ONE MILLION ปัญหาหนึ่งถึงร้อยหมื่น

สรุปหนังสือ ONE MILLION ปัญหาหนึ่งถึงร้อยหมื่น ว่าด้วยเรื่องของผลกระทบที่ยิ่งใหญ่ มักก่อกำเนิดมาจากจุดเล็กๆเพียงแค่หนึ่ง และจาก 1 ผลลัพธ์อาจมาจากความพยายามนับล้านครั้ง ใครจะเชื่อว่าหนังสือหนึ่งเล่มนี้ จะสามารถร้อยเรียงเรื่องราวประวัติศาสตร์มากมายในโลกเอาไว้ได้อย่าแยบคายไม่น่าเชื่อ ด้วยการใช้ถ้วยคำที่สละสลวยอย่างไม่น่าเชื่อเช่นกัน จนผมแทบจะคิดว่านี่คือหนังสือที่เล่าด้วยสัมผัสแบบกาพย์กลอนอย่างน่าทึ่ง แทบทุกหน้านั้นมีข้อคิด และแทบทุกวรรคนั้นมีคำคม ถ้ามีปากกาไฮไลท์อยู่ใกล้มือ คงต้องหมดไปหลายด้ามแน่ๆ เรื่องในเล่มเริ่มที่กระสุนหนึ่งนัด จากกระสุนหนึ่งนัด ทำให้เกิดห่ากระสุนนับล้านๆนัดตามมา นี่คือต้นกำเนิดของสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เมื่อครั้งที่ Archuduke Franz Ferdinand หรือ อาร์ชดยุคฟรันซ์ แฟร์ดินันด์ องค์รัชทายาทของราชวงศ์ฮับสบูรก์ เสด็จฯ…

The Internet of Things อินเตอร์เน็ตแห่งสรรพสิ่ง

เขียนโดย Samuel Greengard แปลโดย ทีปกร วุฒิพิทยามงคล สำนักพิมพ์ openworlds สำหรับคนทำงานเกี่ยวกับดิจิทัล อินเทอร์เน็ต และเทคโนโลยี คำว่า internet of things หรือที่เราเรียกกันย่อๆว่า IoT นั้นคงเป็นอะไรที่คุ้นเคยและคิดว่ารู้จักกันดี แต่พอได้อ่านหนังสือเล่มนี้ ผมก็เหมือนได้เปิดโลกรู้จักความหมายของ Internet of things อีกหลายเรื่องหลากแง่มุมที่ผมไม่เคยรู้มาก่อนเลย หนังสือ The Internet of Things เล่มนี้เล่าย้อนกลับไปตั้งแต่ในยุคแรกเริ่มที่อินเทอร์เน็ตถือกำเนิด…

จากหลากหลายกลายเป็นหนึ่ง One From Many

เป็นหนังสือที่เขียนโดยผู้ก่อตั้งบริษัท VISA ที่ผมเชื่อได้ว่าแทบทุกคนบนโลกคุ้นเคย เพราะอย่างน้อยตอนเราทำบัตร ATM ครั้งแรกเราก็ต้องเลือกแล้วว่าจะใช้ VISA หรือ MasterCard ไหนจะตอนที่เราเริ่มทำงานมีรายได้แล้วอยากทำบัตรเครดิตครั้งแรกก็ต้องเลือกอีกเช่นกัน.. ..บริษัท VISA เกิดขึ้นมาจากความวุ่นวายของแบงค์ออฟอเมริกา อยากทำผลิตภัณฑ์ใหม่เป็นบัตรเครดิตครั้งแรกในชื่อของ อเมริการ์ด ที่ให้บริการสินเชื่อเงินสดทันใจแทนที่ดราฟเช็คเงินสดในสมัยก่อน ถ้าเราจำกันได้เวลาดูหนังฮอลลีวูดที่เก่าหรือย้อนยุคไปหน่อยซัก 40-60 ปีก่อน จะเห็นว่าตัวละครจะเขียนเช็คแทนการจ่ายด้วยเงินกัน นั่นแหละคือความยุ่งยากที่ก่อกำเนิดบัตรเครดิตเป็นครั้งแรกขึ้น.. ..แต่หลังจากเกิดขึ้นก็กลับก่อให้เกิดปัญหาวุ่นวายตามมามากมาย เพราะระบบที่ไม่ดีพอที่จะรองรับการเติบโตมหาศาลได้ และสมัยก่อนการจ่ายเงินยังไม่ทันใจในเสี้ยววินาทีที่แค่เซ็นลงบนสลิปแล้วจบ เพราะทางร้านค้าจะต้องรับบัตรแล้วก็โทรตรวจสอบไปยังธนาคารผู้ออกบัตร ส่วนธนาคารผู้ออกบัตรก็จะบอกให้ร้านค้ารอซักครู่แล้วทางธนาคารผู้ออกบัตรก็จะโทรไปยังสำนักงานใหญ่แบงค์ออฟอเมริกาเพื่อถามว่าจะอนุมัติหรือไม่ ถ้าวงเงินสูงก็ต้องใช้เวลารอการอนุมัติอีกราวๆสองอาทิตย์ และจากการโทรกันหลายทอดก็กลายเป็นค่าใช้จ่ายสะสมมหาศาลจากค่าโทรศัพท์ทางไกลมากมายหลายร้อยล้านดอลลาห์ในสมัยนั้น.. ..Dee Hock…

