๆ ในขณะเดียวกันก็ทำการตลาดเรียกผู้ซื้อให้มาใช้บริการผ่านแพลตฟอร์มตัวเอง

แต่ใครจะรู้ว่าบริษัทแพลตฟอร์มยักษ์ใหญ่เหล่านี้กินส่วนต่าง ส่วนแบ่งมากมายตั้งแต่ 15-35% จากผู้ขายหรือผู้ให้บริการปลายทาง ทำให้เงินเข้าถึงผู้ขายไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย แต่ทั้งหมดนี้กำลังจะถูก Disrupt ด้วย Blockchain อีกครั้ง เมื่อเราสามารถใช้ Internet 2.0 ได้ เราสามารถเข้าถึงผู้ใช้งานโดยตรงได้โดยจ่ายค่าใช้การ Blockchain ให้กับผู้ให้บริการโดยตรงและเสียค่าธรรมเนียมที่เล็กน้อยมากๆ

และค่าธรรมเนียมที่เล็กน้อยก็ไม่ได้ไปไหนไกลหรือเข้ากระเป๋าใครเป็นส่วนใหญ่ แต่กระจายออกไปยังทุกคนที่ทำให้ Blockchain ทำงานได้นั่นเองครับ

เมื่อคอมทุกคนกลายเป็นคอมของทุกคน เมื่อนั้นเราคงจะก้าวเข้าสู่อินเทอร์เน็ตแห่งโลกจริงๆ ไม่ใช่อินเทอร์เน็ตเพื่อใครคนใดคนหนึ่ง

ตัวอย่างเช่น NFT ที่กำลังเป็นกระแสร้อนแรงในวันนี้ จากเดิมการยืนยันว่าผลงานนี้เป็นของใครต้องใช้หน่วยงานตัวกลางมากมาย แต่พอใช้ Blockchain ยืนยันก็แค่ตามกลับไปดูว่าผลงานนี้ถูกนำเข้าระบบโดยใคร และถูกส่งต่อความเป็นเจ้าของไปที่ใครอย่างไรบ้างครับ

นิยามใหม่ของ Privacy

จากเดิมการพยายามปกปิดตัวตนหรือทำให้คนรู้น้อยที่สุดคือวิธีการรักษา Privacy ที่ดีที่สุด แต่เทคโนโลยี Blockchain เข้ามาเปลี่ยนสิ่งนี้ไปอย่างสิ้นเชิง เพราะเมื่อหลายสิ่งถูกโยนเข้าไปไว้บน Blockchain นั่นหมายความว่าใครๆ ก็มองเห็นได้ แต่ไม่ใช่ทุกคนจะเข้าใจสิ่งนั้นได้ เช่น Personal data ของเราจากเดิมที่เคยถูกเก็บรวบรวมไว้โดยบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ใครสักคน แล้วเราก็ไม่รู้ว่าเขาเอาข้อมูลเราไปทำอะไร

แต่ในยุคของ ​Decentralized Disruption เราสามารถปล่อยข้อมูลของเราให้อยู่บน Blockchain ได้เต็มที่ โดยเข้ารหัสผ่านกุญแจ Private key ของเราไว้ แล้วเราก็สามารถเลือกได้ว่าอยากให้ใครเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวเราบ้าง และกำหนดได้ว่าจะให้เข้าถึงได้แค่ไหน

นั่นหมายความว่าข้อมูลของเราไม่ต้องถูกเก็บรวบรวมโดยไม่กี่บริษัท เพราะทุกบริษัทสามารถเข้าถึงข้อมูลเราได้เต็มที่ตราบเท่าที่เราอนุญาติให้เขาเข้าถึงตามวัตถุประสงค์ของเรา

นั่นหมายความว่าถ้าบริษัทโฆษณาอยากจะทำการตลาดหาเรา เขาจะต้องจ่ายเงินให้เราแทนเพื่อขอเข้าถึง แทนที่จะต้องไปจ่ายแพงๆ ให้กับบริษัทอินเทอร์เน็ตมากมายไม่ว่าจะ ​Facebook Google YouTube หรืออื่นใดก็ตาม

