Call of The Mall ยกพลขึ้นห้าง

โดย Paco Underhill ผู้ที่สนใจเรื่องการตลาดบางคนอาจคุ้นกับชื่อนี้นิดๆ ก็เพราะ Paco Underhill เป็นผู้เขียนหนังสือชื่อ Why We Buy และเป็นเจ้าของบริษัท Environsell ที่ทำการสำรวจวิจัยพฤติกรรมบรรดานักช็อปให้กับบริษัทชั้นนำมาแล้วทั่วโลก และบริษัทของเค้าก็มีสาขาแทบจะทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยด้วย หนังสือเล่มนี้สนุกตรงที่เหมือนการที่นักเขียนพาเราไปเดินห้าง แต่การเดินห้างครั้งนี้จะไม่เหมือนกับทุกครั้งที่เราไปเดินห้างเลยซักครั้งในชีวิต เพราะการเดินห้างครั้งนี้จะเต็มไปด้วยคำถามและการสังเกตุมากมายที่เราไม่เคยสังเกตุมาก่อน ห้างกลายเป็นแหล่งชุมชนแห่งใหม่ในสังคมที่เพิ่งถือกำเนิดมาได้ประมาณ 60-70 ปีก่อนที่อเมริกา ห้างในที่นี้คือสถานที่ปิดเหมือนกล่องที่จุทุกอย่างไว้ข้างใน ยกตัวอย่างก็สยามพารากอน หรือเซ็นทรัลเวิร์ลละกัน ครั้งนึงห้างในอเมริกากลายเป็นแหล่งที่กีดกันชนชั้นล่างในการเข้าถึง เลือกสรรเฉพาะชนชั้นกลางขึ้นไปเท่านั้น เพราะตัวห้างในอเมริกาในสมัยก่อนนั้นไม่มีระบบขนส่งมวลชนเข้าถึงได้โดยง่าย นั่นหมายความว่าคุณต้องมีรถ ซึ่งชนชั้นกลางขึ้นไปเท่านั้นถึงจะสามารถเข้าถึงได้ ครั้งนึงห้างเคยถูกตีความว่าเป็นพื้นที่กึ่งสาธารณะในหลายรัฐ…

Sociology สังคมวิทยาฉบับพกพา

สารภาพตามตรงว่าเข้าใจได้ไม่ถึงครึ่งเล่มแต่ก็ได้แง่คิดมุมมองที่น่าสนใจไม่น้อย เช่น ศาสนาคริสนิกายโปเตสแตนท์เกิดมาในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม เพื่อก้ามข้ามผ่านนิกายคาทอลิค ที่ให้คนยึดถือความพอเพียงมากกว่าการสะสมทรัพย์สิน แต่ให้เอาทรัพย์สินมาบริจาคให้คริสตจักรแทน แต่คนเริ่มรวยขึ้นก็อยากเก็บเอาทรัพย์สินไว้กับตัวเอง หรือสรุปได้ว่าเดิมที “รวยคือบาป” ครับ หรือแม้แต่ปัจจุบันรัฐชาติ หรือศาสนาไม่อาจปกครอง หรือมีอำนาจต่อผู้คนได้เท่าสมัยก่อน ในปัจจุบันที่คนเรามีเสรีภาพในการเลือกสิ่งต่างๆในชีวิตมากขึ้น ก็เป็นผลมาจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมที่ทำให้เกิดส่วนเกินที่มากขึ้น ความขาดแคลนในวันนี้ไม่ใช่ความขาดแคลนในสิ่งพื้นฐานของชีวิตอีกต่อไป แต่เป็นความขาดแคลนในสิ่งที่จะเติมเต็มความต้องการหรือจิตวิญญาณของเรามากขึ้น สังคมวิทยามีความคล้ายจิตวิทยาพอสมควรในความคิดผม คิดว่าคงต้องกลับมาอ่านซ้ำอีกรอบเมื่อหนังสือเล่มที่ค้างไว้หมด (ค้างอ่านอยู่ 70 เล่มตอนนั้น 2016) คงได้ความรู้ความเข้าใจใหม่ๆที่จะเอากลับมาเล่าต่อแน่ๆ อ่านเมื่อปี 2016