Privacy: A Very Short Introduction ความเป็นส่วนตัว ความรู้ฉบับพกพา

ความเป็นส่วนตัวที่เป็นคดีความครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อร้อยกว่าปีก่อนในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 เป็นคดีความฟ้องร้องระหว่างเจ้าชายอัลเบิร์ทและควีนวิคตอเรีย กับชายชาวธรรมดาสามัญชน ที่นำภาพพิมพ์ส่วนตัวของทั้งสองพระองค์ไปเผยแพร่สู่สาธารณะ ทั้งสองจึงฟ้องศาลเป็นคดีความแรกของโลกที่พูดถึงเรื่อง “ความเป็นส่วนตัว” นับเป็นจุดเริ่มต้นจากนั้นเป็นต้นมา ในสหรัฐอเมริกานั้นมาตรฐานความเป็นส่วนตัวถือว่าต่ำกว่ายุโรบมากจนเทียบกันไม่ได้ การเก็บข้อมูลส่วนตัวและส่วนบุคคลของบริษัทเอกชนหรือรัฐนั้นแทบจะเป็นอิสระสะดวกสบายโดยไม่ต้องรับผิดชอบความเสียหายของบุคคลที่จะตามมาเลย ความเป็นส่วตัวเริ่มเสียหายอย่างเป็นจริงจังก็ตอนที่โกดักเองทำกล้องกระดาษที่ใครๆก็สามารถหาซื้อมาถ่ายกันได้ง่ายๆ นั่นเองที่ทำให้กำแพงความเป็นส่วนตัวหายไป ความเป็นส่วนตัวและความเป็นเสรีในการแสดงความคิดเห็นนั้นมีแง่มุมที่ขัดแย้งกันมานาน การพูดการแสดงออกคือเสรีภาพ แต่ถ้าเสรีภาพของการแสดงออกเป็นการไปกระทบความเป็นส่วนตัวของผู้อื่นจะยังนับเป็นการแสดงออกอย่างเสรีที่ไม่ควรถูกขัดขวางงั้นหรอ ครั้งนึงคนดังอย่าง เซลีนา วิลเลียม เคยถูกช่างภาพนักข่าวแอบถ่ายภาพเธอขนะกลับจากกลุ่มบำบัดยาเสพย์ติด เธอฟ้องช่างภาพและหนังสือพิมพ์นั้นในการละเมิดความเป็นส่วนตัวของเธอ และเธอปฏิเสธว่าเธอไม่ได้เข้าร่วมกลุ่มบำบัดยาเสพย์ติด ผลปรากฏว่าศาลตัดสินให้ยกฟ้องไม่เอาผิดสื่อ เพราะเธอโกหกความจริงที่ปรากฏสื่อในฐานะผู้ตีแผ่ความจริงให้สังคมรับรู้ นี่เป็นแค่เสี้ยวเดียวของความเป็นส่วนตัวที่พิกลพิการในทางกฏหมายในสังคมที่พัฒนาแล้วอย่างอังกฤษ ไม่ต้องพูดถึงบ้านเรา ข้อมูลของเราก็คือความเป็นส่วนตัวที่สำคัญมากอย่างนึง ทุกอย่างที่ถูกบันทึกไว้เป็นการสูญเสียความเป็นส่วนตัวเราไปเรื่อยๆทั้งนั้น เฟซบุ๊คที่โพส ภาพที่อัพ ที่ๆเช็คอิน…

