The Sushi Economy เศรษฐศาสตร์ของซูชิ

ถ้าไม่อ่านเล่มนี้ก็คงไม่รู้ว่าปลาทูนาครีบน้ำเงินราคาแพง (อาคามิ, จูโทโร และ โอโทโร่) ในร้านซูชิทั้งหมดทั่วโลกนั้นเพิ่งจะมาเริ่มกินกันจริงๆก็เมื่อหลังปี 1970 เอง ทั้งที่ก่อนหน้าปี 1970 นี้ปลาทูน่าครีบน้ำเงินตัวใหญ่ยักษ์ทั้งหลายที่ชาวประมงส่วนใหญ่ตกได้กลายเป็นขยะที่ไม่มีใครต้องการ อย่างดีก็เอาไปป่นทำเป็นอาหารสัตว์อีกทอดนึง แทบไม่มีใครคิดจะหยิบมากิน หรือจัดใส่จานหรูๆราคาแพงในร้านซูชิอย่างทุกวันนี้ เรื่องมันเริ่มจากก่อนปี 1970 เป็นต้นมา แถบอเมริกา ปลาทูน่าครีบน้ำเงินมักจะเป็นเป้าหมายของนักตกปลาที่ตกเป็นกีฬาหรือเพื่อการแข่งขัน เพราะปลาทูน่าครีบน้ำเงินนั้นทั้งตัวใหญ่ และมีพละกำลังมหาศาล แต่พอตกขึ้นมาได้นอกจากจะเอามาถ่ายรูปเพื่อเป็นหลักฐานของนักตกปลาผู้เก่งกาจ ก็อาจจะมีแค่บางคนยอมเสียเงินเพื่อสตาฟปลายักษ์นั้นเก็บไว้ แต่ส่วนใหญ่มักจะเลือกเอาไปทิ้ง บ้างก็ยอมเสียเงินเพื่อทิ้งกับเทศบาล (ต่างประเทศเสียค่าทิ้งขยะ) หรือไม่ก็ยอมแล่นเรือออกไปกลางทะเลเพื่อเอาปลาทูน่าไปทิ้ง ส่วนพวกเรือประมงที่มีปลาทูน่าครีบน้ำเงินมาติดอวนก็มักจะหงุดหงิดเพราะทั้งหนักทั้งใหญ่ ทำให้เสียเวลาในการหาปลาอื่นๆ (ปลาค็อดหรือปลากะพง)…

ช้า ให้ ชนะ

ยิ่งเร่งรีบเท่าไหร่ ยิ่งต้องเดินให้ช้าลงเท่านั้น.. ..ในชีวิตที่มีแต่ความรีบเร่งให้บรรลุเป้าหมายหรือความต้องการในชีวิต เราต่างลืมศิลปะในการใช้ชีวิตอย่างความใส่ใจกับสิ่งดีๆรอบตัวต่างๆมากมาย.. ..คนส่วนใหญ่มองหาทางลัด แต่จากประสบการณ์ผู้มากประสบการณ์และความสำเร็จอย่างผู้เขียนกลับบอกชัดเจนว่า “ไม่มีทางลัดสำหรับความสำเร็จ” แล้วอย่างนั้นทำอย่างไรถึงจะประสบความสำเร็จได้เร็วที่สุดล่ะ นี่คงเป็นคำถามของคนส่วนใหญ่ในปัจจุบัน.. ..ผู้เขียนบอกว่าความสำเร็จได้จะมาจาก 3 ส่วนสำคัญที่ช่วยทวีคูณกัน สมการนั้นคือ ความสามารถ x ความพยายาม x ทัศนคติ = ผลลัพธ์ของชีวิต.. ..และสิ่งสำคัญที่สุดไม่ใช่ความสามารถที่เป็นความเก่งกาจหรือพรสวรรค์ ไม่ใช่ความพยายามที่เป็นความอดทนมุมานะ แต่เป็นทัศนคติความคิดรู้จักคิดในทางที่ดีสิ่งที่ถูก เพราะถ้าทัศนคติผิดเมื่อไหร่ ผลลัพธ์ที่ได้ก็พาลเป็นติดลบไปหมด.. ..จงให้คนเก่งทำงาน แต่ผลักดันให้คนดีเป็นผู้นำ เมื่อคนดีเป็นผู้นำหรือผู้บริหาร ผลลัพธ์ที่ได้ยังไงก็จะออกมาดีจะดีมากหรือดีน้อยก็ยังเป็นผลลัพธ์ที่ดี แต่ถ้าคุณเลือกคนเก่งเป็นผู้นำ…