ทางรอดในโลกใบใหม่ แห่งการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่สี่, Shaping the Fourth Industrial Revolution

จากหนังสือการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ก่อนหน้าที่เคยอ่านไป ที่บอกให้รู้ว่าการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่สี่คืออะไร ก็คือการปฏิวัติด้วย Big Data, Machine Learning และ AI ที่มีพื้นฐานมาจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 3 หรือการปฏิวัติดิจิทัล มาคราวนี้ Klaus Schwab ออกมาเขียนหนังสือเล่มต่อเพื่อบอกให้รู้ว่า ถ้าอยากจะรอดให้ได้ต้องทำตัวอย่างไร ในวันนี้มนุษย์ส่วนใหญ่อาจถูกเทคโนโลยีที่สร้างมากดขี่หรือทำลายล้างเราไปโดยไม่รู้ตัว และไม่ใช่แค่เราเท่านั้นที่ต้องปรับตัว แต่ผู้เขียนยังบอกว่าสิ่งสำคัญคือทั้งสังคมและโดยเฉพาะภาครัฐยิ่งต้องปรับตัว เพราะไม่อย่างนั้นแล้วคุณค่าของมนุษย์จะถูกเทคโนโลยีที่สามารถทดแทนได้เข้ามาล้มล้างเราไปหมด หรือเทคโนโลยีที่ทรงพลังไม่น่าเชื่อจะกลายเป็นเครื่องมือของผู้ทรงอำนาจกลุ่มเล็กๆ ที่จะยิ่งใช้กดขี่คนส่วนมากให้ไม่ได้ลืมตาอ้าปากยิ่งกว่าเดิม แง่คิดหนึ่งในเล่มที่น่าสนใจที่ผู้เขียนบอกว่า เรามักอ้างว่าเทคโนโลยีก็เหมือนดาบสองคม เหมือนเหรียญสองด้าน หรือก็เป็นแค่เครื่องมือที่ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของผู้ใช้ เช่น…

การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4, The Fourth Industrial Revolution

เป็นหนังสือที่ให้ภาพรวมแนวกว้างรวมกับข้อมูลเชิงลึกว่า โลกในวันพรุ่งนี้หลายปีข้างหน้าจะไปในทิศทางไหน ด้วยผลของการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 จากอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงไร้สายที่สามารถให้อุปกรณ์รอบตัวที่มีเซนเซอร์รับข้อมูลรอบด้าน เอาข้อมูลทั้งหมดไปวิเคราะห์ด้วยความเร็วไม่ว่าจะด้วย ai หรือ machine learning ที่จะเปลี่ยนแปลงชีวิตเราไปทุกด้าน แล้วการปฏิวัติอุตสาหกรรม 3 ครั้งที่ผ่านมาล่ะเป็นยังไง การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 1 คือการปฏิวัติแรงงานจากคนและสัตว์ กลายมาเป็น “เครื่องจักรไอน้ำ” ทำให้การทำงานที่ต้องใช้แรงงานในรูปแบบซ้ำๆถูกทดแทนด้วยเครื่องจักรไอน้ำ เช่น การทอผ้าที่เคยเป็นเรื่องยากทำให้ผ้ามีราคาแพงเพราะต้องใช้แรงงานคนมากมาย เมื่อใช้แรงงานจากเครื่องจักรไอน้ำก็ทำให้อาชีพคนทอผ้ามากมายในอังกฤษต้องหายไป และก็ได้ผ้าราคาถูกที่ใครๆก็เข้าถึงได้มาแทน แถมเครื่องทอผ้านี่แหละที่ทำให้อินเดียตกอยู่ในวิกฤตในตอนนั้น การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 2 คือการปฏิวัติพลังงานมาเป็น “ไฟฟ้า” และการผลิตแบบสายพานการผลิต…