21 Lessons for the 21st Century 21 บทเรียนสำหรับศตวรรษที่ 21

ชีวิตในศตวรรษนี้ไม่ใช่เรื่องง่ายอย่างที่คิดเลยนะครับ และถ้าคุณคิดว่ามันยากแล้วที่จะใช้ชีวิตในศตวรรษนี้ แต่เหมือนว่าความเป็นจริงที่น่าจะเกิดขึ้นนั้นกลับยากยิ่งกว่าจะจินตนาการไหว จนผมคิดว่าที่คิดๆกันว่า “ยาก” อยู่แล้วนั้นอาจจะกลายเป็น “ง่ายไปเลย” เมื่อเจอกับความน่าจะเป็นที่จะถาโถมเข้ามาดุจพายุทั้งหลายด้านพร้อมๆกัน หนังสือเล่มนี้บอกถึง 21 สิ่งสำคัญที่น่าจะเกิดขึ้นในศตวรรษนี้ ในศตวรรษที่เราส่วนใหญ่จะมีอายุยืนกว่าคนในวันนี้มาก หรือเอาง่ายๆว่าถ้าค่าเฉลี่ยของอายุคนในวันนี้อยู่ที่ 70 กว่าปี แต่เด็กที่เกิดตั้งแต่ปี 2000 เป็นต้นไปน่าจะอายุยืนกันถึง 100 ปีเป็นเรื่องปกติ แล้วเมื่อเราอายุยืนขึ้นแต่การใช้ชีวิตกลับยิ่งยากขึ้นอย่างที่ยากจะจินตนาการได้ แต่หนังสือเล่มนี้ก็พอให้แนวทางที่น่าสนใจและก็มีความเป็นไปได้ไม่มากก็น้อยที่ให้เราได้เตรียมตัวรู้เพื่อจะรับมือสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้น หรือถ้าไม่เกิดขึ้นก็ถือว่าโชคดีเสียด้วยซ้ำ ผมว่าหนังสือเล่มนี้ถ้าคุณได้อ่านหนังสือ “ทางรอดในโลกใบใหม่ แห่งการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ของ Klaus Schwab”…

วัฒนธรรมร่วมอุษาคเนย์ในอาเซียน

ไทยแท้ไม่มีอยู่จริง นี่คือความรู้สึกหลังอ่านหนังสือเล่มนี้จบ ทำให้รู้ว่าไอ้ความเป็น “ไทยแท้ๆ” ที่เราหวงกันนักหนา ไม่ว่าจะ อาหารไทย มวยไทย ลายเส้นไทย การไหว้แบบไทย สงกรานต์ไทย หรือแม้แต่ภาษาไทยแท้จริงแล้วก็ไม่ใช่ของที่กำเนิดมาจาก “ไทย” เลยซักอย่าง แต่กลับเป็นของส่วนร่วม ตามชื่อหนังสือที่บอกว่า “วัฒนธรรมร่วม” นั่นเอง ไทย หรือ คนไทย นั้นก็เป็นส่วนหนึ่งของอาเซียนที่เอาเข้าจริงแล้วก็แยกแทบไม่ออก ถ้าถอดเสื้อผ้า ให้ดูแต่หน้าไม่ต้องพูดซักคำ ก็ยากที่จะแยกออกว่าหน้าแบบนี้คือไทย หน้าแบบนี้คือลาว หน้าแบบนี้คือพม่า เขมร หรือแม้แต่ทางใต้มาเลเซีย ฟิลิบปินส์…

KOREA, The impossible country, มหัศจรรย์เกาหลี จากเถ้าถ่านสู่มหาอำนาจทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรม

พูดถึงเกาหลีมั่นใจว่าไม่มีใครไม่รู้จัก ตั้งแต่แดจังกึม ที่ถูกเอามาล้อกันเป็นแดกจังมึง กิมจิ, Super Junior, เพลงฮิตอย่าง NOBODY NOBODY BUT YOU และ กังนัมสไตล์ที่ได้พันล้านวิวแรกบนยูทูป เกาหลีที่ดูมหัศจรรย์เต็มไปด้วยสีสันและสวยงามด้วยศัลยกรรมในความรู้สึกเราในวันนี้ ใครจะรู้ว่าเมื่อ 60 ปีที่แล้วเกาหลีเองเคยจะเป็นหนึ่งในชาติที่พังพินาศอย่างถึงที่สุด เกาหลีเองเพิ่งได้เอกราชจากญี่ปุ่นเมื่อหลังสงครามโลกครั้งที่สองเมื่อปี 1945 จากนั้นก็ยังถูกสองขั้วมหาอำนาจโลกฉีกประเทศเกาหลีออกเป็นสองส่วน เกาหลีเหนืออยู่ภายในการชี้นำจากโซเวียตหรือรัสเซียในวันนี้ ส่วนเกาหลีใต้อยู่ในความดูแลของสหรัฐ แต่ใช่ว่าเกาหลีใต้ในยุคแรกที่ได้เอกราชจะเป็นประชาธิปไตยที่แท้จริง เพราะเกาหลีใต้ถูกปกครองด้วยผู้นำเผด็จการมาอย่างยาวนาน จนอาจบอกได้ว่าเกาหลีใต้เพิ่งจะเป็นประชาธิปไตยแบบเต็มใบจริงๆก็เมื่อสามสิบปีที่ผ่านมาก็ว่าได้ เกาหลีใต้หนึ่งในประเทศที่พัฒนาแล้วจนมีเศรษฐกิจติดลำดับต้นๆของโลกในวันนี้ แต่ผู้คนส่วนใหญ่กลับไม่เคยพบความสุขเลย หนึ่งในชาติที่มีชั่วโมงการทำงานสูงที่สุดในโลก หนึ่งในประเทศที่มีอัตราการฆ่าตัวตายสูงแซงญี่ปุ่นขึ้นไปแล้ว และหนึ่งในชาติที่ถูกปลูกฝังให้แข่งขันกันจนถึงที่สุด…

The Worlds is Round ล่องคลื่นโลกาภิวัฒน์ 1

หนังสือเล่มนี้เขียนโดยคุณสฤณี อาชวานันทกุล นักเขียนและนักแปลใจดวงใจ เพราะห้องหนังสือบ้านผมมีหนังสือของเค้าคนนี้เยอะมากครับ คุณสฤณีชอบเขียนหรือแปลหนังสือแนวระบบเศรษฐกิจแบบรักษ์โลก หรือจะเรียกว่าทุนนิยมสีเขียวก็ว่าได้ ซึ่งเป็นหนังสืออีกสไตล์ที่ผมชอบมากโดยไม่รู้ตัว จนผมบังเอิญได้หนังสือเล่มนี้จากร้านหนังสือสำนักพิมพ์สมมติ ที่เป็น pop-up store เล็กๆตั้งอยู่เส้นกัลปพฤกษ์ บอกได้เลยว่าเป็นร้านที่ถ้าไม่ตั้งใจมาก็ยากที่จะเจอได้ หนังสือเล่มนี้เขียนขึ้นเมื่อสิบกว่าปีมาแล้ว แต่ก็ยังคงมีเนื้อหาแง่มุมที่น่าสนใจ เพราะเป็นเรื่องใกล้ตัวแต่กลับไม่เคยได้รู้จักมาซักเท่าไหร่เลย เช่น การประกันพืชผลบนดัชนีอากาศ ต้องบอกว่าได้ยินเรื่องนี้ก็จากหนังสือทุนนิยมที่มีหัวใจ ของคุณสฤณี ที่ได้ไปบรรยายให้มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนเมื่อสิบกว่าปีก่อนเหมือนกัน เป็นแนวคิดการทำประกัยภัยของชาวสวนไร่นาที่ฟังดูโลกาภิวัฒน์มาก จากเดิมการทำประกันพืชผลนั้นทำกันบนเรื่องของราคาขาย ว่าถ้าราคาในปีไหนตกต่ำกว่าที่ทำประกันไว้ ก็จะได้รับเงินชดเชย หลายครั้งเราเห็นบรรดาชาวสวนไร่นาเดินทางเข้าเมืองกรุงเพื่อมาเรียกร้องกระทรวงหรือนายกให้ช่วยรับประกันราคาพืชผลที่เพาะปลูกไว้ให้หน่อย พอได้ตามข้อเรียกร้องก็ยกกันกลับไป นี่คือเรื่องที่ผมได้ยินมาตั้งแต่สมัยเด็กก็ว่าได้ครับ คุณสฤณีให้มุมมองที่น่าสนใจว่า การรับประกันเรื่องราคาพืชผลนั้นอาจทำให้เกษตรกรไม่ยอมเปลี่ยนไปปลูกอย่างอื่นที่น่าจะดีกว่ากับสภาพผืนดินและอากาศในถิ่นของตัวเอง…