Mythology ทวยเทพและตำนานสัตว์ประหลาดกรีก-โรมัน

หรือจะเรียกว่าศาสตร์แห่งทวยเทยกรีกและโรมันก็ว่าได้ ถ้าถามว่าน่าสนใจตรงไหนกับเรื่องราวนิยายปรัมปราเพ้อฝันแบบนี้ ก็เพราะมันเป็นความเพ้อฝันของมนุษย์ตั้งแต่หลายพันปีก่อนนี่แหละครับ ผมเลยว่ามันน่าสนุก ผมอ่านเพื่ออยากรู้จักความคิดของผู้เป็นนักคิดสมัยนั้น ไม่ว่าจะเพลโต อริสโตเติล ไอดิสปิอุส และใครต่อใครอีกหลายคน หลายชื่อคำเรียกเท่ห์ๆของแบรนด์ดังๆที่เราคุ้นหู ก็ไม่ได้ประดิษฐ์คำเหล่านั้นใหม่มาจากไหน แต่เป็นการหยิบชื่อบรรดาเหล่าทวยเทพโบราณเหล่านี้ขึ้นมาใหม่อีกครั้งต่างหาก อย่างชื่อ Hermes แบรนด์กระเป๋าแฟชั่นราคาแพงระยับ ก็มาจากชื่อเทพองค์หนึ่งที่เป็นเทพด้านการค้า คนกลาง และขโมย คอนโดหรูที่ชื่อ Nyx ก็มาจากชื่อเทพราตรีองค์นึงในนี้เหมือนกัน (ความจริงต้องอ่านว่า ไนท์ นะครับ ไม่ใช่ นิกซ์ เพราะต้องอ่านตามแบบลาติน ไม่ใช่แบบอังกฤษ) ถ้าใครชอบเรื่องราวสนุกๆและน่าสนใจตลอดเล่มแบบไม่ยากและน่าเบื่อ หนังสือเล่มนี้ก็น่าสนใจไม่น้อยเลยครับ…

เรื่องที่ Google ไม่มีคำตอบให้เรา

โดย ท้อฟฟี่ แบรดชอว์ อ่านมาซักพักเลยรู้ว่าคนเขียนเป็นคนทำงานโฆษณาเหมือนกัน เป็นคนที่ถ่ายทอดเรื่องราวประสบการณ์ตัวเองได้ออกมาอร่อยและน่าสนใจดี หลายตอนในเล่มก็สามารถเขียนสรุปใจความจนออกมาเป็น Quote คำคมดีๆสะกิดใจคนอ่านได้ไม่น้อย เช่น.. ..กูเกิลมีแทบทุกอย่างที่เราต้องการค้นหา เราจะพบในสิ่งที่คนอื่นหาไว้แล้วมากมาย แต่บทเรียนในชีวิตของเรานั้นเป็นเรื่องที่เราไม่สามารถหาคำตอบในกูเกิล.. หรือ.. ..สิ่งที่เราเห็นในโซเชียลมีเดียก็เป็นแบบนั้น มันคือการตัดตอนความจริงมาไว้ในบริบทหนึ่ง ไม่ใช่ทั้งหมดของความจริง ซึ่งเมื่อตัดเฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่งมาก็ทำให้เราไม่เห็นภาพรวมทั้งหมด เหมือนกรอบรูปที่บังคับการมองเห็นของเราว่ามองเห็นได้แค่ภายในกรอบ.. และ ในตอนที่พูดถึงเจ้าตัวได้ไปงานแต่งแล้วเห็นพรีเซ็นเทชั่นงานแต่งงานมามากมาย เธอก็เขียนประโยคนึงที่น่าสนใจมาว่า.. ..พรีเซ็นเทชั่นงานแต่งงานมักจะให้เราเห็นภาพว่าคนทั้งคู่ “พบกัน” ได้อย่างไร มากกว่าจะบอกเราว่าคนทั้งคู่ “คบกัน” อย่างไรจึงรอดมาถึงวันนี้ได้ เนี่ยแหละครับคือมุมมองของนักเขียนคนนี้ที่ผมชอบ ทำให้ผมรู้สึกคิดผิดจริงๆที่ไม่ยอมซื้อมาอ่านตั้งนาน ต้องรอจนกว่าค่าย…

