Twilight of Democracy สนธยาประชาธิปไตย

สรุปหนังสือ Twilight of Democracy สนธยาประชาธิปไตย หนังสือที่ทำให้เข้าใจว่าทำไมคนดีๆ ถึงกลายเป็นเผด็จการ สำรวจแรงดึงดูดอันหอมหวานแห่งอำนาจนิยมที่ทำให้ปัญญาชนหัวก้าวหน้าทั่วโลกหวั่นไหว แปรพักตร์ และไม่มีวันยอมรับตัวเอง นี่คือหนังสือเล่มโปรดของ Barack Obama ในปี 2020 หนังสือเล่มนี้เล่าให้เราเห็นภาพว่าเหตุใดหลายประเทศในยุโรปจึงค่อยๆ ถูกดึงจากประชาธิปไตยไปเป็นเผด็จการมากขึ้น และเหตุใดบางกลุ่มคนจึงยอมรับในอำนาจนิยมโดยเต็มใจ ยอมที่จะละทิ้งอำนาจประชาธิปไตยในมือไปให้กับเผด็จการบางกลุ่มคน หนังสือเล่มนี้บอกให้รู้ว่าระบบการปกครองแบบราชาธิปไตยเดิมที่ถูกกุมอำนาจโดยบางกลุ่มคนไม่ได้หายไปตามกาลเวลา เพียงแค่รูปแบบของอำนาจถูกเปลี่ยนผ่านตามช่วงเวลากลายเป็นเผด็จการหรือประชาธิปไตยแบบกุมอำนาจเบ็ดเสร็จ เดิมทีราชาธิปไตยเดิมคือการกุมอำนาจเบ็ดเสร็จโดยคนบางกลุ่มหรือสกุลเท่านั้น แล้วก็เอาสายเลือดหรือพิธีกรรมต่างๆ มาเป็นตัวกีดกั้นกลุ่มใหม่ที่จะเข้าถึงอำนาจในมือได้ จากนั้นอำนาจแบบเบ็ดเสร็จก็ถูกเปลี่ยนผ่านในรูปแบบเผด็จการต่างๆ ปากอ้างว่าเพื่อคนส่วนมากแต่แท้จริงแล้วคือเพื่อพวกพ้องตัวเองที่จะได้เข้าถึงอำนาจและเป็นชนชั้นที่สูงกว่า (แค่ละทิ้งระบบสายเลือดออกไป) ระบบใหม่ที่เกิดหลังจากระบบราชาธิปไตยก็ล้วนแต่กำหนดข้อจำกัดบางอย่างในการเข้าถึงอำนาจการปกครอง ไม่ว่าจะด้วยเอาความรู้เฉพาะกลุ่มเป็นตัวกีดกั้น จึงทำให้น้อยคนนักสามารถเข้าถึงอำนาจที่ถูกอ้างว่าเพื่อประชาชนทุกคนจริงๆ…

Political Philosophy ปรัญชาการเมือง

ถ้าถามว่า ปรัชญการเมือง ต่างกับ การเมือง ปกติอย่างไร ผมคงสรุปหลังจากอ่านจบได้ว่า การเมืองโดยทั่วไปคือผลลัพธ์หรือวิธีการ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางการเมืองนั้น . เช่น นักการเมืองอาจมีเป้าหมายที่จะทำให้เศรษฐกิจดีขึ้น ด้วยการทำให้เกิดการจ้างงานเต็มอัตรา เอาง่ายๆก็คือทุกผู้ทุกคนมีงานทำนั่นเอง แต่ไม่ใช่แค่ทุกคนมีงานทำเท่านั้น เพราะนั่นอาจหมายถึงว่ามีอาชีพที่คนไม่ได้อยากทำ หรือไม่ตรงกับความรู้ความสามารถที่มี ทำให้ไม่สามารถทำงานออกมาได้เต็มที่ เช่น ถ้านักการเมืองสร้างงานในตำแหน่งเสมียน หรือพนักงานกวาดถนน (ที่เอ่ยถึงสองอาชีพนี้ไม่ได้ดูถูก แค่ยกเป็นตัวอย่างง่ายๆให้เห็นภาพเร็วๆ) ก็ไม่อาจบรรลุวัตถุประสงค์ที่แท้จริงได้ . นี่คือ การเมือง . ส่วนปรัชาการเมืองหมายถึงการคิด คิดไปยังความจริงแท้ของเป้าหมายทางการเมืองนั้น เช่น…