Metaverse ที่กำลังเป็นกระแส ก็ถูกพูดถึงในหนังสือเล่มนี้นะ

น่าแปลกใจตรงที่ว่าเรื่อง Metaverse ที่เป็นกระแสโด่งดังไปทั่วโลกมากวันนี้นั้นกลับถูกพูดถึงในหนังสือเล่มนี้ที่เขียนตั้งแต่ปี 2016 แล้ว และหลักการที่เขียนก็ตามที่กำลังพูดถึงวันนี้เลย คือเมื่อเราสามารถเป็นเจ้าของทรัพย์สินที่จับต้องไม่ได้อย่าง Digital asset นั้น มันจะมีค่าก็ต่อเมื่อมันเสกขึ้นหรือทำซ้ำตามใจไม่ได้ นั่นเป็นแนวคิดจากการทำให้มันขาดแคลนหรือมีจำกัด ซึ่งถ้าเมื่อไหร่ Demand มากกว่า Supply สิ่งนั้นก็สามารถมีมูลค่าเพิ่มขึ้นได้ ผิดกับนิยามขอดิจิทัลคือการทำให้อยู่ในรูปแบบรหัส 0 1 หรือโค้ดโปรแกรมที่จะก้อปปี้ทำซ้ำกี่ครั้งก็ได้ครับ

WeatherNet จาก WeatherNode

เครือข่ายพยากรณ์อากาศที่ยิ่งใหญ่กว่าบริษัทยักษ์ใหญ่ใดในโลกจะเป็นได้ แนวคิดของ Decentralized Disruption คือการให้ทุกคนเข้ามาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งที่ยิ่งใหญ่กว่าใครจะเป็นได้ ลองคิดภาพจากเดิม Weather data ถูกเก็บรวบรวมและควบคุมโดยบริษัทยักษ์ใหญ่ แต่ถ้าเราหลายคนซื้อ Weather Node ไปติดที่บ้าน ช่วยกันเก็บข้อมูลสภาพอากาศเข้าไปไว้บน Blockchain จากนั้นก็เปิดให้บริษัทที่ต้องการสามารถเข้าถึงข้อมูลนั้นได้ แล้วก็จ่ายเงินตรงมาให้เรา อีกส่วนเป็นค่าของการดูแลระบบที่กระจายไปยังทุกคนที่เข้าร่วมใน Blockchain นั้น

Blockchain กับการจัดการที่ดิน

คุณรู้ไหมว่าปัญหาการยืนยันความเป็นเจ้าของที่ดินนั้นเป็นอะไรที่วุ่นวายมาก และมันจะวุ่นวานมากกว่านั้นถ้าเราจำเป็นต้องทำธุรกรรมเกี่ยวกับการซื้อขาย หรือเปลี่ยนมือความเป็นเจ้าของที่ดิน

เพราะผู้ถือโฉนดต้องเอาเอกสารตัวเองมายืนยันกับหน่วยงานราชการ จากนั้นก็เอาไปยืนยันกับโฉนดที่ทางการถืออยู่ว่าถูกต้องตรงกัน เป็นการตรวจสอบว่าไม่มีใครแอบแก้โฉนดด้วยตัวเอง แล้วก็ต้องไปเทียบกับเจ้าของที่ดินข้างๆ ในกรณีที่อาจเกิดปัญหาเอกสารผิดพลาดได้ ซึ่งคุณลองคิดดูซิว่าถ้าเกิดไฟไหม้สำนักงานที่ดินขึ้นมา โฉนดที่ดินมากมายจะต้องเกิดปัญหาตามแก้มากขนาดไหน