เจาะใจสาวนักช็อป What Women Want; The Global Market Turns Female Friendly

เขียนโดย Paco Underhill Paco Underhill เป็นผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหารของบริษัทเอนไวโรเซลล์ อิงค์ (Envirosell) บริษัทที่คอยสำรวจวิจัยนักช็อปปิ้งที่มีสาขาอยู่ทั่วโลก การช็อปปิ้งเป็นหนึ่งในศาสตร์ใหม่ที่เริ่มต้นขึ้นไม่นานมานี้ อาจจะกล่าวว่าเริ่มต้นพร้อมกับร้านค้าห้างร้านก็ว่าได้ การศึกษาพฤติกรรมการช็อปของนาย Paco คือการติดตาม เฝ้าดู จดสังเกตุว่า เมื่อมนุษย์เราไปใช้บริการร้านค้า หรือ ใช้บริการบริษัทต่างๆแม้แต่ธนาคาร คนเรามีพฤติกรรมตอบสนองต่อสิ่งรอบตัวในห้างร้านค้านั้นอย่างไร เล่มนี้เจาะลึกถึงผู้หญิง ซึ่งเป็นกลุ่มที่เปลี่ยนแปลงโลกของการช็อปอยู่ตลอดเวลาที่ผ่านมาให้พัฒนายิ่งขึ้นจากเมื่อเริ่มต้นห้างเมื่อประมาณ 70 ปีก่อน ในอดีตห้างค้าร้านขายนั้นไม่เข้าใจถึงกลุ่มลูกค้าหลักซึ่งก็คือผู้หญิงเอาเสียเลย เพราะอะไร..เพราะบรรดาเจ้าของกิจการและผู้ดำเนินการธุรกิจทั้งหลายล้วนแล้วแต่เป็นผู้ชายทั้งสิ้น เพราะความต่างสิทธิทางเพศในสมัยก่อนที่เอื้อประโยชน์แก่เพศชายเท่านั้น แต่ทุกวันนี้เปลี่ยนไป และเปลี่ยนไปเยอะมากตั้งแต่บรรดาห้างร้านค้ารับรู้ว่ากลุ่มเป้าหมายของเค้าไม่ใช่เพศชายอย่างที่เคยจินตนาการไว้อีกต่อไปแต่กลับเป็นผู้หญิงต่างหากที่ทำให้บริษัทมีกำไรไปจ่ายปันผลและซื้อรถสปอร์ตให้ผู้บริหารไว้ขับ ยกตัวอย่างแม้แต่ห้างอย่าง…

