สรุปหนังสือ Makoto Marketing หลักสูตรการตลาดจริงใจสไตล์ญี่ปุ่น

สรุปหนังสือ Makoto Marketing หลักสูตรการตลาดจริงใจสไตล์ญี่ปุ่น เขียนโดย ดร.กฤตินี พงษ์ธนเลิศ หรืออาจารย์เกตุวดี Marumura ผู้ที่เขียนหนังสือการตลาดสไตล์ญี่ปุ่นขายดีมาหลายต่อหลายเล่มนั่นเองครับ ถ้าให้สรุปสั้นๆ ผมว่าชื่อหนังสือภาษาไทยเล่มนี้ สรุปแก่นของเนื้อหาทั้งเล่มได้ชัดมาก แต่ถ้าถามถึงประโยควรรคทองวรรคหนึ่งที่ผมชอบมากจากหนังสือเล่มนี้คือ ทำให้ลูกค้า 1 คนซื้อ 100 ครั้ง ดีกว่าลูกค้า 100 คนซื้อครั้งเดียว Makoto Marketing ผมชอบประโยคนี้ที่สุดเลยครับ มันย้ำให้เห็นแก่นของการตลาดที่ดี การใส่ใจลูกค้าเป็นอันดับหนึ่ง ส่วนจะใช้เทคโนโลยีแบบไหนนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง เพราะจากประสบการณ์ผมพบว่าต่อให้ทุ่มงบกับเทคโนโลยีล้ำขนาดไหน แต่ถ้าระบบการทำงานข้างใน…

ริเน็น สร้างธุรกิจ 100 ปี ด้วยหลักคิดแบบญี่ปุ่น

ริเน็น สร้างธุรกิจ 100 ปี ด้วยหลักคิดแบบญี่ปุ่น เล่มนี้ทำให้ผมคิดถึงคำสั้นๆ ที่เรียกว่า Strategy หรือ กลยุทธ์ เพราะระหว่างอ่านหนังสือริเน็น สร้างธุรกิจ 100 ปี เล่มนี้ก็ทำให้เห็นว่าธุรกิจที่อยู่ยืนยาวได้ถึงร้อยปี หรือบางธุรกิจในญี่ปุ่นอยู่มานานกว่าพันปีแล้วนั้นสามารถฟันฝ่าวิกฤตทั้งหมดได้ก็ด้วยคำว่า กลยุทธ์ หรือ Strategy นั่นเองครับ เพราะธุรกิจเหล่านี้ชัดเจนกับการเลือกของตัวเองว่าตัวเองทำธุรกิจไปเพื่ออะไร และด้วยความชัดเจนนั้นเองก็เป็นเสมือนเข็มทิศนำทางทุกการตัดสินใจว่าเราจะพาธุรกิจไปทางไหนถึงจะตอบกลยุทธ์เรานั่นเอง หนังสือเล่มนี้แบ่งบริษัทส่วนใหญ่ในโลกออกเป็นสองประเภทคือ ต้นไผ่ กับ ต้นสน ชื่อเรียกอาจฟังดูไม่ต้องเพราะต่างก็เป็นต้นไม้เหมือนกัน แต่พอได้อ่านต่ออีกหน่อยจะเข้าใจได้ไม่ยากว่า ธุรกิจแบบต้นไผ่คือธุรกิจที่เน้นการเติบโตระยะสั้น เอาเป็นว่าได้ประมาณสัก…

Japan Success ธุรกิจสำเร็จได้ด้วยใจรัก

โดย พิชารัศมิ์ Marumura ถ่ายทอดเรื่องราวของการทำธุรกิจด้วยใจรักผ่าน 16 บริษัทที่ดีของญี่ปุ่น.. เมื่อพูดถึงคำว่า “ธุรกิจ” หรือ “บริษัท” คนส่วนใหญ่มักนึกถึงภาพองค์กรที่แสวงหาผลกำไร ซึ่งก็ไม่ผิดครับเพราะธุรกิจคือการหาเงินเข้ามาเพื่อหล่อเลี้ยงให้ธุรกิจเติบโตอยู่รอดได้ในการแข่งขันของตลาด เพียงแต่บริษัทส่วนใหญ่มักจะแสวงหากำไรไปในทางที่คิดถึงแต่ตัวเอง ไม่ได้คิดถึงสังคมคนรอบข้างหรือแม้แต่พนักงานด้วยซ้ำ ก็เลยทำให้ผมนึกถึงชาวบังกลาเทศคนนึงที่ชื่อ ยูนุส เค้าได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์จากการก่อตั้ง กรามีน หรือธนาคารจนคน และกลายเป็นต้นแบบของ “ธุรกิจเพื่อสังคม” ให้กับหลายๆประเทศทั่วโลก กลับมาที่ 16 บริษัทที่ดีของญี่ปุ่นนี้ มีทั้งบริษัทที่คุ้นหูและหลายบริษัทก็ไม่คุ้นเอาเสียเลย แต่พอได้อ่านดูก็จะพบเรื่องราวและแนวคิดที่น่าทึ่งเพราะทุกบริษัทเริ่มจากการคิดเพื่อผู้อื่นหรือสังคมคนรอบข้างก่อนจะมาสู่ผลกำไร เพราะบริษัทเหล่านี้มีแนวทางเดียวกันโดยไม่ได้นัดหมายว่า ถ้าสังคมอยู่ได้เราก็อยู่รอด ถ้าสังคมพัฒนาเราก็จะเจริญ..…