Winning with ideas จากหนึ่ง ถึงพันล้าน

สรุปหนังสือ Winning with ideas จากหนึ่ง ถึงพันล้าน เล่มนี้เขียนโดยคุณมาโนช พฤฒิสถาพร คนไทยผู้เคยมีประสบการณ์ทำงานในบริษัท Startup ระดับ Unicorn ที่อเมริกาอย่าง Credit Karma ที่มีมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์ที่ซานฟรานซิสโก ซึ่งเนื้อหาในเล่มจะพูดถึงบริษัทสตาร์ทอัพที่คนไทยคุ้นหูและไม่คุ้นหูคละเคล้ากัน แต่รับประกันได้เลยว่าอ่านแล้วมีแต่ความมันส์ในแบบที่ถ้าอ่านฉบับที่ฝรั่งเล่าก็ไม่อาจมันส์และสนุกเท่าเล่มนี้ได้ครับ เพราะคุณมาโนช เล่าถึงเรื่องราวที่ประสบพบเจอกับตัวเองครั้งไปสัมภาษณ์กับบริษัทสตาร์ทอัพชื่อดังอย่าง Amazon ไปจนถึงประสบการณ์การฝึกงานกับบริษัทสตาร์ทอัพอย่าง TripAdvisor จนมาถึงเป็นหนึ่งในพนักงานของบริษัท Credit Karma ที่คนไทยอาจไม่คุ้นแต่สำหรับคนที่โน่นนั้นปังมากครับ หนังสือเล่มนี้จึงเหมือนรวมเรื่องราวของบริษัทสตาร์ทอัพที่เล่าจากมุมมองของคนไทย ทำให้มีแง่มุมการวิเคราะห์ในบริบทของไทยใส่เข้าไปอย่างเช่นการอธิบายได้ว่าทำไม UberPool…

ONE PLUS ONE EQUALS THREE หนึ่งบวกหนึ่งเท่ากับสาม DAVE TROTT

สรุปหนังสือหนึ่งบวกหนึ่งเท่ากับสาม หรือ ONE PLUS ONE EQUALS THREE ของ DAVE TROTT เล่มนี้เป็นผู้เขียนคนเดียวกับหนังสือที่ชื่อว่า เกิดเป็นกระต่าย ต้องคิดให้ได้อย่างหมาป่า หรือ PREDATORY THINKNG หนังสือที่สอนเรื่อง Creativity หรือความคิดสร้างสรรค์ได้อย่างดีเยี่ยม ดังนั้นใครต้องการรู้ว่าความคิดสร้างสรรค์ที่จับต้องได้คืออะไร หรืออะไรบ้างที่นับว่าเป็นความคิดสร้างสรรค์ได้ ผมแนะนำให้ทุกคนควรได้อ่านหนังสือเล่มนี้ครับ ถ้าให้สรุปสั้นๆ หนังสือหนึ่งบวกหนึ่งเท่ากับสามเล่มนี้เป็นการพูดถึงความคิดสร้างสรรค์ผ่านเรื่องเล่าที่แยบคายและเฉียบคมเป็นบทสั้นๆ อ่านจบได้ไม่กี่หน้า แต่เชื่อมั้ยว่าพออ่านๆ ไปแม้บางบทจะเคยอ่านเนื้อหามาก่อนแล้ว แต่พอได้มาฟังแง่มุมใหม่ที่ถูกเล่าผ่านครีเอทีฟชื่อดังอย่าง Dave Trott…

ทำไมรถไฟเหาะของ USJ ถึงวิ่งถอยหลัง

สรุปหนังสือทำไมรถไฟเหาะของ USJ ถึงวิ่งถอยหลังเล่มนี้มีแง่คิดดีๆ สำหรับทุกคนโดยเฉพาะนักการตลาดหรือเจ้ของธุรกิจมากมาย แล้วถ้าใครไม่รู้ว่า USJ คืออะไร ผมจะบอกว่าคือตัวย่อของสวนสนุกที่ชื่อว่า Universal Studios Japan ครับ Universal Studios Japan คือสวนสนุกระดับโลกที่อยู่เมืองโอซากาประเทศญี่ปุ่น จะว่าไปประเทศนี้ก็มีความน่าอิจฉาตรงที่มีทั้งสวนสนุกอย่าง Tokyo Disneyland และก็ USJ นี่แหละครับ ยังไม่นับสวนสนุกขนาดใหญ่ที่ยังกระจายไปตามเมืองต่างๆ อย่าง Fiji Q Highland หรือที่อื่นๆ ที่ผมเองก็ไม่รู้เหมือนกัน กลับมาที่เนื้อหาสาระของหนังสือทำไมรถไฟเหาะของ…

HAPPY CITY เปลี่ยนโฉมชีวิตการออกแบบเมือง

ถ้าให้สรุปหนังสือ HAPPY CITY เปลี่ยนโฉมชีวิตการออกแบบเมือง เล่มนี้แบบสั้นๆ ก็คงบอกได้ว่าหลักใหญ่ใจความของเล่มนี้คือ เมืองที่มีความสุขคือเมืองที่ทำให้คนรู้สึกมีอิสระในการเข้าถึงทุกสิ่งที่ต้องการหรือจำเป็นในชีวิตประจำวันได้แบบง่ายๆ และที่ง่ายที่สุดของมนุษย์เราก็คือการเดิน ยิ่งเราสามารถเดินไปถึงสถานที่ๆ เราต้องการได้ง่ายมากเท่าไหร่ ชีวิตเราก็จะยิ่งมีความสุขเพราะความเรียบง่ายยิ่งกว่าการมีบ้านหลังใหญ่หรือรถคันโตมากเท่านั้น แต่ถ้าให้สรุปต่ออีกหน่อยให้ยาวขึ้นคือการที่เมืองๆ หนึ่งจะเป็นเมืองที่มีความสุขได้ ไม่ได้วัดจากแค่ความร่ำรวยของผู้คนที่อยู่อาศัยภายในเมือง แต่วัดจากการที่คนในเมืองสามารถเดินทางไปไหนมาไหนตามต้องการได้อย่างสะดวกสบายมากแค่ไหน เราสามารถเดินจากบ้านไปยังร้านอาหารที่เราชอบได้มั้ย เดินไปร้านขายของชำเพื่อซื้อของกินของใช้ที่ต้องการได้หรือเปล่า หรือเราสามารถเดินไปทำงานหรือปั่นจักรยานไปทำงานได้อย่างปลอดภัยมั้ย หรือเราสามารถได้พบปะผู้คนรอบตัว มีเพื่อนเป็นคนแปลกหน้า รู้จักกับเพื่อนบ้าน และสามารถสังสรรค์กับคนในละแวกบ้านได้บ้างหรือเปล่า ปัจจัยเล็กๆ น้อยๆ ทั้งหมดนี้ทำให้เรามีความสุขโดยไม่จำเป็นต้องร่ำรวย เพราะเราสามารถมีความสุขได้โดยไม่ต้องเปรียบเทียบกับใคร มันเป็นเรื่องที่เกิดอยู่ในใจเราเอง แต่ความร่ำรวยนั้นแตกต่างไป เราจะรวยได้ก็ต่อเมื่อคนอื่นจน ดังนั้นต่อให้นักการเมืองพยายามทำให้เราทุกคนรวยขึ้น…