ในแสงแดดมีดวงดาว ฟาสต์ฟู้ดธุรกิจ 24

มีคนเปรยว่า “ความฝัน” เป็นเหมือน “ดาวเหนือ” ของนักเดินทาง และถ้าเปรียบ “ดวงดาว” บนท้องฟ้าเป็นดั่ง “ความฝัน” ของเรา ยามค่ำคืนที่อากาศเย็นและสงบ เราจะเห็น “ความฝัน” ของเราชัดเจนบนท้องฟ้า แต่พอกลางวันที่แดดร้อนที่เรามองไม่เห็นดวงดาว เรากลับลืมไปว่าบนฟ้าเดียวกันนั้นยังมีดวงดาวที่เป็นดั่งความฝันเราอยู่ที่เดิมเสมอ เพียงแค่เรามองไม่เห็นชั่วคราว ใช่ว่าจะไม่มีอีกแล้วตลอดไป เหมือนกับเวลาที่เราเจออุปสรรคเข้ามาในชีวิต เรามักลืมความฝันของเราไปเสมือนว่าไม่มีทางเป็นจริง แต่พอปัญหาหายไปทุกอย่างราบรื่น ความฝันนั้นก็กลับเด่นชัดขึ้นมาอีกครั้ง คุณปรีชา เจ้าของแบรนด์แฟชั่น FLYNOW และเจ้าของ FN OUTLET ที่โด่งดังบอกว่า คนส่วนใหญ่มักเป็น…

กรอบที่ไม่มีเส้น ฟาสต์ฟู้ดธุรกิจ 20

การ “ตีกรอบ” ให้บางเรื่อง หรือบางแง่มุมในชีวิต อาจเป็นสิ่งที่เราหลายคนเคยชินกัน เช่น กรอบความสำเร็จของชีวิต ต้องประกอบด้วยอะไรบ้าง มีบ้านมั้ย มีรถมั้ย มีครอบครัวมั้ย หรือ มีตำแหน่งหน้าที่การงานที่ดีมั้ย หรืออาจมีอีกหน่อยเป็นมีเงินฝากเก็บไว้ใช้ตอนเกษียณซักสองสามล้านมั้ย พอมีกรอบ เราก็รู้ว่าจะต้องไปถึงแค่ไหน หรือแค่ไหนที่ไม่ต้องเกินกว่ากรอบที่กำหนดไป แม้แต่ในการทำงานการตลาด ก็ต้องมีการกำหนดกรอบการทำงาน ที่เรียกว่า Framework ว่าอะไรบ้างที่ต้องทำ เพื่อให้รู้ว่าอะไรบ้างที่ไม่ต้องทำ เราส่วนใหญ่ชอบพูดเหมือนกันว่า ไม่ต้องการให้ชีวิตมีกรอบ แต่เรามักใช้ชีวิตแบบมีกรอบจนเคยชิน หนุ่มเมืองจันท์ นำเสนอแนวคิดใหม่ในชื่อของฟาสต์ฟู้ดธุรกิจเล่มที่ 20 นี้ว่า…

เศรษฐวิบัติ ฉบับปรับปรุง The Return of Depression Economics and The Crisis of 2008

หนังสือที่เขียนโดยนักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบลชื่อดังอย่าง Paul Krugman ที่ชำแหละเรื่องราววิกฤตการเงินกับเศรษฐกิจโลกในช่วงที่ผ่านมา ไม่ว่าจะวิกฤตต้มยำกุ้ง หรือ Hamberger Crisis ให้คนธรรมดาที่ไม่ใช่นักเศรษฐศาสตร์หรือสายการเงินก็เข้าใจได้ว่า ทั้งหมดทั้งมวลแล้วล้วนเป็นละครเรื่องเก่า พล็อตเดิม แค่เปลี่ยนเสื้อผ้าหน้าผมตัวละครกับฉากใหม่ๆเท่านั้นเอง อยากเห็นเศรษฐกิจล่มจมทั้งประเทศหรอ ไม่ยาก แค่เราทุกคนไปถอนเงินออกจากธนาคารพร้อมกัน แค่นั้นเศรษฐกิจของประเทศนั้นก็เป็นจุลแล้ว แถมรับประกันด้วยว่าประเทศคู่ค้าที่เกี่ยวข้องก็ต้องเจ็บตามกันแน่ๆ ทำไมแค่การถอนเงินพร้อมกันของทุกคนถึงทำให้เศรษฐกิจเล่มได้ล่ะ? เพราะธนาคารของพวกคุณไม่ได้มีเงินสดไว้มากพอสำหรับให้ทุกคนได้ถอนออกไปพร้อมกันในครั้งเดียวน่ะซิครับ เรื่องนี้เคยเกิดขึ้นแล้วที่สหรัฐอเมริกาในยุค 1930 ที่ผู้คนแห่กันไปถอนเงินออกจากธนาคารแห่งหนึ่ง จนเกิดภาวะตื่นตัวหรือควรจะเรียกว่า “ตื่นตูม” กันแห่ออกไปถอนเงินจนทำให้ธนาคารมีเงินสดไม่พอจ่าย เป็นเหตุให้ธนาคารล้มตามๆกัน และเศรษฐกิจล่มจมหรือตกต่ำครั้งใหญ่ที่มีชื่อเรียกกันว่า Great Depression มาแล้ว…