ปัญญารวมหมู่ The Perfect Swarm : The Science of Complexity in everyday life

ว่าด้วยเรื่องของการรวมหมู่รวมกลุ่มของสิ่งมีชีวิตต่างๆตั้งแต่แบคทีเรีย ตั๊กแตน ปลาทะเล จนถึงมนุษย์ ที่จะอยู่ร่วมกัน การอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิตไม่ว่าประเภทไหนต่างต้องพึ่งพากฏระเบียบหรือรูปแบบเพื่อทำให้สามารถดำรงอยู่ร่วมกันได้ หรือเพื่อให้เผ่าพันธุ์นั้นยิ่งใหญ่ยิ่งขึ้นอีก เช่น รูปแบบพฤติกรรมของตั๊กแตนลาคอส ที่รวมฝูงกันทำร้ายมนุษย์และทำลายพืชผลต่างๆจนกลายเป็นวิกฤตหายนะหลายต่อหลายครั้งในเผ่าพันธุ์มนุษย์ตั้งแต่โบราณ ตามเรื่องเล่าตำนานที่มักจะเล่ากันว่าฝูงห่าตั๊กแตนมารุมกินพืชสวนไร่นาจนทำให้มนุษย์ต่างต้องอดตายไปทั้งหมด และไม่เพียงเท่านั้นแต่มันยังกัดกินกันเองด้วยซ้ำเมื่อไม่มีอะไรเหลือให้กิน ซึ่งก็เป็นจุดสิ้นสุดของฝูงมฤตยูตั๊กแตน แต่เบื้องหลังการกระทำเหล่านั้นคือโดยธรรมชาติตั๊กแตนลากอสไม่ได้มีพฤติกรรมดุร้ายหรือก้าวร้าว แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่พวกมันเริ่มรวมฝูงกันเกิน 7 ตัว พฤติกรรมการออกล่าก็เริ่มต้นขึ้น เริ่มรวมตัวกันมากขึ้นจนกลายเป็นเหมือนเมฆดำจนท้องฟ้ามืดมิด การเคลื่อนที่ของตั๊กแตนฝูงเหล่านั้นอาจดูซับซ้อนมากเกินกว่าจะหาเหตุผลให้มันได้ แต่เชื่อมั้ยว่าจริงๆแล้วมีกฏอยู่แค่ 3 ข้อเท่านั้นที่ควบคุมฝูงตั๊กแตนนับล้านๆตัว 1. เคลื่อนที่ให้ทันตัวหน้า2. เคลื่อนที่อย่าให้ช้ากว่าตัวหลังเพราะไม่งั้นจะโดนกิน3. เว้นที่ว่างด้านข้างให้พอที่จะบินได้สะดวก จาก 3 กฏเบื้องต้นนี้กลายมาเป็นกฏพื้นฐานของโปรแกรมแอนิเมชั่นในภาพยนต์หลายๆเรื่อง…

รู้ แล้ว เปลี่ยน

ปัญหาโลกร้อนแต่ได้ยินมายาวนาน แต่กลับเหมือนไกลตัวเราทุกคนจนไม่เคยใส่ใจ โลกร้อนแล้วยังไงก็เปิดแอร์ให้แรงขึ้นกว่าเดิมซิ..จบข่าว หนังสือเล่มนี้พูดในหลายแง่มุมของปัญหาโลกร้อน และผลกระทบที่มาจากอุตสาหกรรม ธุรกิจ รวมถึงมนุษย์ชาติที่ทำร้ายทำลายโลกที่เราอาศัยอยู่สะสมขึ้นทุกวัน แต่น้อยคนนักจะรับรู้และใส่ใจ ที่จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในความรับผิดชอบของตัวเองให้เป็นมิตรต่อโลกมากขึ้น แต่ไหนแต่ไรโลกธุรกิจเชื่อว่าการจะแก้ปัญหาโลกร้อนเป็นคนละเรื่องกับการทำธุรกิจให้มีกำไรแข่งขันได้มานาน แต่หารู้ไม่ว่าการพัฒนาธุรกิจและเทคโนโลยีของคุณนั้นกลับจะทำให้คุณเหนือคู่แข่งและสร้างกำไรในธุรกิจได้ในระยะยาว หลายบริษัทชั้นนำของโลกเริ่มปรับเปลี่ยนตัวเองให้สร้างเทคโนโลยีใหม่ๆ ไม่ใช่แค่ลดปัญหาโลกร้อน แต่เป็นการเพิ่มกำไรเป็นกอบเป็นกำให้กับธุรกิจของตัวเองมากมาย..เล่าไม่หมดหรอกไปเปิดอ่านในเล่มก็แล้วกัน เราทุกคนต่างใช้โลกนี้อย่างแทบไม่เคยถนอมและเห็นคุณค่าของโลกมานานมาก จนเราต่างลืมไปว่าปัญหาทั้งหมดบนโลกก็จะยังคงอยู่บนโลกไม่ได้ลอยออกไปดาวดวงไหนได้ง่ายๆ… ยกเว้นวันที่เราสร้างจรวดขนขยะสารพิษไปทิ้งนอกโลก แต่ก็ต้องเสียงว่ามันจะลอยกลับเข้ามายังโลกอีกหรือเปล่า ผลกระทบอาจไม่ได้เกิดขึ้นในยุคของเรา แต่ในยุคหน้าในรุ่นลูกหลานของเราล่ะ เมื่อวันนึงเค้าย้อนถามกลับมาว่าทำไมพ่อแม่เค้าถึงไม่เคยถนอมโลกไว้ให้เค้าในตอนที่พวกเราทุกคนยังหนุ่มสาวกันอยู่.. ..แล้วตอนนั้นเราจะตอบคำถามคนรุ่นต่อไปยังไง บ้านเรา ทรัพย์สินเราๆยังต้องดูแลเพื่อส่งต่อให้คนรุ่นต่อๆไป แล้วโลกของเราล่ะ จะไม่ดูแลให้ดีขึ้นเลยหรือ? อ่านเมื่อปี 2016