แต่ถ้าเราเอาโฉนดที่ดินทั้งหมดขึ้นไปเก็บไว้บน Blockchain ก็จะสามารถประหยัดเวลาและงานเอกสารมากมายที่เคยวุ่นวาย เราสามารถเปลี่ยนมือและติดตามได้ว่าที่ดินนี้เป็นของใคร ผ่านมือใคร หรือถูกแบ่งให้ใครครอบครองแล้วบ้าง

ถ้าภาครัฐปรับตัวเองเทคโนโลยี Blockchain ไปใช้มากกว่านี้ ลดความเป็นตัวกลางผู้ควบคุมข้อมูลมากมายลงไป จะทำให้ประชาชนคนเสียภาษีเกิดประโยชน์มากขึ้น และแน่นอนว่างานภาครัฐเองก็จะน้อยลงมาก

Programmable Coin งบประมาณทุกบาทถูกกำกับและติดตามได้

ปัญหาการโกงกิน การคอรัปชั่น คือการนำงบประมาณไปใช้อย่างไม่ถูกต้อง เบิกงบมาสามพันล้าน ใช้จริงสามร้อยล้าน ที่เหลือเข้ากระเป๋า หรือการใช้งบกับสิ่งที่ไม่ตรงตามที่คุยไว้ ไม่ว่าจะผิดสเป็กหรือใดๆ ปัญหาคือเพราะเงินที่ถูกเบิกออกมาเป็นเงินสดนั้นไม่สามารถกำกับได้ว่าจะต้องใช้กับอะไรได้บ้าง

แต่ถ้าเป็น Programmable Coin หรือการใส่กฏการใช้เข้าไปในเหรียญแต่ละเหรียญ ก็จะทำให้การกำกับดูแลดีขึ้นมาก ลดการคอรัปชั่นลงไปได้เยอะ และยิ่งเงินทุกเหรียญติดตามได้เพราะใช้เทคโนโลยี Blockchain ก็จะยิ่งทำให้ไม่มีใครกล้าโกงอีกต่อไป หรืออย่างน้อยการโกงก็จะไม่สะดวกสบายง่ายดายอย่างทุกวันนี้ครับ

10 อุปสรรคขัดขวางโลก Blockchain

เป็นบทท้ายๆ ของเล่มที่ฉายภาพความคิดของผู้เขียนวันนั้นในปี 2016 ว่า น่าจะมีอะไรบ้างที่จะกลายมาเป็นอุปสรรคขัดขวางโลก Decentralization หรือ Blockchain ในอนาคต ซึ่งพอดูเปรียบเทียบกับวันนี้แล้วก็มีหลายสิ่งที่น่าสนใจ ลองมาดูทั้ง 10 ข้อที่ว่าจะประกอบด้วยอะไรกันบ้างครับ

