Japan Success ธุรกิจสำเร็จได้ด้วยใจรัก

โดย พิชารัศมิ์ Marumura ถ่ายทอดเรื่องราวของการทำธุรกิจด้วยใจรักผ่าน 16 บริษัทที่ดีของญี่ปุ่น.. เมื่อพูดถึงคำว่า “ธุรกิจ” หรือ “บริษัท” คนส่วนใหญ่มักนึกถึงภาพองค์กรที่แสวงหาผลกำไร ซึ่งก็ไม่ผิดครับเพราะธุรกิจคือการหาเงินเข้ามาเพื่อหล่อเลี้ยงให้ธุรกิจเติบโตอยู่รอดได้ในการแข่งขันของตลาด เพียงแต่บริษัทส่วนใหญ่มักจะแสวงหากำไรไปในทางที่คิดถึงแต่ตัวเอง ไม่ได้คิดถึงสังคมคนรอบข้างหรือแม้แต่พนักงานด้วยซ้ำ ก็เลยทำให้ผมนึกถึงชาวบังกลาเทศคนนึงที่ชื่อ ยูนุส เค้าได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์จากการก่อตั้ง กรามีน หรือธนาคารจนคน และกลายเป็นต้นแบบของ “ธุรกิจเพื่อสังคม” ให้กับหลายๆประเทศทั่วโลก กลับมาที่ 16 บริษัทที่ดีของญี่ปุ่นนี้ มีทั้งบริษัทที่คุ้นหูและหลายบริษัทก็ไม่คุ้นเอาเสียเลย แต่พอได้อ่านดูก็จะพบเรื่องราวและแนวคิดที่น่าทึ่งเพราะทุกบริษัทเริ่มจากการคิดเพื่อผู้อื่นหรือสังคมคนรอบข้างก่อนจะมาสู่ผลกำไร เพราะบริษัทเหล่านี้มีแนวทางเดียวกันโดยไม่ได้นัดหมายว่า ถ้าสังคมอยู่ได้เราก็อยู่รอด ถ้าสังคมพัฒนาเราก็จะเจริญ..…

สงครามน้ำ Water Wars: Drought, Flood, Folly and the Politics of Thirst

“น้ำ” สิ่งสามัญธรรมดาไกล้ตัวที่สุด เห็นทุกวันแค่เปิดก๊อกก็เห็น จนเราเองก็ไม่เคยตั้งคำถามเหมือนกันว่า “น้ำ” ที่เราเห็นว่าไหลออกมาจากก๊อกนั้นมาจากไหน.. ในต่างจังหวัดเขตนอกตัวเมืองจริงๆเราจะเห็นน้ำที่เราใช้ได้ไม่ยากเย็นเลย เช่น ขับรถผ่านไปเห็นฝายน้ำ หรือเข้าไปในบ้านก็จะพบบ่อน้ำของบ้านแต่ละหลัง ที่มีปั๊มน้ำคอยสูบน้ำให้คนในบ้านใช้ ไหนจะตุ่มเก็บน้ำขนาดใหญ่ท่วมหัวที่คอยเก็บกักน้ำฝนเอาไว้ใช้ นั่นคือภาพน้ำของต่างจังหวัดนอกตัวเมืองที่เราเห็นที่มาของน้ำที่ใช้ได้อย่างง่าย แต่ในตัวเมืองที่วุ่นวายที่เราต้องเดินไปเปิดน้ำล้างมือ กดชักโครกชำระล้างล่ะ น้ำที่แสนธรรมดานั้นมาจากแหล่งกำเนิดที่แสนไกลและวุ่นวายมากกว่าที่เราคิด ในหนังสือแบ่งเป็น 8 บท สกัดกั้นทะเล, บาปของขนาด, ลุ่มน้ำนับพัน, แห้ง แห้งกว่า แห้งที่สุด, กลืนไม่เข้าคายไม่ออก, แม่น้ำเดือดดาล, สงคราม และ ภาวนาขอฝน…

ญี่ปุ่นเขาจัดร้านกันแบบนี้ไง The Anatomical Chart of Shop

หนังสือที่ว่าด้วยเรื่องของการจัดร้านแบบญี่ปุ่น ความจริงแล้วต้องบอกว่าการจัดร้านประเภทต่างๆจาก Know How แบบคนญี่ปุ่นโดยนักออกแบบชื่อดังมาถ่ายทอดให้เราพอได้มีความรู้พื้นฐานว่าการจะออกแบบร้านหรือจัดร้านต่างๆนั้นเค้าคิดยังไงกันบ้าง.. ..ในเล่มจะแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ 1 เคล็ดลับของร้านน่านั่ง เริ่มต้นด้วยร้านประเภทต่างๆ เช่น ร้านกาแฟ ร้านขนมหวาน ร้านพิซซ่า ร้านเหล้า ร้านปิ้งย่าง หรือร้านสะดวกซื้อ ในแต่ละร้านก็จะมีความต้องการของกลุ่มคนที่เข้ามาใช้บริการอยู่เบื้องหลัง เช่น ร้านกาแฟคนต้องการความคล้ายบ้านแต่พิเศษกว่าบ้าน ต้องการพื้นที่ส่วนตัวแต่ก็ยังต้องมีพื้นที่ส่วนรวมอยู่ในร้านเดียวกัน.. ..ส่วนที่ 2 ขนาดของห้องที่ชวนให้อยากอยู่ตลอดเวลา หรือจะบอกว่า แต่ละห้องของแต่ละร้านนั้นควรมีสัดส่วนแต่ละส่วนอยู่ที่เท่าไหร่ โตีะสำหรับวางคอมทำงานอาจมีความลึกแค่ 50cm และแต่ละคนอยู่ห่างกันแค่…