ปฏิวัติ 2.0 Revolution 2.0; The Power of the People Is Greater Than the People in Power

บทบันทึกเรื่องราวของคลื่นปฏิวัติเพื่อประชาธิปไตยในโลกอาหรับ (Arab Spring) ผ่านประสบการณ์ตรงของผู้จุดประกายการปฏิวัติผ่านโลกไซเบอร์ด้วยพลังของเฟซบุ๊ค เขียนโดย Wael Ghonim Wael Ghonim ชายชาวอียิปต์วัยกลางคนทำงานที่บริษัท Google ในตำแหน่งผู้อำนวยการด้านการตลาดของประเทศแถบภูมิภาคนั้น เป็นชายผู้ริเริ่มกระแสการเรียกร้องความยุติธรรมให้กับชายอียิปต์ผู้หนึ่งที่ตัวเองไม่เคยรู้จักมาก่อนที่ชื่อ คาเลด ซาอิดชายหนุ่มที่ถูกตำรวจความมั่นคงซ้อมจนตายและยัดข้อหาค้ายาให้ทั้งที่เป็นผู้บริสุทธิ์.. ..จากจุดเริ่มต้นนี้ทำให้ Wael Ghonim หลังจากได้เห็นภาพและเรื่องราวที่น่าสยองสมเพชกับสิ่งที่เกิดขึ้นกับเพื่อนร่วมชาตินี้กระตุ้นให้เค้าเริ่มสร้างเพจที่มีชื่อว่า “เราล้วนคือ คาเลด ซาอิด” ขึ้นมาเพื่อหาแนวร่วมเรียกร้องความยุติธรรมและความจริงที่ถูกตำรวจภายใต้รัฐบาลประชาธิปไตยเผด็จการของ มูบารัค ที่คอยใช้สื่อปกปิดหลอกลวงความจริงกับประชาชนตลอดกว่า 30 ปีที่เค้าปกครองประเทศมา.. ..การเรียกร้องความยุติธรรมเริ่มจากสร้างเพจเฟซบุ๊คเพื่อหาแนวร่วม ไปจนถึงการออกมาแสดงพลังเงียบในโลกจริงด้วยการร่วมกันใส่ชุดดำยืนนิ่งเงียบร่วมกันจนกลายเป็นกระแสที่ทั่วโลกต่างให้ความสนใจในช่วงปี 2010..…

Democracy: A very short introduction ประชาธิปไตย ความรู้ฉบับพกพา

ประชาธิปไตย…คำที่คุ้นเคยแต่ใครเอยจะรู้ว่า แท้จริงแล้วประชาธิปไตยที่เข้าใจกันมานั้นมีที่มาอย่างไร Democracy แรกเริ่มเดิมทีจากรากคำภาษากรีกโบราณ มาจากสองคำผสมกันระหว่างคำว่า Demos ที่หมายถึงประชาชน กับ Krator ที่หมายถึงการปกครอง เมื่อรวมกันแล้วก็หมายความว่า “การปกครองโดยประชาชน” ในยุคกรีกโบราณที่ประชาธิปไตยถือกำเนิดขึ้นนั้น อริสโตเติล ปราชญ์นักคิดชื่อดังผู้สนับสนุนประชาธิปไตยคนแรกๆกลับไม่ได้สนับสนุนประชาธิปไตยที่มี “การเลือกตั้ง” ในแบบที่เป็นอยู่ ในสมัยนั้นอริสโตเติลสนับสนุนให้ใช้การ “จับฉลาก” เลือกผู้ที่จะเข้ามาทำงานหรือตัดสินใจ เพราะอริสโตเติลรู้ว่าคนเรานั้นโลภและเขลาเกินกว่าที่คิด ทำให้ไม่มั่นใจว่าถ้าต้องโหวตกันก็จะมวลหมู่มากก็จะพ่ายแพ้ต่อปัญญา เหมือนที่มีคนกล่าวว่า “ความเขลาจะมีชัยเหนือปัญญา และปริมาณจะสำคัญกว่าความรู้” ว่าไปก็คือแนวคิดว่า “ประชานิยม” ในทุกวันนี้ ที่ผู้เขียนเชื่อว่าจะเป็นตัวการพาประชาธิปไตยไปสู่ความเสียหาย เพราะประชานิยมคือการที่พรรคต่างๆแข่งขันกันเอาใจประชาชนหมู่มาก…