ประวัติศาสตร์หยาดฝน Rain: A Natural and Cultural History

ฝนเม็ดเล็ก ใครจะคิดว่าอารยธรรมที่เคยยิ่งใหญ่กลับล่มสลายเพราะขาดฝนเป็นจำนวนไม่น้อย และต่อให้ในปัจจุบันที่เต็มไปด้วยเครื่องมือสุดไฮเทค และเทคโนโลยีอย่าง Big Data เราก็ยังเดาทางเดาใจฝนไม่ได้แม่นยำซักที ในยุค Big Data ที่เต็มไปด้วยเครื่องไม้เครื่องมือพรั่งพร้อม และซุปเปอร์คอมพิวเตอร์สมรรถนะสูง สิ่งที่น่าทึ่งก็คือการพยากรณ์ฝนแบบไฮเทคจะเที่ยงตรงมากขึ้นด้วยฝีมือนักอุตุนิยมวิทยา เพราะคำพยากรณ์ที่มีนักอุตุนิยมวิทยามาช่วยอ่านค่า จะแม่นยำกว่าคำพยากรณ์จากคอมพิวเตอร์ล้วนๆถึง 25% นักอุตุนิยมวิทยาไม่ตกในงานยุค Big Data และ AI แล้วนะครับ ส่วนในอดีตในช่วงยุค 1560-1660 ช่วงที่ยุโรปนิยมล่าแม่มดกัน ก็ตรงกับช่วงที่เกิดภูมิอากาศเลวร้ายที่สุดในยุคน้ำแข็งน้อยในปัจจุบัน (ใช่ครับ เรายังคงอยู่ในยุคน้ำแข็งน้อยที่ร้อนขึ้นนิดหน่อย) ในช่วงนั้นการล่าแม่มดคือการหาแพะให้กับปัญญาฝนไม่ตกต้อง หรือฝนตกหนักเกินไปจนเกินควบคุม…

