เศรษฐศาสตร์มีจริต

ดร. วิรไท สันติประภพ, นักเศรษฐศาสตร์พเนจร เป็นหนังสือที่เล่าเรื่องเศรษฐศาสตร์อีกเล่มที่อ่านเข้าใจได้ไม่ยาก และก็ทำให้เข้าใจภาพความจริงของเศรษฐกิจบ้านเมืองเราในช่วงก่อนยุค คสช ได้มากพอควร และพออ่านจบก็เลยเพิ่งรู้ว่าผมมีหนังสือของนักเขียนคนนี้อยู่อีกเล่มแต่ยังไม่ได้อ่าน คือ “ประชานิยม: ทางสู่ความหายนะ” เป็นเล่มที่ได้จากงานหนังสือเมื่อต้นปี 2560 แต่เล่มนี้เพิ่งได้มาจากงานหนังสือเมื่อปลายปีเดียวกันแต่ดันอ่านจบก่อนซะงั้น เนื้อหาหลักๆของเล่มผมว่าแบ่งเป็นสองส่วน คือ “ประชานิยม” กับ “ทุนนิยม” (ความจริงในเล่มมีเนื้อหาหลายหัวข้อ อันนี้ผมขอสรุปจากความรู้สึกส่วนตัวของผมนะครับ) “ประชานิยม” กลายเป็นสิ่งที่คนไทยถูกพรรคการเมืองและรัฐบาลตั้งแต่ยุคทักษิณมอบให้ เสมือนขนมเค้กที่ปราศจากคำเตือนถึงอันตรายของโรคต่างๆที่จะตามมา เพราะทุกครั้งที่ไม่ว่าจะรัฐบาลหรือพรรคการเมืองใดๆก็ตามต้องการคะแนนนิยมจากประชาชน ก็จะหยิบเอานโยบายประชานิยมต่างๆขึ้นมาหาเสียง ไม่ว่าจะรถไฟฟ้า 20บาททุกสายทุกเส้น(จนวันนี้บินหนีไปไหนแล้วก็ไม่รู้) ไปจนถึงจำนำข้าวทุกเมล็ด…

The Worlds is Round ล่องคลื่นโลกาภิวัฒน์ 1

หนังสือเล่มนี้เขียนโดยคุณสฤณี อาชวานันทกุล นักเขียนและนักแปลใจดวงใจ เพราะห้องหนังสือบ้านผมมีหนังสือของเค้าคนนี้เยอะมากครับ คุณสฤณีชอบเขียนหรือแปลหนังสือแนวระบบเศรษฐกิจแบบรักษ์โลก หรือจะเรียกว่าทุนนิยมสีเขียวก็ว่าได้ ซึ่งเป็นหนังสืออีกสไตล์ที่ผมชอบมากโดยไม่รู้ตัว จนผมบังเอิญได้หนังสือเล่มนี้จากร้านหนังสือสำนักพิมพ์สมมติ ที่เป็น pop-up store เล็กๆตั้งอยู่เส้นกัลปพฤกษ์ บอกได้เลยว่าเป็นร้านที่ถ้าไม่ตั้งใจมาก็ยากที่จะเจอได้ หนังสือเล่มนี้เขียนขึ้นเมื่อสิบกว่าปีมาแล้ว แต่ก็ยังคงมีเนื้อหาแง่มุมที่น่าสนใจ เพราะเป็นเรื่องใกล้ตัวแต่กลับไม่เคยได้รู้จักมาซักเท่าไหร่เลย เช่น การประกันพืชผลบนดัชนีอากาศ ต้องบอกว่าได้ยินเรื่องนี้ก็จากหนังสือทุนนิยมที่มีหัวใจ ของคุณสฤณี ที่ได้ไปบรรยายให้มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนเมื่อสิบกว่าปีก่อนเหมือนกัน เป็นแนวคิดการทำประกัยภัยของชาวสวนไร่นาที่ฟังดูโลกาภิวัฒน์มาก จากเดิมการทำประกันพืชผลนั้นทำกันบนเรื่องของราคาขาย ว่าถ้าราคาในปีไหนตกต่ำกว่าที่ทำประกันไว้ ก็จะได้รับเงินชดเชย หลายครั้งเราเห็นบรรดาชาวสวนไร่นาเดินทางเข้าเมืองกรุงเพื่อมาเรียกร้องกระทรวงหรือนายกให้ช่วยรับประกันราคาพืชผลที่เพาะปลูกไว้ให้หน่อย พอได้ตามข้อเรียกร้องก็ยกกันกลับไป นี่คือเรื่องที่ผมได้ยินมาตั้งแต่สมัยเด็กก็ว่าได้ครับ คุณสฤณีให้มุมมองที่น่าสนใจว่า การรับประกันเรื่องราคาพืชผลนั้นอาจทำให้เกษตรกรไม่ยอมเปลี่ยนไปปลูกอย่างอื่นที่น่าจะดีกว่ากับสภาพผืนดินและอากาศในถิ่นของตัวเอง…

ทุนนิยมที่มีหัวใจ ทางเลือกใหม่แห่งการพัฒนา

หนังสือเล่มนี้ค่อนข้างแปลกในความคิดผม เพราะเป็นหนังสือที่เอาคำพูดที่คุณ สฤณี อาชวานันทกุล ที่ไปบรรยายให้กับมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนในเรื่องของ “ทางรอดทุนนิยม: สังคมแห่งความร่วมมือ” ในวันนั้น พร้อมกับสิ่งที่ผู้บรรยายและผู้ฟังในวันนั้นได้ถกเถียงกันให้กลายเป็นหนังสือเล่มนี้ ดังนั้นหนังสือเล่มนี้เลยให้อารมณ์เหมือนได้ฟังเลคเชอร์ร่วมกับผู้ฟังคนอื่นๆ ขาดก็แต่ไม่ได้ร่วมถกเถียงความคิดที่แวบขึ้นมาในหัวด้วยเท่านั้น “ทุนนิยม” กลายเป็นระบบทางเศรษฐกิจยอดนิยมอันดับหนึ่งของโลกในวันนี้ แม้แต่คอมมิวนิสต์ก็ยังยอมที่จะเป็นทุนนิยม จีนก็เป็นหนึ่งในทุนนิยมที่เติบโตเร็วที่สุดในโลกต่อเนื่องมากว่า 30 ปี นับแต่เปิดประเทศรับทุนเข้ามาและปล่อยให้ทุนไปตามความนิยมของเจ้าของทุนมากขึ้น แต่เมื่อเศรษฐกิจโตมากขึ้นเรื่อยๆ เราก็ไม่ค่อยแน่ใจว่า “ทุนนิยมในปัจจุบัน” หรือ “ทุนนิยมแบบตลาดเสรี” นั้นจะดีต่อเราและโลกจริงหรือ เพราะในขณะที่เศรษฐกิจในหลายประเทศโตวันโตคืน แต่กับทรัพยากรและธรรมชาตินั้นกลับร่อยหรอลงทุกทีๆ จนวันนี้ธรรมชาติเริ่มกลับมาเอาคืนมนุษย์เรามากขึ้นผ่านภัยธรรมชาติทั้งหลายที่เราก็ยังรับมือไม่ค่อยไหว เพราะแนวทางของทุนนิยมทุกวันนี้นั้นคือการแข่งกันลงเหว หรือที่เรียกว่า Race…