  1. เทคโนโลยีไม่พร้อม ในวันนั้นการเชื่อมต่อ หรือขนาดของ Blockchain หรือ Bitcoin เองที่อาจจะรับข้อมูลจำนวนมากไม่ไหว แต่วันนี้เราเห็นแล้วว่าเกิด Chain มากมายที่ต่อขยายจาก Blockchain ตั้งต้นในยุคแรก
  2. พลังงาน เพราะการประมวลผล Blockchain Bitcoin นั้นต้องใช้พลังงานสูงมาก แต่ในขณะเดียวกันล่าสุดประเทศจีนเพิ่งจะสร้างดวงอาทิตย์จำลองและให้พลังงานความร้อนมากกว่าดวงอาทิตย์ถึงสิบเท่าสำเร็จแล้ว เชื่อว่าเทคโนโลยีพลังงานจะก้าวข้ามขีดจำกัดปัจจุบันได้ไม่ยากเกินไปในอนาคตอันใกล้ครับ
  3. รัฐบาลที่ไม่ฆ่าก็บิดเบือน นี่คือสิ่งที่กำลังเป็นป้ญหาวันนี้ หรือ ณ เวลาบ้านเราก็ออกกฏหมายเก็บภาษี 15% จากทุก Transaction ที่มีกำไรโดยไม่สนใจว่าจะขาดทุนหรือไม่ ส่งผลให้อัตราการซื้อขายลดลงมหาศาล ในขณะเดียวกันเงินก็ไหลออกไปนอกประเทศครับ นี่คือปัญหาของการออกกฏหมายโดยไม่เข้าใจบริบทการใช้งาน Blockchain ของผู้คน
  4. ผู้มีอำนาจจะเข้ามาช่วงชิง เราคงจะเริ่มเห็นเงินดิจิทัลของแต่ละสกุลเดิมที่เป็น Fiat เพิ่มขึ้น ล่าสุดเริ่มจากหยวนดิจิทัล เชื่อว่าประเทศไทยก็คงจะออกบาทดิจิทัลในไม่นานนี้
  5. ผลตอบแทนไม่พอทุกคนที่เข้าร่วม หรือขุด เมื่อคนเยอะขึ้นเข้าร่วมก็อาจทำให้เงินที่ลงทุนกับเครื่องขุดทั้งหลายไม่คุ้มค่า แต่แน่นอนว่าตลาดนี้ก็มี demand & supply ควบคุมเหมือนทุกตลาด ต้องรอดูว่าเมื่อถึงจุดหนึ่งที่ไม่คุ้ม ใครจะเดินหน้าต่อหรือใครจะหยุด หรือจะเกิดเทคโนโลยีใหม่ที่อาจจะประหยัดพลังงานกว่าเดิมมา ใช้ต้นทุนในการขุดลดลงจนยังสามารถสร้างกำไรได้ หรืออาจจะมีคนคิดสร้างนวัตกรรมใหม่จาก Blockchain ที่ไม่ต้องขุดแต่ก็ทำกำไรได้ดีกว่า
  6. คนตกงาน อันนี้ไม่แปลก ทุกครั้งที่เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่กระทบพื้นฐานนวัตกรรม คนที่ปรับตัวไม่ได้ย่อมตกงาน แต่ในขณะเดียวกันมันก็จะสร้างงานใหม่ๆ ขึ้นมามากมาย
  7. การพยายามกำหนดมาตรฐาน Blockchain แบบไหนดี ไซส์ขนาดไหนกำลังเหมาะ เรากำลังอยู่ในจุดเริ่มต้นของการเรียนรู้เทคโนโลยีนี้ แน่นอนว่าแต่ละคนก็กำหนดมาตรฐานของตัวเองที่คิดว่าดีขึ้นมา ซึ่งสุดท้ายแล้วก็จะเกิดมาตรฐานกลางที่คนส่วนใหญ่ยอมรับ เหมือนกับหลายๆ เทคโนโลยีที่กลายเป็น Standard ในวันนี้ ตัวอย่างปลั๊กชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าก็ได้ครับ
  8. Skynet Agent ตัวแทนอัจฉริยะจาก Smart Contract ที่อาจจะถูกสร้างขึ้นมาเพื่อกดขี่มนุษย์มากเกินไป (บอกตรงๆ อันนี้ผมยังไม่ค่อยเข้าใจเท่าไหร่)
  9. Big Brother เราจะถูกจับตามองจากผู้มีอำนาจมากขึ้น ลองคิดภาพว่าถ้าผู้มีอำนาจได้เข้ามาครอบครองและควบคุม Blockchain จะเกิดอะไรขึ้น เค้าจะรู้ทุกอย่างในชีวิตเราตั้งแต่จุดเริ่มต้นแรก รู้ว่าเงินบาทแรกเรามาจากไหนและตอนนี้ไปถึงไหน รู้ทุกฝีก้าว เห็นทุกอย่าง ไม่สามารถปกปิดอะไรได้อีกต่อไป
  10. เครื่องมืออาชญากร เหมือนยุคแรกของ Bitcoint ที่ถูกนำไปใช้กับ Darkweb อย่าง​ Silkroad เว็บค้ายาและของผิดกฏหมายสมัยแรกๆ แน่นอนว่าเครื่องมือก็คือเครื่องมือ ขึ้นอยู่เจตนาของผู้ใช้ว่าจะใช้มันเพื่อสร้างสรรค์ ทำลาย กดขี่ หรือส่งเสริมครับ

