Privacy: A Very Short Introduction ความเป็นส่วนตัว ความรู้ฉบับพกพา

ความเป็นส่วนตัวที่เป็นคดีความครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อร้อยกว่าปีก่อนในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 เป็นคดีความฟ้องร้องระหว่างเจ้าชายอัลเบิร์ทและควีนวิคตอเรีย กับชายชาวธรรมดาสามัญชน ที่นำภาพพิมพ์ส่วนตัวของทั้งสองพระองค์ไปเผยแพร่สู่สาธารณะ ทั้งสองจึงฟ้องศาลเป็นคดีความแรกของโลกที่พูดถึงเรื่อง “ความเป็นส่วนตัว” นับเป็นจุดเริ่มต้นจากนั้นเป็นต้นมา ในสหรัฐอเมริกานั้นมาตรฐานความเป็นส่วนตัวถือว่าต่ำกว่ายุโรบมากจนเทียบกันไม่ได้ การเก็บข้อมูลส่วนตัวและส่วนบุคคลของบริษัทเอกชนหรือรัฐนั้นแทบจะเป็นอิสระสะดวกสบายโดยไม่ต้องรับผิดชอบความเสียหายของบุคคลที่จะตามมาเลย ความเป็นส่วตัวเริ่มเสียหายอย่างเป็นจริงจังก็ตอนที่โกดักเองทำกล้องกระดาษที่ใครๆก็สามารถหาซื้อมาถ่ายกันได้ง่ายๆ นั่นเองที่ทำให้กำแพงความเป็นส่วนตัวหายไป ความเป็นส่วนตัวและความเป็นเสรีในการแสดงความคิดเห็นนั้นมีแง่มุมที่ขัดแย้งกันมานาน การพูดการแสดงออกคือเสรีภาพ แต่ถ้าเสรีภาพของการแสดงออกเป็นการไปกระทบความเป็นส่วนตัวของผู้อื่นจะยังนับเป็นการแสดงออกอย่างเสรีที่ไม่ควรถูกขัดขวางงั้นหรอ ครั้งนึงคนดังอย่าง เซลีนา วิลเลียม เคยถูกช่างภาพนักข่าวแอบถ่ายภาพเธอขนะกลับจากกลุ่มบำบัดยาเสพย์ติด เธอฟ้องช่างภาพและหนังสือพิมพ์นั้นในการละเมิดความเป็นส่วนตัวของเธอ และเธอปฏิเสธว่าเธอไม่ได้เข้าร่วมกลุ่มบำบัดยาเสพย์ติด ผลปรากฏว่าศาลตัดสินให้ยกฟ้องไม่เอาผิดสื่อ เพราะเธอโกหกความจริงที่ปรากฏสื่อในฐานะผู้ตีแผ่ความจริงให้สังคมรับรู้ นี่เป็นแค่เสี้ยวเดียวของความเป็นส่วนตัวที่พิกลพิการในทางกฏหมายในสังคมที่พัฒนาแล้วอย่างอังกฤษ ไม่ต้องพูดถึงบ้านเรา ข้อมูลของเราก็คือความเป็นส่วนตัวที่สำคัญมากอย่างนึง ทุกอย่างที่ถูกบันทึกไว้เป็นการสูญเสียความเป็นส่วนตัวเราไปเรื่อยๆทั้งนั้น เฟซบุ๊คที่โพส ภาพที่อัพ ที่ๆเช็คอิน…

The Filter Bubble ยิ่งหา ยิ่งหาย

สรุปหนังสือ The Filter Bubble ยิ่งหา ยิ่งหาย เป็นเรื่องระหว่างความเป็นส่วนตัวและการสร้างความเฉพาะตัว ซึ่งจะกลายเป็นปัญหาที่สำคัญมากและจะเห็นภาพชัดขึ้นในไม่กี่ปีข้างหน้านี้ นึกง่ายๆถึงโพสนึงที่เป็นกระแสกันเมื่อไม่กี่วันก่อน..ที่เราจะเห็นหน้าเฟซบุ๊คว่ามีเพื่อนเราหลายคนก๊อปปี้ข้อความต่อๆกันมาโพสยืดยาวแล้วเราก็ทนอ่านจนจบที่มีใจความว่า “เราไม่อนุญาตให้เฟซบุ๊คเอารูปภาพและข้อมูลส่วนตัวของเราไปใช้นะเราขอประกาศ บลา บลา บลา” แต่โพสเหล่านั้นไม่ได้มีผลเลย เพราะทุกคนที่เล่นเฟซบุ๊คคือคนที่ยอมสูญเสียความเป็นส่วนตัวทั้งหมดไปแล้วตั้งแต่ตอนสมัครสมาชิก ไม่ใช่แค่เฟซบุ๊คเท่านั้น แต่แทบทุกบริการที่ออนไลน์ทั้งหมดก็ทำแบบเดียวกัน นั่นคือเข้าถึอข้อมูลส่วนตัวของคุณแม้ว่าคุณจะไม่ตั้งใจ เหตุผลส่วนนึงเพราะมันเป็นการสร้างความสะดวกสบายให้คุณ สร้างความเป็นเฉพาะตัวที่เป็นคุณให้คุณ ทำให้คุณเห็นโฆษณาที่ไกล้กับความเป็นคุณหรือสิ่งที่คุณจะหามากขึ้น ง่ายขึ้น หรืออาจนิยามด้วย 2 ศัพท์ง่ายๆนั่นคือ customize และ personalize แค่คลิ๊กแค่เล่นก็รู้แล้วว่าเป็นคุณ และคุณต้องการอะไร…