Economics The User’s Guide เศรษฐศาสตร์ฉบับทางเลือก

เมื่ออ่านจบความรู้สึกแรกที่รู้สึกสรุปออกมาหนึ่งประโยคให้กับหนังสือเล่มนี้คือ “เศรษฐศาสตร์จริงๆมันไม่ได้ซับซ้อนอย่างที่เคยคิดกันซักเท่าไหร่นี่หว่า?” ที่คิดแบบนี้เพราะครั้งนึงผมเคยเข้าไปเรียนในคณะเศรษฐศาสตร์มาหนึ่งปี(แล้วซิ่วไปที่อื่น) แล้วรู้สึกว่า…ยากชิบหาย มหภาค จุลภาค เส้นโค้งโน่นนี่นั่น หลายเรื่องไม่เคยเม้คเซ้นส์หรือเข้าใจได้เลยสำหรับผม จนพอเวลาล่วงเลยมาสิบกว่าปี(อย่าสงสัยเลยว่าผมอายุเท่าไหร่) ก็เริ่มสนใจอ่านหนังสือแนวเศรษฐศาสตร์มากขึ้น แต่เป็นเศรษฐศาสตร์แบบชาวบ้านๆ เริ่มแรๆเท่าที่จำได้ผมอ่านงานของ อาจารย์วรากร สามโกเศศ ในหนังสือชุด edutainment essay ของสำนักพิมพ์ openbooks พออ่านจบเล่มแรกเท่านั้นแหละ ผมกลายเป็นแฟนคลับคนนึงของอาจารย์วรากรเลย จนผมต้องไปตามหามาอ่านครบชุด edutainment essay จนครบ แล้วไม่วายไปตามเก็บหนังสือชุด “โลกนี้ไม่มีอะไรฟรี” ของอาจารย์อีก จนผมเริ่มสนใจในเรื่องของเศรษฐศาสตร์แบบชาวบ้านๆ หรือที่อยู่ในชีวิตจริงไกล้ตัวมากขึ้น…

Neoliberalism เสรีนิยมใหม่

เริ่มด้วยคำถามที่ว่า Neoliberalism หรือ เสรีนิยมใหม่ คืออะไร ? ..เสรีนิยมใหม่ คือหลักการอุดมคติที่เชื่อว่า “ตลาดกำกับดูแลตัวเอง” เป็นเครื่องจักรที่ให้ปัจเจกชนแสวงหาความมั่นคั่งอย่างมีเหตุผล หรือจะเรียกได้ว่าต้นกำเนิดของมันน่าจะมาจาก “นักเสรีนิยมคลาสสิก” อย่าง Adam Smith และ David Ricardo ที่ต่อต้านลัทธิพาณิชยนิยม (Mercantisim) ของเหล่ากษัตริย์ในยุโรบในช่วงยุคมืดและช่วงยุคล่าอาณานิคมก็ว่าได้.. ..จากการควบคุมหรือรวมศูนย์กลางความมั่นคั่งไว้ที่เหล่ากษัตริย์หรือขุนนางไม่กี่คนทำให้เกิดแนวคิดขั้วตรงข้ามอย่าง “เสรีนิยมคลาสสิก” นี้ขึ้นมา จนพัฒนากลายมาเป็น “เสรีนิยมใหม่” ก็ว่าได้ แล้วอย่างนั้นเสรีนิยมใหม่เริ่มต้นที่ตรงไหน.. ..ตามหนังสือบอกว่าเริ่มต้นที่ยุคสมัยของ โรนัลด์…

บรรยง พงษ์พานิช คิด

ถ้าถามว่าหนังสือประเภทไหนที่ผมชอบที่สุด ผมตอบได้เลยว่าผมชอบหนังสือประเภทกลั่นมาจากประสบการณ์ชีวิต โดยเฉพาะประสบการณ์ตรงของชีวิตผู้เขียน เพราะหนังสือแนวนี้จะเนื้อเน้นๆไม่มีน้ำ ไม่มากทฤษฎีหรือหลักการให้ปวดกะโหลก ไม่มีศัพท์แสงวิชาการที่ฟังดูต้องใช้จินตนาการเยอะ อ่านเข้าใจง่ายแต่กลับได้อะไรๆเยอะมาก เรียกได้ว่ามีขุมทรัพย์ซ่อนอยู่ระหว่างบรรทัดเลยก็ว่าได้ หนังสือประเภทนี้จะเต็มไปด้วยคำธรรมดาที่โคตรจะคม จนทำให้คำคมทั่วไปกลายเป็นโคตรธรรมดา ถ้าเป็นภาษาการตลาดหรือคนโฆษณานี่บอกได้เลยว่า เต็มไปด้วย key message หรือ super insight สะกิดใจทุกคำ และหนังสือเล่มนี้ก็เป็นทั้งหมดที่ผมว่า เป็นหนังสือที่กลั่นมาจากประสบการณ์ชีวิตของนักการเงินเศรษฐศาสตร์(หรืออะไรก็ตามทำนองนั้นที่ผมก็นิยามให้ไม่ถูกเหมือนกัน)ที่ชื่อว่า บรรยง พงษ์พานิช คุณบรรยง พงษ์พานิช คนนี้มีประวัติที่ไม่ธรรมดาเพราะเริ่มทำงานในตำแหน่งเสมียนเคาะกระดานหุ้น เงินเดือน 2,450 บาท เมื่อ 36…