สรุปหนังสือ Blockchain Revolution บล็อกเชนเปลี่ยนโลก

หนังสือเล่มนี้ถูกตีพิมพ์ครั้งแรกเป็นภาษาอังกฤษเมื่อปี 2016 ผมได้อ่านครั้งแรกตอนเดือน 4 ปี 2018 ในวันที่ Bitcoin เป็นอะไรที่น้ยอคนนักจะรู้จัก ยังไม่ต้องพูดถึง Blockchain เป็นอะไรที่ Geek มากๆ แต่ไม่กี่ปีผ่านมาตอนนี้ปี 2021-2022 ที่ผมกลับมาอ่านหนังสือเล่มนี้อีกครั้ง ผมได้เห็นภาพความเป็นไปได้ของอนาคตชัดเจนขึ้น เห็นว่าอะไรที่เกิดขึ้นแล้วบ้างจากที่หนังสือเล่มนี้บรรยายไว้ อะไรที่ไม่น่าจะเกิดขึ้นได้ และอะไรที่มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้นต่อไป

การเข้าใจอนาคตต้องเริ่มจากการเข้าใจอดีต แต่สิ่งสำคัญที่สุดคือการมีวิสัยทัศน์ เห็นบางสิ่งในวันนี้แล้วจินตนาการออกว่าถ้ามันเกิดขึ้นจริง หรือถ้ามันเกิดการเปลี่ยนแปลง เกิดการเอาไปต่อยอดขึ้นมันจะส่งผลกระทบได้มากขนาดไหน

โลกเป็นของผู้รู้ที่มีวิสัยทัศน์ เพราะถ้าแค่รู้อย่างเดียวแล้วไม่สามารถนำมาใช้หรือทำให้เกิดขึ้นจริงได้ ก็คงน่าเสียดายที่ความรู้นั้นไม่อาจต่อยอดให้เกิดผลบางอย่างขึ้นได้ อยากให้ทุกคนจับตาและเริ่มเรียนรู้กับโลกของ Blockchain ที่จะทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า Decentralized Disruption หรือการปฏิวัติตัวกลาง เมื่อทุกคนสามารถเข้ามาเป็นส่วนร่วมของทุกสิ่งในโลกใบนี้ได้โดยไม่รู้ตัวครับ

อ่านแล้วเล่า เล่มที่ 2 ของปี 2022

สรุปหนังสือ Blockchain Revolution บล็อกเชนเปลี่ยนโลก เทคโนโลยีเบื้องหลัง Bitcoin จาก Digital Disruption สู่ Decentralized Disruption

สรุปหนังสือ Blockchain Revolution บล็อกเชนเปลี่ยนโลก
นี่คือเทคโนโลยีที่อยู่เบื้องหลัง Bitcoin ซึ่งจะเปลี่ยนโฉมวงการการเงิน วงการธุรกิจ และโลกใบนี้ไปตลอดกาล
Dan Tapscott และ Alex Tapscott เขียน
พรศักดิ์ อุรัจฉัทชัยรัตน์ แปล
สำนักพิมพ์ Divine Publishing

อ่านสรุปหนังสือแนวนี้ต่อ > https://www.summaread.net/category/blockchain/

สั่งซื้อหนังสือเล่มนี้ > คลิ๊ก

By Nattapon Muangtum

จากนักอ่านที่เริ่มอยากหัดเขียน จากการที่ต้องอ่านเพราะความจำเป็น กลายเป็นอ่านเพราะหลงไหล, สวัสดีครับผมชื่อหนุ่ย ผมทำงานด้าน Digital and Data Marketing ผมยังมีเพจการตลาดอีกเพจที่อยากฝากให้ลองอ่านดูนะครับ https://www.facebook.com/everydaymarketing.co/