ภูมิรัฐศาสตร์ Geopolitics: A Very Short Introduction

เป็นหนึ่งในหนังสืออีกเล่มที่ได้มาจากงานหนังสือเมื่อนานพอสมควร (จำไม่ได้ว่าหนึ่งหรือสองปีแล้ว) หลังจากช่วงนี้ได้หยิบหนังสือแนวการเมืองการปกครอง และหนังสือในชุด “ความรู้ฉบับพกพา” ของสำนักพิมพ์ Openworlds มาอ่านหลายเล่ม ก็เลยเกิดการอยากอ่านต่อเนื่องไปเรื่อยๆเพื่อเพิ่มความรู้เรื่องการเมืองการปกครองไว้ประดับสมองกับเค้าบ้าง ภูมิรัฐศาสตร์ หมายถึงอะไร สารภาพตรงๆอ่านจนจบแล้วผมก็ยังไม่มีคำสรุปนิยามที่สั้นตรงใจจนสามารถเขียนออกมาได้ แต่ในความรู้สึกผมหลังอ่านจบผมรู้สึกว่าคำนี้เหมือนกับการนิยามให้กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ตั้งแต่แผนที่ กลุ่มชาติพันธุ์ ภาพยนต์ หรือแม้แต่ของเล่น กลายเป็นตัวแทนทางการเมืองได้ หรือแม้แต่สามารถปลูกฝังแนวคิดผ่านสิ่งเหล่านี้ได้อย่างน่าทึ่งปนน่ากลัว ถ้าถูกนำไปชักจูงใช้ในทางที่ผิด อารมณ์คล้ายๆ Propaganda อย่างไงอย่างงั้น เช่น หลังจากเหตุการณ์การก่อการร้ายที่ตึกแฝดในนิวยอร์ก ชาวตะวันออกกลาง หรืออิสลาม ก็กลายเป็นภาพแทนของกลุ่มผู้ที่น่ากลัวของสังคม หรือเป็นเป้าหมายให้คนผิวขาวทั่วไปต้องเฝ้าจับตามอง หรือการฉายภาพว่าประเทศแถบตะวันออกกลางเหล่านั้นคือแหล่งซ่องซุมของกองกำลังก่อการร้ายก็ว่าได้…

Democracy: A very short introduction ประชาธิปไตย ความรู้ฉบับพกพา

ประชาธิปไตย…คำที่คุ้นเคยแต่ใครเอยจะรู้ว่า แท้จริงแล้วประชาธิปไตยที่เข้าใจกันมานั้นมีที่มาอย่างไร Democracy แรกเริ่มเดิมทีจากรากคำภาษากรีกโบราณ มาจากสองคำผสมกันระหว่างคำว่า Demos ที่หมายถึงประชาชน กับ Krator ที่หมายถึงการปกครอง เมื่อรวมกันแล้วก็หมายความว่า “การปกครองโดยประชาชน” ในยุคกรีกโบราณที่ประชาธิปไตยถือกำเนิดขึ้นนั้น อริสโตเติล ปราชญ์นักคิดชื่อดังผู้สนับสนุนประชาธิปไตยคนแรกๆกลับไม่ได้สนับสนุนประชาธิปไตยที่มี “การเลือกตั้ง” ในแบบที่เป็นอยู่ ในสมัยนั้นอริสโตเติลสนับสนุนให้ใช้การ “จับฉลาก” เลือกผู้ที่จะเข้ามาทำงานหรือตัดสินใจ เพราะอริสโตเติลรู้ว่าคนเรานั้นโลภและเขลาเกินกว่าที่คิด ทำให้ไม่มั่นใจว่าถ้าต้องโหวตกันก็จะมวลหมู่มากก็จะพ่ายแพ้ต่อปัญญา เหมือนที่มีคนกล่าวว่า “ความเขลาจะมีชัยเหนือปัญญา และปริมาณจะสำคัญกว่าความรู้” ว่าไปก็คือแนวคิดว่า “ประชานิยม” ในทุกวันนี้ ที่ผู้เขียนเชื่อว่าจะเป็นตัวการพาประชาธิปไตยไปสู่ความเสียหาย เพราะประชานิยมคือการที่พรรคต่างๆแข่งขันกันเอาใจประชาชนหมู่มาก…