วิชาสุดท้าย ที่มหาวิทยาลัยไม่ได้สอน

จากนักเขียนนักแปลคนโปรดคนนึงของผม คุณสฤณี อาชวานันทกุล ได้ยินมาว่าเป็นหนังสือที่บัณฑิตนิยมมอบให้กับบัณฑิตด้วยกันเมื่อสำเร็จการศึกษา.. นี่เป็นการสร้างจุดขายที่ทำให้กลายเป็นธรรมเนียมไม่เหมือนหนังสือเล่มอื่นเสียจริง ยอมรับว่าการตลาดฉลาดมาก เรื่องในเล่มเป็นเรื่องราวของคนเก่ง คนสำคัญ คนดัง หลายสิบคนที่เคยไปกล่าวปาถกฐาในวันสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกมากมาย เช่น Steve Job, JK Rolling และอีกหลายคนมากมายที่ผมเองก็จำไม่ได้เช่นกัน หนังสือเล่มนี้ดูเหมือนหนา..แต่ก็หนาจริงเพราะตั้งกว่า 500 หน้า แต่กลับไม่รู้สึกต้องใช้เวลาอ่านมากเลย เพราะเรื่องราวมาจากประสบการณ์จริงของบุคคลสำคัญจึงทำให้เวลาอ่านนั้นเข้าใจและคิดตามได้ไม่ยาก หลายเรื่องเป็นเรื่องราวที่เราพบเจอแต่ไม่เคยมองในแง่มุมของผู้พูดมาก่อน ก็ทำให้เราสะดุดคิดตามได้ ได้มุมมองใหม่ๆขึ้นมาได้ สุดท้ายแล้วหนังสือเล่มนี้ แม้คุณเลยวัยบัณฑิตมาแล้ว ก็ควรค่าแก่การหามาอ่านครับ เพราะวิชาสุดท้ายที่มหาวิทยาลัยไม่ได้สอน คือวิชาชีวิตนอกห้องเรียน วิชาที่คุณต้องลองผิดลองถูกด้วยตัวเอง…

ทิ้ง 1 ให้ได้ 100 ทิ้งน้อยให้ได้มาก

รู้หรือไม่ว่าสิ่งหนึ่งที่คุณเก็บไว้ อาจทำให้คุณพลาดสิ่งดีๆ ไปเป็นร้อย เขียนโดยคนญี่ปุ่นแต่เนื้อหาข้างในกลับไม่เหมือนแนวญี่ปุ่นที่ผมคุ้นเคยเอาเสียเลย ปกติแล้วความเป็นคนญี่ปุ่นที่เราคุ้นเคยคือต้องอดทนพยายามจนสำเร็จ แต่นักเขียนท่านนี้เป็นนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จจากสไตล์การคิด และบริหารงานแบบฝรั่งจ๋าๆ ทำให้ได้เรื่องราวและมุมมองที่น่าสนใจหลายจุด เช่น.. ตอนนึงในเล่มที่ผู้เขียนเล่าว่าให้ผู้หญิงหันมาเลือกผู้ชายที่มีแฟนอยู่แล้ว.. เพราะ ผู้ชายที่มีแฟนอยู่แล้วนั่นเป็นเครื่องการันตีว่าผู้ชายคนนั้นน่าสนใจกว่าผู้ชายที่ไม่มีแฟน (เพราะใช้แฟนในปัจจุบันเป็นมุมมองชี้วัดคุณภาพของผู้ชายคนนั้น) ก็คล้ายๆกับการเลือกร้านอาหารที่มีคนรอเข้าคิวเยอะ เพราะนั่นก็น่าจะเป็นตัวช่วยในการเลือกในกรณีที่เราไม่มีข้อมูลเช่นกัน หรืออีกตอนที่ผู้เขียนเล่าว่าให้ทิ้งโอกาสเล็กๆตรงหน้าอย่างการก้มเก็บแบงค์พัน เพื่อมองหาขุมทรัพย์หลักล้านข้างหน้าแทน เพราะถ้าเมื่อไหร่ที่คุณก้มเก็บโอกาสเล็กๆตรงหน้า คุณก็อาจจะพลาดโอกาสที่จะเข้าถึงโอกาสที่ยิ่งใหญ่กว่าก็เป็นได้ อ่านง่ายๆไม่ถึงวันก็จบ ใครมีหนังสืออะไรดีๆแนะนำกันมาจะขอบคุณมากเลยครับ อ่านแล้วเล่า ทิ้ง 1 ให้ได้ 100 ทิ้งน้อยให้ได้มากรู้หรือไม่ว่าสิ่งหนึ่งที่คุณเก็บไว้ อาจทำให้คุณพลาดสิ่งดีๆไปเป็นร้อย โยะชิโอะ ยะซุดะ…